ในวงการศิลปะไทย การวาดภาพเกี่ยวกับเรื่องราวและสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นหัวข้อสามัญที่สามารถพบเห็นกันได้บ่อย ๆ ทั้งจากฝีแปรงของเหล่าศิลปินหน้าใหม่ไปจนถึงระดับปรมาจารย์ชั้นครู แต่เมื่อศิลปินทุกคนต่างใช้หัวข้อเดียวกันในการสร้างงาน ความยากของการทำสิ่งที่เหมือนกันให้แตกต่างอยู่ ก็เลยกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ศิลปินทุกคนต้องพยายามก้าวข้ามไปให้ได้

ในวงการศิลปะไทย การวาดภาพเกี่ยวกับเรื่องราวและสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นหัวข้อสามัญที่สามารถพบเห็นกันได้บ่อย ๆ ทั้งจากฝีแปรงของเหล่าศิลปินหน้าใหม่ไปจนถึงระดับปรมาจารย์ชั้นครู แต่เมื่อศิลปินทุกคนต่างใช้หัวข้อเดียวกันในการสร้างงาน ความยากของการทำสิ่งที่เหมือนกันให้แตกต่างอยู่ ก็เลยกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ศิลปินทุกคนต้องพยายามก้าวข้ามไปให้ได้

เบื้องหลังพุทธศิลป์และเรื่องเล่าปรัมปรา ใต้รอยพู่กันของ Surapun Kwansaensuk

ในวงการศิลปะไทย การวาดภาพเกี่ยวกับเรื่องราวและสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นหัวข้อสามัญที่สามารถพบเห็นกันได้บ่อย ๆ ทั้งจากฝีแปรงของเหล่าศิลปินหน้าใหม่ไปจนถึงระดับปรมาจารย์ชั้นครู แต่เมื่อศิลปินทุกคนต่างใช้หัวข้อเดียวกันในการสร้างงาน ความยากของการทำสิ่งที่เหมือนกันให้แตกต่างอยู่ ก็เลยกลายเป็นอีกหนึ่งความท้าทายที่ศิลปินทุกคนต้องพยายามก้าวข้ามไปให้ได้

ซึ่ง ยอด - สุรพันธ์ ขวัญแสนสุข ศิลปินผู้คว้ารางวัลพิเศษมาจากนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 ก็เป็นศิลปินไทยอีกคนหนึ่งที่เริ่มต้นทำงานศิลปะในหัวข้อเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและเรื่องราวความเป็นไทยต่าง ๆ อย่างช่ำชอง แต่พอถึงจุดหนึ่ง ตัวเขาก็ค่อย ๆ หลุดออกจากกรอบความเป็นไทยแบบดั้งเดิม เริ่มมองเห็นทิศทางความเป็นตัวเองที่ชัดเจนมากขึ้น และสิ่งนั้นก็ได้ผลักดันขอบเขตการสร้างงานที่ไม่ว่าจะเจอโจทย์หรือคอนเซปต์แบบไหน เขาก็ยังสร้างได้และไม่ทิ้งลายของตัวเอง

และเมื่อเราได้พูดคุยกับเขา เราก็เข้าใจถึงวิธีการสร้างความแตกต่าง ที่ทำให้ผลงานของเขาพาผู้ชมอย่างเราไปพบกับความแปลกใหม่ของพุทธศาสนา ปรัชญา และเรื่องราวเร้นลับต่าง ๆ ได้อย่างน่าสนใจ โดยสิ่งนั้นก็คือ ‘มุมมอง’

“ผมคิดว่าเอกลักษณ์ในการสร้างงาน อยู่ที่วิธีคิดหรือมุมมองที่มีต่อเรื่องต่าง ๆ ที่นำมาทำ มันอาจจะนิยามออกมาเป็นคำพูดเฉพาะเจาะจงได้ยาก แต่ถ้าให้ผมสังเกตจากงานของตัวเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันผมมองว่าทุกอย่างมันสะท้อนออกมาผ่านความชอบและมุมมองที่เรามีต่อเรื่องนั้น ดังนั้นสำหรับผมแล้ววิธีคิดหรือมุมมองจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ อาจจะมากกว่าเทคนิคด้วยซ้ำ เพราะเทคนิคเป็นเรื่องที่ทำเลียนแบบกันได้หากได้รับการฝึกฝน”

สุรพันธ์เริ่มเล่า “เนื้อหาที่ผมใช้ในการทำงานศิลปะในยุคแรก จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาค่อนข้างมาก เช่น งานจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่าง ๆ และงานเขียนฉากแสดงโขน อาจจะเป็นเพราะช่วงนั้นผมได้คลุกคลีอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานประเภทนั้น ไม่ว่าจะเป็นวัดวาอาราม ศาสนสถาน ผู้คนที่แวดล้อม ก็เลยสร้างงานออกมาแบบนั้น”

