ปฏิเสธไม่ได้ว่าความโดดเด่นของซีรีส์เรื่อง ‘ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’ คือการทำให้ผู้ชมอย่างเรา ๆ ได้ย้อนยุคกลับไปในช่วงปี 70s ยุคสมัยแห่งความโรแมนติก ที่แฝงไปด้วยประเด็นทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบนเตียงที่ไม่สามารถบอกเล่าได้อย่างเปิดเผย หรือเรื่องของเพศสภาพเองที่ต้องเก็บซ่อนไว้ลึก ๆ ในใจ  สิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำมาตีแผ่อย่างประณีต ผ่านการออกแบบองค์ประกอบฉากที่น่าตื่นตาโดย ‘ตั้ม-พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ’ Production Designer ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบหนังและซีรีส์ไทยมากมาย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความโดดเด่นของซีรีส์เรื่อง ‘ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’ คือการทำให้ผู้ชมอย่างเรา ๆ ได้ย้อนยุคกลับไปในช่วงปี 70s ยุคสมัยแห่งความโรแมนติก ที่แฝงไปด้วยประเด็นทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบนเตียงที่ไม่สามารถบอกเล่าได้อย่างเปิดเผย หรือเรื่องของเพศสภาพเองที่ต้องเก็บซ่อนไว้ลึก ๆ ในใจ สิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำมาตีแผ่อย่างประณีต ผ่านการออกแบบองค์ประกอบฉากที่น่าตื่นตาโดย ‘ตั้ม-พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ’ Production Designer ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบหนังและซีรีส์ไทยมากมาย

คุยกับ ตั้ม-พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ ผู้เนรมิตทัศนียภาพของยุค 70s ให้กลับมาคึกคักใน ‘ดอกเตอร์ไคล์แมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’

ปฏิเสธไม่ได้ว่าความโดดเด่นของซีรีส์เรื่อง ‘ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’ คือการทำให้ผู้ชมอย่างเรา ๆ ได้ย้อนยุคกลับไปในช่วงปี 70s ยุคสมัยแห่งความโรแมนติก ที่แฝงไปด้วยประเด็นทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบนเตียงที่ไม่สามารถบอกเล่าได้อย่างเปิดเผย หรือเรื่องของเพศสภาพเองที่ต้องเก็บซ่อนไว้ลึก ๆ ในใจ สิ่งเหล่านี้ได้ถูกนำมาตีแผ่อย่างประณีต ผ่านการออกแบบองค์ประกอบฉากที่น่าตื่นตาโดย ‘ตั้ม-พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ’ Production Designer ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบหนังและซีรีส์ไทยมากมาย

การเนรมิตฉากหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ปรากฏให้สามารถส่งเสริมการเล่าเรื่องและสนับสนุนเรื่องของภาพ เพื่อสื่อสารกับผู้ชมถือเป็นแนวคิดหลักในการทำงานของคุณตั้ม เช่น ฉากห้องนอนของนายดอน เด็กชายผู้มีปัญหาเรื่องอวัยวะเพศ ที่เต็มไปด้วยของใช้รูปทรงที่เหมือน ‘จรวด’ สัญลักษณ์ที่แทนความเป็นชาย หรือหนังหลาย ๆ เรื่องของคุณ ‘เป็นเอก รัตนเรือง‘ ที่คุณตั้มได้แสดงให้เห็นถึงการดีไซน์ที่มีองค์ประกอบหลากหลายอย่างตั้งใจ

GroundControl จึงชวนคุณตั้มมาบอกเล่าและพูดคุยเกี่ยวกับการเนรมิตฉากและองค์ประกอบต่าง ๆ ในซีรีส์เรื่องนี้ ตั้งแต่ไอเดียตั้งต้นไปจนถึงเบื้องหลัง พร้อมกับ ‘อู๋-วิทยา ชัยมงคล’ Production Designer ที่ทำงานร่วมกัน ทำให้ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว กลายเป็นซีรีส์อีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้เราตื่นเต้นกับทุกรายละเอียดที่ถูกแสดงผ่านหน้าจอ

