ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินให้ ‘Andy Warhol Foundation’ แพ้คดีละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของ ‘ลินน์ โกลด์สมิธ (Lynn Goldsmith)’ ช่างภาพผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริง โดยคดีนี้ได้รับการจับตาจากคนในวงการศิลปะอย่างใกล้ชิด เพราะผลการตัดสินที่ออกมาจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ให้กับคดีคล้าย ๆ กันต่อไปในอนาคต

ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินให้ ‘Andy Warhol Foundation’ แพ้คดีละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของ ‘ลินน์ โกลด์สมิธ (Lynn Goldsmith)’ ช่างภาพผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริง โดยคดีนี้ได้รับการจับตาจากคนในวงการศิลปะอย่างใกล้ชิด เพราะผลการตัดสินที่ออกมาจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ให้กับคดีคล้าย ๆ กันต่อไปในอนาคต

ศาลสูงสุดตัดสิน ‘Andy Warhol Foundation’ แพ้คดีลิขสิทธิ์ จากการใช้ภาพถ่ายของศิลปินคนอื่นในงานของตน

ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาได้ตัดสินให้ ‘Andy Warhol Foundation’ แพ้คดีละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่ายของ ‘ลินน์ โกลด์สมิธ (Lynn Goldsmith)’ ช่างภาพผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริง โดยคดีนี้ได้รับการจับตาจากคนในวงการศิลปะอย่างใกล้ชิด เพราะผลการตัดสินที่ออกมาจะกลายมาเป็นมาตรฐานใหม่ให้กับคดีคล้าย ๆ กันต่อไปในอนาคต

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งทั้งหมด เกิดขึ้นในปี 2016 เมื่อโกลด์สมิธออกมาเรียกร้องความเป็นธรรม หลังจากบังเอิญไปเห็นภาพถ่ายของตัวเองปรากฏอยู่บนนิตยสาร ‘Vanity Fair’ โดยที่เธอไม่เคยอนุญาตมาก่อน ซึ่งภาพที่ว่านี้ คือภาพของ ‘ปริ๊นซ์’ ป๊อปสตาร์ชาวอเมริกันคนดังที่เธอเคยถ่ายไว้ให้กับนิตยสาร ‘Newsweek’ ในปี 1981 โดยพวกเขาจ่ายเงินซื้อลิขสิทธิ์จากเธอไปเพื่อใช้เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น และเมื่อเธอค้นหาที่มาของภาพนี้มากขึ้น ก็พบว่าภาพของเธอได้ถูก ‘Andy Warhol Foundation’ นำมาทำเป็นงานศิลปะชุด ‘Orange Prince’ ภาพพิมพ์ซิล์กสกรีนจำนวน 14 ภาพที่ถูกผลิตซ้ำและจำหน่ายมานานหลายปี จนกวาดเงินไปได้กว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐแล้ว

เมื่อ Andy Warhol Foundation ทราบเรื่อง ก็ตัดสินใจยื่นฟ้องเธอทันที โดยให้เหตุผลว่าเป็นการปกป้องและยืนยันตัวเองว่าพวกเขาไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ของเธอ และใช้งานภาพของเธออย่างถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ หัวข้อ ‘Fair Use’ ที่หมายถึงการนำงานของผู้อื่นมาใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน อีกทั้งยังไม่ถูกดำเนินคดีด้วย เนื่องจากพวกเขาได้ดัดแปลงและใส่ความหมายใหม่ให้กับงานชิ้นนี้ไปแล้ว จึงแตกต่างจากงานต้นฉบับ

หลังจากสู้คดีกันมานานหลายปี ในที่สุดศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกาก็ได้ตัดสินให้ Andy Warhol Foundation เป็นฝ่ายแพ้คดีอย่างเป็นทางการ ด้วยเสียงตัดสินของผู้พิพากษาอยู่ที่ 7 ต่อ 2 โดยผู้พิพากษา โซเนีย โซโตมายอร์ (Sonia Sotomayor) ที่ตัดสินให้โกลด์สมิธชนะ ก็ได้เขียนข้อความแสดงความคิดเห็นไว้ว่า “ผลงานต้นฉบับของเหล่าช่างภาพทุกคน ล้วนอยู่ภายใต้การปกป้องจากกฎหมายลิขสิทธิ์ แม้จะเป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงก็ตาม”

ส่วนผู้พิพากษาที่ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินนี้อย่างเอเลน่า คาแกน (Elena Kagan) และ จอห์น จี. โรเบิร์ตส์ จูเนียร์ (John G. Roberts Jr.) ก็ได้ออกความเห็นว่า “คำตัดสินนี้จะกลายเป็นอุปสรรคต่อวงการศิลปะ ดนตรี และวรรณกรรมในอนาคต เพราะมันจะขัดขวางการแสดงออกและการสร้างความคิดใหม่ ๆ และจะทำให้โลกของเราแย่ลงด้วย”

ทางฝั่งทนายความของโกล์ดสมิธอย่างลิซา เคียโว แบลตต์ (Lisa Schiavo Blatt) ก็ได้ตอบกลับสำนักข่าวผ่านทางอีเมลว่า “ฉันรู้สึกตื่นเต้นยินดีกับคำตัดสินในวันนี้ของศาลสูงสุดเป็นอย่างมาก และอยากขอบคุณที่พวกเขารับฟังเรื่องราวจากฝั่งของพวกเรา ” เธอยังเสริมอีกว่า “วันนี้คือวันที่ดีสำหรับบรรดาช่างภาพและศิลปินทั้งหลาย ผู้หาเลี้ยงชีพด้วยการขายลิขสิทธิ์ในผลงานของตัวเอง”

แน่นอนว่า Andy Warhol Foundation เองก็แสดงความเห็นของตัวเองไว้ด้วยเช่นกัน โดยพวกเขาได้ออกแถลงการณ์ว่า “พวกเราไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลสูงสุด ที่ตัดสินว่าผลงาน ‘Orange Prince’ ไม่ถูกปกป้องภายใต้กฎ ‘Fair Use’ แต่ถึงอย่างนั้นพวกเราก็ยังยินดีที่ศาลช่วยชี้แจงให้ชัดเจนว่า การตัดสินครั้งนี้จำกัดอยู่เพียงเรื่องลิขสิทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น และไม่ได้สงสัยไปถึงความถูกต้องทางกฎหมายของผลงานชุด ‘Prince Series’ ที่แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) สร้างขึ้น นับจากนี้พวกเราจะขอยืนหยัดเพื่อสิทธิของศิลปินและจะทำงานภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ต่อไป”

อ้างอิง https://www.artnews.com/art-news/news/us-supreme-court-rules-against-warhol-foundation-in-closely-watched-copyright-case-1234668876/ https://news.artnet.com/art-world/the-supreme-court-ruling-lynn-goldsmith-andy-warhol-foundation-2304684