พูดถึงของเล่นสะสมในวัยเด็กสำหรับเด็กยุค 90’s แล้วโมเดลบ้านกระดาษ ตัวต่อจิ๋ว หรือของเล่นไซส์เล็กถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีสะสมกันแทบจะทุกคน กาลเวลาผ่านไป ของกระจุกกระจิกในวัยเด็กเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่สิ่งของอีกต่อไป แต่กลับแปรเปลี่ยนเป็นวัตถุแห่งความทรงจำแสนล้ำค่าสำหรับใครหลายคน และ ลิลลี่-เนตรดาว  องอาจถาวร ก็คือนักเล่นแร่แปรธาตุ ที่หยิบของกระจุกกระจิกในห้วงความทรงจำ มานำเสนอผ่านแง่มุมทางศิลปะ และชวนเราย้อนกลับไปสำรวจมันผ่านม่านความทรงจำของแต่ละคน

พูดถึงของเล่นสะสมในวัยเด็กสำหรับเด็กยุค 90’s แล้วโมเดลบ้านกระดาษ ตัวต่อจิ๋ว หรือของเล่นไซส์เล็กถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีสะสมกันแทบจะทุกคน กาลเวลาผ่านไป ของกระจุกกระจิกในวัยเด็กเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่สิ่งของอีกต่อไป แต่กลับแปรเปลี่ยนเป็นวัตถุแห่งความทรงจำแสนล้ำค่าสำหรับใครหลายคน และ ลิลลี่-เนตรดาว องอาจถาวร ก็คือนักเล่นแร่แปรธาตุ ที่หยิบของกระจุกกระจิกในห้วงความทรงจำ มานำเสนอผ่านแง่มุมทางศิลปะ และชวนเราย้อนกลับไปสำรวจมันผ่านม่านความทรงจำของแต่ละคน

broccolilyfram : ฟาร์มงานคราฟต์ที่มีผลผลิตเป็นของกระจุกกระจิกหยิกหัวใจ

พูดถึงของเล่นสะสมในวัยเด็กสำหรับเด็กยุค 90’s แล้วโมเดลบ้านกระดาษ ตัวต่อจิ๋ว หรือของเล่นไซส์เล็กถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่มีสะสมกันแทบจะทุกคน กาลเวลาผ่านไป ของกระจุกกระจิกในวัยเด็กเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่สิ่งของอีกต่อไป แต่กลับแปรเปลี่ยนเป็นวัตถุแห่งความทรงจำแสนล้ำค่าสำหรับใครหลายคน และ ลิลลี่-เนตรดาว องอาจถาวร ก็คือนักเล่นแร่แปรธาตุ ที่หยิบของกระจุกกระจิกในห้วงความทรงจำ มานำเสนอผ่านแง่มุมทางศิลปะ และชวนเราย้อนกลับไปสำรวจมันผ่านม่านความทรงจำของแต่ละคน

ผลงานของลิลลี่มีตั้งแต่วาดภาพสีไม้ สีน้ำ รวมไปถึงหนังสือที่เธอเขียนเอง หลังเรียนจบ อดีตนิสิตจุฬาฯ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาเรขศิลป์ (Graphic Design) คนนี้ก็ได้เข้าทำงานที่ Teaspoon Studio เป็นเวลาหนึ่งปี โดยที่ผลงานส่วนใหญ่จะเน้นที่งานภาพประกอบ งานทดลองของสตูดิโอ งานกระดาษ และงานทำมืออื่น ๆ เป็นหลัก หลังจากนั้นก็ออกมาเป็นศิลปินและนักออกแบบอิสระ

ปัจจุบันลิลลี่ได้รับทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาที่มหาวิทยาลัยศิลปะมุซาชิโนะ สาขา Science of Design ตอนนี้เธอจึงตั้งฐานพำนักอยู่ในญี่ปุ่น เป็นนักศึกษาทำวิจัย พร้อมกันนั้นยังรับหน้าที่เป็นครีเอทีฟ ก็อปปีไรเตอร์ ให้กับครีเอทีฟเอเจนซีไทย Casper house และได้มีโอกาสทำพาร์ตไทม์ที่สตูดิโอของญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง

“เราชอบทำงานกระดาษตั้งแต่ช่วงสมัยมัธยมปลาย งานในตอนนั้นที่ทำจะเป็นงาน Paper craft เช่น ดอกไม้ หุ่นชัก ฉากบ้านกระดาษ ส่วนใหญ่จะเป็นไซส์เล็กที่ง่ายต่อการจัดการ นอกจากนี้ยังหลงใหลในเรื่องราวของประวัติศาสตร์ เรื่องลึกลับ นิยายฆาตกรรม จึงรวมเอาสิ่งที่สนใจและไอเดียที่ฝุดขึ้นมาอยู่เรื่อย ๆ มาผลิตเป็นผลงาน” ลิลลี่ได้เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นและความสนใจในงานสไตล์นี้ . “จริง ๆ ไม่ได้คิดว่าตัวเองมีสไตล์ที่ชัดเจน แต่รู้ตัวว่าถนัดใช้มือจับ ตัด ดัด ปั้นสิ่งต่าง ๆ มากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ สมัยเรียนจึงนำเอาความสามารถด้านนี้มาเป็นจุดเด่นของตัวเอง จำได้ว่าช่วงประมาณปีสาม มีอยู่วิชาหนึ่งที่อาจารย์ให้ทำงานส่งสัปดาห์ละ 40 ชิ้น โดยโจทย์และเทคนิคในการทำงานเปลี่ยนไปทุกสัปดาห์ มีอยู่สัปดาห์หนึ่งต้องทำงาน Handcraft รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขมาก”

