“ภาพเคลื่อนไหวฉายแสดงซึ่งมนุษย์ เครื่องจักร พืชพรรณ แมลง แสงสว่าง ความมืด ดิน น้ำ ฝน และจิตวิญญาณอื่น ๆ” คือคำอธิบายผลงานวิดีโอจัดวาง ‘The disoriented garden… A breath of dream’ ตรงใจกลางของนิทรรศการชื่อเดียวกันที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ The Jim Thompson Art Center ณ ขณะนี้

“ภาพเคลื่อนไหวฉายแสดงซึ่งมนุษย์ เครื่องจักร พืชพรรณ แมลง แสงสว่าง ความมืด ดิน น้ำ ฝน และจิตวิญญาณอื่น ๆ” คือคำอธิบายผลงานวิดีโอจัดวาง ‘The disoriented garden… A breath of dream’ ตรงใจกลางของนิทรรศการชื่อเดียวกันที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ The Jim Thompson Art Center ณ ขณะนี้

ศิลปิน ‘เจือง กอง ตุ่ง’ และภัณฑารักษ์ ‘ฮุง เยือง’ เล่าเรื่องชีวิตในชุมชนเกษตรกรรมที่เวียดนาม และประสาทสัมผัสที่นำไปสู่โลกไม่คุ้นเคย

“ภาพเคลื่อนไหวฉายแสดงซึ่งมนุษย์ เครื่องจักร พืชพรรณ แมลง แสงสว่าง ความมืด ดิน น้ำ ฝน และจิตวิญญาณอื่น ๆ” คือคำอธิบายผลงานวิดีโอจัดวาง ‘The disoriented garden… A breath of dream’ ตรงใจกลางของนิทรรศการชื่อเดียวกันที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ The Jim Thompson Art Center ณ ขณะนี้

“งานตรงนั้นมีเสียงที่ฟังดูเหมือนว่ามันจะกำลังจะแตก อันนี้ตั้งใจหรือเปล่า” เราถามถึงเสียง (ที่เรามั่นใจว่าได้ยินจริง ๆ) จากน้ำเต้าขนาดใหญ่ที่ต่อท่อระโยงระยางไปทั่วห้อง ในขณะที่เดินเข้าไปชมงานในวันแรกของการจัดแสดง

“นั่นสินะ” ‘ฮุง เยือง’ (HUNG DUONG) ภัณฑารักษ์ของนิทรรศการตอบแบบยิ้ม ๆ เพียงเท่านั้น

‘The disoriented garden… A breath of dream’ คือนิทรรศการเดี่ยวของ ‘เจือง กอง ตุ่ง’ (TRUONG CONG TUNG) ศิลปินจากเวียดนามที่เติบโตมาขึ้นในพื้นที่เกษตรกรรมของเวียดนาม เราจินตนาการไปไกลว่าโลกของเขาอาจจะเต็มไปด้วยกลิ่นอายของสภาพแวดล้อมท้องถิ่นเหมือนในห้องนี้ แต่แค่การก้าวไปในห้องนิทรรศการเท่านั้น อาจจะยังไม่พอสำหรับการเข้าไปในโลกของเขาจริง ๆ เพราะโลกของเขา (และเรา) อาจไม่ได้ประกอบสร้างขึ้นมาจากโลกภายนอกเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยประสาทสัมผัสของแต่ละคนในการก้าวเข้าไปใน “โลก” อีกใบนั้นให้ได้

“ในทุกขณะการย่ำผ่านสวนแห่งนี้ จงพึงตระหนักในทุกก้าวย่างอย่างถ้วนถี่ ปล่อยให้ประสาทสัมผัสทุกอณูได้ทำงาน ผ่านจอเรตินา ผ่านกลไกการได้ยิน ผ่านผิวหนัง ผ่านประสาทสัมผัสที่หก ในสวนแห่งนี้จักปรากฏเป็นรูปทรงไร้คำจำกัดความของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เปลือกผิวสัมผัสเงาวับด้วยแลคเกอร์หลากหลายชั้น หอบมวลกระแสลมแรง หิ้วมวลน้ำจากหลากหลายแม่น้ำนิรนาม ผ่านสารพัดโพรงน้ำและช่องลม เงี่ยหูฟังสักนิดถึงเสียงบ่นพึมพำ ใครเล่าคอยกระซิบอย่างแผ่นเบา อย่างอ่อนกำลัง อย่างเลือนลาง เสียงกระซิบนั่นดังมาจากเบื้องล่าง เมล็ดพันธ์ุที่ถูกกลบอยู่ในดินใต้เส้นเลือดดำพลาสติกเหล่านั้นกำลังเลื้อยงอกเคลื่อนตัว รัวเสียงฮัมเพลงถึงบ้านเกิดที่ถูกทำลาย ภาวะความมีอยู่และไม่มีเดินคลอเคลียรูปร่างเหล่านี้ตลอดการเดินทาง ทิ้งปริศนาไว้ให้สงสัยว่า ท่ามกลางโครงสร้างนิรนามเหล่านี้ สิ่งที่ดำรงอยู่และสิ่งที่ขาดหายไป สิ่งนั้นคือสิ่งใดกัน?” นั่นคืิคำชักชวนจากฮุง เยืองให้เรามาทดลองทำอะไรใหม่ ๆ กับประสาทสัมผัสของเราดู ในนิทรรศการนี้

