เครื่องบินในงานศิลปะ มักจะไม่ได้เป็นแค่การเดินทางเสมอไป แต่มันยังสื่อถึงการผจญภัย การท่องเที่ยว หรือแม้แต่ความกลัวด้วยซ้ำ ใน ‘When We See the Planes’ นิทรรศการที่ช่างภาพ, นักวาด, คนทำหนัง, กราฟิกดีไซเนอร์ และชาวพม่าอีกหลายสาขามารวมตัวกัน สร้างนิทรรศการศิลปะแบบกึ่ง ๆ สนามบิน ที่จะพาเราไปสำรวจความหมายของเครื่องบิน ซึ่งต่างไปจากที่เราเคยรู้จักมาก ๆ

เครื่องบินในงานศิลปะ มักจะไม่ได้เป็นแค่การเดินทางเสมอไป แต่มันยังสื่อถึงการผจญภัย การท่องเที่ยว หรือแม้แต่ความกลัวด้วยซ้ำ ใน ‘When We See the Planes’ นิทรรศการที่ช่างภาพ, นักวาด, คนทำหนัง, กราฟิกดีไซเนอร์ และชาวพม่าอีกหลายสาขามารวมตัวกัน สร้างนิทรรศการศิลปะแบบกึ่ง ๆ สนามบิน ที่จะพาเราไปสำรวจความหมายของเครื่องบิน ซึ่งต่างไปจากที่เราเคยรู้จักมาก ๆ

‘When We See the Planes’ เมื่อมองขึ้นไปบนฟ้า ศิลปินพม่าพบกับความหวาดกลัว

เครื่องบินในงานศิลปะ มักจะไม่ได้เป็นแค่การเดินทางเสมอไป แต่มันยังสื่อถึงการผจญภัย การท่องเที่ยว หรือแม้แต่ความกลัวด้วยซ้ำ ใน ‘When We See the Planes’ นิทรรศการที่ช่างภาพ, นักวาด, คนทำหนัง, กราฟิกดีไซเนอร์ และชาวพม่าอีกหลายสาขามารวมตัวกัน สร้างนิทรรศการศิลปะแบบกึ่ง ๆ สนามบิน ที่จะพาเราไปสำรวจความหมายของเครื่องบิน ซึ่งต่างไปจากที่เราเคยรู้จักมาก ๆ

“มันมีสองความหมายมาก เวลาเราเห็นเครื่องบินก็อาจจะรู้สึกแบบได้เดินทางแล้ว หรือเห็นความหวัง เห็นอนาคต แต่ว่าสำหรับเขามันเป็นคนละเรื่องกันเลย” ไกร ศรีดี หนึ่งในคิวเรเตอร์ของงานเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวพม่าให้เราฟัง และเสริมด้วยว่าแค่การเห็นหรือได้ยินเสียงเครื่องบินตอนนี้ ก็ทำให้พวกเขาหวาดกลัวได้แล้ว หลังจากโดนเครื่องบินจากรัฐบาลโจมตีมานาน

“เราก็เลยรูัสึกอยากทำให้มันเป็นคำถามและให้ฉุกคิดมากกว่า ว่าการเห็นเครื่องบินที่เหมือนเป็นความสุขของเราเอง มันมีความทับซ้อนของบางคนหรือบางสถานการณ์อยู่” “ในมุมมองของคนอื่น หรือพื้นที่อื่น ๆ มันก็ยังมี สิ่งที่เรามองไม่เห็นอยู่ ยังมีความเจ็บปวดที่ซ่อนอยู่”

แต่ในงานจริง ๆ ก็ไม่ได้มีแต่เรื่องเศร้าเลย ดูอย่างภาพคุณลุงที่ยังนั่งดื่มอยู่ได้ กลางซากทุกอย่างที่พังลงต่อหน้า และงานหลายชิ้นในนี้ก็เป็นตัวอย่างศิลปะพม่าร่วมสมัยที่น่าสนใจสุด ๆ

“ความชัดเจนของคนพม่าคือ วัฒนธรรมที่เขาเอามาต่อต้าน มันเป็นวัฒนธรรมที่เขาอยู่กับมันจริง ๆ โสร่งเขาก็ยังใส่อยู่ หม้อที่เขาเอามาตีก็มีทุกบ้าน” เราถามเขาเรื่องเอกลักษณ์ของศิลปะร่วมสมัยในพม่า “ผลงานชิ้นหนึ่ง เป็น Fabric Collage ที่ทำมาจากผ้าห่ม พอเห็นขอบคนพม่าก็จะรู้ได้เลย ว่านี่คือวัฒนธรรมการถักของพม่าโซนภาคกลาง แต่ผ้าที่เขาคอลลาจลงไปเป็นเหมือนผ้าเช็ดมือบนโต๊ะชา ตัวศิลปินเองเขาต้อง fled จากบ้านเขาแล้วมาเจอกับความลื่นไหลของการใช้ผ้าในวัฒนธรรมพม่าสูง และความเป็นผ้าห่ม มันเป็นสิ่งเดียวที่เขาใช้คลุมเวลานอนไม่หลับหรือว่าหลบเสียงเครื่องบิน”

นอกจากเรื่องศิลปะ อีกสิ่งที่คนไทยอาจจะเรียนรู้ได้จากผลงานชุดนี้คือเรื่องการสื่อสารทางการเมือง “ผมเรียนรู้จากชาวพม่าว่าอะไรควรพูดตอนไหน และอะไรควรทำตอนไหน ในน้ำเสียงแบบไหน

“ชาวพม่าเวลาเขาทำพลาดหรือพูดพลาดทีนึงมันไม่ใช่แค่การล้ม แต่เขามีโอกาสเสียชีวิตได้เลยเพราะรัฐบาล เพราะฉะนั้นเขาจะมีภราดรภาพ (Solidarity) กับชาวพม่าเองสูงมาก และเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวแต่ละครั้งควรทำอย่างไร เพราะฉะนั้นเราค่อนข้างจะไม่ปฏิเสธว่านิทรรศการนี้มันอาจจะมีโทนที่สดใสหรือว่าพอยิ้มได้ เพราะนี่คือโทนที่จะทำให้คนเข้าใจว่าเนื้อหาที่เกิดขึ้นมันคืออะไรกันแน่”

แต่อีกอย่างที่สำคัญมากเหมือนกันในงานนี้ ก็คือความหวังที่ซ่อนอยู่ในเครื่องบินกระดาษ ว่าสักวันสันติภาพในพม่าคงเกิดขึ้นได้ เหมือนกับที่เรายังต้องเก็บความหวังสำหรับบ้านของเราไว้ด้วยเหมือนกัน

นิทรรศการ When We See the Planes จะเปิดให้ชมถึงวันที่ 2 มิถุนายนนี้เท่านั้น ที่ Studio Fluff Bangkok (MRT สีลม) มีจัดวงเสวนาด้วยลองเช็ควันกันได้