ลิลลี่ได้เผยถึงกระบวนการทำงานให้เราฟังว่า “ก่อนที่จะออกมาเป็นผลงานหนึ่งชิ้นเราเริ่มจากตัดสินใจว่าจะทำจากวัสดุอะไร ในสเกลเท่าไหร่ ซึ่งปกติเราไม่ได้ทำในสเกลที่เล็กมาก 1 : 12 เป็นสเกลมาตรฐานที่จะทำ ไม่ก็ตั้งสเกลขึ้นมาเองจากเรื่องราวที่อยากจะสื่อ หรือตามความเหมาะสมของวัสดุที่นำมาใช้ เช่น ผลงาน Pansy Fan โจทย์คือเราอยากทำพัดลมจากกระชอนสุกี้ทองเหลือง ดังนั้นต้องทำไซส์พัดลมให้เข้ากับไซส์กระชอน”

“อย่างที่สองคือ เวลาทำของพวกนี้จะมีสองลักษณะ แบ่งเป็นแบบมีสตรัคเจอร์ เช่น เครื่องเรือน ตู้ เครื่องมือเล็กๆ และแบบออร์แกนิก เช่น พืช สัตว์ หน้าคน ส่วนตัวเราถนัดทำแบบหลังมากกว่า เพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้วัดแม่น ทำโครงสร้างแม่นขนาดนั้น แต่ก็พยายามผสมทั้งสององค์ประกอบเวลาทำ”

“จุดเด่นของงานเรานอกจากความเป็นงานคราฟต์แล้วตัวงานยังมีอารมณ์ขัน ขี้เล่นแบบแปลก ๆ บางครั้งก็มีความน่ากลัวซ่อนอยู่ในผลงาน เราเคยได้รับคอมเมนต์จากคนดูว่างานของเรามีความ ‘แปลก’ อยู่ในตัว และเต็มไปด้วย ‘ความรู้สึก’ ซึ่งธีมของงานก็จะถูกเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามความสนใจในช่วงนั้น แต่ก็ยังคงธีมหลักในเรื่องของสิ่งลึกลับ อาชญากรรม ประวัติศาสตร์ธรรมชาติไว้”

ผลงานกระดาษสาญี่ปุ่นที่เปรียบการลอกคราบของแมลงและสัตว์เลื้อยคลานให้เหมือนกับการเปลี่ยนเสื้อผ้าเด็ก

“การลอกเปลือก ก็เหมือนการลอกคราบของสิ่งมีชีวิตเพื่อเติบโตเป็นสิ่งอื่น เราค่อยๆ สลัดเซลล์ออกทีละชั้นจนสุดท้ายก็กลายเป็นอีกคนทั้งตัวในที่สุด”

โดยผลงานนี้มีทั้งหมด 20 ชิ้น ไล่เรียงตั้งแต่ผ้าอ้อมไซส์เล็กที่สุด ไปจนถึงเครื่องแบบนักเรียนมัธยมปลาย

หนึ่งผลงานรางวัล Degree Show ที่มีแนวคิดเริ่มต้นจาก “การวางแผนอาชญากรรม = การออกแบบ” นำมาสู่การรีเสิร์ชทริคในนิยายสืบสวน สอบสวนต่าง ๆ แล้วสรุปแยกออกมาเป็นแต่ละประเภท

'การสร้างไปพร้อมกับการทำลาย' งานปั้นฟองที่บอกได้ว่าการใส่สีลงไปทำให้ผลงานสมบูรณ์ขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในขณะเดียวกันน้ำจากสีก็ทำให้ฟองสลายหายไปได้เช่นกัน ซึ่งการสลายหายไปของฟองถูกเชื่อมโยงเข้ากับการเสื่อมสลายของสิ่งมีชีวิต

พัดลมจิ๋วที่ประดิษฐ์มาจากตะกร้อสุกี้ เพิ่มความน่ารักสดใสด้วยการใส่มอเตอร์จิ๋วลงไปในงาน ทำให้สามารถ ‘หมุน’ ได้จริง

จากโจทย์ วิชา Theory of Forms ว่าด้วยเรื่องของการทำใบไม้ สู่ของจิ๋วที่ได้แนวคิดมาจากการขยายพันธุ์ของ “ต้นคว่ำตายหงายเป็น” ด้วยการงอกลูกจิ๋ว ๆ จากขอบหยัก ๆ ของใบ

ว่าแล้วก็ไปสำรวจอาณาจักรของกระจุกกระจิกที่ลิลลี่อยากชวนให้เรารู้จักร่วมกัน ไม่แน่ว่า จากของชิ้นเล็ก ๆ นี้อาจจะสร้างความประทับที่ยิ่งใหญ่ได้

ติดตามผลงานศิลปินได้ที่ : https://www.instagram.com/broccolilyfarm/

เรื่อง: จุฑารัตน์ ศรีอุทัย กราฟิก: วทันยา แซ่ตัน