นิทรรศการ ‘Area 721,346’ คือนิทรรศการของ ‘นิวัฒน์ มนัศปิยะเลิศ’ ศิลปินร่วมสมัยที่มักทำงานศิลปะเพื่อสำรวจปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม ในประเด็นด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐศาสตร์ และปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยก่อนหน้านี้เขาเคยร่วมจัดแสดงงานศิลปะในโครงการ ‘ART for AIR’  หรือ ‘โครงการศิลปะเพื่อลมหายใจ’ ที่จัดทำขึ้นเพื่อพูดถึงปัญหามลภาวะในจังหวัดเชียงใหม่มาก่อนแล้ว

นิทรรศการ ‘Area 721,346’ คือนิทรรศการของ ‘นิวัฒน์ มนัศปิยะเลิศ’ ศิลปินร่วมสมัยที่มักทำงานศิลปะเพื่อสำรวจปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม ในประเด็นด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐศาสตร์ และปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยก่อนหน้านี้เขาเคยร่วมจัดแสดงงานศิลปะในโครงการ ‘ART for AIR’ หรือ ‘โครงการศิลปะเพื่อลมหายใจ’ ที่จัดทำขึ้นเพื่อพูดถึงปัญหามลภาวะในจังหวัดเชียงใหม่มาก่อนแล้ว

Area 721,346 ศิลปะ ฝุ่นควัน และไร่อ้อย กับชีวิตหลังฉากอันเศร้าสร้อยของชนชั้นแรงงาน

นิทรรศการ ‘Area 721,346’ คือนิทรรศการของ ‘นิวัฒน์ มนัศปิยะเลิศ’ ศิลปินร่วมสมัยที่มักทำงานศิลปะเพื่อสำรวจปัญหาเชิงโครงสร้างทางสังคม ในประเด็นด้านวัฒนธรรม สังคม เศรษฐศาสตร์ และปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยก่อนหน้านี้เขาเคยร่วมจัดแสดงงานศิลปะในโครงการ ‘ART for AIR’ หรือ ‘โครงการศิลปะเพื่อลมหายใจ’ ที่จัดทำขึ้นเพื่อพูดถึงปัญหามลภาวะในจังหวัดเชียงใหม่มาก่อนแล้ว

สำหรับจุดเริ่มต้นของนิทรรศการเดี่ยวในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการที่ศิลปินเดินทางกลับจังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นจังหวัดบ้านเกิด แล้วนึกสงสัยว่า ทำไมจังหวัดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติและป่าไม้เช่นนี้ ถึงมีค่า PM.สูงกว่า 250 AQI ได้? เมื่อคิดได้แบบนั้นเขาก็ใช้เวลาศึกษาปัญหาต่าง ๆ นานถึง 3 ปี ก่อนจะตกผลึกและนำความรู้และความเข้าใจทั้งหมดทำออกมาเป็นงานศิลปะ โดยมี ‘พอใจ อัครธนกุล’ เป็นคิวเรเตอร์ให้กับนิทรรศการในครั้งนี้่ ซึ่งคำว่า ‘Area 721,346’ ที่เป็นชื่อนิทรรศการนั้น ก็สื่อถึงขนาดของอุตสาหกรรมไร่อ้อยในจังหวัดกาญจนบุรี ที่กินพื้นที่มากถึง 721,346 ตารางกิโลเมตรนั่นเอง

แม้นิทรรศการนี้จะจัดแสดงอยู่ภายในแกลเลอรี่สีขาวสะอาดตา ไม่ใช่ในไร่อ้อยเปื้อนดิน แต่ผลงานศิลปะแต่ละชิ้นก็ได้นำพาเราให้ก้าวเข้าสู่โลกสีเทาดำของพื้นที่ขนาด 721,346 ตารางกิโลเมตร ในจังหวัดกาญจนบุรี ที่มีฉากหลังเป็นไร่อ้อยสีแดงฉาน ขณะกำลังพ่นเขม่าควันสีดำให้ลอยฟุ้งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ตัดสลับกับภาพของโรงงานผลิตน้ำตาลขนาดใหญ่ที่เดินเครื่องผลิตน้ำตาลอย่างเต็มกำลัง จนทั่วบริเวณถูกฉาบทับไปด้วยควันจากโรงงานกับเสียงอันน่ารำคาญของเครื่องจักรที่ดังก้องอยู่ในหัว

