เมื่อเอ่ยถึง ‘ตะวันออกกลาง’ นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและก๊าซต่าง ๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนอดนึกถึงไม่ได้ ก็คือไฟสงครามที่ยังคงคุกรุ่นอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งนิทรรศการ ‘A Hope and Peace to End All Hope and Peace’ จาก รัชดี อันวาร์ ก็เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ต้องการพูดถึงเรื่องนี้ ผ่านการพาผู้ชมทไปสำรวจสาเหตุของความวุ่นวายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเส้นพรมแดนตามใจชอบของชาติมหาอำนาจในอดีต ที่เคยเข้ามายึดครองภูมิภาคนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะทิ้งรอยแผลเหวอะหวะเอาไว้จนกลายเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อเอ่ยถึง ‘ตะวันออกกลาง’ นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและก๊าซต่าง ๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนอดนึกถึงไม่ได้ ก็คือไฟสงครามที่ยังคงคุกรุ่นอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งนิทรรศการ ‘A Hope and Peace to End All Hope and Peace’ จาก รัชดี อันวาร์ ก็เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ต้องการพูดถึงเรื่องนี้ ผ่านการพาผู้ชมทไปสำรวจสาเหตุของความวุ่นวายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเส้นพรมแดนตามใจชอบของชาติมหาอำนาจในอดีต ที่เคยเข้ามายึดครองภูมิภาคนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะทิ้งรอยแผลเหวอะหวะเอาไว้จนกลายเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน

‘A Hope and Peace to End All Hope and Peace’ นิทรรศการใหม่จาก Jim Thompson Art Center ที่สำรวจต้นตอสงครามในตะวันออกกลาง เปิดให้เข้าชมแล้ววันนี้

เมื่อเอ่ยถึง ‘ตะวันออกกลาง’ นอกเหนือจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและก๊าซต่าง ๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนอดนึกถึงไม่ได้ ก็คือไฟสงครามที่ยังคงคุกรุ่นอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งนิทรรศการ ‘A Hope and Peace to End All Hope and Peace’ จาก รัชดี อันวาร์ ก็เป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่ต้องการพูดถึงเรื่องนี้ ผ่านการพาผู้ชมทไปสำรวจสาเหตุของความวุ่นวายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแบ่งเส้นพรมแดนตามใจชอบของชาติมหาอำนาจในอดีต ที่เคยเข้ามายึดครองภูมิภาคนี้ในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อนที่จะทิ้งรอยแผลเหวอะหวะเอาไว้จนกลายเป็นปัญหามาจนถึงปัจจุบัน

‘รัชดี อันวาร์’ เป็นศิลปินชาวเคิร์ด กลุ่มชาติพันธุ์ไร้รัฐ ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกกลุ่มหนึ่ง เขาจึงเป็นคนที่ประสบพบเจอกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแบ่งแยกดินแดนมาโดยตลอด เนื่องจากดินแดนของเขามักถูกแบ่งแยกตามอำเภอใจอยู่เสมอ เริ่มตั้งแต่สมัยจักรวรรดิออตโตมัน ต่อด้วยจักรวรรดิอังกฤษและฝรั่งเศส อีกทั้งยังมีการแทรกแซงทางทหารที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและการแทรกซึมที่เกิดขึ้นล่าสุดโดยกลุ่ม ISIS ด้วย

ภายในนิทรรศการนี้ ทุกคนจะได้สัมผัสกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่นำพาตะวันออกกลางไปสู่ความยุ่งเหยิงถึงสามเรื่องด้วยกัน ประกอบไปด้วย ข้อตกลงไซเกส-ปิโกต์ พ.ศ. 2459 ที่ว่าด้วยเรื่องของเอกสารที่ประเทศอาณานิคม ได้แก่ อังกฤษกับฝรั่งเศส จัดทำขึ้นมาเพื่อแบ่งภูมิภาค 'ตะวันออกกลาง' แห่งนี้ออกเป็นเขตพื้นที่ต่างๆ อย่างไร้ซึ่งตรรกะอันสมเหตุสมผล เรื่องต่อมาคือเรื่องราวของบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการต่อสู้เพื่ออำนาจอธิปไตยของชาวเคิร์ดอย่าง ชีค มาห์มุด บาร์ซานจิ และ โหชยาร์ ไบยาเวลาย และเรื่องสุดท้ายคือการเลียนแบบวิธีการสร้างความหวาดกลัวในยุคอาณานิคม อย่างการโฆษณาชวนเชื่อที่อังกฤษนำมาใช้ การกดขี่ในยุคซัดดัม ฮุสเซน ไปจนถึงการก่อการร้ายของกลุ่ม ISIS

อันวาร์ ได้เล่าประวัติศาสตร์เหล่านี้ออกมาผ่านผลงานศิลปะที่ก่อร่างสร้างจากมุมมอง ประสบการณ์ และความทรงจำของเขาเอง โดยมีพื้นฐานมาจากการสะสม รวบรวม บันทึกข้อมูล และตีความผลลัพธ์ที่เกิดจากกลอุบายทางการเมืองทั้งหมดที่เขาศึกษา เพื่อสะท้อนภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคแห่งนี้อยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า รวมถึงสถานการณ์ผู้ลี้ภัยพลัดถิ่นที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นในปัจจุบันด้วย ดังนั้นการเข้ามาชมผลงานศิลปะจัดวางของเขาในนิทรรศการเดี่ยวครั้งนี้ จึงคล้ายกับว่าเราจะได้ท่องไปในห้องเรียนประวัติศาสตร์ที่ต่างไปจากตำราเรียนที่เราเคยรับรู้จากภาครัฐ

ถ้าใครสนใจในประวัติศาสตร์ของตะวันออกกลาง และอยากมองเห็นเรื่องเล่าจากมุมมองของผู้ได้รับผลกระทบตัวจริง ก็สามารถมาตามรอยความวุ่นวายที่เกิดจากการขีดเส้นพรมแดนเหล่านี้ได้ใน ‘A Hope and Peace to End All Hope and Peace’ โดยสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 - 10 มีนาคม 2567 ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน (The Jim Thompson Art Center)