เมื่อพูดถึง ‘เสียงเล่า’ ทุกคนมักจะนึกถึงเรื่องอะไรกันบ้าง? การพูดคุยกับใครสักคน การเล่านิทานสักเรื่อง หรือการอ่านหนังสือสักเล่ม แต่ไม่ว่าทุกคนกำลังนึกถึงอะไร เชื่อว่าการมอง ‘ภาพ’ ที่ไร้ตัวอักษร คงเป็นสื่อลำดับท้าย ๆ ที่เราจะนึกถึงเสียงกัน ทั้ง ๆ ที่ภาพเองก็มีเสียงเล่าของศิลปินออกมาเหมือนกัน ส่วนจะดัง จะเบา หรือจะตะโกน ล้วนขึ้นอยู่กับคนสร้างงานว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่กันแน่

เมื่อพูดถึง ‘เสียงเล่า’ ทุกคนมักจะนึกถึงเรื่องอะไรกันบ้าง? การพูดคุยกับใครสักคน การเล่านิทานสักเรื่อง หรือการอ่านหนังสือสักเล่ม แต่ไม่ว่าทุกคนกำลังนึกถึงอะไร เชื่อว่าการมอง ‘ภาพ’ ที่ไร้ตัวอักษร คงเป็นสื่อลำดับท้าย ๆ ที่เราจะนึกถึงเสียงกัน ทั้ง ๆ ที่ภาพเองก็มีเสียงเล่าของศิลปินออกมาเหมือนกัน ส่วนจะดัง จะเบา หรือจะตะโกน ล้วนขึ้นอยู่กับคนสร้างงานว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่กันแน่

ชวนฟัง ‘เสียงเล่า’ ในงานภาพ ของ ‘Antizeptic’ ผู้เชื่อว่าการเล่าเรื่องที่ดีคือการประสานเสียงให้ตรงจังหวะ

เมื่อพูดถึง ‘เสียงเล่า’ ทุกคนมักจะนึกถึงเรื่องอะไรกันบ้าง? การพูดคุยกับใครสักคน การเล่านิทานสักเรื่อง หรือการอ่านหนังสือสักเล่ม แต่ไม่ว่าทุกคนกำลังนึกถึงอะไร เชื่อว่าการมอง ‘ภาพ’ ที่ไร้ตัวอักษร คงเป็นสื่อลำดับท้าย ๆ ที่เราจะนึกถึงเสียงกัน ทั้ง ๆ ที่ภาพเองก็มีเสียงเล่าของศิลปินออกมาเหมือนกัน ส่วนจะดัง จะเบา หรือจะตะโกน ล้วนขึ้นอยู่กับคนสร้างงานว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่กันแน่

แต่ถึงแม้ว่าเราจะไม่อาจรู้ได้ว่าศิลปินคนอื่นคิดอย่างไร ทว่าสำหรับ ‘Antizeptic’ หรือ ‘เข้ม - ณขวัญ ศรีอรุโณทัย’ กราฟิกดีไซน์เนอร์มือฉมังประจำ WAY Magazine ผู้ออกแบบปกและรูปเล่มหนังสือ แมกาซีน โปสเตอร์ บุ๊คเล็ท และเขียนการ์ตูนเรื่องในอาณาเขต 1 หน้ากระดาษ ฯลฯ แล้ว เขามองว่าการออกแบบและการเล่าเรื่องผ่านภาพนั้นคือการ ‘ประสานเสียง’

แต่ก่อนที่เราจะคิดไกลและตีความไปถึงวงดนตรี ณขวัญก็ได้ขยายความคำว่าประสานเสียงให้เราฟังว่า “แม้ ‘ถ้อยคำ’ จะไม่ได้หลุดจากปากเรา แต่ ‘ภาพ’ ก็เล่าเรื่องอะไรบางอย่างอยู่เสมอครับ แต่มันต่างกันตรงวิธีในการเล่า หรือการช่วงชิงเสียงเล่านี่แหละ เพราะงานแต่ละชิ้นมักจะมีเสียงเล่าเหมือนวงประสานเสียง และกราฟิกก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งจากหลาย ๆ องค์ประกอบ”

“พูดแบบนี้อาจยังไม่เห็นภาพ คือพอทำงานเป็นทีม เช่น งานส่วนใหญ่ใน WAY Magazine มักจะเป็นการเทไอเดียของคนหลาย ๆ คนมาปั่นรวมกัน งานบางชิ้นอาจถูกนำด้วยเสียงเล่าบางเสียง และที่ออฟฟิศอันอุดมไปด้วยนักคิดนักเขียน ก็เลยมีเสียงเล่าจากหลายคนมาก ๆ ดังนั้นถ้าเราจะเล่าให้รู้เรื่อง เราก็ต้องเล่าอย่างแนบเนียนและประสานเสียงให้ตรงกับจังหวะของทุกคน”

