ใครที่ชื่นชอบการไขปริศนาและถอดรหัสสัญญะจากภาพวาด จะต้องสนุกไปกับการได้นั่งมองภาพวาดของ ‘PaKa’ หรือ ‘ภค’ (อ่านว่าพะ-คะ) แน่นอน เพราะผลงานของเธอคือการรวบรวมเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมือนจะเข้ากันแต่ก็ไม่เข้ากันมาไว้ในภาพเดียว แต่ผลลัพธ์จากการรวมสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกัน ก็คือการกระตุ้นต่อมนักไขปริศนาและแกะสัญญะของทุกคนให้ทำงาน เพื่อหาความหมายที่ซ่อนอยู่ในความไม่เข้ากันเหล่านี้

ใครที่ชื่นชอบการไขปริศนาและถอดรหัสสัญญะจากภาพวาด จะต้องสนุกไปกับการได้นั่งมองภาพวาดของ ‘PaKa’ หรือ ‘ภค’ (อ่านว่าพะ-คะ) แน่นอน เพราะผลงานของเธอคือการรวบรวมเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมือนจะเข้ากันแต่ก็ไม่เข้ากันมาไว้ในภาพเดียว แต่ผลลัพธ์จากการรวมสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกัน ก็คือการกระตุ้นต่อมนักไขปริศนาและแกะสัญญะของทุกคนให้ทำงาน เพื่อหาความหมายที่ซ่อนอยู่ในความไม่เข้ากันเหล่านี้

PaKa ศิลปินผู้เล่าเรื่องจริงผ่านสัญญะ และความไม่สมจริง

“บางครั้งเรื่องราวที่ไม่สมจริงที่สุด อาจจะกำลังเล่าความจริงให้เราฟังอยู่ก็เป็นได้”

ใครที่ชื่นชอบการไขปริศนาและถอดรหัสสัญญะจากภาพวาด จะต้องสนุกไปกับการได้นั่งมองภาพวาดของ ‘PaKa’ หรือ ‘ภค’ (อ่านว่าพะ-คะ) แน่นอน เพราะผลงานของเธอคือการรวบรวมเอาส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เหมือนจะเข้ากันแต่ก็ไม่เข้ากันมาไว้ในภาพเดียว แต่ผลลัพธ์จากการรวมสองสิ่งนั้นเข้าด้วยกัน ก็คือการกระตุ้นต่อมนักไขปริศนาและแกะสัญญะของทุกคนให้ทำงาน เพื่อหาความหมายที่ซ่อนอยู่ในความไม่เข้ากันเหล่านี้

หลังจากเรียนจบจาก Parsons School of Design, The New School สาขา Fine Arts และจบการฝึกงานในฐานะผู้ช่วยในสตูดิโอให้กับศิลปินในนิวยอร์ก PaKa ก็ได้เริ่มออกเดินทางตามฝัน และก้าวขึ้นมาเป็นศิลปินด้วยตัวเองแบบเต็มตัว ซึ่งเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ - 26 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา เธอก็เพิ่งจัดแสดงนิทรรศการ ‘AfterTaste’ นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของเธอไป ณ บ้านตรอกถั่วงอก

โดยผลงานที่เธอนำมาจัดแสดงในนิทรรศการครั้งนี้ ก็ได้มีการผสมสัญญะต่าง ๆ ไว้มากมายให้เราได้ลองตีความกัน ไม่ว่าจะเป็นภาพส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์, ดอกไม้, อาหาร และภาพสถานที่ต่าง ๆ นอกจากนี้ผลงานของเธอยังมีความแปลกประหลาดหลายอย่างปะปนอยู่ อย่างตำแหน่งการจัดวางที่ดูลอย ๆ องค์ประกอบภาพที่เหมือนจะเป็นแพทเทิร์นเดียวกันแต่ก็ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงสไตล์ของภาพที่วาดออกมาแบบไม่เน้นความสมจริง แต่พอเราได้ลองพูดคุยกับศิลปินจริง ๆ กลับพบว่า ไอ้เจ้าความแปลกประหลาดและความไม่สมจริงพวกนี้นี่แหละ ที่กำลังตะโกนความจริงออกมาได้เสียงดังมากที่สุด

PaKa ค่อย ๆ เล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของนิทรรศการเดี่ยวครั้งนี้ของเธอให้เราฟังว่า “คำว่า ‘AfterTaste’ ที่เราตั้งเป็นชื่อนิทรรศการ มาจากการเล่นคำกับคำว่า ‘Afterthought’ รวม ๆ แล้วหมายถึงรสชาติกับความคิดที่มาภายหลัง เป็นการเอาเรื่องราวของช่วงเวลาหนึ่งมาเล่า เพื่อที่จะได้เดินออกมาจากมันได้ กึ่ง ๆ กับการบันทึกเก็บไว้ แต่ละภาพที่เราวาดขึ้นมาในนิทรรศการนี้จะเปรียบเสมือนฉากฉากหนึ่ง สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าไล่มองไปตามลำดับที่จัดเรียงไว้ ก็จะเหมือนได้ดูหนังหนึ่งเรื่องเลย”

เธอยังเล่าเพิ่มอีกว่า แม้ภาพเหล่านี้จะดูไม่สมจริงและไม่ได้เป็นเรื่องราวที่มองแว้บเดียวแล้วเข้าใจเลย แต่จริง ๆ แล้วมันคือความตั้งใจของเธอเองที่ต้องการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ เป็นตัวบอกเล่าความจริงทุกอย่างที่เธอได้พบเจอ และเพื่อเป็นไกด์ไลน์ให้คนดูอย่างเรา ๆ เข้าใจมากขึ้น เราก็เลยขอให้เธอแง้มความลับของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ออกมาสักหน่อยว่าแต่ละอันมีความหมายอะไรบ้าง

