ถ้าเห็นสองนักแสดงหนุ่ม ‘มาย-อาโป’ แล้วคิดว่า แมนสรวง คือหนังวาย หรือเห็นชุดไทยแล้วคิดว่าต้องเป็นหนังประวัติศาสตร์แน่ ๆ เราก็อยากลองแนะนำให้วางทุกการคาดเดาเหล่านั้นลงก่อน แล้วมาชมภาพยนตร์ ‘แมนสรวง’ ด้วยวิธีใหม่ ๆ เพราะหากเราปล่อยทั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องตามประวัติศาสตร์ หรือความฟินในความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไป เราจะได้พบกับประเด็นชวนคิดมากมายที่ซ่อนอยู่ภายใต้ใต้งานศิลป์ตระกาลตาฝีมือ Art Direction ของ ‘นักรบ มูลมานัส’ ศิลปินคอลลาจแห่งยุค

ถ้าเห็นสองนักแสดงหนุ่ม ‘มาย-อาโป’ แล้วคิดว่า แมนสรวง คือหนังวาย หรือเห็นชุดไทยแล้วคิดว่าต้องเป็นหนังประวัติศาสตร์แน่ ๆ เราก็อยากลองแนะนำให้วางทุกการคาดเดาเหล่านั้นลงก่อน แล้วมาชมภาพยนตร์ ‘แมนสรวง’ ด้วยวิธีใหม่ ๆ เพราะหากเราปล่อยทั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องตามประวัติศาสตร์ หรือความฟินในความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไป เราจะได้พบกับประเด็นชวนคิดมากมายที่ซ่อนอยู่ภายใต้ใต้งานศิลป์ตระกาลตาฝีมือ Art Direction ของ ‘นักรบ มูลมานัส’ ศิลปินคอลลาจแห่งยุค

‘แมนสรวง’ พงศาวดารแห่งสถานบันเทิง ที่แฝงความหลากหลายไว้ในความงาม

ถ้าเห็นสองนักแสดงหนุ่ม ‘มาย-อาโป’ แล้วคิดว่านี่คือหนังวาย หรือเห็นชุดไทยแล้วคิดว่าต้องเป็นหนังประวัติศาสตร์แน่ ๆ เราก็อยากลองแนะนำให้วางทุกการคาดเดาเหล่านั้นลงก่อน แล้วมาชมภาพยนตร์ ‘แมนสรวง’ ด้วยวิธีใหม่ ๆ เพราะหากเราปล่อยทั้งคำถามเกี่ยวกับความถูกต้องตามประวัติศาสตร์ หรือความฟินในความสัมพันธ์ของทั้งคู่ไป เราจะได้พบกับประเด็นชวนคิดมากมายที่ซ่อนอยู่ภายใต้ใต้งานศิลป์ตระกาลตาฝีมือ Art Direction ของ ‘นักรบ มูลมานัส’ ศิลปินคอลลาจแห่งยุค

‘แมนสรวง’ คือชื่อของสถานเริงรมย์ที่ให้บริการเป็นความบันเทิงหลากรูปแบบในช่วงปลายรัชกาลที่ 3 ดูจากแบบอักษรของเรื่องหรือฟังจากเพลงประกอบหลายคนคงสัมผัสได้ทันทีถึงกลิ่นอายความสวยงามอลังการแต่แฝงอันตรายแบบกอธิก ซึ่งหนังก็เล่นกับองค์ประกอบกอธิกอย่างคฤหาสน์แสนโอ่อ่ากับโศกนาฏกรรมที่บีบคั้นได้ถึงอารมณ์ แต่ไม่ใช่แค่นั้น เพราะพอหนังเลือกย้ายฉากหลักของประวัติศาสตร์สยาม จากวัดและวัง ไปอยู่ในแดนสวรรค์ที่เต็มไปด้วยความลับ ความงาม และเรื่องราวชกต่อยกัน ภาพของสังคมไทยที่หล่อหลอมมาจากวัฒนธรรมที่หลากหลายจึงถูกขับเน้นให้เด่นชัดขึ้นมา ทั้งแขก เจ้าสัว เจ้าขุน ไพร่ รวมไปถึงผู้ให้บริการทางเพศ ที่จุดประเด็นขึ้นมาให้เราคิดเกี่ยวกับเรื่องคุณค่าความเป็นคน ท่ามกลางสังคมที่ชนชั้นและเชื้อชาติหลากหลายแห่งนี้

บทสนทนาโต้เถียง (ที่ออกจะตรงไปตรงมา) เกี่ยวกับอาชีพทางเพศ ความยุติธรรม ไปจนถึงชุดความจริงที่มีหลายเวอร์ชั่น อาจจุดความสงสัยในใจคนดู ว่าความคิดเหล่านี้เป็นเรื่องปกติแค่ไหนในยุคสมัยนั้น เหมือนกับรูปปั้นกรีก เครื่องประดับแขก และสิ่งสวย ๆ งาม ๆ ที่อยู่ในห้องของแต่ละตัวละคร ที่งดงามเหมือนแฟนตาซีในอาคารหลังใหญ่ ที่บรรจุจินตนาการและความฝัน และทำให้ “ประวัติศาสตร์” ทำหน้าที่เป็นฉากหลังของการทดลองทางความคิดนี้

เราลองถามตัวเองว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าค่านิยมและรสนิยมแบบนี้มีอยู่เสมอมาแบบเงียบ ๆ ในยุคสมัยนั้น ภาพของอดีตในแมนสรวงไม่ได้เป็นข้อเท็จจริงทื่อ ๆ แต่เต็มไปด้วยความบันเทิง เหมือนกับสังคมแห่งแมนสรวงเอง ที่ทำหน้าที่เปิดตาเรา ให้ลองตั้งคำถามกลับมายังสังคมการเมืองปัจจุบัน โดยให้ลองคิดถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต โดยเฉพาะยุคที่การเมืองและ “ความเป็นไทย” ยังเป็นประเด็นร้อนแรง

เปิดประตูสู่สถานบันเทิง ที่ชนชั้น เชื้อชาติ และการเมืองมาเจอกัน ในภาพยนตร์ แมนสรวง เข้าฉาย 24 สิงหาคมนี้ ที่โรงภาพยนตร์