ไม่ว่าจะเป็นอาร์ตเลิฟเวอร์ตัวจริงหรือแค่ติดตามแวดวงศิลปะแบบผ่าน ๆ แต่เชื่อเหลือเกินว่า ทุกคนน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากับผลงานของศิลปินหญิงรุ่นใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นอย่าง ยาโยอิ คุซามะ (Yayoi Kusama) หรือที่หลาย ๆ คนเรียกติดปากว่า ‘คุณป้าลายจุด’ กันเป็นอย่างดี เพราะถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว ที่ทางของเธอในบริบทโลกสมัยใหม่ดูจะขยายขอบเขตไปไกลมากกว่าแค่ศิลปินร่วมสมัยผู้โด่งดัง แต่ยังขึ้นแท่นเป็นหนึ่งใน ‘ป็อปไอคอน’ แห่งยุค ที่ทั้งตัวตนและผลงานได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย ตั้งแต่ของใกล้ตัวอย่างเสื้อผ้าที่สวมใส่ ไปจนถึงประเด็นหนัก ๆ อย่างโรคทางจิตเวช

ไม่ว่าจะเป็นอาร์ตเลิฟเวอร์ตัวจริงหรือแค่ติดตามแวดวงศิลปะแบบผ่าน ๆ แต่เชื่อเหลือเกินว่า ทุกคนน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากับผลงานของศิลปินหญิงรุ่นใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นอย่าง ยาโยอิ คุซามะ (Yayoi Kusama) หรือที่หลาย ๆ คนเรียกติดปากว่า ‘คุณป้าลายจุด’ กันเป็นอย่างดี เพราะถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว ที่ทางของเธอในบริบทโลกสมัยใหม่ดูจะขยายขอบเขตไปไกลมากกว่าแค่ศิลปินร่วมสมัยผู้โด่งดัง แต่ยังขึ้นแท่นเป็นหนึ่งใน ‘ป็อปไอคอน’ แห่งยุค ที่ทั้งตัวตนและผลงานได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย ตั้งแต่ของใกล้ตัวอย่างเสื้อผ้าที่สวมใส่ ไปจนถึงประเด็นหนัก ๆ อย่างโรคทางจิตเวช

Yayoi Kusama: 1945 to Now มองชีวิตและตัวตนของ ‘คุณป้าลายจุด’ ผ่านผลงานตลอด 78 ปีที่ M+ Museum

ไม่ว่าจะเป็นอาร์ตเลิฟเวอร์ตัวจริงหรือแค่ติดตามแวดวงศิลปะแบบผ่าน ๆ แต่เชื่อเหลือเกินว่า ทุกคนน่าจะคุ้นหน้าคุ้นตากับผลงานของศิลปินหญิงรุ่นใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นอย่าง ยาโยอิ คุซามะ (Yayoi Kusama) หรือที่หลาย ๆ คนเรียกติดปากว่า ‘คุณป้าลายจุด’ กันเป็นอย่างดี เพราะถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว ที่ทางของเธอในบริบทโลกสมัยใหม่ดูจะขยายขอบเขตไปไกลมากกว่าแค่ศิลปินร่วมสมัยผู้โด่งดัง แต่ยังขึ้นแท่นเป็นหนึ่งใน ‘ป็อปไอคอน’ แห่งยุค ที่ทั้งตัวตนและผลงานได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย ตั้งแต่ของใกล้ตัวอย่างเสื้อผ้าที่สวมใส่ ไปจนถึงประเด็นหนัก ๆ อย่างโรคทางจิตเวช

และด้วยอิทธิพลในแวดวงศิลปะและการออกแบบนี่แหละที่ทำให้แกลเลอรี่และพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกต่างตามหาผลงานศิลปะของเธอมาครอบครองในคอลเลกชั่นกันแทบทั้งนั้น ซึ่งถ้าเราอยากจะชมผลงานของคุณป้าลายจุดคนนี้แบบครบถ้วนสมบูรณ์ก็คงจะต้องไล่ตามเก็บกันแบบไม่หวาดไม่ไหวแน่ ๆ (ตั๋วเครื่องบินบุฟเฟต์ก็คงเอาไม่อยู่ !) แต่โชคดีมาก ๆ ที่ในตอนนี้ ไม่ใกล้ไม่ไกลบ้านเรากำลังมีการจัดแสดง Yayoi Kusama: 1945 to Now นิทรรศการที่รวบรวมผลงานกว่า 200 ชิ้นตลอดการทำงานมากกว่า 7 ทศวรรษของเธอมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ M+ Museum ในเขต West Kowloon Cultural District ของฮ่องกง เรียกได้ว่า นี่แทบจะเป็นการจัดแสดงผลงานของคุซามะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดนอกเขตแดนประเทศญี่ปุ่นก็ว่าได้