เราเริ่มต้นพูดคุยกับคุณตั้มเกี่ยวกับจุดเริ่มต้น ว่าเขาก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในโปรเจกต์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ได้อย่างไร คุณตั้มจึงเริ่มเล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นว่า “จริง ๆ คือผมเคยร่วมงานกับทาง GMM Studios International มาอยู่แล้ว ตอนทำเรื่องเคว้ง ก่อนหน้าเคว้งด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นผมกับ Showrunner ก็จะรู้วิธีการทำงานกันอยู่แล้ว ตำแหน่งของ Production Designer หรือ ผู้ออกแบบงานสร้าง จะเข้าสู่งานค่อนข้างเร็ว คือหลังจากที่โปรเจกต์ได้รับการอนุมัติ ทางคุณเอกชัย เอื้อครองธรรม (ครีเอเตอร์ของ GMM Grammy) ก็นัดเข้าไปพูดคุยในเบื้องต้น เพื่อจะฟังคอนเซปต์ว่าซีรีส์จะเป็นประมาณไหน แล้วก็เป็นจุดเริ่มต้นที่เริ่มทำงาน”

“คุณตั้มและคุณอู๋ยังเล่าให้ฟังเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันกับ ‘คุณคงเดช จาตุรันต์รัศมี’ และ ‘คุณไพรัช คุ้มวัน’ โดยเฉพาะในช่วงพรีโปรดักชันที่ทั้งสี่คนได้ทำงานด้วยกันแทบจะทุกขั้นตอน “ผมเคยทำงานกับคงเดชด้วยกันมานานมากแล้ว ในยุคที่ผมยังโปรดิวซ์ให้หนังอินดี้ ตอนนั้นคงเดชทำหนังชุดหนึ่งให้ Thai PBS สวัสดีบางกอก หนึ่งในนั้นมีเรื่องสั้นที่คงเดชทำ นอกจากนั้นก็เคยคุยกันบ่อย แต่ว่าเส้นทางการทำงานก็ไม่ได้เจอกันเลย แต่ว่าครั้งนี้ก็ได้กลับมาเจอกันอีกครั้งหนึ่ง”

“หลังจากที่ได้อ่านบทภาพยนตร์ของซีรีส์เรื่องนี้แล้ว ก็รู้สึกได้เลยว่ามันเป็นซีรีส์ที่มีความสนุก แล้วมันคงถูกถ่ายทอดมาไม่ได้ถ้าเกิดว่าคนเขียนบทไม่ได้รู้สึกสนุกหรือว่ามีความเข้าใจในเรื่องนี้จริง ๆ อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องชื่นชมพี่คงเดชในส่วนนี้ ในส่วนของพี่ปกป้อง (ไพรัช) ในช่วงของการถ่ายทำเองก็จะมีในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งดูเหมือนจะเป็นคนที่สนใจในเรื่องของเฟรมภาพ ซึ่งพอทั้งสองคนมารวมตัวกันมันก็คล้าย ๆ เป็นความสมดุลที่ทำให้ซีรีส์มันดูดี”

ปัจจุบันนอกจากคุณตั้มจะทำหน้าที่เป็น Production Designer แล้ว เขายังมีบทบาทในฐานะนักเขียนประจำเพจ ‘ข้างหลังภาพ-ยนตร์’ ที่คอยบอกเล่าถึงเบื้องหลังและเทคนิคต่าง ๆ ที่ใช้ในการถ่ายทำหนังและซีรีส์ หนึ่งในนั้นคือสถานที่สำคัญอย่าง ‘เวิ้งนครเกษม’ ที่ใช้เป็นสถานที่หลักในการถ่ายทำซีรีส์เรื่องดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว ซึ่งคุณตั้มได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับสถานที่นี้ว่าเป็นเหมือน ‘Movie Backlot’ ซึ่งหมายถึงพื้นที่ใกล้เคียงกับสตูดิโอภาพยนตร์ ที่ใช้สำหรับสร้างฉากกลางแจ้งโดยที่ไม่จำเป็นต้องถ่ายทำในสถานที่จริง

“เวิ้งนครเกษมมันก็มีองค์ประกอบในการเลือกหลายอย่าง แต่จริง ๆ แล้วในส่วนของรายละเอียด โครงสร้างและภาพรวมของสถาปัตย์ที่สถานที่เองก็มีความเหมาะสม แล้วก็สามารถที่จะทำงานได้จริง ในหลาย ๆ ส่วน หมายความว่าในลักษณะของการถ่ายทำมันต้องการพื้นที่ที่เราสามารถควบคุมได้”

