เป็นเวลากว่า 21 ปีที่ เจ้ย-อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับหนังไทย (ที่คนไทยกลับไม่ค่อยมีโอกาสได้ดูหนังของเขา) ไปโลดแล่นบนเส้นทางภาพยนตร์ในต่างแดนจนไม่เพียงสร้างชื่อให้ตัวเองในฐานะผู้กำกับหนังคุณภาพ แต่ยังฉายภาพสังคมไทยให้ผู้ชมทั่วโลกได้ประจักษ์ โดยมี “ดอกฟ้าในมือมาร” ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกเมื่อปี 2000 เป็นหมุดหมายแรกของอภิชาติพงศ์บนเวทีหนังโลก

เป็นเวลากว่า 21 ปีที่ เจ้ย-อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับหนังไทย (ที่คนไทยกลับไม่ค่อยมีโอกาสได้ดูหนังของเขา) ไปโลดแล่นบนเส้นทางภาพยนตร์ในต่างแดนจนไม่เพียงสร้างชื่อให้ตัวเองในฐานะผู้กำกับหนังคุณภาพ แต่ยังฉายภาพสังคมไทยให้ผู้ชมทั่วโลกได้ประจักษ์ โดยมี “ดอกฟ้าในมือมาร” ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกเมื่อปี 2000 เป็นหมุดหมายแรกของอภิชาติพงศ์บนเวทีหนังโลก

The Aesthetic of Apichatpong สำรวจความงามในภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล

เป็นเวลากว่า 21 ปีที่ เจ้ย-อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับหนังไทย (ที่คนไทยกลับไม่ค่อยมีโอกาสได้ดูหนังของเขา) ไปโลดแล่นบนเส้นทางภาพยนตร์ในต่างแดนจนไม่เพียงสร้างชื่อให้ตัวเองในฐานะผู้กำกับหนังคุณภาพ แต่ยังฉายภาพสังคมไทยให้ผู้ชมทั่วโลกได้ประจักษ์ โดยมี “ดอกฟ้าในมือมาร” ภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกเมื่อปี 2000 เป็นหมุดหมายแรกของอภิชาติพงศ์บนเวทีหนังโลก 

กระทั่งในอีกสิบปีต่อมาที่อภิชาติพงศ์ปักหมุดวงการหนังไทยด้วยการไปคว้ารางวัลใหญ่อย่าง Palme d’Or จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ด้วย “ลุงบุญมีระลึกชาติ” ในปี 2010 แต่น่าเสียดายที่วิถีการรับชมสื่อที่เรียกว่า ‘ภาพยนตร์’ ในสังคมไทยนั้นหาได้เปิดกว้างให้กับความหลากหลายมากมายของรูปแบบหนัง (โดยเฉพาะโรงหนังใหญ่ ๆ) จนทำให้ชื่อของอภิชาติพงศ์กลายเป็นที่รู้จักแค่ในเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

แต่หลังจากที่ “Memoria” ผลงานภาพยนตร์เรื่องล่าสุดซึ่งนำแสดงโดย ทิลดา สวินตัน ได้รับคำชมอย่างล้นหลามจนคว้ารางวัลขวัญใจมหาชนอย่าง Jury Prize มาได้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จนนำมาสู่สปีชสุดทรงพลังถึงรัฐบาลไทยบนเวทีเทศกาลหนังเมืองคานส์ปีล่าสุด ชื่อของอภิชาติพงศ์ก็เริ่มได้รับความสนใจจากคนไทยในวงกว้าง และทำให้คนที่ยังไม่รู้จักชื่อของผู้กำกับไทยที่ไปโด่งดังนอกบ้านนี้หันมาสนใจในผลงานของเขามากขึ้น

แล้วหนังของอภิชาติพงศ์มีอะไรดีที่ถูกใจเวทีหนังโลก ถึงขนาดที่มีการกล่าวกันว่า อภิชาติพงศ์ไปเหยียบพรมแดงเทศกาลหนังเมืองนอกทีไร ต้องมีรางวัลติดไม้ติดมือกลับบ้าน?

ภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์มักเกี่ยวข้องกับการสำรวจประวัติศาสตร์แบบไทย ๆ ที่ส่งผ่านพื้นที่ เวลา อาการหลับใหล ความฝัน และความเชื่อดั้งเดิม โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องภูตผีจากทางภาคอีสาน ที่ซึ่งเขาเติบโตมา ความจริงแล้ว ‘อีสาน’ ที่ว่า คงไม่ได้หมายถึงแค่พื้นที่ราบสูงทางตะวันออกเฉียงเหนือเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงวัฒนธรรมที่แพร่ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้น สิ่ง ‘ผิดแปลก’ ไปจากธรรมชาติ จึงถูกยึดโยงกับความเชื่อ สิ่งประดิษฐ์รูปทรงประหลาด และแสงไฟนีออนหลากสีด้วย การนำความผิดแปลกมาวางไว้คู่กับธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่ง จึงเป็นไปเพื่อพาผู้ชมก้าวข้ามเส้นของความจริง ดำดิ่งสู่การค้นหาธาตุแท้ในจิตใจผู้คนที่ยืนอยู่ท่ามกลางความบิดเบี้ยวของสังคมและยุคสมัย 

อาจพูดได้ว่า พื้นที่และนักแสดงขาประจำในโลกภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์ เชื่อมจากเรื่องหนึ่งไปอีกเรื่องได้อย่างน่าทึ่ง หลายครั้งที่องค์ประกอบในภาพยนตร์ช่างคุ้นหูคุ้นตาอย่างบอกไม่ถูก เหมือนว่าเหตุการณ์นั้นเคยเกิดขึ้นกับตัวเราเองในที่ไหนสักแห่ง เส้นแบ่งของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ถูกทำลายและนำมาเรียบเรียงใหม่ในแบบฉบับของตัวเองอย่างมีชั้นเชิงราวกับเป็นบทกวีหรือผลงานศิลปะอันบริสุทธิ์ จนสัมผัสได้ถึงความรู้สึกที่อยู่ลึกลงไป ทั้งความอาวรณ์ถึงบางสิ่งที่จับต้องไม่ได้และความฝันที่อยู่ไกลเกินเอื้อม

เมื่อเทียบ 20 ปีที่แล้วกับช่วงไม่กี่ปีมานี้ ‘เวลา’ คงเป็นเครื่องพิสูจน์ทุกอย่างได้ดีที่สุด หลังจากที่เราเดินทางผ่านวงล้อของความกลัวตลอดหลายปี ชุดข้อมูลอันหลากหลายที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้ ต่างทำให้ผู้คนมากมายเริ่มตื่นรู้และตั้งคำถามต่อสังคมที่ตัวเองอยู่เพิ่มมากขึ้น และคงพูดได้อย่างเต็มปากว่า ภาพยนตร์ของอภิชาติพงศ์เองก็เป็นอีกหนึ่งในภาพแทนของสังคมที่ถูกบันทึกไว้บนแผ่นฟิล์ม ผ่านรูปแบบการเล่าเรื่อง และความงามในภาษาภาพ ที่รอให้เราได้กลับไปซึมซับและศึกษาอดีตเพื่อทำความเข้าใจเรื่องราวเหล่านั้นใหม่อีกครั้ง

สุดเสน่หา (Blissfully Yours), 2002

ความสัมพันธ์อันงดงามระหว่างสาวโรงงานชาวไทยและชายต่างด้าวที่เข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย หญิงวัยกลางคนที่ต้องการมีรักลึกซึ้งกับใครสักคน สัมผัสอันละเอียดอ่อนในช่วงเวลาหนึ่งท่ามกลางป่าทึบที่มีแสงอาทิตย์ส่องกระทบผิวกาย เขาทั้งสามเป็นอิสระจากพันธะทางสังคมอย่างแท้จริง

สุดเสน่หาคว้ารางวัล Un Certain Regard ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปี 2002

สัตว์ประหลาด (Tropical Malady), 2004

ปริศนาบน 2 เส้นเรื่องที่แตกต่างกัน เริ่มจากความสัมพันธ์อันหวานซึ้งของลูกจ้างโรงน้ำแข็งกับพลทหารหนุ่ม เชื่อมโยงไปสู่เรื่องเล่าเร้นลับในตำนาน “เสือสมิง” ว่าด้วยวิญญาณของเหยื่อที่ถูกกินซึ่งสิงอยู่ในร่างของเสือ กลางป่าหนาทึบสร้างความลึกลับซับซ้อน อภิชาติพงศ์เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ตีความอย่างเป็นอิสระ 

