เป็นเรื่องน่าประหลาดใจไม่น้อยเมื่อเราได้รับรู้ว่า ครั้งหนึ่ง ผลงานศิลปะสไตล์ ‘ไทย ๆ’ ของ ‘ปัน – สิรวิชญ์ จตุรภัทรานนท์’ ศิลปินและนักศึกษาศิลปะไทยสายตรง เคยถูกปลดออกจากการจัดแสดง เหตุเพราะแม้ว่างานของเขาจะถูกถ่ายทอดผ่านลวดลายไทยที่เราคุ้นตา แถมยังมาจากการรีเสิร์ชแง่มุมทางพุทธศาสนาแบบเข้มข้น แต่ด้วยการถ่ายทอดผ่านอารมณ์ขันและการนำมาจับกับความป็อปบางอย่าง ทำให้ผลงานศิลปะไทย ๆ สไตล์ปัน กลับไปโดนต่อมความไทยแท้ไทยประเพณีของผู้ชมบางท่าน จนแม้ว่าจะเป็นงานสไตล์ไทย แต่ไทยของเรานั้นกลับ ‘ไม่เท่ากัน’

เป็นเรื่องน่าประหลาดใจไม่น้อยเมื่อเราได้รับรู้ว่า ครั้งหนึ่ง ผลงานศิลปะสไตล์ ‘ไทย ๆ’ ของ ‘ปัน – สิรวิชญ์ จตุรภัทรานนท์’ ศิลปินและนักศึกษาศิลปะไทยสายตรง เคยถูกปลดออกจากการจัดแสดง เหตุเพราะแม้ว่างานของเขาจะถูกถ่ายทอดผ่านลวดลายไทยที่เราคุ้นตา แถมยังมาจากการรีเสิร์ชแง่มุมทางพุทธศาสนาแบบเข้มข้น แต่ด้วยการถ่ายทอดผ่านอารมณ์ขันและการนำมาจับกับความป็อปบางอย่าง ทำให้ผลงานศิลปะไทย ๆ สไตล์ปัน กลับไปโดนต่อมความไทยแท้ไทยประเพณีของผู้ชมบางท่าน จนแม้ว่าจะเป็นงานสไตล์ไทย แต่ไทยของเรานั้นกลับ ‘ไม่เท่ากัน’

ท้าทายม่านลวงตาของความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยอารมณ์ขันทางศิลปะแบบ ‘ไทย ๆ’ ของ ปัน – สิรวิชญ์ จตุรภัทรานนท์

เป็นเรื่องน่าประหลาดใจไม่น้อยเมื่อเราได้รับรู้ว่า ครั้งหนึ่ง ผลงานศิลปะสไตล์ ‘ไทย ๆ’ ของ ‘ปัน – สิรวิชญ์ จตุรภัทรานนท์’ ศิลปินและนักศึกษาศิลปะไทยสายตรง เคยถูกปลดออกจากการจัดแสดง เหตุเพราะแม้ว่างานของเขาจะถูกถ่ายทอดผ่านลวดลายไทยที่เราคุ้นตา แถมยังมาจากการรีเสิร์ชแง่มุมทางพุทธศาสนาแบบเข้มข้น แต่ด้วยการถ่ายทอดผ่านอารมณ์ขันและการนำมาจับกับความป็อปบางอย่าง ทำให้ผลงานศิลปะไทย ๆ สไตล์ปัน กลับไปโดนต่อมความไทยแท้ไทยประเพณีของผู้ชมบางท่าน จนแม้ว่าจะเป็นงานสไตล์ไทย แต่ไทยของเรานั้นกลับ ‘ไม่เท่ากัน’

