เรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของการไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองก็คือการที่อะไร ๆ ก็ดูแปลกตาไปหมด ซึ่งช่างภาพจากอังกฤษ แบร์รี แม็คโดนัลด์ (Barry Macdonald) ก็คงรู้สึกอย่างนี้เมื่อมาใช้ชีวิตในเมืองไทย แล้วได้พบกับประหลาดใจจากวิถีชีวิตง่าย ๆ ไม่เป็นไร ๆ ที่เป็นเรื่องปกติของชาวเรา จนทำให้เขาขุดภาพที่ถ่ายเก็บไว้กว่า 6 ปีมาจัดเป็นนิทรรศการที่น่ารัก แต่ก็รุนแรง ในชื่อ ‘Same ๆ’

เรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของการไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองก็คือการที่อะไร ๆ ก็ดูแปลกตาไปหมด ซึ่งช่างภาพจากอังกฤษ แบร์รี แม็คโดนัลด์ (Barry Macdonald) ก็คงรู้สึกอย่างนี้เมื่อมาใช้ชีวิตในเมืองไทย แล้วได้พบกับประหลาดใจจากวิถีชีวิตง่าย ๆ ไม่เป็นไร ๆ ที่เป็นเรื่องปกติของชาวเรา จนทำให้เขาขุดภาพที่ถ่ายเก็บไว้กว่า 6 ปีมาจัดเป็นนิทรรศการที่น่ารัก แต่ก็รุนแรง ในชื่อ ‘Same ๆ’

Same ๆ ก็เหมือนกันนั่นแหละ… จริงหรอ? เมืองไทยสบาย ๆ ในสายตาช่างภาพฝรั่งขี้สงสัย

เรื่องมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของการไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองก็คือการที่อะไร ๆ ก็ดูแปลกตาไปหมด ซึ่งช่างภาพจากอังกฤษ แบร์รี แม็คโดนัลด์ (Barry Macdonald) ก็คงรู้สึกอย่างนี้เมื่อมาใช้ชีวิตในเมืองไทย แล้วได้พบกับประหลาดใจจากวิถีชีวิตง่าย ๆ ไม่เป็นไร ๆ ที่เป็นเรื่องปกติของชาวเรา จนทำให้เขาขุดภาพที่ถ่ายเก็บไว้กว่า 6 ปีมาจัดเป็นนิทรรศการที่น่ารัก แต่ก็รุนแรง ในชื่อ ‘Same ๆ’

งานนี้คุณแบร์รี (ขออนุญาตเรียกชื่อต้นแบบคนไทย) ไม่ได้ปิดบังความเป็นฝรั่งของเขา แต่กลับหยิบมาใช้เป็นโอกาสในการ “จับ” ความแปลกของความปกติ ๆ ในสังคมไทย มาเปิดบทสนทนากับพวกเราที่ใช้ชีวิตชินชากับบ้านเมืองตัวเอง เพราะแม้แต่ตอนลั่นชัตเตอร์ เขาเองก็คงไม่สามารถปิดตัวตนความเป็นคนต่างแดนของตัวเลยได้ เลยเลือกที่จะใช้มุมมองดังกล่าวในการพูดคุยกับผู้คนต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ และต่างเชื้อชาติ ที่มาเป็นแบบให้เขา ในแง่หนึ่งงานนี้จึงเป็นการประสานศาสตร์ของการถ่ายภาพบุคคล มาอยู่กับภาพสตรีท ภาพสารคดี ไปจนถึงภาพสิ่งประดิษฐ์ไทย ๆ ที่จัดวางแบบ Topographics (การถ่ายภาพสิ่งต่าง ๆ ในประเภทเดียวกันมาวางด้วยกันเพื่อเปรียบเทียบ)

ช่างภาพหลายคนคงคุ้นกับคำว่า Juxtaposition หรือการวางองค์ประกอบสองอย่างร่วมกันในภาพเพื่อสร้างความหมายเปรียบเทียบ งานนี้แบร์รีก็ทำคล้าย ๆ กัน แต่เขาไม่ได้จับคู่แค่สองสิ่ง แต่ทุกภาพถ่ายในงานกลับถูกนำฃมาวางเปรียบเทียบ สร้างเครือข่ายความหมายด้วยการโยงใยภาพแต่ละใบทั่วทั้งแกลเลอรี จนกลายเป็นการสร้างสรรค์เรื่องราวใหม่ให้แต่ละภาพถ่ายได้อย่างน่าสนใจ ตัวอย่างเช่น ภาพสาวสองวัยที่วางอยู่ข้างกัน แต่กลับดูราวกับกำลังจ้องสายตาสู้ชายอีกสองคนที่อยู่ในภาพถ่ายบนกำแพงฝั่งตรงข้าม

