ถ้าเราลองค้นหาคำว่า ‘แฟนอาร์ตคืออะไร?’ บนเครื่องมือค้นหายอดฮิต ก็น่าจะได้คำตอบรวม ๆ ประมาณว่าเป็นผลงานที่วาดหรือทำขึ้นมาตามต้นแบบของตัวละครในภาพยนตร์ การ์ตูน หรือคนที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ ก็ได้เหมือนกัน (โดยไม่สร้างความเดือดร้อนหรือผิดศีลธรรม) ซึ่งหลายคนก็มักจะเข้าใจว่าหัวใจสำคัญของการวาดแฟนอาร์ต ก็คือการวาดให้เหมือนกับต้นฉบับ ที่ทำให้คนดูสัมผัสได้ว่านี่คือคาแรกเตอร์ที่พวกเขาคุ้นเคย

ถ้าเราลองค้นหาคำว่า ‘แฟนอาร์ตคืออะไร?’ บนเครื่องมือค้นหายอดฮิต ก็น่าจะได้คำตอบรวม ๆ ประมาณว่าเป็นผลงานที่วาดหรือทำขึ้นมาตามต้นแบบของตัวละครในภาพยนตร์ การ์ตูน หรือคนที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ ก็ได้เหมือนกัน (โดยไม่สร้างความเดือดร้อนหรือผิดศีลธรรม) ซึ่งหลายคนก็มักจะเข้าใจว่าหัวใจสำคัญของการวาดแฟนอาร์ต ก็คือการวาดให้เหมือนกับต้นฉบับ ที่ทำให้คนดูสัมผัสได้ว่านี่คือคาแรกเตอร์ที่พวกเขาคุ้นเคย

เจาะเบื้องหลังแฟนอาร์ตกับการตีความที่มากกว่า ‘ความเหมือน’ ของ Nogoodwithcat

ถ้าเราลองค้นหาคำว่า ‘แฟนอาร์ตคืออะไร?’ บนเครื่องมือค้นหายอดฮิต ก็น่าจะได้คำตอบรวม ๆ ประมาณว่าเป็นผลงานที่วาดหรือทำขึ้นมาตามต้นแบบของตัวละครในภาพยนตร์ การ์ตูน หรือคนที่มีชีวิตอยู่จริง ๆ ก็ได้เหมือนกัน (โดยไม่สร้างความเดือดร้อนหรือผิดศีลธรรม) ซึ่งหลายคนก็มักจะเข้าใจว่าหัวใจสำคัญของการวาดแฟนอาร์ต ก็คือการวาดให้เหมือนกับต้นฉบับ ที่ทำให้คนดูสัมผัสได้ว่านี่คือคาแรกเตอร์ที่พวกเขาคุ้นเคย

แต่เมื่อเราได้พูดคุยกับ ‘Nogoodwithcat’ หรือ ‘ลัลล้า’ ศิลปินและกราฟิกดีไซเนอร์ ผู้หลงรักในการวาดแฟนอาร์ตและอยากสร้างคาแรกเตอร์ให้โดดเด่น เราก็ได้ทราบถึงเบื้องหลังผลงานแต่ละชิ้นของเธอว่า ต่อให้เป็นแฟนอาร์ตที่ตัวละครมีต้นแบบให้ดูอยู่ก่อนแล้ว ทว่าศิลปินแต่ละคนที่วาดแฟนอาร์ตก็จะมีการใส่แนวคิดและคอนเซปต์ในการตีความเรื่องราวตามแบบฉบับของตัวเองลงไปด้วยเหมือนกัน

“เราว่าการวาดแฟนอาร์ตต้องอาศัยการจัดลำดับความสำคัญสูงมากเลยค่ะ” คือคำพูดแรกที่ลัลล้าบอกกับเราเมื่อเธอนึกถึงวิธีการทำงานของตัวเอง

“เรามองว่าความสัมพันธ์ของเรื่องราวในภาพสำคัญมากเลยนะ เพราะเราสามารถใช้องค์ประกอบภายในภาพมาเป็นตัวช่วยในการเล่าเรื่องได้ เวลาเราทำงาน เรื่องนี้เลยเป็นเรื่องแรกที่นึกถึงเลย บวกกับคอนเซปต์และธีมในการทำงาน (ทั้งแบบแฟนอาร์ต/ไม่แฟนอาร์ต) ค่อนข้างลื่นไหลและแตกต่างกันไป ทำให้จุดประสงค์หลักที่เราอยากสื่อสารจากภาพแต่ละภาพมีความต่างกันตามไปด้วย”