“ผมจำได้เลยว่าผมเสนอคงเดชและคุณเอกชัยว่าจะต้องมีที่นี่ (เวิ้งนครเกษม) เพราะในงานศิลปกรรม เราต้องขายความเชื่อให้คนดูเชื่อก่อนว่าคนดูจะหลุดเข้าไปในโลกใบนั้นได้ เพราะฉะนั้นโจทย์ของเรื่องนี้คือการทำให้คนดูมีความตื่นเต้นไปกับยุคสมัยนั้น ข้อดีของเวิ้งนครเกษมก็คืออย่างสำนักพิมพ์ คุณสามารถเดินจากถนนแล้วเดินเข้าล็อบบี้ได้เลย ข้างในก็จะมองเห็นบันไดที่เดินขึ้นข้างบนได้เลย ถือเป็นข้อเด่นของสถานที่เช่นเวิ้งนครเกษมเลย”

“ผมคิดว่าการทำให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนหลุดเข้าไปมันต้องเริ่มต้นจากบทก่อน ผมจะบอกตลอดเวลาว่างานศิลปกรรมเป็นงาน Support การเล่าเรื่อง คือบทนี้เล่าเรื่องอยู่แล้ว แต่ในส่วนของ Production Design มันไม่ใช่แค่เรื่องของสถานที่อย่างเดียว แต่มันยังรวมถึงเรื่องของเสื้อผ้า ทรงผม เมคอัพ และพร็อพต่าง ๆ ที่ประกอบรวมกันแล้วมันจะทำให้เชื่อ แล้วก็เรายังโชคดีที่กรุงเทพฯยังหลงเหลือสถาปัตยกรรมจากยุคนั้นอยู่ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำมารวมอยู่ในซีรีส์เรื่องนี้เยอะพอสมควร ถ้าคนดูจะเชื่อก็ต้องเริ่มต้นจากบทจาก DNA จากสิ่งที่ผู้กำกับขัดเกลามา แล้วเราก็จะสนับสนุนในส่วนของ Visual ของมันให้เกิดขึ้น” คุณตั้มและคุณอู๋ ได้เสริมให้ฟังเกี่ยวกับองค์ประกอบสำคัญในการทำ Production Design ว่าเราจะทำอย่างไรให้ผู้ชมเชื่อว่าตัวหนังหรือซีรีส์อยู่ในยุคนั้นจริง ๆ

นอกจากนั้นคุณตั้มยังเล่าให้ฟังถึงกระบวนการการออกแบบองค์ประกอบฉากต่าง ๆ ในซีรีส์ เช่น หนังสือโป๊ ป้ายร้านค้า หรือหนังสือพิมพ์ ฯลฯ ตั้งแต่ขั้นตอนการการค้นคว้าจนถึงการออกแบบว่า “เราทำการบ้านพอสมควรเลย ในเรื่องของหนังสือพิมพ์เองเรื่องของนิตยสารต่าง ๆ ในสมัยนั้น คือเราก็ไปดูลักษณะ Characters ของหนังสือพิมพ์ในยุคสมัยนั้น ตัวหนังสือเอง ลักษณะของคอลัมน์เอง ซึ่งในช่วงการ Research ก็ต้องไปที่หอสมุดแห่งชาติ เนื้อหาของข่าวพวกนี้ก็ต้องใช้เวลาอยู่สักพัก ในส่วนนิตยสารเล่มอื่น ๆ เราก็ไปตามหาตามสถานที่ต่าง ๆ”

คุณอู๋เสริม “เวลาเราหา Prop อะไรพวกนี้ เราก็ยังนึกถึงการไปหาใน Google ในร้านขายของเก่า หรือร้านขายของมือสอง แต่เราค้นพบว่าของบางอย่างเราสามารถไปค้นเจอในโปสเตอร์หรือว่าในนิตยสาร หรือในหนังสือพิมพ์ที่ลงโฆษณา กลายเป็นว่านี่คืออีกแหล่งหนึ่งในการหาข้อมูล”

