แม้ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีนับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัท ดิสนีย์จะยังคงผลิตผลงานภาพยนตร์ชั้นเลิศ และพัฒนารูปแบบของอนิเมชั่นจนล้ำหน้าไปไกล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในหลาย ๆ ครั้ง เราก็อดไม่ได้ที่จะนึกถวิลหาถึงความรุ่งเรืองของดิสนีย์ยุคคลาสสิคที่สร้างชื่อเสียงและเป็นภาพจำให้กับคนทั้งโลกในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์อนิเมชั่นในตำนานจากปี 1950 อย่าง Cinderella ที่อาจจะต้องเรียกว่าเป็น ‘นางซินขี่ม้าขาว’ เพราะความสำเร็จทั้งในแง่รายได้และเสียงวิจารณ์ของมันก็ได้เข้ามาช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ภายในสตูดิโอดิสนีย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากบริษัทที่ใกล้ล้มละลาย เพราะมีผลงานเข้าขั้น ‘แป๊ก’ ด้านรายได้ติดต่อกันหลายเรื่อง มาสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ Snow White and the Seven Dwarfs ในปี 1937

แม้ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีนับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัท ดิสนีย์จะยังคงผลิตผลงานภาพยนตร์ชั้นเลิศ และพัฒนารูปแบบของอนิเมชั่นจนล้ำหน้าไปไกล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในหลาย ๆ ครั้ง เราก็อดไม่ได้ที่จะนึกถวิลหาถึงความรุ่งเรืองของดิสนีย์ยุคคลาสสิคที่สร้างชื่อเสียงและเป็นภาพจำให้กับคนทั้งโลกในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์อนิเมชั่นในตำนานจากปี 1950 อย่าง Cinderella ที่อาจจะต้องเรียกว่าเป็น ‘นางซินขี่ม้าขาว’ เพราะความสำเร็จทั้งในแง่รายได้และเสียงวิจารณ์ของมันก็ได้เข้ามาช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ภายในสตูดิโอดิสนีย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากบริษัทที่ใกล้ล้มละลาย เพราะมีผลงานเข้าขั้น ‘แป๊ก’ ด้านรายได้ติดต่อกันหลายเรื่อง มาสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ Snow White and the Seven Dwarfs ในปี 1937

ส่องคอนเซ็ปต์อาร์ตสุดอลังการเบื้องหลัง Cinderella อนิเมชั่นดิสนีย์คลาสสิคตลอดกาลจากปี 1950

แม้ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปีนับตั้งแต่การก่อตั้งบริษัท ดิสนีย์จะยังคงผลิตผลงานภาพยนตร์ชั้นเลิศ และพัฒนารูปแบบของอนิเมชั่นจนล้ำหน้าไปไกล แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในหลาย ๆ ครั้ง เราก็อดไม่ได้ที่จะนึกถวิลหาถึงความรุ่งเรืองของดิสนีย์ยุคคลาสสิคที่สร้างชื่อเสียงและเป็นภาพจำให้กับคนทั้งโลกในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์อนิเมชั่นในตำนานจากปี 1950 อย่าง Cinderella ที่อาจจะต้องเรียกว่าเป็น ‘นางซินขี่ม้าขาว’ เพราะความสำเร็จทั้งในแง่รายได้และเสียงวิจารณ์ของมันก็ได้เข้ามาช่วยพลิกฟื้นสถานการณ์ภายในสตูดิโอดิสนีย์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จากบริษัทที่ใกล้ล้มละลาย เพราะมีผลงานเข้าขั้น ‘แป๊ก’ ด้านรายได้ติดต่อกันหลายเรื่อง มาสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ Snow White and the Seven Dwarfs ในปี 1937 

เรื่องราวของนางซินและแม่เลี้ยงใจร้ายจากบทประพันธ์ดั้งเดิมของ ชาร์ลส์ แปโรลต์ ถูกออกแบบงานภาพโดย แมรี แบลร์ ศิลปินและอนิเมเตอร์หญิงมือฉกาดของดิสนีย์ ที่นอกจาก Cinderella แล้ว เธอยังเป็นศิลปินผู้อยู่เบื้องหลังผลงานคอนเซ็ปต์อาร์ตของภาพยนตร์ดังโดยฝีมือของสตูดิโอดิสนีย์อีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Alice in Wonderland, Peter Pan และ Song of the South

ผลงานคอนเซ็ปต์อาร์ตจากสีกวอชอันแสนสดใสของแบลร์ไม่เพียงมีส่วนทำให้งานภาพในภาพยนตร์อนิเมชั่นของดิสนีย์ในยุคหลังสงครามมีเสน่ห์ สวยงาม น่าจดจำไม่ซ้ำใคร แต่มันยังทรงอิทธิพลจนสั่นสะเทือนไปถึงผู้ก่อตั้งสตูดิโออย่าง วอลต์ ดิสนีย์ ที่ดูจะชื่นชอบผลงานของเธอเป็นพิเศษ จนแม้แต่โซน ‘It's a Small World’ ในสวนสนุก Disneyland จุดหมายปลายทางในฝันของเด็ก ๆ ทุกคนในโลก แบลร์ก็ยังได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบด้วย 

ในปัจจุบัน ยังคงมีการผลิต Cinderella ในเวอร์ชั่นรีเมคออกมาอีกหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในเวอร์ชั่นภาพยนตร์อนิเมชั่นและคนแสดง (ล่าสุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาก็เพิ่งมีนางซินเวอร์ชั่น คามิลา คาเบลโญ ออกฉายกันหมาด ๆ ทาง Amazon Prime ด้วย) อย่างไรก็ดี งานภาพของผลงานเหล่านั้นก็ยังคงหลงเหลือไว้ซึ่งเสน่ห์และกลิ่นอายจากจินตนาการและปลายพู่กันของแบลร์ที่ได้วางรากฐานการเนรมิตเรื่องราวของสาวน้อยในรองเท้าแก้วและรถฟักทองในโลกแฟรี่เทลนี้ให้อยู่ยืนยงเป็นอมตะตลอดกาล

อ้างอิง: 
https://d23.com/walt-disney-legend/mary-blair/?fbclid=IwAR3bSK2KWi5XpKyOpJOE3gSmynBuZAR_AEAhyvKZJfKv__tYeI5N3PHPu_Q
https://www.insider.com/cinderella-artist-mary-blair-still-inspires-disney-artists-2019-7?fbclid=IwAR2pB0tEFMVUfAUbbvYJLcgGjRpgPonuq2w0ZI14W2ff8hHhkBQDwjPuFl0
https://www.wikiart.org/en/mary-blair?fbclid=IwAR2cPsHkbJIxp_FwMZkbKnO-QDqCBLzTn4Z2H2Qgfx0ytysGc6v3tzTDoRI
https://www.buzzfeed.com/briangalindo/if-you-love-disneys-cinderella-then-you-need-to-check-out?fbclid=IwAR16aYoMwth8qjb_6P8qIwXran6vgigy4JKtQal3mySOR2L1NFwD8DJ9rSg