ภายใต้บุคลิกสุดเปรี้ยว แว่นตากันแดดทรงเก๋ และผมสีสันเจ็บใจ คือเนิร์ดประวัติศาสตร์สังคมการเมืองตัวกลั่น นักเรียนศิลปะที่ศึกษาการเขียนลายไทยประเพณีแบบลงลึก และการเป็นพุทธมามกะที่สนใจพุทธศาสนาถึงขั้นไปบวชเรียนเพื่อสัมผัสประสบการณ์พุทธของจริง ซึ่งองค์ประกอบความเป็นเขาทั้งหมดนี้ได้ถูกกลั่นออกมาเป็นผลงานศิลปะสุดไวรัลที่เราคุ้นตากันดี ไม่ว่าจะเป็นผลงานภาพวาดกรุงเทพฯ สีฝุ่นบนหน้ากากอนามัย ที่ถูกแชร์ทุกครั้งเมื่อ PM2.5 มาเยือน หรือเสื้อยันต์ BALENCIAGA สีแดงสด ที่ไวรัลในเฟสบุ๊ก

ความกวนคือน้ำเสียงประจำตัวเขา ที่ทำหน้าที่ท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ในสังคมไทยแบบไม่มีข้อยกเว้น จนกลายเป็นคำถามที่เขาโยนกลับมาให้คนสัมภาษณ์อย่างเราและผู้อ่านบทสัมภาษณ์นี้เก็บไปคิดต่อ สรุปแล้วเขา (และเรา) จะเรียนศิลปะไทยไปทำไม? ศิลปะตั้งแต่ยุคร. 4 ยังมีที่ทางอยู่ไหมในโลก ‘ร่วมสมัย’ นี้? ศาสนา ไสยศาสตร์ อาจารย์ศิลป์ และศิลปะ ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันยังไง? แล้วทำไมดูจะต้องทำขำตลอด?

ไปค้นหาคำตอบร่วมกันในบทสัมภาษณ์ศิลปินมาแรงและเบอร์แรงคนนี้ได้เลย

เนิร์ดประวัติศาสตร์ ที่ภาพวาดจัดแสดงได้ไม่ครบกำหนด

เช่นเดียวกับเราหลาย ๆ คน ปันโตมาในครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับพุทธศาสนา แต่สิ่งที่ต่างไป คือปันสนใจและอยากสัมผัสศาสนาอย่างจริงจัง “ตอนเด็ก ๆ เราอยู่กับครอบครัวที่ปฏิบัติธรรม สวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็น วันหยุดก็เข้าวัด เรียกว่าอยู่กับศาสนาอย่างใกล้ชิดมาก ตอนเด็ก ๆ ก็อินมากจนขอแม่บวช อยากรู้เรื่องธรรมะ แต่พอเข้าไปก็ได้เห็นปัญหาจริง ๆ แล้วได้เห็นว่าสังคมพระที่ตอนเด็ก ๆ เรามองว่าเป็นสังคมอุดมคติก็มีปัญหาของมัน พอโตขึ้นก็เริ่มตั้งคำถาม แล้วคำถามมันก็กว้างขึ้นเรื่อย ๆ ไปสู่เรื่องประเด็นสังคมการเมือง”

และก็เช่นเดียวกันกับเด็กหลายคน ปันก็ชอบขีดเขียนลวดลายเล็ก ๆ ลงบนกระดาษ แต่ก็ต้องยกเครดิตให้ครูศิลปะของเขา ที่ชี้ทางให้เขารู้จักเสน่ห์ในลวดลายของศิลปะไทย ซึ่งเข้ากันพอดีกับความสนใจทางศาสนาที่มีคู่ขนานกัน

“ชอบศิลปะไทยมาตั้งแต่เด็กด้วย เลยยิ่งทำให้ใกล้ชิดศาสนา เริ่มจากตอนเด็ก ๆ เหมือนครูศิลปะเขาเห็นว่าเราชอบเขียนอะไรละเอียด ๆ ก็เลยให้วาดลายไทย พอได้วาดก็ชอบ ถูกจริต แล้วที่ที่จะศึกษาศิลปะไทยมันก็คือวัด เลยทำให้ได้เข้าวัดตลอด จนมาเรียนศิลปะไทยในที่สุด”