“เรียกว่าพอมีงานตรงส่วนไหนที่ถนัด ก็จะตาม ๆ กันไปทำ ส่วนงานศิลปะส่วนตัวก็ทำเก็บไว้ตามแต่เวลาและทุนทรัพย์จะอำนวย ลักษณะงานก็จะเป็นแบบนี้มาเรื่อย ๆ จนตัดสินใจสอบเข้าเรียนระดับปริญญาโทที่ภาควิชาศิลปะไทย คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตรงนี้ผมถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนทางรูปแบบการทำงานอีกครั้งหนึ่งเลยครับ”

“ส่วนแรกเป็นส่วนของเทคนิค ตอนเข้าเรียนปริญญาโทปีแรก อาจารย์จะให้เราได้ทดลองทำงานศิลปะอย่างเต็มที่ ผมไม่แน่ใจว่าโดยส่วนตัวแล้วผมได้นิสัยความอยากรู้อยากเห็น ชอบทดลองมาจากตอนเรียนมัธยมหรือเปล่า ผมจบสายวิทย์-คณิต ตอนม.ปลาย การทำงานของผมมักเริ่มจากการทดลองสนุก ๆ การสังเกตปฏิกิริยา เฝ้าดูผลลัพธ์ กระบวนการเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผมชอบและสนุกทุกครั้งที่ได้ทดลองทำ”

“ผลงานในช่วงป.โทปีแรกเลยจะใช้เทคนิคการราด เท และสลัดสีลงบนผืนผ้าใบ แล้วสังเกตว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง มีรูปร่างอะไรที่สอดคล้องกับเรื่องราวที่เราจะเล่าได้บ้างหรือเปล่า จากนั้นจึงเข้าไปจัดการกับผลลัพธ์ดังกล่าวจนเป็นผลงานที่สมบูรณ์ ต้องยอมรับว่าผลงานในระยะนี้ เราควบคุมเทคนิคไม่ได้ทั้งหมดนะครับ บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นก็เลยเหนือความคาดหมาย แต่ก็เป็นอะไรที่สนุกดี”

“จนกระทั่งได้มาเจอกับวัสดุอย่างแผ่นพลาสวูด ทำให้เทคนิคที่เราทดลองมาสามารถควบคุมได้ดีมากขึ้นและตรงกับความรู้สึกเรามากที่สุด ด้วยความที่ผิวหน้าของแผ่นพลาสวูดมีความลื่น การลงสีลงไปบนแผ่นดังกล่าวจึงมีความลื่นไหล อิสระ และปรากฏร่องรอยกับคราบสีต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้นกว่าพื้นผิวแบบผ้าใบ เทคนิคดังกล่าวผมใช้ทำงานมาจนถึงผลงานในยุคปัจจุบันครับ”

“ในส่วนของเนื้อหา ถัดจากเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา ในยุคหลังผมก็เริ่มสนใจแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล่าปรัมปรา ปรัชญา ความเร้นลับ ผมว่าเรื่องเหล่านี้มีเสน่ห์และดึงดูดความสนใจผมอยู่ตลอดเวลาจนกลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการทำงานยุคปัจจุบัน”

สำหรับงานชิ้นล่าสุดที่น่าจะเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการพลิกคอนเซปต์ และสะท้อนตัวตนของสรุพันธ์ออกมาได้ชัดเจนที่สุด ก็คือภาพ ‘โลกคือความหลากหลาย’ ที่พาให้เขาคว้ารางวัลพิเศษอย่าง รางวัลคุณหญิง วรรณา สิริวัฒนภักดี ในนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 มาได้

“โจทย์ของนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือกปีนี้คือ ‘รักโลก’ ผมเลยให้คำนิยามว่าโลกใบนี้คือความหลากหลาย ความหลากหลายที่ว่านี้คือความต่างกันของ ชนิด ประเภท ลักษณะการดำรงอยู่ และอาจพูดได้ว่า มนุษย์คือตัวแปรสำคัญและเป็นผู้กำหนดทิศทางความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้” สุรพันธ์เริ่มเรียงลำดับวิธีการวิเคราะห์โจทย์และบอกให้เราเห็นถึงวิธีการเลือกใช้มุมมองในการตีความคำว่ารักโลกให้ต่างจากคนอื่น

“ผมมองว่าทุก ๆ การกระทำ ทุก ๆ การขยับตัว ส่งผลกระทบอย่างคาดไม่ถึงต่อระบบนิเวศ ดังนั้นจุดร่วมอย่างหนึ่งของทุก ๆ สิ่งบนโลกใบนี้คือธรรมชาติครับ เราดื่มกินจากพื้นดินและแหล่งน้ำที่เชื่อมโยงกัน เราหายใจรับอากาศทั้งดีและเสียร่วมกัน อณูของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เคลื่อนไหวและกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในงานของผมหากสังเกตจะพบว่า เต็มไปด้วยรูปทรงของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ผมนำแค่รูปร่างของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ มาทำงาน”

