เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ถ้าแฮร์รี่ พอตเตอร์มาอยู่บนกำแพงวัดจะเป็นยังไง? แล้วถ้านางเงือกแอเรียลหลุดมาอยู่ในโลกของสุนทรภู่ล่ะจะออกมาเป็นแบบไหน? ถ้าใครเคยสงสัย ก็ไม่จำเป็นต้องจินตนาการเองให้ปวดหัวอีกต่อไป เพราะ ‘ภู-ภูบดี อยู่ทิม’ หรือ ‘Peebadhu’ นักศึกษาเอกศิลปะไทย จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม ละภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาได้ครีเอทภาพจิตรกรรมไทยที่ผสมวัฒนธรรมความป๊อปแบบสากลลงไปมาให้เราได้ดูกันแล้ว

เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ถ้าแฮร์รี่ พอตเตอร์มาอยู่บนกำแพงวัดจะเป็นยังไง? แล้วถ้านางเงือกแอเรียลหลุดมาอยู่ในโลกของสุนทรภู่ล่ะจะออกมาเป็นแบบไหน? ถ้าใครเคยสงสัย ก็ไม่จำเป็นต้องจินตนาการเองให้ปวดหัวอีกต่อไป เพราะ ‘ภู-ภูบดี อยู่ทิม’ หรือ ‘Peebadhu’ นักศึกษาเอกศิลปะไทย จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม ละภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาได้ครีเอทภาพจิตรกรรมไทยที่ผสมวัฒนธรรมความป๊อปแบบสากลลงไปมาให้เราได้ดูกันแล้ว

ส่องจักรวาลความป๊อปบนลายเส้นจิตรกรรมไทย ในงานของ Peebadhu

เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า ถ้าแฮร์รี่ พอตเตอร์มาอยู่บนกำแพงวัดจะเป็นยังไง? แล้วถ้านางเงือกแอเรียลหลุดมาอยู่ในโลกของสุนทรภู่ล่ะจะออกมาเป็นแบบไหน? ถ้าใครเคยสงสัย ก็ไม่จำเป็นต้องจินตนาการเองให้ปวดหัวอีกต่อไป เพราะ ‘ภู-ภูบดี อยู่ทิม’ หรือ ‘Peebadhu’ นักศึกษาเอกศิลปะไทย จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม ละภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขาได้ครีเอทภาพจิตรกรรมไทยที่ผสมวัฒนธรรมความป๊อปแบบสากลลงไปมาให้เราได้ดูกันแล้ว

สิ่งที่สะดุดตาเราจนต้องคว้าตัวของ Peebadhu มาคุยกันให้ได้ ก็คือการวาดภาพลวดลายไทย แต่ใส่เรื่องราวจากแอนิเมชั่น ซีรีส์ มังงะ และภาพยนตร์ชื่อดังจากฝั่งญี่ปุ่น เกาหลี และฮอลลีวูดเข้ามาด้วย เลยทำให้เราอยากรู้จุดเริ่มต้นที่เขาอยากผสมสองสิ่งที่อยู่คนละขั้วเข้าด้วยกัน

“ปกติผมเป็นคนชอบดูภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นแนวแฟนตาซี เลยชอบนำคาแรกเตอร์ในนั้นมาวาดให้เป็นภาพที่ตัวเองชอบตั้งแต่เด็ก ๆ นอกจากนี้ผมยังชอบตำนาน เรื่องลึกลับ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นตำนานของไทย พอเข้าเรียนในรั้วมหาวิทยาลัย จึงนำความชอบลายไทยและภาพยนตร์มารวมกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานและต่อยอดผลงานต่อไป”

“ผมคิดว่าเอกลักษณ์ในงานของผม คือการนำเอาวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกมารวมกัน แต่ยังสามารถคงเอกลักษณ์แบบไทยโบราณเอาไว้ได้ และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถเล่าเรื่องราวใหม่ ๆ ได้ด้วย เพราะปกติแล้วภาพเขียนแบบไทยประเพณีตามฝาผนังจะมีขนบธรรมเนียมตายตัว และจะเล่าเกี่ยวกับคติธรรมของพุทธ ผ่านชาดก พุทธประวัติ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นหลัก ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าลายไทยยังสามารถเล่าคติธรรมเหล่านี้ผ่านสื่อบันเทิงในปัจจุบันอย่างภาพยนตร์ได้ด้วย”

แน่นอนว่านอกจากเรื่องราวที่หยิบมาเล่าแล้ว ความท้าทายอีกอย่างของการวาดภาพจิตรกรรมไทยบนผืนผ้าใบ ก็คือการทำให้ผู้ชมสามารถสัมผัสได้ถึงความเหมือนและฟีลลิ่งที่คล้ายกับกำลังมองภาพจากกำแพง ดังนั้นกระบวนการสร้างเรื่องราว เทคนิคในการวาด รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ก็เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างงานออกมาเช่นกัน

ซึ่ง Peebadhu ก็ได้อธิบายขั้นตอนการทำงานตรงนี้ให้เราฟังอย่างละเอียดว่า “สำหรับงานของผม ผมจะเลือกเทคนิคบนเฟรมไม้รองพื้นกาวเม็ดมะขามมาใช้ในการวาดงานครับ เพราะผมอยากจะอนุรักษ์เทคนิคการเขียนภาพโบราณไว้ และเทคนิคนี้ยังให้สีที่สวยงามและอายุงานยืนยาวด้วย”