นิวัฒน์ยังชี้ชวนให้คนดูอย่างเรา ๆ นึกฉงนสงสัยในประวัติศาสตร์ความหวาน และตั้งคำถามถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงที่ทำให้เกิดฝุ่นควัน ด้วยการพาเราย้อนกลับไปยังสารตั้งต้นของเรื่องราวที่ผูกโยงอยู่กับ เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ การเมือง และทำให้เรามองเห็นปัญหาในเชิงโครงสร้างที่กดทับชนชั้นแรงงานจนไม่เหลือทางเลือกอื่น ทำให้เราเข้าใจว่าเพราะเหตุใดชาวไร่ถึงตัดสินใจเผาอ้อยกันต่อไป มากกว่าจะเก็บเกี่ยวกันแบบปกติ

นอกจากประติมากรรม ผลงานจัดวาง ภาพวาด ภาพถ่าย วิดีโอแล้ว ศิลปินยังได้ทำงานร่วมกับ ‘อนุภาส เปรมานุวัติ’ บาร์เทนเดอร์จาก ‘Ku Bar’ และ ‘แอนเดรียส โกลเอล’ เพื่อกลั่นเหล้าจากน้ำอ้อยด้วยเทคนิคแบบ Mezcal ทำให้เวลาดื่มเราจะรู้สึกถึงกลิ่นไหม้ ๆ ตกค้างอยู่ในลำคอด้วย เมื่อกลิ่นไหม้ผสมเข้ากับรสชาติของเหล้าที่มีความหวานขมและเค็มนิด ๆ ก็ทำให้เข้าใจและประทับใจกับนิทรรศการครั้งนี้ขึ้นไปอีก เพราะเหล้าขาวคือเครื่องดื่มประจำกายของชนชั้นแรงงานที่ดื่มกันหลังทำงานเสร็จ รสขมก็สื่อสารถึงเราราวกับกำลังบอกเล่าถึงความเจ็บปวด ความเค็มซ่อนลึกก็ทำให้เรานึกถึงหยาดเหงื่อ ส่วนกลิ่นไหม้ก็คือควันไฟและฝุ่นควันที่ครอบคลุมไปทั่วท้องฟ้า

อีกหนึ่งชิ้นงานที่เราชอบมาก ๆ จะจัดแสดงอยู่อีกห้องหนึ่งที่แยกออกมา ภายในห้องนี้จะจัดแสดงงานเพียงชิ้นเดียว คือวิดีโอชุด ‘Sweetness and Power’ ที่ฉายภาพโรงงานขนาดใหญ่กำลังดำเนินการผลิตและมีควันพวงพุ่งออกมาจากปล่องตลอดเวลา โดยจะเปิดทุก ๆ 15 นาที และพักเครื่อง 5 นาที เนื่องจากวิดีโอตัวนี้ผลิตมาจากฟิล์มขนาด 16 mm. ทำให้เครื่องฉายจะร้อนเป็นพัก ๆ และด้วยความที่เครื่องฉายวิดีโอเป็นการทำงานแบบเก่า เราเลยได้ยินเสียงสายพานทำงานอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีกลิ่นน้ำมันและสารเคมีบางอย่างที่ลอยออกมาจากเครื่องปั่นไฟ พอมองรวม ๆ แล้วเลยคล้ายกับเรากำลังอยู่ภายในโรงงานคล้ายกับที่ฉายในวิดีโอ และไม่ใช่แกลเลอรี่อีกต่อไป

Area 721,346 วันที่ 22 เมษายน - 18 มิถุนายน 2023 Gallery VER เปิดวันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 12.00 - 18.00 น.