“ชิ้นที่แรง ๆ เลยเกี่ยวกับศาสนาคือเป็นภาพหน้าพระ แล้วเป็นหัวกะโหลกตรงกลาง ชื่อ ‘The Last Lesson’ มีที่เป็น NFT ด้วยและภาพวาดที่ไปแสดงในห้าง แต่แสดงได้อาทิตย์นึงยังไม่ครบพีเรียดที่กำหนด สถานที่ก็โทรมาว่าเขาไม่สบายใจ มีคนติงว่ากระทบกับองค์กรเขา ก็ขอให้เอาลง”

“จริง ๆ ชิ้นนี้มันไม่เชิง Critical ศาสนาด้วย แค่เอาคำสอนศาสนามาวิชวลไลซ์ใหม่ ตั้งใจให้กระตุ้นมากกว่า ว่า The Last Lessons คือบทเรียนสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าให้กับสาวกว่าชีวิตมันไม่เที่ยง เป็นการย้ำเรื่องไตรลักษณ์ซึ่งเป็นแก่นของศาสนา”

“ผมเป็นเนิร์ดประวัติศาสตร์อะ พอเรียนประวัติศาสตร์ไทยมันก็ตอบโจทย์ในแง่องค์ความรู้ที่เราต้องการและจริตการทำงานที่ชอบรายละเอียด”

“ผมชอบภาพมโหสถชาดกของครูคงแป๊ะที่วัดสุวรรณาราม มันสำคัญทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และศิลปะไทย คนนี้เป็นช่างจีนที่มาสมัยรัชกาลที่ 3 ถ้าเข้าวัดไปเห็นผนังจะรู้เลยว่าต่าง สิ่งแรกที่เห็นจะไม่ใช่ปราสาทราชวัง แต่เป็นก้อนหิน ต้นไม้ เป็นฟอร์มเหมือนภาพเขียนจีนโบราณ แต่ถ้าเข้าไปดูใกล้ ๆ ก็จะเห็นฟอร์มของคนและเครื่องประดับแบบไทย แต่จะมีความวิจิตรมากกว่าตามความช่ำชองในการใช้พู่กัน แต่ในความละเอียดละออของเขาก็จะมีองค์ประกอบบางอย่างที่ปะทะกันรุนแรง ด้วยตัวเนื้อหาของชาดกด้วย แล้วตอนเขียนมันก็วุ่นวายมาก ๆ เขาเขียนออกมาได้วุ่นวายจริง ๆ เหมือนมันมีสงครามเกิดขึ้นตรงนั้นจริง ๆ ซึ่งพอเราศึกษาประวัติเขาก็จะเห็นว่าเขาเป็นคนอารมณ์ร้อน เคยฆ่าคนตายแต่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ในผนังผนังเดียวมันเห็นหมดเลย ทั้งประวัติศาสตร์ เรื่องรสนิยม เรื่องศิลปะกับต่างชาติ และเห็นการเมืองยุคนั้นด้วย”

ทำไมต้องเรียนศิลปะไทย ทำไมต้องฝึกคัดลอก

“การเข้ามหาลัยก็ทำให้ได้เรียนเป็นระบบ ได้เข้าวัดไปศึกษาจริงจัง มีอาจารย์มาช่วยดู” จากความสนใจตอนเด็ก เขาเอาจริงขึ้นอีกระดับด้วยการเข้าเรียนภาควิชาศิลปไทย ที่ที่สร้างประสบการณ์ Immersive กับประวัติศาสตร์ให้กับเขา ด้วยการสอนคัดลอกแบบตามประเพณี

“การคัดลอกมันเป็นพื้นฐาน (Fundamental) มันฝึกทักษะการสังเกตุ เหมือนเราดูผนังก็จะเห็นจุดสำคัญ ๆ แต่พอต้องไปเขียนจริง ๆ จะรู้ว่าคนยุคนั้นเขามีจริตการทำงานแบบไหน หรือมีส่วนเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เรามองข้ามไปแต่มาเจอตอนคัดลอก”