สัตว์ประหลาดคว้ารางวัล Jury Prize ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปี 2004

แสงศตวรรษ (Syndromes and a Century), 2006

ภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องราวความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตของผู้คน ด้วยเนื้อหาที่ขนเอาความผิดแปลกในสังคมไทยสอดแทรกเข้ามาในภาพยนตร์อย่างหนาตา จนสร้างความอ่อนไหวสำหรับคนบางกลุ่ม ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงขึ้นในไทย ถึงความเหมาะสมของเนื้อหา

แสงศตวรรษ ได้รับการเสนอเข้าชิง Leone d'Oro (Golden Lion) ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส ครั้งที่ 63

ลุงบุญมีระลึกชาติ (Uncle Boonmee Who Can Recall His Past Lives), 2010

ประวัติศาสตร์การสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กับรัฐไทยในหมู่บ้านนาบัวและเรื่องราวความเชื่อในสังคมที่ผูกเชื่อมโยงกับความตาย พาให้นึกถึงช่วงลมหายใจสุดท้ายของชีวิตที่เฝ้าฝันและนึกถึงอดีตอย่างอาวรณ์ ภาวะที่จับต้องไม่ได้นี้ อาจเป็นเหมือนตัวแทนของอภิชาติพงศ์ที่กำลังส่งเสียงถึงอุตสาหกรรมหนังในประเทศบ้านเกิดของตัวเอง

ลุงบุญมีระลึกชาติคว้ารางวัลสูงสุดอย่าง Plame d’Or บนเวทีเมืองคานส์ ปี 2010 จนกลายเป็นหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการภาพยนตร์ 

รักที่ขอนแก่น (Cemetery of Splendour), 2015

ภาพยนตร์ว่าด้วยเรื่องราวของทหารที่หลับไหลในนิทรา ถูกส่งตัวไปยังคลินิกชั่วคราวซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนเก่า โดยมีหญิงวัยกลางคนที่มีปัญหาด้านการเดิน คอยอาสาดูแลผู้ป่วย หญิงคนดังกล่าวเริ่มผูกมิตรกับหญิงสาวผู้มีญาณวิเศษเพื่อที่จะสื่อสารกับผู้ป่วยตรงหน้า ความเชื่อมโยงกันระหว่างอดีต ประวัติศาสตร์ จิตวิญญาณ วิทยาศาสตร์ เรื่องเหนือธรรมชาติ และศิลปะ ถูกร้อยเรียงเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับความทรงจำในบ้านเกิดของอภิชาติพงศ์ที่จังหวัดขอนแก่น

รักที่ขอนแก่นเข้าฉายในสาย Un Certain Regard ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปี 2015

Memoria, 2021

ภาพยนตร์ขนาดยาวที่ถ่ายทำในต่างประเทศเรื่องแรกของอภิชาติพงศ์ เริ่มต้นด้วยการสำรวจพื้นที่ใหม่เพื่อหาจุดเชื่อมโยงระหว่างความทรงจำ การเมืองในต่างแดน และโลกของภาพยนตร์ ผ่านเรื่องราวของเกษตรกรผู้เชี่ยวชาญเรื่องกล้วยไม้ชาวสกอตแลนด์ (ทิลดา สวินตัน) ที่เดินทางไปเยี่ยมน้องสาวซึ่งป่วยอยู่ในโคลอมเบีย ทุกคืน เธอจะถูกรบกวนด้วยเสียงระเบิดที่ดังขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้นอนไม่หลับ

เสียงก้องดังในหูที่เกิดจากสภาวะทางการเมือง กลายมาเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญระหว่างรัฐทหารในไทยและโคลอมเบีย ราวกับเป็นตัวแทนของกันและกันได้อย่างน่าเหลือเชื่อ แม้ว่าภายนอกจะดูแตกต่างกันก็ตาม

Memoria คว้ารางวัล Jury Prize ให้กับอภิชาติพงศ์เป็นครั้งที่ 2 ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ปี 2021 

อ้างอิง:
Kickthemachine