หลายภาพในนี้ทำให้เรายิ้มให้กับความ “เหมือน ๆ กันแหละ” อย่างภาพกิจกรรมยามว่างในสวน ที่ชายคนหนึ่งนอนชิลที่พื้นยืดขาสบาย ๆ กับอีกคนที่ขาชี้เพราะออกกำลังกาย แต่หลายภาพก็ทำให้เราฉุกคิดกับความ “ไม่เป็นไรหรอก” ที่แฝงอยู่กับความเหมือนกันแหละ อย่างภาพของช่างผู้ทำงานกลางสะเก็ดไฟแบบไร้อุปกรณ์ป้องกันจริงจังนอกจากแว่นเรย์แบน ซึ่งเขาบอกว่าต่างกันมาก ๆ กับการทำงานในประเทศอังกฤษ ความ “เหมือนกันแหละ” ในแง่หนึ่งจึงทำให้เราทบทวนว่ามัน “ได้เหมือนกันแหละ” จริงหรือ? เพราะในความสบาย ๆ แว่นกันแดดก็หยิบมาใช้ได้เหมือนแว่นกันไฟนั่นแหละ อาจหมายถึงอันตรายรุนแรงได้เหมือนกัน ทั้งที่ความปลอดภัยในชีวิต ไม่ใช่เรื่องที่เราควร “สบาย ๆ” อย่างนี้เลย

สำหรับเรา ผลงานของแบร์รีคือการตีความเมืองไทยด้วยสายตาที่สงสัยอย่างจริงใจ เขามองสภาวะที่ต่างกันของคนสองคนที่อยู่ในสถานที่เดียวกันด้วยความสนใจ และใช้ภาพถ่ายเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นบทสนทนากับผู้ชม เช่น ภาพของคนทำงานหาเลี้ยงชีพริมทะเลกับนักท่องเที่ยวตะวันตกที่กำลังปล่อยใจกับช่วงเวลาสบาย ๆ

“หลายครั้งผมก็กังวลอยู่เหมือนกันว่าจะมองบางอย่างผิดไป ตีความผิด ๆ เข้าใจผิด ๆ” เขายอมรับ “ผมโชว์รูปให้เพื่อนชาวไทยดู อย่างรูปที่เป็นรถเมล์ เพื่อนคนนึงของผมที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเล่าให้ฟังว่า ภาษาไทยในป้ายเขียนว่า ‘สถานีหมอชิต’ มันเป็นสถานที่แห่งความฝันและความหวังของผู้คนที่เข้ามากรุงเทพฯ แล้วเมื่อความฝันแตกสลาย พวกเขาก็กลับบ้านด้วยสถานีหมอชิตนี้ ผมเองก็เคยไปเชียงใหม่ด้วยหมอชิต แต่ผมไม่เข้าใจว่าหมอชิตมีความหมายแค่ไหนกับคนไทย ผมชอบสายตาของตัวเอง แต่ก็ต้องยอมรับจริง ๆ ว่ามันมีข้อจำกัด”

เวลา 6 ปีก็ไม่น้อยสำหรับการตระเวนสำรวจและเก็บภาพเมืองไทย จำนวนเพื่อนชาวไทยที่มากมายของเขาเป็นสิ่งยืนยันอย่างดีว่าเขา “อยู่” ในเมืองไทยจริงจังมากกว่าแค่การเที่ยว แต่ถ้าอย่างนั้น เขาจะยังรักษาสายตาฝรั่ง ๆ ไว้ได้แค่ไหน?

“ผมเป็นคนไทย” เขาตอบเสียงดังเป็นภาษาไทย ก่อนสวิตช์ภาษากลับเพื่อเล่าเหตุการณ์ประหลาด “ครั้งหนึ่งผมไปเชียงใหม่กับเพื่อน ๆ มีผู้หญิงคนหนึ่งมีแฟนเป็นคนอเมริกัน เราไปเที่ยวกันแถวแม่น้ำ แล้วมันต้องขึ้นรถกระบะเพื่อเดินทางต่อ เราก็โดดขึ้นท้ายกระบะกัน อเมริกันคนนั้นก็ตกใจ ถามใหญ่ว่ามันโอเคหรอ แต่ผมไม่ทันคิดด้วยซ้ำว่านี่มันโอเคไหม เพราะผมกระโดดขึ้นไปแล้ว”

ความเคยชินเปลี่ยนสิ่ง “ไม่ปกติ” ให้ธรรมดา ภาพถ่ายของแบร์รีจึงไม่ได้ทำหน้าที่แค่บันทึกห้วงเวลาในเมืองไทยของเขาเท่านั้น แต่ยังเป็นหลักฐานช่วยเตือนและจำ ความสดใหม่ของสายตาฝรั่งคนหนึ่ง ที่สนใจ “สิ่งปกติ” ทั้งหลายของเรา

นิทรรศการ Same ๆ โดย Barry Macdonald จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ - 29 ก.ย. 2566 ที่ 6060artsspace