ถ้าไม่ใช่คนที่ติดตามประวัติศาสตร์การออกแบบมาอย่างใกล้ชิด ชื่อของ Gufram (หรือที่ย่อมาจากชื่อเต็ม ๆ ว่า Gugliermetto Fratelli Arredamenti Moderni) อาจจะไม่ใช่คำคุ้นหูที่ได้ยินกันโดยทั่วไป แต่เชื่อเหลือเกินว่า หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นภาพของเจ้าราวแขวนเสื้อตะบองเพชรยอดชูชัน โซฟารูปปากอวบอิ่ม หรือที่นั่งหน้าตาประหลาดคล้ายยอดหญ้า ผ่านหูผ่านตาสักชิ้นสองชิ้นกันมาบ้างแน่นอน

ถ้าไม่ใช่คนที่ติดตามประวัติศาสตร์การออกแบบมาอย่างใกล้ชิด ชื่อของ Gufram (หรือที่ย่อมาจากชื่อเต็ม ๆ ว่า Gugliermetto Fratelli Arredamenti Moderni) อาจจะไม่ใช่คำคุ้นหูที่ได้ยินกันโดยทั่วไป แต่เชื่อเหลือเกินว่า หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นภาพของเจ้าราวแขวนเสื้อตะบองเพชรยอดชูชัน โซฟารูปปากอวบอิ่ม หรือที่นั่งหน้าตาประหลาดคล้ายยอดหญ้า ผ่านหูผ่านตาสักชิ้นสองชิ้นกันมาบ้างแน่นอน

ชวนรู้จัก Gufram บริษัทเฟอร์นิเจอร์ที่คงความ ‘ป็อป’ มายาวนานกว่า 56 ปี

ถ้าไม่ใช่คนที่ติดตามประวัติศาสตร์การออกแบบมาอย่างใกล้ชิด ชื่อของ Gufram (หรือที่ย่อมาจากชื่อเต็ม ๆ ว่า Gugliermetto Fratelli Arredamenti Moderni) อาจจะไม่ใช่คำคุ้นหูที่ได้ยินกันโดยทั่วไป แต่เชื่อเหลือเกินว่า หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นภาพของเจ้าราวแขวนเสื้อตะบองเพชรยอดชูชัน โซฟารูปปากอวบอิ่ม หรือที่นั่งหน้าตาประหลาดคล้ายยอดหญ้า ผ่านหูผ่านตาสักชิ้นสองชิ้นกันมาบ้างแน่นอน

Gufram ไม่ใช่บริษัทเฟอร์นิเจอร์หน้าใหม่ที่เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับยุคสมัยที่อะไร ๆ ก็ต้องดู Instagrammable ไปซะหมดอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ Gufram เริ่มต้นแหกขนบกฎเกณฑ์ของการออกแบบมาตั้งแต่ปี 1966 ที่เมืองตูริน ประเทศอิตาลี ภายใต้การนำของพี่น้อง Gugliermetto ที่ต้องการสร้างสรรค์เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์แปลกใหม่ และสนับสนุนเหล่าศิลปิน นักออกแบบ และสถาปนิกหน้าใหม่ไฟแรงที่มีแนวคิดก้าวล้ำนำสมัย

ผลงานการออกแบบภายใต้แบรนด์ Gufram มักจะมีลักษณะของความล้ำยุค (Avant-Garde) ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะประชานิยม (Pop Art) และการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักออกแบบแนวคิดสุดโต่ง (Radical Design Movement) ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายยุค 60s ของประเทศอิตาลี โดยนอกจากจะมีการออกแบบที่แปลกแหวกขนบแล้ว Gufram ยังได้รับการจดจำจากการนำวัสดุใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ในคอลเลกชั่น โดยเฉพาะกับวัสดุโพลียูรีเทนที่กลายมาเป็นลายเซ็นในการสร้างสรรค์สินค้าระดับไอคอนนิกมากมายหลายชิ้น รวมถึงโซฟารูปปาก Bocca หรือที่นั่งยอดหญ้า Patone อันโด่งดังด้วย

แต่ถึงจะมีรูปลักษณ์ที่โดดเด่นแบบบที่เห็นแค่ปราดเดียวก็จำได้ แต่ Gufram ก็เพิ่งจะได้รับ ‘การมองเห็น’ จากสาธารณชนทั่วโลกก็เมื่อเวลาล่วงเลยมาจนถึงปี 1972 เมื่อผลงานของแบรนด์ได้รับการคัดสรรเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ Italy: The New Domestic landscape โดยภัณฑารักษ์ Emilio Ambasz ที่พิพิธภัณฑ์ Museum of Modern Art (MOMA) ในมหานครนิวยอร์ก นี่เองคือหมุดหมายสำคัญที่พลิกโฉมหน้าจากบริษัทโลคอลสัญชาติอิตาเลียนให้กลายเป็นแบรนด์ระดับโลกที่นอกจากจะมีหน้าร้านแสดงสินค้าในหลายประเทศแล้ว ยังมีผลงานได้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น  Metropolitan Museum of Art (The Met), Vitra Design Museum, Triennale of Milan, Centre Pompidou และ Art Museum of Denver

แม้จะเปิดกิจการมายาวนานถึง 56 ปี แต่ปัจจุบัน Gufram ก็ยังคงสืบสานมรดกทางความคิดของแบรนด์ในยุคเริ่มต้นช่วงปี 60s ไว้ได้อย่างสมบูรณ์ โดยนอกจากจะยังคงผลิตเฟอร์นิเจอร์หน้าตาล้ำยุคจากในอดีตมาวางขายไม่ขาดสายแล้ว ทางแบรนด์ยังไปจับมือกับศิลปินและดีไซเนอร์ชื่อดังอีกมากมาย ปล่อยผลงานการคอลแลบสุดเก๋ไก๋ออกมาเป็นระยะ ๆ ไม่ว่าจะเป็น Andy Warhol Foundation, Studio Job, Snarkitecture โดย Alex Mustonen และ Daniel Arsham, Toiletpaper โดย Pierpaolo Ferrari และ Maurizio Cattelan (ใช่แล้ว ศิลปินที่มีผลงานกล้วยแปะเทปคนนั้นนั่นแหละ) หรือแม้แต่แบรนด์แฟชั่นอย่าง Paul Smith เองก็เคยปล่อยคอลเลกชั่นพิเศษร่วมกับ Gufram มาแล้ว

อ้างอิง:
https://www.gufram.it/en/
https://designwanted.com/brand-story-gufram/
https://www.nssmag.com/en/art-design/27942/gufram-design-radicale
https://www.pamono.com/makers/gufram/