“มันมีเกร็ดตอนเราทำ Artwork ของหนังสือพิมพ์ในซีรีส์ เราอาจจะไม่เคยเห็นตอนที่ลินดาทำ เราก็ให้ความสำคัญว่าถ้าเราจะส่งโรงพิมพ์จริง ๆ แผ่นที่ลินดาทำจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ก็มีทั้งการไปสัมภาษณ์คนที่รีไทร์แล้ว เขาก็จะเล่าว่าต้องแบ่งคอลัมน์อย่างไร แล้วผมเองก็เคยทำงานหน้าด้านนี้อยู่แล้ว ผมก็จะรู้ว่าต้องใช้วัสดุอะไรบ้าง เพราะสมัยนั้นมันไม่ได้ทำในคอมฯมันทำด้วยมือ ผมคิดว่าหนังหรือซีรีส์เองก็จะเป็นประวัติศาสตร์ให้ชุดนึง”

“หน้าที่ของเราเป็นการสนับสนุนนักแสดง ให้ทำสามารถทำการแสดงได้ดี Prop ต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ เราจะต้องคิดเผื่อ เพื่อให้เขารู้สึกว่านั่นคือที่ของเขา จะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะไปตรงนี้ไม่ได้ ต้องอยู่แค่ตรงนี้ เพราะหลาย ๆ อย่างในแง่ของการแสดง นักแสดงนอกจากทำจิตใจของตัวเองให้เป็นตัวละครนั้นแล้ว ถ้าส่งเสริมให้เขารู้สึกได้มันก็ช่วยการแสดงได้”

ในขณะที่กำลังรับชม เห็นได้ชัดเจนว่าหลาย ๆ ฉากในซีรีส์จะมีการใช้มุมกล้องหรือเทคนิคที่ใช้ถ่ายทำจะมีกลิ่นอายของหนังหรือซีรีส์ในช่วงปี 70s ซึ่งหมายความว่า Production Design จะต้องสอดคล้องกับการถ่ายทำ ในส่วนนี้คุณตั้มกับคุณอู๋จึงเล่าให้ฟังว่า ทั้งสองคนมีการทำงานร่วมกับทางผู้กำกับภาพอย่างไร

“Production Design Desk มันมีเส้นเรื่องหลักอยู่แล้ว แล้วก็จะมีเส้นเรื่องที่เป็นจินตนาการในแต่ละตอน แต่มากันคนละนัยยะ ก็เข้ามาเสริมว่าตอนนี้เราจะดีไซน์อย่างไร อย่างซีนแรกจะเป็นแบบแฟนตาซี ที่เข้าไปในป่าดงดิบ เราก็ต้องคิดถึงเทคนิคด้วยว่าเราจะถ่ายด้วย Blue Screen หรือ Green Screen บางตอนอย่างเช่นที่เป็นรายการทีวีทอล์คโชว์ อันนี้ Reference มันง่ายมากเพราะว่ายุคนั้นในฝั่งอเมริกา มันมีรูปแบบให้เราเห็น เราก็ดึงมาใช้ แล้วคนที่นำไปใช้ก็จะเป็นพี่พีท (DOP) รวมถึงซีนที่เป็นแบบฟิล์มนัวร์ ก็จะเป็นไอเดียของพี่พีท” สิ่งที่ทั้งคุณอู๋และคุณตั้มได้เล่าให้ฟัง ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่าทำไมซีรีส์เรื่องนี้ถึงมีการดีไซน์ที่โดดเด่น

“คุณเอกชัยบอกผมว่า เราอยากทำซีรีส์ย้อนยุค ที่ไม่ใช่การพูดถึงการย้อนยุคแบบเก่า ขอให้นึกถึงว่า ณ วันนั้นกรุงเทพฯ หรือคนในวัยนั้นมันมีพลังงาน มีความกระตือรือร้น เพราะมันเป็นยุคทันสมัยของเขา อย่างคนที่เคยฟังแผ่นเสียง ก็จะได้เริ่มฟังเทปฯ เพราะฉะนั้นเรากลับมาที่ Mood ของหนังว่า เราต้องเน้นให้สมจริงในแง่มุมของการขับเน้นมัน เพราะฉะนั้นมันก็จะส่งผลต่อเรื่องของโทนสี (Color Palette) ที่มัน Blend ไปกับชีวิตจริงของคน เราพยายามรักษา Concept ตรงนี้ไว้ เพราะคือหัวใจของมัน”