“ซึ่งมันก็เป็นข้อดีของการทำงานออกแบบในเชิง Editorial Design เพราะพอมีเสียงเล่าจากนักคิดนักเขียนนำทางมาก่อน เราก็จะมีเนื้อหาให้เกาะตามไปด้วยเหมือนกัน อย่างน้อย ๆ เราก็มีจุดเริ่มต้นของการออกเดินว่าจะออกแบบอย่างไร” ณขวัญเสริม

เขายังเริ่มยกตัวอย่างการประสานเสียงในงานแต่ละแบบให้เราฟังอีกด้วยว่า “ขอยกตัวอย่างนะครับ งานออกแบบหน้าปกหนังสือ เสียงของนักเขียนคือเสียงแรกที่เล่าเรื่องราว นักออกแบบ (ผู้มีเรื่องจะเล่า) ก็อาจจะเล่าผ่านภาษาภาพเพียงเล็กน้อย และจะให้ดีก็น่าจะสอดคล้องไปในเรื่องราวเดียวกันกับเรื่องที่นักเขียนเล่า”

“แต่ถ้าเราลองชั่งน้ำหนักดู งานออกแบบโปสเตอร์จะเทน้ำหนักไปที่งานภาพมากกว่าตัวอักษร แม้กระทั่งโปสเตอร์ที่เป็นงานแบบจัดวางตัวอักษร (Typography) เราก็ยังให้คุณค่ากับการจัดวางเทียบเท่าหรือมากกว่าถ้อยคำ เพราะฉะนั้นการเล่าเรื่องผ่านการออกแบบโปสเตอร์จึงมักเป็นเสียงอันดังฟังชัดของนักออกแบบ”

พอได้ยินแบบนี้เราก็อยากทราบต่อทันทีว่า ถ้านักออกแบบเองก็มีเสียง แล้วเสียงของณขวัญในงานออกแบบนั้นเป็นแบบไหนและมีสไตล์อย่างไรบ้าง? ซึ่งเขาก็ตอบกลับมาว่า “เสียงของผมก็คงจะเป็นเสียงที่ไม่ได้บอกอะไรชัด ๆ พูดเบา ๆ หรือสื่อสารออกไปแบบซ่อนนัยมากกว่าครับ”

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากงานออกแบบสไตล์ Editorial Design แล้ว ณขวัญยังเขียนการ์ตูนเองอีกด้วย ซึ่งเขาก็ได้แชร์ประสบการณ์ตรงนี้ว่า “การเขียนการ์ตูน (ในอาณาเขต 1 หน้ากระดาษ) ที่เคยเขียนลง WAY Magazine นั้น คือการเล่าแบบไม่ต้องแอบพิงหลังนักคิดนักเขียนคนไหนอีกต่อไปครับ มันเลยเป็นงานที่เต็มไปด้วยเสียงเล่าของตัวเราเองแบบเพียว ๆ ซึ่งที่มาแรกเริ่มในการทำงานนั้น เริ่มมาจากการบำบัด ระบายความเครียด เป็นการพูดออกมาบ้างของคนที่มักจะไม่ค่อยได้พูดเท่านั้นเองครับ”

เรียกว่าบางครั้งการประสานเสียงกับคนอื่นบ่อย ๆ ก็อาจจะทำให้เราเกือบหลงลืมเสียงของตัวเองไปได้ ดังนั้นการได้ปลดปล่อยเสียงของตัวเองออกมาบนงานที่เป็นพื้นที่ของเราสักชิ้นหนึ่ง ก็เป็นการได้ย้ำเตือนให้กลับมาฟังเสียงของตัวเองแบบเต็ม ๆ อีกครั้ง และจดจำเสียงนั้นเอาไว้เพื่อก้าวต่อไปในอนาคต

และเพื่อเป็นประโยชน์ให้กับคนที่อยากทำงานออกแบบ ณขวัญยังอธิบายกระบวนการทำงานและวิธีการตั้งต้นเรียบเรียงความคิด ก่อนจะตกผลึกออกมาเป็นงานออกแบบให้เราฟังด้วยว่า