“คำว่า ‘ลายไทย’ คือเอกลักษณ์ประจำชาติ ที่ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย ประณีต สวยงาม โดยเรานำลวดลายจากวัฒนธรรมใกล้เคียง เช่น เขมร อินเดีย มาดัดแปลงและสร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผมยังดึงเอาลายไทย ทั้งลายเขียนและลายผ้าแบบโบราณมาดัดแปลงให้เข้ากับบริบทของเรื่องที่นำมาเขียน ส่วนเกณฑ์ในการเลือกก็มาจากความชอบครับ”

“อย่างบางเรื่องที่ผมวาด ก็มาจากการออกแบบคาแรกเตอร์ที่ชอบในเรื่องนั้น ๆ แล้วนำมาตีความใหม่ในแนวทางที่เป็นไปได้ บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่สะท้อนปัญหาชีวิตของผมในช่วงนั้น เมื่อผมได้เรื่องที่ต้องการเขียนแล้วผมก็จะตีความว่าในแง่รูปลักษณ์ ควรจะเซ็ทให้อยู่ในสมัยไหนของไทย หรือไม่ก็ควรจะผสมเทคนิคของตะวันตกไว้ไหม ประมาณนี้ครับ” ศิลปินเสริมถึงขั้นตอนการออกแบบเรื่องราวในภาพ

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นศิลปินยังได้ยกตัวอย่างผลงานที่ชอบเป็นพิเศษให้เราได้ดูกันด้วย ชื่อภาพว่า ‘In the Wanda Vision’ กับ ‘กิวทาโร่และดาคิ’ ที่รวมแนวคิดและเอกลักษณ์ในการทำงานของเขาไว้อย่างครบครัน . “ผลงานที่ผมชอบเป็นพิเศษคือภาพ ‘In the Wanda Vision’ โดยนําเอาภาพยนตร์ซีรีส์ชุด WandaVision มาเขียนแบบไทยประเพณีและยังสอดแทรกคติพุทธลงไปด้วย เพราะตอนที่ผมดูเรื่องนี้ ผมรู้สึกว่าเรื่องราวของเธอเป็นเรื่องน่าเศร้า เนื่องจากคนรักจากไป แต่เธอยอมรับไม่ได้ ยิ่งดูผมก็ยิ่งรู้สึกว่าเรื่องนี้มันเข้ากับคติไตรลักษณ์ ที่สามารถสรุปได้ง่าย ๆ ว่าคือความไม่เที่ยง มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา พอวิเคราะห์ได้แบบนั้นผมก็เลยวาดงานชิ้นนี้ขึ้น เพราะอยากชวนผู้ชมมามองหลักธรรมต่าง ๆ ผ่านเรื่องราวในภาพยนตร์ที่คุ้นเคย”

“อีกชิ้นหนึ่งที่ผมก็ชอบเหมือนกัน คือภาพ ‘กิวทาโร่และดาคิ’ มีต้นแบบมาจากตัวละครในเรื่อง ‘Demon Slayer’ ทั้งสองคนเป็นพี่น้องกัน นิสัยของทั้งคู่มีทั้งความเป็นตัวร้าย และต่างปกป้องกันและกันไปในตัว เป็นตัวละครที่มีความเป็นมนุษย์เทา ๆ มาก ๆ จนผมรู้สึกประทับใจเลยเลือกที่จะวาดออกมาครับ”

เรียกได้ว่านอกจากศิลปินจะผสมผสานความป๊อปแบบสากลลงไปแล้ว แต่ก็ไม่ทิ้งแนวคิดอันเป็นหัวใจหลักของการทำจิตรกรรมไทยที่ผูกพันอยู่กับลายเส้น เรื่องเล่า และพระพุทธศาสนา อีกทั้งยังผสมตัวตน ความชอบ และสะท้อนความรู้สึกในแต่ละช่วงเวลาของตัวเองออกมาในผลงานอีกด้วย

The Little Mermaid

เจ้าหญิงเงือกน้อยผู้อยากเป็นมนุษย์ อยากมีขา อยากใช้ชีวิตในโลกที่ตัวเองรู้จักเพียงน้อยนิด แถมวิธีการกลายร่างเป็นมนุษย์ก็ยังทำร้ายตัวนางเอง นางไม่มีเสียงไว้พูดและผิดหวังจากรัก เพราะการกลายเป็นสิ่งอื่นที่ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็น

ผมหยิบเรื่องนี้มาทำ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากช่วงที่ผมอกหัก ความรู้สึกที่บางครั้งเราก็ยอมกลายเป็นคนอีกแบบหนึ่งที่ไม่ใช่ตัวเรา เพราะคิดว่ามันจะทำให้เราได้สมหวังในรักง่ายขึ้น ล่ะมั้ง?!

ภาพนี้มาจากเรื่อง Harry potter and the sorcerer’s stone เป็นเรื่องราวที่ทำให้ผมรู้สึกได้เติบโตไปพร้อมกับมัน และเป็นการฝึกดัดแปลงภาพให้เป็นลายไทย

ภาพนี้คือ zouwu จากเรื่อง Fantastic beasts เป็นเรื่องราวที่ทำให้ผมรู้สึกได้เติบโตไปพร้อมกับมัน และเป็นการฝึกดัดแปลงภาพให้เป็นลายไทย

สำหรับใครที่อยากติดตามจักรวาลความป๊อปแบบคลุกเครื่องต้มยำไทย ก็สามารถไปติดตาม Peebadhu ได้ที่: https://www.instagram.com/peebadhu/