ตลกดีเหมือนกันที่พอเราลองสังเกตุดูหิน ดิน ดอกไม้ หรือสิ่งเล็ก ๆ ต่าง ๆ รอบตัว กลับทำให้เรารู้สึกว่าตัวเราเองต่างหากที่เล็กนิดเดียว นั่นคือความรู้สึกของเราขณะที่ยืนอยู่ในนิทรรศการ ‘The Natural Philosophers of the 21st Century’ ที่ภัณฑารักษ์ ‘นิ่ม นิยมศิลป์’ ยกแนวคิดเรื่อง ‘Natural Philosophy’ (“ปรัชญาธรรมชาติ”) มาให้เราลองใช้เป็นเลนส์มองดูสภาพแวดล้อม ทำให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเคยมองข้ามไป หลังการศึกษาแยกเด็กสายวิทย์กับสายศิลป์ออกจากกัน

ตลกดีเหมือนกันที่พอเราลองสังเกตุดูหิน ดิน ดอกไม้ หรือสิ่งเล็ก ๆ ต่าง ๆ รอบตัว กลับทำให้เรารู้สึกว่าตัวเราเองต่างหากที่เล็กนิดเดียว นั่นคือความรู้สึกของเราขณะที่ยืนอยู่ในนิทรรศการ ‘The Natural Philosophers of the 21st Century’ ที่ภัณฑารักษ์ ‘นิ่ม นิยมศิลป์’ ยกแนวคิดเรื่อง ‘Natural Philosophy’ (“ปรัชญาธรรมชาติ”) มาให้เราลองใช้เป็นเลนส์มองดูสภาพแวดล้อม ทำให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเคยมองข้ามไป หลังการศึกษาแยกเด็กสายวิทย์กับสายศิลป์ออกจากกัน

‘The Natural Philosophers of the 21st Century’ เงี่ยหูฟังธรรมชาติรอบตัว เพื่อพบตัวตนใหม่ท่ามกลางสรรพสิ่ง

ตลกดีเหมือนกันที่พอเราลองสังเกตุดูหิน ดิน ดอกไม้ หรือสิ่งเล็ก ๆ ต่าง ๆ รอบตัว กลับทำให้เรารู้สึกว่าตัวเราเองต่างหากที่เล็กนิดเดียว นั่นคือความรู้สึกของเราขณะที่ยืนอยู่ในนิทรรศการ ‘The Natural Philosophers of the 21st Century’ ที่ภัณฑารักษ์ ‘นิ่ม นิยมศิลป์’ ยกแนวคิดเรื่อง ‘Natural Philosophy’ (“ปรัชญาธรรมชาติ”) มาให้เราลองใช้เป็นเลนส์มองดูสภาพแวดล้อม ทำให้เห็นหลายสิ่งหลายอย่างที่เราเคยมองข้ามไป หลังการศึกษาแยกเด็กสายวิทย์กับสายศิลป์ออกจากกัน

นั่นก็เพราะ Natural Philosophy เป็นแนวคิดที่เรียกได้ว่ามีความ “ข้ามศาสตร์” อยู่ในตัว คือแทนที่เราจะวัดธรรมชาติด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ หรือเก็บความรู้สึกประทับใจมาละเลงลงภาพวาด แนวคิดแบบ Natural Philosophy แบบในนิทรรศการนี้ กลับเป็นกระบวนการทำงานทางศิลปะ ที่การค้นคว้าวิจัยมีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาษาของงานศิลปะที่ใช้นำเสนอออกมาเลย

อย่างเช่นโปรเจกต์ Anthropocene ของศิลปิน เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล ที่เขาพูดถึงปัญหาสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ แบบที่ “สัมผัสได้” ถึงผลกระทบโดยตรงกับเรา แบบที่รายงานวิชาการคงให้แบบเดียวกันไม่ได้แน่นอน แต่ก็เป็นงานที่ “สัมผัสไม่ได้” เพราะเขาเล่นเอาดินที่มีสารปนเปื้อนมาทำเป็นเนินเล็ก ๆ ในห้อง ที่แปะป้าย ‘อันตราย ห้ามจับ’ ทำให้เรายิ่งอยากเข้าไปจับเหลือเกิน แต่ก็กลัวว่าอาจจะอันตรายได้ คิดแล้วก็กลัวว่าดินหินแถวบ้านที่เราหยิบจับ จะมีสารพิษอะไรปนเปื้อนอยู่บ้างก็ไม่รู้เลย เพราะไม่มีป้ายห้ามจับแบบในนี้

นอกจากนี้ยังมีงานอินเทอร์แอคทิฟของ อีจินจุน ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจาก “วิว” แห่งการทำลายล้างฉนวนกาซ่าจากบนยอดเขาในอิสราเอล ซึ่งทำให้ภาพแห่งความรุนแรงบนโลกถูกทำให้เป็นโชว์ หรือผลงานของนรภัทร ศักดิ์อาธรทรัพย์ ศิลปินดอกไม้ ที่คราวนี้ให้ความสำคัญกับ “บ้าน” ของดอกไม้ อย่างกระถางต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อมัน รวมไปถึงผลงานของ พรภพ สิทธิรักษ์ ที่เล่นกับความปรารถนาหรืออารมณ์ความรู้สึกและความคิดต่าง ๆ ของมนุษย์ที่มีต่อท้องทะเล ซึ่งโยงไปเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับมนุษย์อีกมากมาย

มันเป็นเรื่องเศร้าไม่น้อย ที่คิดว่ามนุษย์ส่งผลกระทบต่อโลกของเราและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ได้มหาศาล แต่ในขณะเดียวกัน เราเองกลับไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้นแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินได้ด้วยตัวคนเดียว และยังไม่นับว่ามุมมองของเราเพียงคนเดียวมันมีความคับแคบและอยู่ภายใต้การจำกัดแค่ไหน แต่อย่างน้อยการดูนิทรรศการแบบนี้ก็อาจทำให้เราเห็นว่ายังมีอะไรที่เราไม่รู้อีกมาก และยังมีอะไรอีกมากที่เราอาจจะพอทำได้

The Natural Philosophers of the 21st Century จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ - 23 มิถุนายน 2567 ที่ Gallery VER