หากทุกคนยังจำกันได้ เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วเคยเกิดเหตุการณ์ที่ พ.ต.ท.อานนท์ เชิดชูตระกูลทอง แจ้งความมาตรา 112 กับ ‘รามิล’ หรือ ‘ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์’ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศิลปินกลุ่ม artn’t เนื่องจาก ‘แสดงศิลปะการแสดงสด’ หรือ ‘Performance Art’ หน้าป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งหลังจากต่อสู้คดีมาหลายปี ล่าสุด เช้าวันที่ 8 พ.ค. นี้ศาลได้ตัดสินให้ยกฟ้องแล้ว

หากทุกคนยังจำกันได้ เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วเคยเกิดเหตุการณ์ที่ พ.ต.ท.อานนท์ เชิดชูตระกูลทอง แจ้งความมาตรา 112 กับ ‘รามิล’ หรือ ‘ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์’ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศิลปินกลุ่ม artn’t เนื่องจาก ‘แสดงศิลปะการแสดงสด’ หรือ ‘Performance Art’ หน้าป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งหลังจากต่อสู้คดีมาหลายปี ล่าสุด เช้าวันที่ 8 พ.ค. นี้ศาลได้ตัดสินให้ยกฟ้องแล้ว

ศาลยกฟ้องคดี ม.112 จากกรณีนักศึกษามช. แสดง Performance Art หน้าป้ายมหาวิทยาลัย

ศาลยกฟ้องคดี ม.112 จากกรณีนักศึกษามช. แสดง Performance Art หน้าป้ายมหาวิทยาลัย

หากทุกคนยังจำกันได้ เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วเคยเกิดเหตุการณ์ที่ พ.ต.ท.อานนท์ เชิดชูตระกูลทอง แจ้งความมาตรา 112 กับ ‘รามิล’ หรือ ‘ศิวัญชลี วิธญเสรีวัฒน์’ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานสภานักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่และศิลปินกลุ่ม artn’t เนื่องจาก ‘แสดงศิลปะการแสดงสด’ หรือ ‘Performance Art’ หน้าป้ายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งหลังจากต่อสู้คดีมาหลายปี ล่าสุด เช้าวันที่ 8 พ.ค. นี้ศาลได้ตัดสินให้ยกฟ้องแล้ว

ชนวนเหตุทั้งหมดเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ในวันนั้นทางพ.ต.ท.อานนท์ เชิดชูตระกูลทอง ได้รับแจ้งเหตุจากผู้ใต้บังคับบัญชาอีกสองคน คือ ส.ต.ท.พงศ์ฤทธิ์ และ ร.ต.อ.โสภณ ว่าพบเห็นกลุ่มคนประมาณ 6-8 คน กำลังทำกิจกรรมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ‘ยืน หยุด ขัง’ และถือป้าย ‘คืนสิทธิประกันตัวให้ประชาชน’ ระหว่างที่ผู้เห็นเหตุการณ์มาถึง ก็พบว่า ‘รามิล’ กำลังแสดง Performance Art อยู่พอดี พวกเขาเลยทำการถ่ายวิดีโอกลับมาให้พ.ต.ท.อานนท์ ดู หลังจากดูวิดีโอแล้วเขาก็ปรึกษาหารือกับคนอื่น ๆ และรวบรวมหลักฐาน ก่อนจะตัดสินใจแจ้งความมาตรา 112 กับ ‘รามิล’ ทันที

โดยโจทก์อ้างว่า รามิลจงใจเลือกสถานที่ที่มีป้ายข้อความ ‘ทรงพระเจริญ’ และมีพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่ 10 อยู่ และตั้งใจแสดงพฤติกรรมที่มีลักษณะจาบจ้วง ล่วงเกิน ดูหมิ่น หมิ่นประมาท และแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยการกระทำที่ว่านั้นก็คือ การใช้น้ำสีแดงเทราดตัวไปจนเปรอะเปื้อนรูปและป้ายข้อความ ขณะที่การแสดงกิริยาเคลื่อนไหวร่างกายต่าง ๆ ด้วยการนั่งห้อยขา นั่งยอง ๆ แสดงท่าครุฑ ยืนเอาถังสีสวมครอบศีรษะ และนอนหงายโดยใช้เท้าขวา ซึ่งเป็นอวัยวะเบื้องต่ำ ชี้ขึ้นไปที่พระบรมฉายาลักษณ์

ทางฝั่งรามิลก็ได้แย้งว่า สาเหตุที่ตนทำการแสดงศิลปะการแสดงสดบริเวณนี้ เพราะต้องเรียกร้องความเป็นธรรมต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องมาจากกรณีที่ตนมีปัญหาขัดแย้งกับคณบดี ผู้บริหารคณะวิจิตรศิลป์มาก่อน เพราะพวกเขาปิดกั้นการแสดงออกของนักศึกษา ไม่มีเจตนากระทำต่อพระบรมฉายาลักษณ์

อย่างไรก็ตามเมื่อขึ้นศาลจริง ทางฝั่งพ.ต.ท.อานนท์ เชิดชูตระกูลทองก็ไม่ได้มีคลิปวิดีโอที่กล่าวอ้างมายืนยันกับศาลแต่อย่างใด มีเพียงภาพถ่ายเป็นช่วง ๆ เท่านั้น ส่วนทนายฝั่งรามิลก็ได้แสดงวิดีโอการแสดงฉบับเต็มให้ดู และพยานผู้เชี่ยวชาญด้านการละคอนที่ถูกเบิกความมาให้การในศาลก็อธิบายว่า สีแดงนั้นสื่อถึงเลือด ส่วนร่างกายบิดเบี้ยวคือการสื่อถึงความเจ็บปวดของคนคนหนึ่ง และที่แคบก็สื่อถึงพื้นที่ของเสรีภาพที่ถูกจำกัดเสรีภาพจากผู้บริหารหรือผู้นำที่มีอำนาจในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การนำป้ายพระบรมฉายาลักษณ์เข้ามาตีความนั้นไม่สามารถทำได้

เขาเสริมว่าการดูศิลปะการแสดงสดจะต้องดูตั้งแต่ต้นจนจบ ไม่สามารถตีความเพียงรูปภาพเดียว การตีความหมายของแต่ละคนแตกต่างกันได้ แต่จะต้องไม่ใช้ความเห็นตัวเองเหนือกว่าความเห็นอื่น

หลังจากต่อสู้กันในชั้นศาลถึง 5 นัด ปัจจุบันศาลก็ได้มีคำสั่งยกฟ้องอย่างเป็นทางการแล้วว่าไม่มีความผิด โดยทางด้านทนายความของฝั่งรามิลก็ให้สัมภาษณ์ว่า “วันนี้ถือว่าจำเลยยกฟ้องไปแล้ว ถ้าอัยการมีคำสั่งถอน เราก็ต้องอุทธรณ์ขึ้นไป ถ้าอัยการไม่ยื่นอุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็ถือว่าเป็นเด็ดขาด”

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหากาพย์การสู้คดีครั้งนี้อย่างละเอียดได้ที่: https://tlhr2014.com/archives/55771...

เครดิตภาพจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เฟซบุ๊ค Sorayut Aiemueayut