“ภายในรูปร่างเหล่านั้นจะเห็นว่าถูกบรรจุไปด้วยลวดลายของดอกไม้ ใบใม้ รวมไปถึงเม็ดสีเล็ก ๆ ที่กระจัดกระจายไปทั่วทั้งภาพสื่อสารถึงความเชื่อมโยงและเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน งานชิ้นนี้ให้ความรู้สึกค่อนข้างบวกนะครับ แม้เราจะรู้กันดีว่าสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลกเราวิกฤตขนาดไหน อยากให้งานของผมเป็นหมุดหมายหรือภาพฝันร่วมกันมากกว่าที่จะเป็นภาพจำว่าครั้งหนึ่งโลกเราเคยน่าอยู่ขนาดไหน”

พอได้ฟังการเรียบเรียงแนวคิดแบบนี้แล้ว ก็เข้าใจถึงคำว่า ‘มุมมอง’ ที่ศิลปินได้บอกเรามาตั้งแต่ต้นบทสนทนาว่าต่อให้เราจะใช้หัวข้อเดียวกันในการสร้างงานซ้ำซ้อนมากแค่ไหน แต่ถ้าเรามีสายตาและมุมมองในการวิเคราะห์และจำแนกเรื่องราวให้มันดูใหม่อยู่เสมอ เราจะสามารถเจอหนทางของตัวเองได้ เหมือนกับที่ศิลปินเคยบอกว่าเทคนิคสามารถฝึกฝนเลียนแบบได้ แต่ถ้าเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวให้มีเอกลักษณ์ต้องอาศัยทักษะอื่นร่วมด้วย นี่เลยเป็นเบื้องหลังแนวความคิดก่อนที่จะกลายมาเป็นเรื่องราวต่าง ๆ บนผลงานของเขา

นอกเหนือจากผลงานในนิทรรศการศิลปกรรมช้างเผือก ครั้งที่ 12 แล้ว ล่าสุดศิลปินเพิ่งจัดนิทรรศการ ‘ย้อน’ ที่ BACC ร่วมกับเพื่อนด้วย ซึ่งเขาก็ได้ทิ้งท้ายถึงนิทรรศการนี้ไว้ว่า

“ผมกับเพื่อน (ยุทธนา ชมชื่น) มีความคิดเห็นร่วมกันว่า อยากเผยแพร่งานศิลปะที่พวกเราทำกันมาในระยะเวลาช่วงเรียนปริญญาโทจนถึงปัจจุบันให้ไปถึงผู้คนในวงกว้างได้มากขึ้น เรามองหาจุดร่วมบางอย่างของการทำงานว่าอะไรคือจุดเริ่มต้นและเห็นตรงกันว่า รูปแบบและเนื้อหาในงานจิตรกรรมไทยเป็นสิ่งแรก ๆที่เรานำมาใช้พัฒนาเพื่อสร้างสรรค์และค้นคว้าหาความเป็นไปได้ในการทำงานศิลปะ ดังนั้น ชื่อนิทรรศการ ย้อน จึงเสมือนการหันหลังกลับไปมองยังต้นทางที่เราเคยผ่านมาและเป็นส่วนสำคัญที่กำหนดทิศทางในการทำงานศิลปะต่อไปในอนาคต”

**ตัวตน(คน-ธรรมชาติ) เทคนิค สีอะคริลิคบนแผ่นพลาสวูด ขนาด 100x150 ซม. **

ผมชอบงานชิ้นนี้นะครับ แม้ว่ามันจะมีความไม่ลงตัวหลาย ๆ อย่างเนื่องจากเป็นงานช่วงทดลอง แต่รูปนี้ก็สามารถอธิบายความเป็นตัวผมได้ชัดเจน ผมชอบธรรมชาติมาก ๆ เหมือนกับคนอีกหลายคนที่พอมีเวลาว่างก็มักจะหาเวลาเข้าป่าเพื่อพักผ่อนและเติมเต็มพลังชีวิต

ผมชอบสิ่งละอันพันละน้อยที่อยู่ในนั้น ต้นไม้ ใบหญ้า เถาวัลย์ที่ระเกะระกะ ผมรู้สึกถึงบรรยากาศของ ความเป็นกันเอง เมื่อได้เข้าไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ รู้สึกถึงการเติมเต็มทางความรู้สึก รู้สึกดีทุกครั้งเมื่อได้กลายเป็นจุดเล็ก ๆ ในภาพถ่ายท่ามกลางธรรมชาติที่โอบล้อมตัวเราอยู่ คล้ายกับว่

แฝง เทคนิคสีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 80x100cm.

