หากทุกคนลองกางแผนที่โลกออกดู ก็คงจะเห็นประเทศมากมายตั้งกระจัดกระจายอยู่ตามซีกโลกตะวันออกและตะวันตกอยู่เต็มไปหมด และนอกเหนือจากระยะทางอันห่างไกลที่แบ่งแยกพวกเราทั้งสองฟากฝั่งให้ห่างไกลกันแล้ว ก็ยังมีเรื่องของวัฒนธรรมและแนวคิดที่ทำให้พวกเราแตกต่างกันชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิมด้วย ทว่าเมื่อโลกสมัยใหม่กับเทคโนโลยีมากมายในปัจจุบันสามารถเบลอขอบเขตบนแผนที่ให้เลือนหาย และร่นระยะทางให้พวกเราใกล้ชิดกันได้มากกว่าเก่า พวกเราจะยังแตกต่างกันราวกับอยู่คนละโลกอีกไหม?

หากทุกคนลองกางแผนที่โลกออกดู ก็คงจะเห็นประเทศมากมายตั้งกระจัดกระจายอยู่ตามซีกโลกตะวันออกและตะวันตกอยู่เต็มไปหมด และนอกเหนือจากระยะทางอันห่างไกลที่แบ่งแยกพวกเราทั้งสองฟากฝั่งให้ห่างไกลกันแล้ว ก็ยังมีเรื่องของวัฒนธรรมและแนวคิดที่ทำให้พวกเราแตกต่างกันชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิมด้วย ทว่าเมื่อโลกสมัยใหม่กับเทคโนโลยีมากมายในปัจจุบันสามารถเบลอขอบเขตบนแผนที่ให้เลือนหาย และร่นระยะทางให้พวกเราใกล้ชิดกันได้มากกว่าเก่า พวกเราจะยังแตกต่างกันราวกับอยู่คนละโลกอีกไหม?

ชวนไปสำรวจสองฝั่งโลก ใน How Many Worlds Are We? นิทรรศการใหม่ที่ Jim Thompson Art Center เริ่ม 20 ก.ค. นี้

หากทุกคนลองกางแผนที่โลกออกดู ก็คงจะเห็นประเทศมากมายตั้งกระจัดกระจายอยู่ตามซีกโลกตะวันออกและตะวันตกอยู่เต็มไปหมด และนอกเหนือจากระยะทางอันห่างไกลที่แบ่งแยกพวกเราทั้งสองฟากฝั่งให้ห่างไกลกันแล้ว ก็ยังมีเรื่องของวัฒนธรรมและแนวคิดที่ทำให้พวกเราแตกต่างกันชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิมด้วย ทว่าเมื่อโลกสมัยใหม่กับเทคโนโลยีมากมายในปัจจุบันสามารถเบลอขอบเขตบนแผนที่ให้เลือนหาย และร่นระยะทางให้พวกเราใกล้ชิดกันได้มากกว่าเก่า พวกเราจะยังแตกต่างกันราวกับอยู่คนละโลกอีกไหม?

นิทรรศการ ‘How Many Worlds Are We?’ คือนิทรรศการที่มาจากการศึกษาค้นคว้าของภัณฑารักษ์ประจำนิทรรศการนี้อย่าง ‘อเล็กซานเดร เมโล’ ที่จะพาเราไปหาคำตอบด้วยการสำรวจตรวจค้นโลกทั้งสองฝากฝั่ง ได้แก่ ทวีปละตินอเมริกา (ส่วนใหญ่ในประเทศบราซิลและโดยเฉพาะในรัฐอามาโซนัสและรัฐบาเยีย) และโลกตะวันออก (ส่วนใหญ่ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียอาคเนย์) ผ่านผลงานศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยในเชิงบวกจากศิลปินทั้งสองทวีป

ศิลปินที่เข้าร่วมนิทรรศการนี้จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 10 คน ประกอบไปด้วย ไอร์สัน เอราคลิโต (บราซิล), โจนาธาส เด อันดราเด (บราซิล), ลีโน วุธ (กัมพูชา), ปรัชญา พิณทอง (ไทย), โซ ยู นเว (เมียนมา), ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ (ไทย), ต่อลาภ ลาภเจริญสุข (ไทย), วาสโก อาเราโฮ (โปรตุเกส), วันทนีย์ ศิริพัฒนานันทกูร (ไทย) และ โยนามีน อามาจาห์ (แองโกลา)

ภายในงานทุกคนจะได้พบกับงานประติมากรรม ศิลปะจัดวาง ภาพถ่าย และภาพยนตร์ ที่จะเล่าเรื่องราวและมุมมองความคิดที่ศิลปินแต่ละคนมีต่อธรรมชาติ จิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในป่าประเทศบราซิลหรือประเทศไทย ซึ่งเราในฐานะคนดูจะได้สัมผัสกับความรู้ แรงบันดาลใจ และวิธีการนำเสนอของศิลปินแต่ละคนอย่างใกล้ชิด ที่อาจจะนำพาไปสู่การตกตะกอนความคิด และค้นพบกับคำตอบว่า สรุปแล้วพวกเรามีกันกี่โลกกันแน่ก็เป็นได้

ถ้าใครสนใจอยากออกไปค้นหาคำตอบเหล่านี้ด้วยตัวเอง ก็สามารถไปชมนิทรรศการ ‘How Many Worlds Are We?’ ได้ที่ The Jim Thompson Art Center แกลเลอรี่ 1-2 ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม - 29 ตุลาคม 2566