ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ภาพของกลุ่มอาคารสีสันสดใสที่ดูราวกับเป็นเมืองจำลองเลโก้ ได้กลายเป็นกระแสไวรัลที่แชร์ต่อกันในโลกโซเชียล ด้วยสีสันแสนสดใสและบรรยากาศที่ดูราวกับหลุดเข้าไปในโลกของจินตนาการและแอนิเมชั่นสีสดสวยในที่สุด ชุมชน ‘Comfort Town’ ที่ตั้งอยู่ในในกลางเมือง Kyiv ประเทศยูเครนแห่งนี้ ก็ทำให้ยูเครนกลายเป็นหนึ่ง Destination ที่นักท่องเที่ยวและคนรักสถาปัตยกรรมใฝ่ฝันอยากไปเยือน ทั้งที่ก่อนหน้านี้อดีตประเทศที่แยกตัวมาจากสาธารณรัฐโซเวียตแห่งนี้แทบไม่อยู่ในตัวเลือกของการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเลยด้วยซ้ำ

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ภาพของกลุ่มอาคารสีสันสดใสที่ดูราวกับเป็นเมืองจำลองเลโก้ ได้กลายเป็นกระแสไวรัลที่แชร์ต่อกันในโลกโซเชียล ด้วยสีสันแสนสดใสและบรรยากาศที่ดูราวกับหลุดเข้าไปในโลกของจินตนาการและแอนิเมชั่นสีสดสวยในที่สุด ชุมชน ‘Comfort Town’ ที่ตั้งอยู่ในในกลางเมือง Kyiv ประเทศยูเครนแห่งนี้ ก็ทำให้ยูเครนกลายเป็นหนึ่ง Destination ที่นักท่องเที่ยวและคนรักสถาปัตยกรรมใฝ่ฝันอยากไปเยือน ทั้งที่ก่อนหน้านี้อดีตประเทศที่แยกตัวมาจากสาธารณรัฐโซเวียตแห่งนี้แทบไม่อยู่ในตัวเลือกของการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเลยด้วยซ้ำ

Comfort Town เมืองแห่งสีสัน อนาคต ความสดใส และการทิ้ง ‘ความทรงจำสีจาง’ ของประวัติศาสตร์ชาติคอมมิวนิสต์ไว้ข้างหลัง

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ภาพของกลุ่มอาคารสีสันสดใสที่ดูราวกับเป็นเมืองจำลองเลโก้ ได้กลายเป็นกระแสไวรัลที่แชร์ต่อกันในโลกโซเชียล ด้วยสีสันแสนสดใสและบรรยากาศที่ดูราวกับหลุดเข้าไปในโลกของจินตนาการและแอนิเมชั่นสีสดสวยในที่สุด ชุมชน ‘Comfort Town’ ที่ตั้งอยู่ในในกลางเมือง Kyiv ประเทศยูเครนแห่งนี้ ก็ทำให้ยูเครนกลายเป็นหนึ่ง Destination ที่นักท่องเที่ยวและคนรักสถาปัตยกรรมใฝ่ฝันอยากไปเยือน ทั้งที่ก่อนหน้านี้อดีตประเทศที่แยกตัวมาจากสาธารณรัฐโซเวียตแห่งนี้แทบไม่อยู่ในตัวเลือกของการเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวเลยด้วยซ้ำ

Comfort Town เป็น Residential Complex แห่งแรกของยูเครน ที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐตามโครงการพัฒนาชุมชนและย่านที่อยู่อาศัย คอมมูนิตี้ที่ประกอบด้วยอพาร์ตเมนต์ 8,500 ห้องแห่งนี้สร้างขึ้นบนพื้นที่ที่เคยเป็นโรงงานร้าง สาธารณูปโภคภายในชุมชนสีสันสดใสแห่งนี้ประกอบไปด้วย สถานศึกษารูปแบบใหม่ที่มีทั้งโรงเรียนอนุบาลที่รองรับเด็กเล็กได้ 160 คน, โรงเรียนประถมสำหรับเด็ก 140 คน และโรงเรียนมัธยมปลายคุณภาพระดับ A+, ห้างสรรพสินค้าขนาด 4,500 ตารางเมตรที่มีทั้งซูเปอร์มาร์เกต ฟิตเนสที่ประกอบด้วยยิม สระว่ายน้ำ 3 แห่ง พื้นที่เล่นกีฬากลางแจ้ง รวมไปถึงคาเฟ่ ร้านค้า พื้นที่สำนักงาน และสนามเด็กเล่นถึง 22 แห่ง จนเรียกได้ว่า Comfort Town เป็นดังหมู่บ้านในฝันที่มีทุกสิ่งครบครัน พร้อมรองรับการสร้างชีวิตของคนยูเครนรุ่นใหม่