“ส่วนตัวคิดว่าการคัดลอกมันเหมือนการฝังตัวเข้าไปอยู่ในประวัติศาสตร์จริง ๆ เพราะเวลาทำอาจารย์จะให้ใช้เทคนิคที่เป็นประเพณีทั้งหมดเลย ตั้งแต่การเตรียมพื้น ใช้กาวมะขามผสมดินสอพอง ใช้สีฝุ่นธรรมชาติ เพื่อให้เราได้เข้าใจช่างจริง ๆ ดูว่าเอฟเฟกต์ที่มันเกิดบนพื้นผิวที่เราทำขึ้นมามันตรงกับที่ช่างเขาทำในยุคโบราณหรือเปล่า เวลาอ่านประวัติศาสตร์มันก็แบน ๆ แต่พอเข้าไปทำก็ได้เห็นรอบขึ้น”

“ตอนเรียนกับเขาก็ได้มุมมองว่าการคัดลอกมันไม่ใช่แค่การเขียนลายไทยให้เหมือน แต่จะมันช่วยให้เข้าใจว่าประวัติศาสตร์มีความเป็นมาอย่างไร แล้วจะปรับใช้ในงานร่วมสมัยได้อย่างไร อย่างฟอร์มของปราสาทที่ซ้อน ๆ กันหรือภาพของต้นไม้ที่ช่างใช้พืชมากระทุ้งให้ปลายบานแล้วจุ่มสีกระทุ้งก็สามารถเอามาทำกับงานแอ็บสแตร็กต์ได้”

ซึ่งเขาก็เอาเทคนิคของศิลปะประเพณีมาใช้ในงานร่วมสมัยจริง ๆ ในงานที่แม้จะไม่มีลายไทยให้เห็นเลย แต่เขาได้ไอเดียการเล่นกับภาพมาจากงานตั้งแต่ยุคร. 4

“ตอนนั้นก็มีเรื่องโควิด มีรัฐมนตรีสาธารณสุขที่ออกมาบอกว่าโควิดกระจอก เป็นไข้หวัดธรรมดา ทั้ง ๆ ที่มีคนตายจริงเยอะมาก คนไทยก็ได้รับผลกระทบเยอะมาก รวมทั้งทางเศรษฐกิจด้วย ขัดกับที่เขาพูด ก็เลยเขียนเป็นเสือกลางภาพ แล้วมีโครงกระดูกข้างหลังเต็มไปหมด แล้วมีฟลิ้นท์สโตนส์อยู่ข้างหน้า แทนโลกยุคเก่า มาบอกว่ามันเป็นแมวไม่ใช่เสือ แล้วมีไดโนเสาร์มาช่วยเชียร์”

“งานนี้ต่อยอดมาจากชุด ‘Realists are boring’ ที่เป็นสีน้ำตาลทึม ๆ ไฟสงคราม แล้วก็มีเจ้าหญิงเริงร่าอยู่กับตัวเองเหมือนสิ่งรอบตัวมันไม่ได้เกิดขึ้นจริง สร้างเอฟเฟกต์ที่เกิดจากคอนทราสต์ของความกลมแบบงานคลาสสิกและความแบนแบบการ์ตูนในภาพ จริง ๆ เอามาจากงานจิตรกรรมไทยช่วงยุครัชกาลที่ 4 รอยต่อระหว่างจิตรกรรมประเพณีไปสู่สกุลช่างของขรัวอินโข่ง มันจะมีความจริงกึ่งประเพณี บางทีก็เป็นเมฆเหมือนจริงแบบบาโรคเลยนะ แต่เทวดาแบน ๆ ปิดทองอะไรงี้ ผมเห็นเอฟเฟกต์ตรงนี้แล้วก็สนใจว่าจะนำมาประยุกต์กันได้ ท้ายที่สุดถึงจะบอกว่าไม่ได้อินงานไทยแล้วไม่ได้เขียนงานประเพณีแล้ว แต่มันก็ฝังมาอยู่ในตัวผมแล้ว”

ล้อเลียน เสียดสี ความศักดิ์สิทธิ์

“เหตุผลที่ทำงานศิลปะผ่านมีม เพราะฟังก์ชันนึงของมีมคือการรบกวน (disrupt) ล้อเลียนด้วย และทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปด้วย”

