เราเดินทางมาถึง ‘ทรงวาด’ ด้วยความคิดที่ติดอยู่ในใจว่า นี่เป็นหนึ่งในย่านสุดเท่ที่คูลที่สุดในโลก ตามการจัดอันดับของสื่อชื่อดังอย่าง Time Out เมื่อปีที่แล้ว และอดสงสัยไม่ได้ ว่าบ้านใหม่ของ TARS Unlimited ที่นี่ (ซึ่งเปลี่ยนมาจาก TARS Gallery ที่เดิม) จะเป็นอย่างไรบ้าง และก็ต้องพบว่าพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากแกลเลอรี่สีขาวเกลี้ยง มาสู่ตึกเก่าที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านเก่าแก่แห่งนี้อย่างเปิดเผย กับนิทรรศการ ‘SURIN’ (สุรินทร์) ซึ่งได้ชื่อมาจาก ผู้ดูและมัสยิดหลวงโกชาอิศหากในบริเวณนั้น ผู้เป็นที่รักของคนในพื้นที่

เราเดินทางมาถึง ‘ทรงวาด’ ด้วยความคิดที่ติดอยู่ในใจว่า นี่เป็นหนึ่งในย่านสุดเท่ที่คูลที่สุดในโลก ตามการจัดอันดับของสื่อชื่อดังอย่าง Time Out เมื่อปีที่แล้ว และอดสงสัยไม่ได้ ว่าบ้านใหม่ของ TARS Unlimited ที่นี่ (ซึ่งเปลี่ยนมาจาก TARS Gallery ที่เดิม) จะเป็นอย่างไรบ้าง และก็ต้องพบว่าพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากแกลเลอรี่สีขาวเกลี้ยง มาสู่ตึกเก่าที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านเก่าแก่แห่งนี้อย่างเปิดเผย กับนิทรรศการ ‘SURIN’ (สุรินทร์) ซึ่งได้ชื่อมาจาก ผู้ดูและมัสยิดหลวงโกชาอิศหากในบริเวณนั้น ผู้เป็นที่รักของคนในพื้นที่

ความทรงจำของย่าน ที่ซุกซ่อนอยู่กับงานศิลปะ ใน ‘SURIN’ นิทรรศการที่อยากเชื่อมทรงวาดเข้ากับพลังแห่งศิลปะ

เราเดินทางมาถึง ‘ทรงวาด’ ด้วยความคิดที่ติดอยู่ในใจว่า นี่เป็นหนึ่งในย่านสุดเท่ที่คูลที่สุดในโลก ตามการจัดอันดับของสื่อชื่อดังอย่าง Time Out เมื่อปีที่แล้ว และอดสงสัยไม่ได้ ว่าบ้านใหม่ของ TARS Unlimited ที่นี่ (ซึ่งเปลี่ยนมาจาก TARS Gallery ที่เดิม) จะเป็นอย่างไรบ้าง และก็ต้องพบว่าพวกเขาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากแกลเลอรี่สีขาวเกลี้ยง มาสู่ตึกเก่าที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านเก่าแก่แห่งนี้อย่างเปิดเผย กับนิทรรศการ ‘SURIN’ (สุรินทร์) ซึ่งได้ชื่อมาจาก ผู้ดูและมัสยิดหลวงโกชาอิศหากในบริเวณนั้น ผู้เป็นที่รักของคนในพื้นที่

ที่ว่าเหมือนจะซ่อนตัว ก็เพราะหน้าตาแบบตึกเก่าที่กลมกลืนไปกับอาคารโดยรอบ ทำให้จังหวะแรกที่มองเข้าไปในซอยเรายังลังเลที่จะก้าวเท้าเข้าไป นี่เป็นอาคารโรงงาน (ไอติม) เก่า ที่ยังเต็มไปด้วยคานโครงสร้างบึกบึนแข็งแรง แต่ก็สมบุกสมบัน และอบอวลไปด้วยกลิ่นอายของคนทำงานเก่าที่เคยทำงานและอยู่อาศัยที่ชั้นสองที่นี่ ซึ่งปัจจุบันเป็น ‘RATS’ พื้นที่ศิลปะที่เต็มไปด้วย อิฐ ปูน โปสเตอร์นักมวย และภาพยั่วยวนต่าง ๆ ที่ถูกติดไว้มาก่อนยังคงส่งเสียงของตัวเองอยู่ ตอกย้ำและแต่งแต้มความหมายให้กับงานศิลปะ ที่ไม่เคยเกิดมาจากความว่างเปล่า

และที่ว่าตั้งอยู่อย่างเปิดเผย คือด้านหน้าของอาคารแห่งนี้โปร่งโล่ง ไม่ปกปิดใบหน้าของศิลปะที่เข้ามาอาศัยด้านใน พร้อมกับเชื้อเชิญให้ทุกคนก้าวเข้าไป ในช่องโล่งที่ใหญ่จนรถขนของยังอาจจะเข้าไปได้ ภาพถ่ายที่ติดตั้งอยู่บนกำแพงเป็นของศิลปินมุสลิม อำพรรณี สะเตาะ “ดีนะอยู่ตรงนี้ เขาทำเเบบนี้ดีเลย เดี๋ยวจะมีมุสลิมเข้ามาชมเยอะเลย” คุณสุรินทร์กล่าว

