แม้จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในภาพยนตร์โดยตรง แต่จากส่วนหนึ่งของหนังสือ American Prometheus: The Triumph and Tragedy of J. Robert Oppenheimer อัตชีวประวัติจากปี 2005 ที่ถูกผู้กำกับ คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) นำมาใช้ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ Oppenheimer นั้น ได้ระบุว่า นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับสมญานามว่าเป็น ‘บิดาแห่งระเบิดปรมาณู’ อย่าง เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) นั้นได้เติบโตมาในครอบครัวมีอันจะกินในมหานครนิวยอร์ก โดยมีแม่เป็นจิตรกร ส่วนพ่อทำอาชีพเป็นนักธุรกิจผู้นำเข้าสิ่งทอ

แม้จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในภาพยนตร์โดยตรง แต่จากส่วนหนึ่งของหนังสือ American Prometheus: The Triumph and Tragedy of J. Robert Oppenheimer อัตชีวประวัติจากปี 2005 ที่ถูกผู้กำกับ คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) นำมาใช้ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ Oppenheimer นั้น ได้ระบุว่า นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับสมญานามว่าเป็น ‘บิดาแห่งระเบิดปรมาณู’ อย่าง เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) นั้นได้เติบโตมาในครอบครัวมีอันจะกินในมหานครนิวยอร์ก โดยมีแม่เป็นจิตรกร ส่วนพ่อทำอาชีพเป็นนักธุรกิจผู้นำเข้าสิ่งทอ

ชายสองคนผู้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์โลก... ภาพวาดและความสัมพันธ์ของออปเพนไฮเมอร์กับปิกัสโซ

แม้จะไม่ได้ถูกกล่าวถึงในภาพยนตร์โดยตรง แต่จากส่วนหนึ่งของหนังสือ American Prometheus: The Triumph and Tragedy of J. Robert Oppenheimer อัตชีวประวัติจากปี 2005 ที่ถูกผู้กำกับ คริสโตเฟอร์ โนแลน (Christopher Nolan) นำมาใช้ดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ Oppenheimer นั้น ได้ระบุว่า นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้ได้รับสมญานามว่าเป็น ‘บิดาแห่งระเบิดปรมาณู’ อย่าง เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) นั้นได้เติบโตมาในครอบครัวมีอันจะกินในมหานครนิวยอร์ก โดยมีแม่เป็นจิตรกร ส่วนพ่อทำอาชีพเป็นนักธุรกิจผู้นำเข้าสิ่งทอ

ถ้ายังนึกไม่ออกว่าครอบครัวของเขามีเงินมากขนาดไหน ก็ลองนึกง่าย ๆ ว่า พ่อแม่ของเขามีผลงานศิลปะของศิลปินดัง ๆ อย่าง แร็มบรันต์ (Rembrandt van Rijn), เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir), แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh) รวมไปถึง ปิกัสโซ (Pablo Picasso) เก็บไว้ในคอลเลกชั่นส่วนตัวที่บ้านในวัยเด็กของออปเพนไฮเมอร์ด้วย ว่ากันว่า ผลงานของปิกัสโซที่พ่อแม่ของเขาเป็นเจ้าของคือ Mother and Child (1901) จิตรกรรมจากยุค Blue Period ของศิลปินนั่นเอง

นอกจากนั้น ในช่วงปี 1934 ระหว่างที่ออปเพนไฮเมอร์กำลังย้ายไปทำงานที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ พ่อแม่ของเขายังได้ส่งมอบภาพพิมพ์หินลิโธกราฟฝีมือปิกัสโซเป็นของขวัญให้เขาได้นำไปแขวนบนผนังของห้องพักด้วย

อย่างไรก็ดี การปรากฏตัวของภาพวาด Femme assise aux bras croisés / Woman Sitting with Crossed Arms (1937) ของปิกัสโซในช่วงต้นของภาพยนตร์อาจไม่เพียงสื่อถึงความผูกพันในอดีตของนักฟิสิกส์คนดังกับศิลปินผู้ยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่ยังเป็นการสื่อถึงความเป็น ‘Renaissance Man’ หรือผู้รอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ทุก ๆ ด้านดั่งชาวเรอเนซองส์ในอดีต เพราะนอกจากออปเพนไฮเมอร์จะเชี่ยวชาญในศาสตร์ฟิสิกส์ทฤษฎีแล้ว เขายังมีความสนใจในปรัชญา กวี และยังสามารถพูดได้มากถึง 6 ภาษาด้วย

โดยภาพ Femme assise aux bras croisés นั้น เป็นผลงานที่ปิกัสโซวาด มารี-เตแรซแห่งลีซีเยอ วอลเตอร์ (Marie-Thérèse Walter) นางแบบสาวคนรักของเขาที่มีอายุห่างกันถึง 28 ปี ซึ่งอย่างที่เรารู้กันดีในเวลาต่อมาว่า ความสัมพันธ์ของเขากับหญิงสาวรอบตัวนั้นเข้าข่าย ‘เป็นพิษ’ ในบริบทความเข้าใจของปัจจุบัน และผลงานสไตล์คิวบิสก์ที่โด่งดังหลาย ๆ ชิ้นของเขาก็ยังถูกตีความว่าเป็น การมองผู้หญิงเป็นเพียงวัตถุทางเพศเท่านั้นด้วย นี่เองอาจเป็นความเชื่อมโยงที่ออปเพนไฮเมอร์มีร่วมกับปิกัสโซอย่างไม่ตั้งใจ เพราะถึงแม้เขาจะเป็นอัจฉริยะที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์โลกไปเพียงไหน อีกด้านหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาเป็น ‘คาสโนวา’ ตัวพ่อที่ทั้งคบซ้อนและลักลอบเป็นชู้กับภรรยาชาวบ้าน

ไม่ใช่แค่ออปเพนไฮเมอร์เท่านั้นที่สร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ระดับพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ แต่ในแวดวงศิลปะ การมาถึงของปิกัสโซและศิลปะแบบคิวบิสก์เองก็เข้ามาสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับโลกของศิลปะตะวันตก และเปลี่ยนมุมมองในการรับชมของผู้คนไปตลอดกาลไม่ต่างกัน ดังนั้น ในอีกนัยหนึ่ง การที่ภาพยนตร์เลือกแสดงให้เห็นภาพของออปเพนไฮเมอร์ที่กำลังจ้องมองไปที่ภาพวาดดังกล่าวก็อาจสื่อถึงผลกระทบที่ยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นจากสิ่งประดิษฐ์สุดอันตรายที่เขากำลังจะสร้างขึ้นมาในภายหลังได้เช่นกัน