คุณอู๋ได้เล่าเสริมเกี่ยวการดีไซน์เกี่ยวกับตัวละครในซีรีส์ที่มีปัญหา เพื่อให้สามารถส่งเสริมเนื้อเรื่องและความสำคัญของซีนให้ได้มากที่สุด

“ในซีรีส์จะมีตัวละครหลาย ๆ ตัวที่เขียนจดหมายมาหา แต่ละคนก็จะมีจุดเด่นของตัวละครอยู่ สิ่งหนึ่งที่เราพยายามสอดแทรกเข้าไปในแง่ขององค์ประกอบภาพ ก็จะมีเรื่องของนายดอนที่มีปัญหาเรื่องอวัยวะเพศ เราก็จะพยายามให้มีรูปของจรวดหรืออะไรทำนองนี้ เพื่อเกิดภาพอะไรที่มันคล้อยตามกับตัวคาแรกเตอร์ของตัวละคร เป็นวิธีคิดอันหนึ่งที่ช่วยให้ตัวเราเองรู้ว่าควรจะทำงานอย่างไรในสถานที่แบบนี้ด้วย”

“เราเปลี่ยนผ้าปูเตียงของบ้านของหมอนัทกับตุ๊กตา เราใช้โทนสีให้มันเข้มขึ้น แสงเงาที่ตกกระทบมันก็จะทำงานทันที ซึ่งคนดูจะไม่ได้รู้สึกในระดับจิตสำนึก (Concious) แต่ทำงานในระดับจิตใต้สำนึก (Sub- conscious) มากกว่า อันนี้ก็เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Production Designer กับทางด้านผู้กำกับภาพ”

นอกจากดอกเตอร์ไคล์แมกซ์จะนำเรื่องราวของปัญหาเรื่องเพศในสังคมยุค 70s มาตีแผ่แล้ว ซีรีส์เรื่องนี้ยังเป็นกระบอกเสียงสำคัญที่ส่งข้อความไปถึง ‘คนเบื้องหลัง’ กลุ่มคนที่มีส่วนสำคัญไม่แพ้คนหลังกล้อง แต่กลับกันคนเหล่านี้กลับไม่ถูกผลักดันเท่าที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณตั้มพยายามที่จะส่งสารไปหาคนที่อยู่ในวงการหนังไทยอยู่ตลอดชีวิตการทำงานของเขา

“ผมเคยเปรียบเทียบอุตสาหกรรมภาพยนตร์เหมือนกีฬาโอลิมปิก ถ้าสมาคมดี เราก็จะมีระบบที่สามารถสร้างนักกีฬาเก่ง แล้วก็ไปสู่การแข่งระดับนานาชาติได้ วงการภาพยนตร์ก็เหมือนกัน ตำแหน่งของผม ดีไซเนอร์มันมีในโลกไม่รู้ตั้งเท่าไหร่ การที่เราจะไปทำหนังที่ไม่ใช่ของประเทศเรามันก็ต้องแข่งขัน มันก็ต้องมีงาน ผมว่าเราต้องอย่าลืมเรื่องของ Academy จริง ๆ มันก็สอน แต่ถ้าคุณจะขึ้นมาเป็น Creative Head ทุกตำแหน่งก็ต้องเข้าใจวิธีการทำงานของภาพยนตร์ ต้องเข้าใจว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มันคืออะไร กำลังพูดเรื่องอะไร เพราะฉะนั้นตรงนี้คือความหมายว่าทำไมการศึกษาเรื่องภาพยนตร์จึงเป็นเรื่องจำเป็นอยู่ และการพัฒนาความรู้ของคนทำภาพยนตร์มันไม่ควรจะจบแค่ในรั้วมหาวิทยาลัย ระบบการเทรนนิง หรือระบบการส่งต่อความรู้สำหรับคนทำงานบ้านเรายังขาด ซึ่งผมคงไม่สามารถมีแนวทางพัฒนาได้ แต่มาพูดในฐานะคนทำงานคนหนึ่ง ที่เห็นว่าถ้าจะเกิดขึ้นมันน่าจะเกิดขึ้นได้”

รับชม ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว ได้ที่ Netflix

เรื่อง: อธิบดี ตั้งก้องเกียรติ กราฟิก: วทันยา แซ่ตัน