นิทรรศการ ‘สุรินทร์’ ที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ชั้นหนึ่งตอนนี้ ประกอบไปด้วยผลงานของ มิตร ใจอินทร์, ปริณต คุณากรวงศ์, พิสฐิฎ์กุล ควรเเถลง, อำพรรณี สะเตาะ เเละธนวัฒน์ นุ่มเจริญ ซึ่งต่างก็ดึงเรื่องราวความทรงจำของทรงวาด ออกมาปะทะกับความทรงจำส่วนตัว และการมีส่วนร่วมกับผู้คนที่ผลัดเวียนกันมาเข้าออกสถานที่แห่งนี้

โดยเฉพาะผลงานของปริณต คุณากรวงศ์ ที่มองเห็นพลังรุนแรงผ่านกระจกได้ตั้งแต่ด้านนอก แต่ก็ชวนสงสัยว่างานศิลปะคืออันไหนนะ? เพราะงานศิลปะภายในคอกกำแพงโครงสร้างเก่าของเขาคือเศษซากของอาคารแห่งนี้ และตู้เย็นอีกสี่ตู้ สมกับชื่อ ‘4 Fridges, A Salute to the Diasporas’

มันเป็นงานศิลปะแบบติดตั้ง (Installation Art) ที่สร้างขึ้นจากวัตถุธรรมดา ๆ (เราเสิร์ชคร่าว ๆ แล้วคิดว่าคงพอหาซื้อตู้เย็นแบบเดียวกันกับในงานนี้ได้อยู่) ศิลปินวางพวกมันกระจายไว้แบบ ตู้หนึ่งจมกองหินของตึกที่ถูกทุบไปจนเกือบมิด อีกตู้กลับจัดเก็บจอมปลวกไว้ด้านใน อีกตู้หันหน้ามองมุมห้อง ส่วนอีกตู้ที่ดูจะสูงใหญ่และใช้งานได้อยู่มากที่สุด ถูกวางไว้อีกห้องหนึ่ง ปรากฏตัวดังเตรียมพร้อมรอแช่เครื่องดื่มสำหรับแขกของนิทรรศการ

สำหรับแม่เรา ตู้เย็นอาจจะรักษาอาหารให้มีชีวิตยืนยาวตลอดไปได้ แต่สำหรับตู้ที่แช่จอมปลวกไว้ข้างใน เราไม่แน่ใจว่าพวกมันสัมพันธ์กันยังไง ใครช่วยรักษาใครกันแน่ ยิ่งเมื่อโลกภายนอกไม่ได้มีแต่อุณหภูมิและความชื้นเท่านั้นที่เป็นพลังกัดกร่อนอาคารและสิ่งของต่าง ๆ ให้ร่วงหล่นลงมาตามเวลา แต่ยังมีพลังของความคิด ที่ตีคุณค่า ตีมูลค่า และการจัดการมากมายในโลกภายนอก ที่พร้อมจะสลายกระเบื้องที่แข็งแกร่งให้กร่อนลงมาเป็นเพียงเศษขนาดเล็กกองที่พื้น และในทางตรงกันข้าม เศษซากเหล่านี้ก็ห่อหุ้มและบดบังตู้เย็นจากการรุกรานทางสายตาภายนอกได้ไม่น้อย นอกจากกลิ่นไอที่เราสัมผัสได้ในบรรยากาศแล้ว งานชิ้นนี้ของเขาบีบให้เราต้องรู้สึกถึงพลังที่มองไม่เห็นอีกมากมาย เหมือนในภาพพิมพ์จากแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ด้านหลัง ซึ่งเศษหินแม้เพียงชิ้นเล็กชิ้นน้อยก็สร้างลวดลายขึ้นมาได้ ด้วยการบดบังทางแสง จนเหลือเพียงพื้นที่สีฟ้า ซึ่งโอบรอบร่างกายมนุษย์อยู่ตลอดเวลา แต่เราแทบไม่เคยนึกถึงมัน

งานชิ้นอื่น ๆ ในนี้ก็ยังคงพูดถึงความทรงจำในพื้นที่ และชวนให้เราไปปะทะกับมันต่อทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้า “เอเลี่ยน” ของมิตร ใจอินทร์ ที่ชวนให้นึกถึงคน “ต่างด้าว” ผู้เข้ามาใช้ชีวิตในเมืองเก่าแห่งนี้ หรือภาพวาดของธนวัฒน์ นุ่มเจริญ ที่พาสิ่งของธรรมดา ๆ ข้างทางขึ้นมาอยู่บนผนังจัดแสดง

แต่สิ่งที่สำคัญและสนุกมาก ๆ ของงานนี้จริง ๆ ก็คงเป็นพลังของศิลปะที่จะชวนให้ทุกคนมองสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน แบ่งปันช่วงเวลาและสถานที่หนึ่งร่วมกัน และบอกเล่าความเห็นของตัวเองออกมาร่วมกัน ถ้าไปดูงานนี้แล้วคิดเห็นอย่างไร ก็อย่าลืมลองกดเข้าไปอ่านความเห็นของคุณสุรินทร์ได้ ในเว็บไซต์ของ TARS Unlimited เอง

นิทรรศการ SURIN (สุรินทร์) โดย มิตร ใจอินทร์, ปริณต คุณากรวงศ์, พิสฐิฎ์กุล ควรเเถลง, อำพรรณี สะเตาะ เเละธนวัฒน์ นุ่มเจริญ ที่ TARS Unlimited ตั้งแต่วันนี้ – 5 พฤษภาคม 2567