“ผมมักจะเริ่มทำงานจากการอ่านจับใจความ (ถ้าเป็นงานออกแบบปกหนังสือ ภาพประกอบบทความ หรืองาน Editorial design อื่น ๆ) ตรงจุดนี้น่าจะเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดและบางทีก็ฝืนใจที่สุดของอาชีพนี้ เพราะบางคราวเราก็ต้องอ่านอะไรที่เราไม่สนใจหรือไม่ได้คิดจะอ่าน ตัวช่วยที่ดีคือการคุยกับเพื่อนร่วมงาน ที่อาจเป็นผู้เขียนบทความชิ้นนั้น หรือเป็นผู้ที่เข้าใจเนื้อหานั้น ๆ”

“จากนั้นคือการตีโจทย์จากเนื้อหาเป็นภาพ กระบวนการนี้บางทีเกิดขึ้นในหัวตอนอาบน้ำ ชงกาแฟ หรือเดินเล่น บางทีก็เกิดขึ้นตอนสเกตช์ลงกระดาษ A4 รียูสที่วางแหมะอยู่บนโต๊ะ หรือบางทีก็เกิดจากการเปิดดูชิ้นงานของชาวโลกแล้วดูว่าจะหยิบฉวยอะไรมาใช้ได้บ้าง”

“การไป ๆ กลับ ๆ ลองผิดลองถูกเพื่อทำสิ่งที่อยู่ในหัวให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อลงมือจริง ๆ มีหลายครั้งเลยที่เราต้องวกกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่ เพราะโดยมากสิ่งที่คิดในหัวกับสิ่งที่ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างมักจะมีความแตกต่างกันด้วยข้อจำกัดมากมาย จากนั้นเราก็จะส่งผลงานที่เป็นรูปเป็นร่างให้คนอื่นดู เนื่องจากงานออกแบบกว่าครึ่งคือการสื่อสาร บางทีการรีเช็คกับผู้รับสารก็สำคัญ หรือถ้าไม่มีใคร บางทีเราแค่ถอยออกมา วางมือสักพัก มองผลงานในสายตาของผู้เสพ ไม่ใช่ผู้สร้าง ก็พอได้”

ณขวัญยังทิ้งท้ายหรือจะเรียกว่าเตือนใจก็คงไม่ผิดนักว่า “จบงานให้ได้ แม้ว่าจะยังไม่ได้พึงพอใจเต็มร้อยก็ตาม… เพราะยังมีงานอื่น ๆ รอเราอยู่เสมอ”

นับว่าเส้นทางของนักออกแบบสาย Editorial Design นั้นไม่ง่ายเลย เพราะในขณะที่นักเขียนหรืออาชีพอื่น ๆ ในวงการครีเอทีฟสามารถตะโกนส่งเสียงเล่าในความคิดของตัวเองออกมาได้อย่างเต็มที่ นักออกแบบกลับต้องเป็นคนที่คอยปรับจูนและคอยประสานเสียงนั้นให้ไพเราะมากขึ้น พร้อมกับคลุกเคล้าเรื่องราวให้มีกลิ่นหอม หน้าตาสวยงาม และรสชาติน่าชิม สมกับที่ณขวัญนิยามว่าเสียงในงานออกแบบของเขาคือการประสานเสียงจริง ๆ

“เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดความทรงจำจากเหตุการณ์ 6 ตุลา ผ่านคนหลากหลาย ทั้งที่เป็น somebody จนถึง nobody”

“วันที่นักเขียนนัด อ.ประจักษ์ (ก้องกีรติ) ไปสัมภาษณ์ที่ธรรมศาสตร์ ผมไปนั่งฟังด้วย และในระหว่างทางก็เห็นกราฟิตี้บนผนังวัดมหาธาตุ เป็นภาพพิมพ์ลายฉลุ (Stencil) ฉากฟาดเก้าอี้อันโด่งดัง แต่ถูกทาสีลบไปบางส่วน ผมจึงถ่ายภาพเก็บไว้”

“หลังจากนั้นพอถึงขั้นตอนของการออกแบบรูปเล่มและออกแบบปก ผมจึงนำภาพถ่ายที่ถ่ายเล่นๆ นี้มาใช้ และใช้เทคนิคการพิมพ์เล็กน้อยเพื่อสื่อนัยยะของเรื่องราว”

“ผมชอบงานชิ้นนี้เพราะคิดว่ามันลงตัวและพอดีครับ”

