ในช่วงหลายเดือนผ่านมา เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายกลุ่ม ที่ออกมาปฏิบัติการประท้วงในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนทั่วโลกหันมาให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ด้วยการแสดงการเคลื่อนไหวผ่านการจู่โจมงานศิลปะต่าง ๆ ทั่วโลก (อ่านเรื่องราวของกลุ่ม Just Stop Oil ได้ที่ t.ly/Dv5d) โดยเมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ก็ได้มีนักเคลื่อนไหวออกมาปฏิบัติการเช่นนี้อีกครั้ง ทว่าครั้งนี้พวกเขาได้ถูกฟ้องร้องจากรัฐอเมริกัน และถูกเรียกปรับเงินสูงสุดถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 8,600,000 บาท

ในช่วงหลายเดือนผ่านมา เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายกลุ่ม ที่ออกมาปฏิบัติการประท้วงในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนทั่วโลกหันมาให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ด้วยการแสดงการเคลื่อนไหวผ่านการจู่โจมงานศิลปะต่าง ๆ ทั่วโลก (อ่านเรื่องราวของกลุ่ม Just Stop Oil ได้ที่ t.ly/Dv5d) โดยเมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ก็ได้มีนักเคลื่อนไหวออกมาปฏิบัติการเช่นนี้อีกครั้ง ทว่าครั้งนี้พวกเขาได้ถูกฟ้องร้องจากรัฐอเมริกัน และถูกเรียกปรับเงินสูงสุดถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 8,600,000 บาท

นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมถูกตั้งข้อหาทำความเสียหายแก่รัฐ หลังจู่โจมประติมากรรม เอ็ดการ์ เดอกาส์

ในช่วงหลายเดือนผ่านมา เชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายกลุ่ม ที่ออกมาปฏิบัติการประท้วงในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องให้ผู้คนทั่วโลกหันมาให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ด้วยการแสดงการเคลื่อนไหวผ่านการจู่โจมงานศิลปะต่าง ๆ ทั่วโลก (อ่านเรื่องราวของกลุ่ม Just Stop Oil ได้ที่ t.ly/Dv5d) โดยเมื่อวันที่ 27 เมษายนที่ผ่านมา ก็ได้มีนักเคลื่อนไหวออกมาปฏิบัติการเช่นนี้อีกครั้ง ทว่าครั้งนี้พวกเขาได้ถูกฟ้องร้องจากรัฐอเมริกัน และถูกเรียกปรับเงินสูงสุดถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 8,600,000 บาท

เหตุการณ์ครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 27 เมษายน เมื่อสองนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง ทิโมธี มาร์ติน (Timothy Martin) และ โจแอนนา สมิธ (Joanna Smith) ได้ตั้งเป้าที่จะสาดสีใส่รูปปั้น ‘Little Dancer Aged Fourteen’ ของศิลปินอิมเพรสชันนิสต์ชื่อดังอย่าง เอ็ดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas) ที่ National Gallery of Art ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพวกเขาได้เตรียมขวดสีเข้าไปในแกลเลอรี ก่อนป้ายสีลงไปบนกระจกกล่องนิรภัยที่ครอบป้องกันตัวงานเอาไว้

“พวกเราต้องการให้บรรดาผู้นำของเราออกมาจัดการกับปัญหานี้อย่างจริงจัง แล้วบอกความจริงกับพวกเราสักทีว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับสภาพอากาศของโลกเราบ้าง” คือคำประกาศของนักเคลื่อนไหวทั้งสอง พร้อมทั้งกล่าวย้ำอีกว่า “งานแรกของพวกเราคือการปกป้องบุตรหลานของเรา รวมไปถึงเด็ก ๆ ที่จะเกิดขึ้นมาในอนาคตด้วย”

หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว แกลเลอรีได้ปิดทำการทันที พร้อมเคลื่อนย้ายรูปปั้นออกไปจากสถานที่จัดแสดง ก่อนที่ อนาเบธ กูทรี (Anabeth Guthrie) หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารประจำแกลเลอรี จะออกมาแถลงในภายหลังว่า จากการตรวจสอบด้วยตาเปล่า ยังไม่พบความเสียหายใด ๆ ทว่าแรงสั่นสะเทือนจากการกระแทกมือเพื่อปาดสีต่าง ๆ จนรูปปั้นเกิดความสั่นไหว สามารถส่งผลกระทบในระดับที่ตามองไม่เห็น จนกลายเป็นความเสียหายสะสมได้ เนื่องจากรูปปั้นชิ้นนี้เปราะบางมาก ต่อไปทางแกลเลอรีจะต้องคอยตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ล่าสุด เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา สองนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมก็ได้ถูกควบคุมตัว และแจ้งข้อกล่าวหาฐานต่อต้านประเทศสหรัฐอเมริกาและทำลายทรัพย์สินภายในแกลเลอรีแล้ว โดยมีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี และปรับอีก 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือมากกว่า 8,600,000 บาท โดยการสอบสวนครั้งนี้ได้มีหน่วยงาน Art Crime ของ FBI ร่วมกระบวนการสืบสวนสอบสวนด้วย

หลังจากการตั้งข้อหาดังกล่าว ก็มีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายที่ต่อต้านการกระทำของนักเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้มีมาตรการลงโทษผู้ทำลายสาธารณสมบัติด้านวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ในขณะที่อีกฝ่ายก็มองว่า การเคลื่อนไหวเช่นนี้เป็นเพียงการแสดงออกซึ่งอุดมการณ์และความคิดเห็นอันตั้งอยู่บนเจตนาเพื่อสังคมโดยรวม การใช้ศิลปะเป็นสื่อกลางในการนำเสนอแมสเซจก็เป็นการเรียกร้องความสนใจที่เห็นผล และศิลปะไม่ได้มีคุณค่ามากไปกว่าชีวิตของผู้คนที่สูญเสียไปเพราะภัยจากสิ่งแวดล้อมที่กำลังเปลี่ยนแปลงด้วยน้ำมือมนุษย์ อีกทั้งข้อหาที่กล่าวโทษนักเคลื่อนไหวทั้งสองในครั้งนี้ยังรุนแรงเกินไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เหล่านักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมถูกฟ้องและดำเนินคดี ก่อนหน้านี้ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็เกิดเหตุการณ์ที่นักเคลื่อนไหวสองคนที่มุ่งเป้าไปยังผลงาน “Girl with a Pearl Earring” ของ โยฮันเนส เฟอร์เมียร์ (Johannes Vermeer) และถูกตัดสินจำคุกสองเดือนมาแล้ว ในขณะที่ประเทศอิตาลีเอง ก็ได้มีการเสนอกฎหมายใหม่เพื่อลงโทษผู้ที่ก่อกวนทรัพย์สินทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะขึ้นมา ซึ่งมีโทษปรับสูงถึงห้าหลัก อย่างไรก็ตาม เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก็เพิ่งเกิดเหตุการณ์ที่นักเคลื่อนไหวเทถ่านลงไปในน้ำพุเก่าแก่ใจกลางกรุงโรม เพื่อย้อมให้เป็นสีดำ

อ้างอิง https://hyperallergic.com/825151/climate-activists-who-targeted-degas-dancer-indicted/