ผลงานภายในนิทรรศการจะถูกเล่าตามธีมหลักทั้ง 6 ธีม คือ Infinity (ความไม่มีที่สิ้นสุด), Accumulation (การสะสม), Radical Connectivity (การเชื่อมต่อสุดโต่ง), Biocosmic (ชีวจักรวาล), Death (ความตาย) และ Force of Life (พลังแห่งชีวิต) โดยนอกจากเราจะได้เห็นการเดินทางในโลกศิลปะของเธอตั้งแต่สมัยยังผลิตจิตรกรรมนามธรรมอันเรียบง่าย ไปจนถึงภาพจำตลอดกาลอย่างผลงานลายจุดสีจัดจ้านในหลากหลายรูปแบบแล้ว ผลงานในแต่ละธีมก็ยังสะท้อนชีวิตของเธอในแต่ละช่วงวัยที่มีการเรียนรู้และเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ตอนที่เธอยังเป็นเพียงศิลปินหน้าใหม่ไร้ชื่อเสียงในญี่ปุ่น บินข้ามน้ำข้ามทะเลไปสร้างชื่อให้ตัวเองไกลถึงสหรัฐอเมริกาและยุโรป ก่อนจะกลับมาพำนักและผลิตผลงานศิลปะดี ๆ ในญี่ปุ่นอีกครั้ง

นิทรรศการ Yayoi Kusama: 1945 to Now พาเราไปสำรวจผลงานของคุซามะในหลายสื่อและรูปแบบ ทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะการจัดวาง วิดีโออาร์ต ศิลปะการแสดงสด รวมไปถึงสิ่งพิมพ์ที่เก็บบันทึกเรื่องราวผลงานต่าง ๆ ในอดีตของเธอ โดยคลังผลงานศิลปะนับร้อย ๆ ชิ้นเหล่านั้นก็มีตั้งแต่ผลงานที่ว่าด้วยเรื่องราวที่ส่วนตัวสุด ๆ อย่างโรคทางจิตเวชที่เธอต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน ไปจนถึงประเด็นระดับสังคมอย่างการต่อต้านสงครามเวียดนามในขณะนั้น

แต่ที่น่าสนใจคือ นอกจากผลงานที่ทางพิพิธภัณฑ์ M+ Museum ไปหยิบยืมมาจากพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกแล้ว ยังมีผลงานใหม่ที่ถูกจัดแสดงที่นี่เป็นพิเศษอย่าง Death of Nerves (2022) ศิลปะการจัดวางลายจุดหลากสีที่ถูกห้อยระโยงระยางจากเพดานที่มีความสูงรวมหลายชั้น, Dots Obsession—Aspiring to Heaven's Love (2022) ห้องดำจุดขาวบนชั้นใต้ดินที่มีพระเอกอยู่ที่ห้องกระจกในตำนาน สถานที่เซลฟี่ที่อินฟลูฯ ทุกคนต่างฝันใฝ่ (แต่เข้าไปแล้วต้องตั้งสติดี ๆ หน่อยนะ เพราะเขาให้เวลาเราได้กดชัตเตอร์แค่ 30 วินาทีเท่านั้น !) และ Pumpkin (2022) ประติมากรรมฟักทองสีเหลืองขนาดยักษ์ 2 ชิ้นภาพจำของคุซามะที่บริเวณ Main Hall

ระหว่างที่กำลังเดินดูผลงานของคุซามะอยู่นั้น เราก็ไปสะดุดกับข้อความหนึ่งที่ถูกติดอยู่บนฝาหนังของห้องจัดแสดง ข้อความนั้นคือประโยคที่เธอเคยกล่าวไว้ว่า “ฉันสร้างงานศิลปะเพื่อบำบัดมวลมนุษยชาติ”

เราคิดว่า นี่น่าจะเป็นบทสรุปที่อธิบายตัวตนและผลงานของเธอได้ครบถ้วนและเห็นภาพชัดเจนที่สุดแล้ว เพราะนอกจากสีสันและลายจุดเหล่านี้จะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดภายในจิตใจของเธอเองแล้ว ทุกวันนี้ คุซามะในวัย 93 ปียังคงส่งต่อแรงบันดาลใจและพลังงานบวกให้กับคนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่ามันจะออกมาในรูปแบบผลงานศิลปะขึ้นหิ้งในพิพิธภัณ์ดังของโลก หรือเป็นเพียงสินค้าแฟชั่นทั่วไปที่ใคร ๆ ก็สามารถจับต้องได้ก็ตาม

📍 Yayoi Kusama: 1945 to Now 12 พฤศจิกายน 2022 - 14 พฤษภาคม 2023 พิพิธภัณฑ์ M+ Museum เขต West Kowloon Cultural District ฮ่องกง ค่าเข้าชม 240 HKD (สามารถเข้าชมนิทรรศการอื่น ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ได้)