“ชอบงานนี้เพราะเป็นการทดลองในทุก ๆ ส่วน ตั้งแต่เพลงของศิลปินที่จากเดิมเป็น One Man Band เล่นกีตาร์คนเดียวในสำเนียง Post Rock แต่เพลงชุดนี้เป็นอิเล็กทรอนิกส์เต็มขั้น และกีตาร์ถูกบิดผันแทบจะหายไปไม่เหลือเค้าเดิม เนื้อหานั้นก็พูดถึงปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ตั้งคำถามกับความเป็นมนุษย์ ทั้งหมดนั้นคือผลงานในปี 2018 ที่เรายังไม่พูดถึง AI กันสักเท่าไหร่”

“ตัวงานออกแบบเองก็มีลูกเล่นซ่อนเอาไว้แบบไม่บอกก็ไม่มีใครรู้ เช่น ถ้ากรีดเปิดด้านในออกมา จะเป็นภาพของ ไผ่ ดาวดิน ยิ้มสู้กล้องผ่านลูกกรงของรถคุมตัวผู้ต้องขัง”

“ชอบงานชิ้นนี้เพราะมันแสดงให้เห็นว่า หากมีข้อมูลที่จัดเก็บเป็นระบบระเบียบ นักออกแบบก็จะแสดงศักยภาพได้เต็มที่และทำให้เราเห็นความสวยงามของข้อมูล (แม้เนื้อหานั้นจะน่าเศร้าเพียงไรก็ตาม)”

“ความท้าทายของการออกแบบปกวรรณกรรม คือในตัวบทนั้นมักจะมีลำดับชั้นของเรื่องเล่า เหมือนการปอกหัวหอมทีละชั้น ทีละชั้น อ่านหนังสือเล่มหนึ่งแต่ละครั้งย่อมสร้างความรู้สึกที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเล่มนี้ ที่เต็มไปด้วยความลึกลับน่าค้นหา”

“เรื่องเล่าแบบซ่อนนัย สลัวเลือน และทิ้งค้างให้เราโฟกัสในสิ่งที่ไม่ได้เล่าของ อันตอนีโอ ตาบุคคี ในเล่มนี้ ตีความออกมาได้ยาก และรู้สึกชอบที่หลังจากทิ้งเวลาเปล่า ๆ ไป เมื่อกำหนดส่งงานงวดเข้ามาก็จับเซนส์บางอย่างของหนังสือเล่มนี้ได้”

“เขียนนิทานถึงเครื่องหมาย \ ที่ไม่ค่อยได้ใช้และสงสัยถึงการมีอยู่ของมัน ผมรู้สึกว่าเป็นชิ้นงานที่ผสมรวมทั้งการเป็นนักเล่าเรื่อง นักวาด นักออกแบบ และมีความเป็นคนเพ้อเจ้ออยู่นิดนึงดีครับ”

“ชอบงานนี้เพราะได้งานจากการเขียนรีวิวหนังสือ”

“คุณนันทวรรณ ชาญประเสริฐ (นักแปลและเจ้าของสำนักพิมพ์) เล่าว่า จริง ๆ ไม่ได้สะดุดตาจากงานกราฟิกของผมสักเท่าไหร่ แต่ได้อ่านบทความสั้น ๆ ที่ผมเขียนถึงหนังสือ จึงชวนมาออกแบบโลโก้สำนักพิมพ์ที่เน้นเฉพาะการแปลวรรณกรรมอิตาลี”

“ฟังดูไม่แน่ใจว่าควรภูมิใจไหม แต่นี่เป็นงานหนึ่งที่รู้สึกพึงพอใจกับมันมากครับ”

“ไอเดียของโลโก้มาจากการหยิบเอา ‘คู่สับสน’ ของอักขระต่างๆ โดยปกติหมายถึงอักขระในภาษาหนึ่ง เช่น น และ ม หรือ b และ d แต่โลโก้นี้คือการเล่นกับคู่สับสนข้ามภาษา คือ ตัว a และ อ”

(อ่านที่มาได้ในบล็อก https://antizeptic.wordpress.com/.../%e0%b8%ad%e0%b9%88.../)

สามารถลองไปฟังเสียงเบา ๆ นุ่มลึกที่ซ่อนนัยเอาไว้ในงานออกแบบของ ‘Antizeptic’ หรือ ‘เข้ม - ณขวัญ ศรีอรุโณทัย’ กันได้ที่ WAY Magazine และตามปกหนังสือต่าง ๆ หรือติดตามเขาผ่านช่องทางโซเชี่ยลมีเดียได้ที่: Facebook: https://www.facebook.com/antizeptic/ Website: https://antizeptic.wordpress.com/.../portfolio/book-design