“สำหรับการจัดลำดับความสำคัญ เราจะเลือกทำอยู่สองวิธีใหญ่ ๆ เลย คือ คำนึงจากอุปนิสัยของตัวละครก่อน ว่าเขาเหมาะกับการอยู่ตรงนี้ไหม แล้วจะเป็นจุดเด่นมากกว่าคนอื่นหรือเปล่า และสิ่งนี้มันจะไม่ทำให้เขาหลุดคาแรกเตอร์ใช่ไหมนะ (out of character)”

“ส่วนอีกอันหนึ่งคือ เราจะคำนึงจากองค์ประกอบที่เราอยากวาด โดยถอยออกมาดูก่อนว่าภาพรวมเป็นยังไงบ้าง เช่นในภาพ ‘Devouring’ แฟนอาร์ตของการ์ตูนเรื่อง ‘Dungeon Meshi’ สิ่งที่เราอยากวาดเป็นอันดับแรกคืองาน Still Life with Quince, Cabbage, Melon, and Cucumber ของ Juan Sánchez Cotán ซึ่งการจัดองค์ประกอบของภาพนั้นจะเป็นแบบพาราโบลา เราเลยต้องหาวัตถุที่มีความโค้งมาใส่ในภาพ ดังนั้นคนมีปีกเลยเหมาะกับการอยู่ในภาพนี้มาก ๆ เลย”

พออธิบายวิธีการทำงานจบ เธอก็เริ่มยกตัวอย่างการวิเคราะห์และตีความภาพขึ้นมาให้เราฟังว่า “ขอยกตัวอย่างเคสหนึ่งแล้วกันนะคะ เป็นเรื่องของ โยฮัน ตัวละครหลักในการ์ตูนเรื่อง Monster ซึ่งเราบังเอิญไปอ่านบทวิเคราะห์ตัวละครนี้ใน Reddit ที่มองว่าโยฮันเป็นเกย์ แต่จริง ๆ เราคิดว่าเขาเป็นคนที่ไม่มี Romantic Attraction เลย และเรายังมองว่าเขาเป็น Asexual (ไม่ฝักใฝ่ทางเพศ) ด้วยซ้ำ”

“เราก็เลยรู้สึกติดใจในเรื่องนี้ แต่ในเวลาเดียวกันเราก็รู้สึกว่าน่าสนใจนะ เวลาวาดแฟนอาร์ตเขาทีไรเลยมีธีมและองค์ประกอบเป็นเรื่องของความตาย ความรุนแรง และความเป็นเควียร์ตลอด ภาพนี้มีองค์ประกอบหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกันตั้งแต่บทนำที่ขึ้นมาตอนเปิดเรื่อง และการ Come Out Of The Closet (เปิดเผยตัวตนว่าเป็น LGBTQ+) ของโยฮันค่ะ”

เราชอบไดนามิกของตัวละครจินแล้วก็พาริสตันที่ไม่ถูกกันใน HxH ค่ะ ด้วยความที่พาริสตันถูกเรียกว่าหนู (นักษัตร) เลยดึงองค์ประกอบความเป็นหนูออกมา ภาพนี้เราดีใจมากที่ได้วาด ชาร์กูว์ทรี (Charcuterie) คือมันมีความเป็นพาริสตันมากๆ (หนู-ชีส กับอาหารที่ดูหรูขึ้นมา) แล้วก็พวกยาเบื่อ กรงดักหนู ฯลฯ ชอบทุกอย่างในภาพเลยค่ะ