แต่สิ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยเห็นในบรรดาภาพชุดที่แชร์กันออกไป ก็คือว่าหากเราซูมภาพออกมาอีกเล็กน้อย เราจะเห็นว่าเมืองในฝันแห่งนี้ถูกโอบล้อมด้วยตึกรามบ้านช่องและชุมชนที่แมนทึมเทา ดูตัดกันอย่างชัดเจนกับสีสันของ Comfort Town ซึ่งความคอนทราสต์กันอย่างสุดกู่ของภาพที่ปรากฏนั้นก็เป็นดังตลกร้ายสำหรับชาวเมือง Kyiv รวมไปถึงชาวยูเครนทั่วไป เพราะในขณะที่ Comfort Town เป็นชุมชนพัฒนาแห่งใหม่ล่าสุดที่ครบครันด้วยระบบขนส่งคุณภาพเยี่ยมและพื้นที่สาธารณะแสนเพียบพร้อม ชุมชนรอบนอกที่โอบล้อม Comfort Town ไว้กลับยังต้องเผชิญกับระบบสาธารณูปโภคที่เหมือนกับฝันร้าย และความยากลำบากของการอาศัยอยู่ในโครงการที่อยู่อาศัยอันแสนอัตคัดและเริ่มผุพังลงไปตามกาลเวลา อันเป็นมรดกตกทอดมาจากการบริหารจัดการแบบยุคโซเวียต

ความคอนทราสต์ระหว่างเมืองสีเทารอบนอกกับเมืองสดใสที่อยู่วงในไม่ใช่แค่เรื่องของสีสันและสภาพความเป็นอยู่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิธีการบริหารจัดการเมืองและแนวคิดของคนที่อยู่ข้างในด้วย Comfort Town ไม่เพียงเป็นย่านที่อยู่อาศัยแห่งใหม่ แต่ยังมาพร้อมกับวิธีการจัดการเมืองรูปแบบใหม่ โดยสมาชิกทุกคนที่อยู่ในชุมชนจะต้องจ่ายค่าส่วนกลางแต่จะมีสิทธิ์ในการออกเสียงโหวตทุกสิ่งทุกอย่างในเมือง และยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันผ่านกลุ่ม Facebook ที่มีสมาชิกเข้าร่วมเกือบ 10,000 คนด้วยในขณะที่รอบนอก Comfort Town นั้นยังเป็นพื้นที่ที่ใช้การบริหารจัดการรูปแบบเก่าจากยุคคอมมิวนิสต์ที่ทุกการตัดสินใจมาจากรัฐและส่วนกลาง การจะซ่อมแซมหรือตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอะไรนั้นล้วนต้องมาจากภาครัฐทั้งสิ้น

ความแตกต่างของระบบการจัดการและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ Comfort Town กลายเป็นเป้าหมายของคนหนุ่มสาวชาวเมืองรุ่นใหม่ที่อยากจะย้ายเข้าไปเป็นสมาชิกของชุมชนแห่งใหม่นี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบรุ่นใหม่ที่พบว่าชีวิตใน Comfort Town นั้นปลอดภัยกว่าโลกข้างนอก ตัวอย่างก็คือ Neuro Lloyd ชาวซิมบับเวย์ผิวดำที่ย้ายมาใช้ชีวิตอยู่ในยูเครนเพื่อเรียนเป็นเภสัชกร โดยเขาเผยว่า ในตอนที่เขายังใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนรอบนอก Comfort Town เขาต้องเผชิญกับการจู่โจมทำร้ายบนท้องถนนถึง 8 ครั้ง ยังไม่นับรวมถ้อยคำเหยียดชาติพันธุ์มากมายที่เขาต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน แต่หลังจากที่เขาย้ายมาอยู่ใน Comfort Town แล้ว เขากลับพบว่าตัวเองรู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินอยู่บนท้องถนนมากขึ้น โดยเฉพาะในเวลากลางคืนที่เขาไม่ต้องหวาดระแวงว่าจะถูกดักตีข้างถนนอีกต่อไป

Comfort Town จึงไม่ใช่แค่เมืองใหม่สีสันสดใส แต่มันยังเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและความฝันถึงอนาคตที่สดใสกว่าและเรืองรองกว่าของคนรุ่นใหม่

Tetiana Donets คนทำหนังวัย 23 ปีที่ใช้ชีวิตอยู่ใน Comfort Town ก็ได้กล่าวสรุปภาพรวมของเมืองแห่งอนาคตนี้ว่า “คนส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาที่นี่เพื่อที่จะอยู่ให้ไกลจากอดีตมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ฉันคิดว่า คนที่สร้างเมืองนี้ขึ้นมามีเป้าหมายที่จะปฏิวัติความสุขของผู้อาศัย ที่นี่มีบาร์ มีอาหารทุกรูปแบบ ทำผมทำเล็บก็ได้ ป่วยก็มีหมอ คุณไม่จำเป็นต้องออกไปจากที่นี่เลย”

และเพื่อที่จะอยู่ให้ไกลจากอดีต คนในชุมชนบางส่วนได้เริ่มมีการเรียกร้องให้สร้างกำแพงโอบล้อมชุมชนทั้งหมดเอาไว้ เพื่อแยกเขตแดนแห่งอนาคตและอดีตให้ไกลออกจากกันอย่างชัดเจน ตามที่ Andrii Lytvynov นักธุรกิจด้านไอทีรุ่นใหม่วัย 32 ปีที่อาศัยอยู่ใน Comfort Town ให้ความเห็นว่า

“เราต้องสร้างกำแพงปิดกั้นเราจากอดีต มันไม่ใช่เรื่องที่ดี แต่เรายังเยาว์วัยและหิวกระหายสิ่งใหม่”

อ้างอิง:
Calvertjournal
Archdaily