ถ้าพูดถึงหนังไทยเรื่องแรกที่นำเสนอบทบาท LGBTQ+ ในหัวของทุกคนจะนึกถึงเรื่องอะไรเป็นลำดับแรก เพลงสุดท้าย? รักแห่งสยาม? หรือเพื่อน…กูรักมึงว่ะ? แต่ถึงแม้ว่าทุกเรื่องที่กล่าวมาจะมีทั้งความเก่าและเก๋า จนถูกจัดให้เป็นยุคบุกเบิกของการทำความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ ทว่าหากเราจะพูดถึงหนังเรื่องแรกกันจริง ๆ ก็คงต้องย้อนกลับไปไกลเกือบ 100 ปีกันเลยทีเดียว

ถ้าพูดถึงหนังไทยเรื่องแรกที่นำเสนอบทบาท LGBTQ+ ในหัวของทุกคนจะนึกถึงเรื่องอะไรเป็นลำดับแรก เพลงสุดท้าย? รักแห่งสยาม? หรือเพื่อน…กูรักมึงว่ะ? แต่ถึงแม้ว่าทุกเรื่องที่กล่าวมาจะมีทั้งความเก่าและเก๋า จนถูกจัดให้เป็นยุคบุกเบิกของการทำความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ ทว่าหากเราจะพูดถึงหนังเรื่องแรกกันจริง ๆ ก็คงต้องย้อนกลับไปไกลเกือบ 100 ปีกันเลยทีเดียว

ย้อนดูประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในหนังไทย ผ่านนิทรรศการ ‘ต้นธารสายรุ้ง’ ที่หอภาพยนตร์ วันนี้ – 8 ตุลาคม

ถ้าพูดถึงหนังไทยเรื่องแรกที่นำเสนอบทบาท LGBTQ+ ในหัวของทุกคนจะนึกถึงเรื่องอะไรเป็นลำดับแรก เพลงสุดท้าย? รักแห่งสยาม? หรือเพื่อน…กูรักมึงว่ะ? แต่ถึงแม้ว่าทุกเรื่องที่กล่าวมาจะมีทั้งความเก่าและเก๋า จนถูกจัดให้เป็นยุคบุกเบิกของการทำความเข้าใจเรื่องความหลากหลายทางเพศ ทว่าหากเราจะพูดถึงหนังเรื่องแรกกันจริง ๆ ก็คงต้องย้อนกลับไปไกลเกือบ 100 ปีกันเลยทีเดียว

สำหรับใครที่สงสัยว่าหนังเรื่องนั้นคือเรื่องอะไร ก็สามารถไปตามรอยพร้อมกันได้ใน ‘นิทรรศการ ‘ต้นธารสายรุ้ง’ : ประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในหนังไทย (Over the Rainbow)’ นิทรรศการใหม่แกะกล่องจากหอภาพยนตร์ ที่จะพาแฟนหนังไทยย้อนกลับไปสำรวจวิธีคิดและภาพจำของตัวละคร LGBTQ+ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของวงการภาพยนตร์ ทั้งในฐานะตัวโจ๊กผู้สร้างเสียงหัวเราะ ในฐานะคนสนิทของตัวเอก ไปจนถึงบทบาทตัวร้ายที่ถูกมองว่าการเป็น LGBTQ+ เป็นพฤติกรรมที่ต้องได้รับการแก้ไข

ตัวอย่าง ภาพยนตร์ที่จะนำเสนอในนิทรรศการนี้ เช่น ‘Trick Cinematograph’ หนังทดลองปี 2470 ถ่ายโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ที่ทรงใช้เทคนิคด้านภาพยนตร์เพื่อสลับให้หัวนักแสดงชายอยู่บนร่างกายผู้หญิงและหัวผู้หญิงอยู่บนร่างกายผู้ชายอันเป็นภาพบันทึกแรกของ ‘การข้ามเพศ’ อีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือภาพยนตร์สั้นเรื่อง ‘กะเทยเป็นเหตุ’ ออกฉายในปี 2497 เป็นหนังไทยที่นำเสนอตัวละคร “กะเทย” ที่เก่าแก่ที่สุดที่ในกรุของหอภาพยนตร์

นอกจากภาพยนตร์ที่นำเสนอบทบาท LGBTQ+ แบบโต้ง ๆ แล้ว ทางหอภาพยนตร์ก็ยังมีการนำหนังประเภทอื่น ๆ ที่แฝงสัญลักษณ์และเรื่องราวของการเป็น LGBTQ+ มาฉายด้วย เช่น ‘เศรษฐีอนาถา’ ปี 2499 ที่แสดงฉาก ‘บาร์กะเทย’ เป็นครั้งแรก ต่อด้วยเรื่อง ‘เก้ามหากาฬ’ ปี 2507 หนังบู๊ที่เป็นเรื่องของตำรวจที่ต้องปลอมตัวเป็นกะเทยเพื่อสืบจับผู้ร้าย และกุ้งนาง ปี 2519 หนังที่ว่าด้วยผู้หญิงที่ถูก ‘สัมผัส’ โดยตัวละครชายและเพิ่งรับรู้ได้ว่าเธอเป็นหญิง

ในส่วนของหนังที่สะท้อนภาพว่าผู้มีความหลากหลายทางเพศสมควรถูก ‘รักษา’ และ ‘ปรับพฤติกรรม’ ก็มีอยู่หลายเรื่องเช่นกัน เช่น สวัสดีคุณครู ปี 2521 และ วัยเรียนเพี้ยนรัก ปี 2528 ส่วนกลุ่มหนังที่ตัวละคร LGBTQ+ ถูกนำเสนอในฐานะตัวร้ายที่มีอารมณ์รุนแรง คุกคามทางเพศตัวละครเอก และมีฉากฆาตกรรม เพื่อขับเน้นความ ‘วิปริต’ ของตัวละครออกมา ก็จะมีเรื่องคนกินเมีย ปี 2517, เทวดาเดินดิน ปี 2518 และช่องว่างระหว่างหัวใจ ปี 2519 เป็นต้น

นิทรรศการ “ต้นธารสายรุ้ง : ประวัติศาสตร์ความหลากหลายทางเพศในหนังไทย” (Over the Rainbow) จะจัดแสดงที่ห้องนิทรรศการชั้น 2 อาคารสรรพสาตรศุภกิจ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ตั้งแต่ 13 มิถุนายน ถึง 8 ตุลาคม 2566 เข้าชมฟรีทุกวันเวลา 9.30 – 17.30 น. ยกเว้นวันจันทร์

และตลอดเดือนมิถุนายนและกรกฎาคมนี้ ทางหอภาพยนตร์ยังจัดโปรแกรมฉายหนัง ‘Thai Queer Cinema Odyssey’ นำเสนอภาพยนตร์ว่าด้วยความหลากหลายทางเพศ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) | โปรแกรมภาพยนตร์ ‘Thai Queer Cinema Odyssey การเดินทางของหนังเควียร์ไทย’ Part 1 พ.ค. – มิ.ย. 2566 ในเว็บไซต์ fapot.or.th