เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์ต่อหน้าสื่อมวลชนว่า การที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการขัดขวางไม่ให้นักศึกษาแสดงผลงานศิลปะภายในพื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม พร้อมกับแจ้งความดำเนินคดีต่อนักศึกษาและอาจารย์ในฐานร่วมกันบุกรุกนั้น อาจขัดต่อหลักเสรีภาพทางวิชาการได้

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์ต่อหน้าสื่อมวลชนว่า การที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการขัดขวางไม่ให้นักศึกษาแสดงผลงานศิลปะภายในพื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม พร้อมกับแจ้งความดำเนินคดีต่อนักศึกษาและอาจารย์ในฐานร่วมกันบุกรุกนั้น อาจขัดต่อหลักเสรีภาพทางวิชาการได้

กรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ชี้ คณะวิจิตรศิลป์เข้าข่ายละเมิดเสรีภาพ กรณีขัดขวางและแจ้งจับนักศึกษาจากการแสดงงาน

เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์ต่อหน้าสื่อมวลชนว่า การที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการขัดขวางไม่ให้นักศึกษาแสดงผลงานศิลปะภายในพื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม พร้อมกับแจ้งความดำเนินคดีต่อนักศึกษาและอาจารย์ในฐานร่วมกันบุกรุกนั้น อาจขัดต่อหลักเสรีภาพทางวิชาการได้

ย้อนกลับไปในช่วงปี 2564 เชื่อว่าหลายคนน่าจะยังจำเหตุการณ์การเผชิญหน้าระหว่างนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เข้ามาทำการรื้องานศิลปะของนักศึกษาทิ้งโดยพละการ จนกลายเป็นจุดกำเนิดวลีฮิตอย่าง “เป็นศิลปินหรือเปล่า?” ของอาจารย์ทัศนัย เศรษฐเสรี ก่อนจะลากยาวไปจนถึงช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ที่เหล่านักศึกษาได้ยื่นหนังสือถึงคณะวิจิตรศิลป์อย่างเป็นทางการ เพื่อขอใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมในการจัดแสดงผลงาน Pre-Thesis ระหว่างวันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2564 ซึ่งอาคารแห่งนี้เคยเปิดให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าไปปฏิบัติงานได้เป็นการทั่วไป

ทว่าเมื่อทางคณะได้รับหนังสือไปแล้วกลับบ่ายเบี่ยงไม่ยอมให้คำตอบ พร้อมทั้งทำการล็อประตูรั้ว ประตูทางเข้า และตัดน้ำตัดไฟในอาคาร เพื่อขัดขวางไม่ให้นักศึกษาเข้าไปใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม จนนำไปสู่เหตุการณ์ที่อาจารย์และนักศึกษาต้องตัดโซ่ล็อคประตูรั้วและประตูทางเข้าเพื่อเข้าไปใช้พื้นที่ และเป็นที่มาของการแจ้งความดำเนินคดีกับอาจารย์และนักศึกษาซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในเวลาต่อมา

หลังจากที่ทางกสม. ได้ตรวจสอบและพิจารณาข้อเท็จจริงจากทุกฝ่ายตามหลักกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องแล้วก็เห็นว่า การที่คณะวิจิตรศิลป์ไม่แจ้งผลการพิจารณาให้นักศึกษาทราบในเวลาอันสมควร และขัดขวางไม่ให้อาจารย์และนักศึกษาเข้าไปใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมในการจัดแสดงผลงานศิลปะ นับเป็นการกระทำที่กระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการอันเป็นการกระทำหรือละเลยการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แม้ในภายหลังเหล่านักศึกษาจะสามารถเข้าไปใช้งานภายในอาคารได้ แต่เมื่อพิจารณากระบวนการทำงานทั้งหมดของคณะกรรมการภายในคณะวิจิตรศิลป์ ก็พบว่ามีหลายจุดที่ไม่เหมาะสม

ด้วยเหตุนี้ทางกสม. จึงยื่นข้อเสนอแนะให้ทางคณะวิจิตรศิลป์ระมัดระวังการใช้ดุลพินิจของตัวเอง ที่อาจจะกระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการได้ ด้วยการปรับแก้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศเกี่ยวกับขั้นตอนในการขอใช้พื้นที่หอศิลปวัฒนธรรมเพื่อจัดแสดงผลงานของนักศึกษาให้ชัดเจน และขอให้คณะวิจิตรศิลป์ดำเนินการเปลี่ยนแปลงภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้

ในส่วนของคดีความที่ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับอาจารย์และนักศึกษาที่ร่วมกันเข้าไปในพื้นที่หอศิลปวัฒนธรรม ในความผิดฐานร่วมกันบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์นั้น ยังคงอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาคดี แต่ถ้าอาจารย์และนักศึกษาเห็นว่าตนเองกำลังโดนละเมิดสิทธิและเสรีภาพอยู่ ทางกสม.ก็แนะนำว่าสามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

อ้างอิง https://www.thaipost.net/x-cite-news/381254/...

เครดิตภาพ https://www.facebook.com/communityofmorchor/