เรื่องนี้เป็นมันฮวาเกาหลีค่ะ เกี่ยวกับความสัมพันธ์และความรุนแรงในครอบครัว และ การเติบโต ภาพเซตนี้จริงๆ มีสองภาพ (สองตัวละครหลัก) ภาพนี้คืออึนยองตัวละครหลักคนหนึ่งของเรื่อง ซึ่งเป็นคนที่ถูกใช้ความรุนแรงและใช้ความรุนแรงกับคนอื่นด้วย ธีมประจำเขาเลยเป็นเรื่องความรุนแรงและการโหยหาที่อยู่เป็นหลักแหล่ง เลยใช้ทุกองค์ประกอบที่มันดูเจ็บปวด อย่างพวกของมีคมทั้งหลายค่ะ ภาพนี้วาดเร็วมาก เหมือนจะ 2-3 ชม. เพราะเหมือนมันมีทุกอย่างในหัวอยู่แล้วค่ะวาดออกมาแล้วตรงตามในหัวเป๊ะก็ถือว่าสำเร็จค่ะ

ภาพนี้เป็นงานแรกที่เราลองกับเทคนิคนี้ค่ะ เพราะดู MV แล้วชอบท่าทางของมือกับเรื่องราวมาก ๆ ที่สำคัญคือมีโทนี่เหลียง ตอนที่จะวาดเลยคิดว่าเราจะวาดทั้งหมดนี้ในภาพเดียวกันได้ยังไง นั่นก็อยากวาด นี่ก็อยากวาด เลยเริ่มจากจัดลำดับก่อนว่าอะไรสำคัญ อะไรที่ควรเป็นสิ่งที่ดึงดูดที่สุด แล้วค่อย ๆ วางไปทีละจุดจนเต็มภาพค่ะ

เราดีใจที่สีมันออกมาดีค่ะ เราเป็นคนวาดรูปเร็วแต่ติดตรงสี ภาพหนึ่งเราจะมีหลายเวอร์ชันสีมาก ตอนแรกเราท้อเหมือนกันว่าจะทำยังไงให้มันดีที่สุด จนใช้เวลาเลือกไปสักพักก็ช่างมันแล้วกัน เราถือว่าทุก ๆ ภาพมันคือการทดลอง ถ้าอันนี้ลงแล้วไม่เวิร์คก็ค่อยเอาใหม่ก็ได้

เห็นได้เลยว่าถึงแม้เธอจะมีตัวละครต้นแบบอยู่ในใจ แต่ศิลปินก็ต้องทำงานโดยคำนวณทุกองค์ประกอบที่เหมาะกับตัวละครเหล่านั้นอย่างดี อีกทั้งความพิเศษในแฟนอาร์ตของ ‘Nogoodwithcat’ ยังไม่ได้อยู่ที่ความเหมือนต้นฉบับ เพราะเธอมีลายเส้นเป็นของตัวเอง แต่ด้วยการจัดลำดับความสำคัญที่ใส่ใจบุคลิก นิสัย และภาพรวมทั้งหมด จึงทำให้บรรยากาศในภาพแฟนอาร์ตของเธอ ชวนให้เรานึกถึงต้นฉบับได้อย่างเป็นธรรมชาติ และในขณะเดียวกันก็ทำให้เราคิดถึงความเป็นศิลปินในตัวเธอเองด้วยเช่นกัน

และก่อนที่จะจากกันไป เราก็ได้ถามถึงผลงานในอนาคตของ Nogoodwithcat ว่า เธอคิดจะสร้างงานไปในทิศทางไหนบ้าง ซึ่งเธอก็ได้บอกข่าวดีกับเราว่า “เราอยากวาดการ์ตูนค่ะ เราชอบอ่านการ์ตูนมาก ๆ มาตั้งแต่เด็กแล้ว ก็เลยคิดว่าวิธีการทำงานที่เราใช้ในการวาดตอนนี้ ค่อนข้างช่วยให้เราจัดลำดับความสำคัญในภาพหนึ่งภาพได้ดีขึ้นมาก เลยอยากจะใช้สิ่งนี้ในการพัฒนาแนวทางที่เราจะวาดการ์ตูนในอนาคต” . เรียกว่าจากการวิเคราะห์ผลงานคนอื่นให้เป็นแฟนอาร์ต จนมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ก็ถึงเวลาที่ Nogoodwithcat จะเริ่มการเดินทางของตัวเองไปยังถนนอีกสายหนึ่งแล้ว ซึ่งถ้าใครสนใจในลายเส้นและเสน่ห์ในวิธีการเล่าเรื่องของเธอ ก็สามารถติดตามผลงานและให้กำลังใจเธอได้เลยที่:

Instagram: https://www.instagram.com/nogoodwithcat/ Twitter: https://twitter.com/nogoodwithcat