“ภาพนี้เป็นผลงานชิ้นแรก ๆ ที่นำรูปทรงธรรมชาติมาเป็นแม่แบบในการทำงาน จำได้ว่าตอนนั้นบังเอิญไปเจอฝักของต้นนุ่นตกอยู่ที่พื้น แล้วมีต้นพืชต้นเล็ก ๆ แทรกตัวขึ้นมาบนฟักนุ่นที่กำลังร่วงโรย สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเราในตอนแรกคือความแปลกประหลาดของรูปทรงที่ต่างชนิดกัน แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน สะท้อนแก่นและปรัชญาที่แฝงอยู่ในธรรมชาติได้อย่างแยบยล”

ความสูญเสีย เทคนิค สีอะคริลิคบนผ้าใบ ขนาด 140x170 ซม.

“ผลงานชิ้นนี้ทำขึ้นในช่วงที่ผมสูญเสียบุคคลในครอบครัวไปด้วยอุบัติเหตุทางท้องถนน ภาพเหตุการณ์ในตอนนั้นยังคงฝังอยู่ในความทรงจำ ผมใช้รูปทรงธรรมชาติมาเป็นแม่แบบในการทำงานอีกเช่นเคย ผมทำงานชิ้นนี้เพื่อต้องการระบายความโศกเศร้าที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกสูญเสียในช่วงเวลานั้นและเพื่อระลึกถึงบุคคลที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับ”

อมนุษย์ เทคนิค สีอะคริลิค บนผ้าใบ ขนาด 80x100 ซม.

“ผลงานชิ้นนี้ทำขึ้นในช่วงปีแรกของการเข้าศึกษาระดับปริญญาโท คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลงานชิ้นนี้เริ่มมีความลงตัวทางด้านเทคนิคการราด เท สลัดสี ลงบนผ้าใบแล้วค่อยเข้าไปจัดการกับรูปทรงอิสระที่เกิดขึ้นตามจินตนาการที่มองเห็น ความประทับใจคงเป็นเรื่องของความเข้าที่เข้าทางในเรื่องของเทคนิค ที่เราเริ่มจับทางได้มากขึ้นทำให้พอมองเห็นแนวทางในการพัฒนาผลงานชิ้นต่อ ๆ ไป”

นารีผล
เทคนิค สีอะคริลิคบนกระดานพลาสวูด ขนาด 140x188 ซม.

“ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานวิทยานิพนธ์ลำดับที่สาม จากจำนวนทั้งหมดสี่ชิ้นในการศึกษาระดับปริญญาโท ความประทับใจคงเป็นเรื่องของความสนุกในการทำงาน การมีสมาธิจดจ่ออยู่กับผลงานได้เป็นเวลานาน ๆ ปนเปไปกับความรู้สึกเคร่งเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานที่ต้องแข่งขันกับเวลา เพื่อให้ทันเสนอจบการศึกษาระดับปริญญาโท งานของผมค่อนข้างมีรายละเอียดที่เยอะ กว่าจะเสร็จแต่ละชิ้นต้องใช้เวลามาก การชมงานจริง ๆ จะได้อารมณ์มากกว่าชมงานผ่านภาพถ่าย”

โลกคือความหลากหลาย เทคนิค สีอะคริลิคบนกระดานพลาสวูด ขนาด 140x180ซม.

ผลงานชิ้นนี้ผมทำขึ้นเพื่อส่งเข้าประกวดเวทีศิลปกรรมช้างเผือกครั้งที่ 12 หัวข้อ ‘รักโลก’ ความประทับใจในผลงานชิ้นนี้ คือการทดลองใช้โครงสีใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยลอง ความสนุกของการทำงานยังเป็นเรื่องของรายละเอียดต่าง ๆ ที่เราใส่ลงไปในภาพ ในการทำงานแต่ละครั้งของผมจะไม่ได้สเก็ตสีไว้นะครับ แต่จะมีโครงสีคร่าว ๆ ไว้ในใจ พอเริ่มทำงานในขั้นตอนการลงสีก็จะใช้วิธีด้นสดไปเลย มีวิธีการคล้าย ๆ การต่อจิ๊กซอว์ปะติดปะติดกันไปเรื่อยจนผลงานเสร็จสมบูรณ์”

ถ้าใครสนใจในมุมมองและลายเส้นของ สุรพันธ์ ขวัญแสนสุข ก็สามารถติดตามเขาได้ที่ Facebook: https://www.facebook.com/sudyod.mak.3 Instagram: https://www.instagram.com/surapun_kwansaensuk/?utm_source=qr&igshid=MzNlNGNkZWQ4Mg%3D%3D&fbclid=IwAR3MnfLpuXJlyd4MJLJSj1ohC-hsJ9fLCTuz3Eewc1e73dU0hkxVpSn_1HI