ซึ่ง PaKa ก็กระซิบตอบกลับมาอย่างขี้เล่นว่า “จริง ๆ เราอยากเหลือพื้นที่ให้คนดูได้ลองตีความเอาเองมากกว่าจะบอกออกไปตรง ๆ นะ”

แต่ในเมื่อเรากล้าขอ คุณศิลปินก็กล้าเฉลย (แต่ไม่หมด) ว่า “อืมม สัญลักษณ์ที่สำคัญมาก ๆ ในนิทรรศการครั้งนี้คือภาพ ‘ดอกอัญชัน’ เรียกว่าเป็นศูนย์กลางของภาพเลยแหละ อีกนัยหนึ่งมันยังเป็น Self-Portrait ของตัวเราเองด้วย นอกจากนี้เรายังใช้อาหารมาเป็นพาหนะในการเล่าเรื่องความเหมือนจริงที่ไม่จริงของสิ่งที่ลอยอยู่ในงานด้วยเหมือนกัน”

“ยังมีเรื่องขององค์ประกอบภาพกับการใช้สีต่าง ๆ ในงาน ที่มีความหมายซ่อนอยู่เหมือนกัน สีที่เราใช้จะเป็นสีน้ำมัน โดยเราเริ่มจริงจังกับการระบายสีตอนได้ลองใช้สีน้ำมัน มันรู้สึกติดใจแล้วก็อยากจะรู้จักมันให้มากขึ้น ไปพร้อม ๆ กับทำความเข้าใจในมีเดียมประเภทนี้ เราเลยใช้สีน้ำมันมาอย่างต่อเนื่องเลย” PaKa เสริม

ก่อนจะจากกันเรายังขอให้ศิลปินช่วยแชร์ความรู้สึกของการได้จัดนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกให้เราฟังหน่อย หลังจากที่ศิลปินหยุดคิดไปครู่หนึ่ง เธอก็เริ่มเล่าว่า “นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกนี้ ทำให้เรามีโอกาสได้เห็นงานของตัวเองจัดเรียงออกมาเป็นลำดับตามที่เราเคยตั้งใจเอาไว้ เพราะตอนทำงานในสตูดิโอมันมีพื้นที่ไม่พอ เราเลยไม่เคยเห็นภาพแบบนี้เลย หลังจากได้ลองจัดงานที่ทำเองทุกอย่าง ก็เลยได้ค้นพบว่าตัวเองชอบเขียน ทั้ง ๆ ที่เคยคิดว่าตัวเองไม่ชอบ และพอได้เห็นงานตัวเองนอกสตูดิโอ ก็ทำให้รู้สึกว่าจริง ๆ แล้วเรายังทำงานให้ใหญ่กว่านี้ได้อีก เราพอใจกับมันมาก ๆ ถึงจะเหนื่อยแต่ก็ได้เรียนรู้อะไรหลายอย่าง เป็นการก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยของตัวเองแบบเต็มตัวจริง ๆ”

“เป็นชิ้นที่จุดประกายให้เกิดนิทรรศการ ‘AfterTaste’ ขึ้นมาเลย เพราะตอนทำชิ้นนี้เสร็จเรารู้สึกว่ามันยังไปต่อได้อีก มีสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนและหลังฉากนี้ เลยเอามาคิดต่อจนกลายเป็นนิทรรศการ เป็นชิ้นที่คงเก็บไว้กับตัวเองไปตลอด เลยตัดสินใจเอามาลองทำเป็นสินค้าและทำเป็นภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนกับพวกพี่ ๆ The Archivist โดยพวกพี่ ๆ เขาก็ช่วยแยกเป็นเลเยอร์ให้ถึง 21 เลเยอร์ ทำให้ได้เห็นงานชิ้นนี้ในอีกมีเดียมหนึ่งด้วย”

“เป็นชิ้นที่ได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ ในเชิงเทคนิคเยอะมาก เช่นการใช้สีส้มฟลูออเรสเซ้นท์ (Fluorescent Orange) ที่ยากมากกว่าจะลงตัว และยังได้ลองวาดภาพวิวทิวทัศน์เพิ่มเข้าไปด้วย จนเหมือนได้เปิดประตูไปยังอีกมิติหนึ่งให้ตัวเอง (ในภาพสีส้มไม่แป๋นเท่าของจริง)”

“จากการแบ่งพื้นที่เล็ก ๆ ให้ภาพวิวทิวทัศน์ในภาพ ‘The Right Shade of Green’ ทำให้เกิดความสงสัยในภาพสไตล์นี้มาก ๆ เลยลองเอามาขยายดู เราคิดว่าภาพวิวทิวทัศน์ของเรามันไม่ได้พูดถึงตัวสถานที่แต่เป็นการเก็บความรู้สึกมากกว่า ถึงแม้ว่ามันจะเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริงก็ตาม”

“เรารู้สึกว่ากล้วย 2 อันนี้มันแคปเจอร์ความเป็นเราได้ดีมาก เพราะเรารู้สึกเหมือนตัวเองมี 2 ขั้วอยู่ในตัวเอง ถ้าสังเกตจะเห็นว่ากล้วยฝั่งซ้ายจะเป็นแบบคอนเซ็ปชวล ส่วนฝั่งขวาจะเน้นการวาดแบบใช้เทคนิคให้สมจริง อีกทั้งภาพนี้ยังเป็นภาพที่เราโฟกัสเป็นจุด ๆ แบบไม่ต้องเอาทุกอย่างมารวมกัน”

ถ้าใครชื่นชอบความท้าทายและรักการตีความสัญญะ สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของศิลปินได้ที่: https://www.instagram.com/PaKasrylatereply/