นั่นก็ศักดิ์สิทธิ์ นี่ก็ศักดิ์สิทธิ์ อะไรทำให้สิ่งต่าง ๆ ศักดิ์สิทธิ์ได้เต็มไปหมด ถ้าดูงานของปันครั้งแรกเราจะเห็นความกวน ความแกล้ง อย่างการเอา ‘อาจารย์ศิลป์’ บุคคลสำคัญที่ชาวศิลปากรเคารพ มากองไว้หน้าทอมแอนด์เจอรี่ที่ร้องเพลงซานตาลูเซีย ในนิทรรศการ ‘Sotus Objects’ ในแบบที่คงไม่ได้เห็นในยุคที่โซตัสยังเข้มข้นกว่านี้ แต่นั่นเป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ ที่ปันปั่นความศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แบบชวนขำก่อน แล้วชวนมาคิด

“มันเป็นลักษณะการทำงานของผมด้วยแหละ ทำงานที่สนุก ๆ ปั่น ๆ ตลกไว้ก่อน ให้มันดูเข้าถึงง่ายด้วย เพราะบางทีคนเห็นเขาก็ปิดเลยถ้าดูรุนแรงไป ถ้าปรับให้มันซอฟต์ลงหรือขำขึ้นบางทีเขาอาจเปิดรับมาดู”

“ในแง่ศิลปะก็สนใจเรื่อง Institutional critique อย่างงาน ‘Ryo Art Space Collaborative Project ’ ก็เป็นโปรเจกต์ที่ใช้หอพักของตัวเองเป็นแกลเลอรี่และตั้งกล้องถ่าย ให้เห็นบทบาทของพื้นที่และบทบาทของตัวผมที่เปลี่ยนไป จัดไปสี่นิทรรศการของศิลปินนานาชาติทั้งไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ จีน ผมก็เป็นทั้งผู้อาศัยกินนอนในนั้น เป็นคิวเรเตอร์ เป็นแกลเลอริสต์ เป็นพ่อบ้านด้วย กวาดพื้นเสิร์ฟน้ำ และก็เป็นศิลปินที่เขียนรูปในนั้น”

“โปรเจกต์นี้ต้องการตั้งคำถามกับความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่ทางศิลปะ มันเป็นห้องเดิมนะ แต่บทบาทมันเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ พอเก้าโมงคนเข้ามาดูงานมันศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาไหม เป็นแกลเลอรี่ เป็น White Cube พอเขาออกไปกันผมก็เปลี่ยนชุดมานั่งกินมาม่าหน้ากล้อง เล่นกับความเป็นพื้นที่สาธารณะกับส่วนตัวและเล่นกับนิยามและขอบเขตของความเป็นศิลปะด้วย”

“ของศักดิ์สิทธ์ไม่ได้ศักดิ์สิทธ์ได้ด้วยตัวมันเอง หลายอย่างมาจากค่านิยม แล้วเราก็ไม่รู้ตัวว่าเรานั่นแหละที่ทำให้มันศักดิ์สิทธิ์ การปฏิบัติของเรา รูปแบบวิถีสังคม นั่นต่างหากที่ทำให้เกิดสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา”

“อย่างงานชุดเสื้อยันต์ก็จะมีของเกจิดัง ๆ เซียนพระรู้กันว่าของจริงหลักแสน เหมือนชาวบ้านเขาต้องการขวัญกำลังใจ แล้วแค่สวดมนต์อย่างเดียวมันไม่พอ พระเลยทำยันต์ เพื่อให้กล้าหาญเวลาออกไปรบหรือเวลาอยู่บ้านให้อุ่นใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงของคนในยุคสมัยหนึ่ง ซึ่งก็ขนานกันกับยุคนี้ที่มีความไม่มั่นคงเหมือนกัน อย่างเรื่องสงครามหรือโรคระบาด”

โดยใครอยากเห็นหรือเช่าบูชาเสื้อยันต์ในงานชุด ‘HOLY DESIGNER’ นี้ ก็ไปดูกันได้ในงาน Mango Art Festival ที่จัดอยู่ 3-7 พฤษภาคม นี้ ที่ River City Bangkok