ในบทสัมภาษณ์นี้ เราพูดคุยเรื่อง “โลกทัศน์” ของศิลปิน เจือง กอง ตุ่ง ที่เริ่มต้นจากชีวิตในชุมชนเกษตรกรรมในพื้นที่ราบสูงตอนกลางของเวียดนาม แต่เราเองก็อาจจะพอทำความเข้าใจได้ในงานของเขา และเรื่อง “วิญญาณในงานศิลปะ” ที่ภัณฑารักษ์ ฮุง เยือง ยืนยันว่าไม่ใช่สิ่งน่ากลัว

ดวงตาที่ได้มาจากโลกชนบท

“มันเป็นที่ที่ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึงเลย” เจือง กอง ตุ่ง บรรยายชีวิตแบบที่เขาเติบโตมาให้ฟัง ไม่ใช่เพื่อสร้างภาพชนบทชวนฝันแบบที่คนเมืองคุ้นเคย แต่เพื่ออธิบายที่มาวิธีการทำงานของเขาให้เราฟังต่างหาก

“ผู้คนไม่ได้ใช้ชีวิตผ่านดวงตาเพียงเท่านั้นในชนบท เมื่อตอนกลางคืนมันมืดมาก การจะรวมตัวกันหรือทำกิจกรรมอะไรก็เลยอาศัยเสียงหรือประสาทสัมผัสอื่นเป็นหลัก” เขาเล่า สะท้อนไปกับข้อความในผลงาน ‘Portrait of Absense’ หรือบุคลาธิษฐานของความไม่มีอยู่ ที่ยกข้อความของนักมานุษยวิทยา ฌากส์ ดูร์เนส (Jacques Dournes) มาไว้ว่า “ดวงตาของเรามันช่างตลบแตลง ละทิ้ง หลงลืม ไม่รับรู้อะไรซึ่งความจริง”

ห้องที่จัดแสดงผลงานชิ้นนั้นเต็มไปด้วยรูปวาดบนกระดาษลอกลายที่ “พลิ้วไหวดังความฝัน” เป็นภาพโครงกระดูกของสิ่งมีชีวิตบ้าง เป็นดวงดาวที่เปลี่ยนแปลงแสงเงาไปเรื่อย ๆ บ้าง ดังภาพในหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไร้ซึ่งการวัดข้อมูลที่แม่นยำ แต่ทื่อตรงโดยสิ้นเชิง คำถามว่าด้วยโลกจากดวงตาของเขาเลยมีนัยชวนให้คิดไปถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังดวงตาเราไปอีก และควบคุมวิธีการมองของเรา ซึ่งทำให้ภาพแววตาของสัตว์ป่าต่าง ๆ ในผลงานวิดีโอ ‘The Lost Landscape’ ที่เขานำมาจากพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ยิ่งดูรุนแรงขึ้นไปอีก เพราะการจัดแสดงที่นี่ ถ้าคิดว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ ก็เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ไม่ได้จับธรรมชาติมาไว้ในกรอบของโลกวิทยาศาสตร์เลย

“โลกที่เราเห็นผ่านแววตาก่อนตายของสัตว์เหล่านั้น ได้รับการถ่ายทอดผ่านเลนส์กล้อง ที่ยามนี้ทำหน้าที่ไม่ต่างจากเครื่องมือปลุก สะกดวิญญาณ ปลุกภูติผี ปลุกเงาร่าง ปลุกดินแดนอันสาปสูญให้ฟื้นตื่นขึ้นมา บางอย่างดำรงอยู่ตรงนั้น หลังหน้าจอ แต่คือฝันหรือบางจริง บางสิ่งยังตอบไม่ได้” เจือง กง ตุงอธิบาย

วิญญาณ (?) ในงานศิลปะ

“ลองคิดเล่น ๆ ว่างานศิลปะในนี้มีวิญญาณอยู่ก็ได้ แล้วทำความเข้าใจความหมายที่เกิดขึ้นจากตรงนั้น” เจือง กง ตุง บอก

มีบางสิ่งเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ในห้องที่จัดแสดงผลงานชื่อเดียวกับนิทรรศการ ไม่ว่าจะเป็นน้ำที่ไหลตามสาย เข้า ๆ ออก ๆ กระจายตัวเป็นฟองอยู่ในน้ำเต้า หรือฝูงแมลงที่บินวนตอมภาพจากหน้าจอโทรทัศน์ บางสิ่งบางอย่างที่กำลังชักชวนเราให้เข้าไปเปิดบทสทนากับมัน

“ผืนดิน ต้นไม้ หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ สำหรับผม สิ่งเหล่านีิไม่ใช่แค่วัสดุให้ศิลปินหยิบมาใช้ แต่ธรรมชาติยังเป็นเหมือนเพื่อนของผม แล้วเราก็ควรจะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนกันอยู่แล้ว ศิลปินเองก็เป็นเหมือนกับตัวกลางที่เข้าไปทำงานร่วมกันกับพวกเขาเท่านั้น”

เราจบบทสนทนาสั้น ๆ นี้ด้วยการไปนั่งชมวิดีโอที่ฉายอยู่ในจอด้านหลังห้องนิทรรศการ ซึ่งบางครั้งก็ส่งเสียงคล้ายดนตรีที่ไม่คุ้นหูออกมา และอาจจะปลุกวิญญาณภายในสรรพสิ่งต่าง ๆ รอบห้องให้ร่วมขับร้องบทเพลงแห่งชีวิตออกมาด้วย หรือว่าประสาทสัมผัสบางอย่างในตัวเราก็ถูกปลุกขึ้นมาแล้วด้วยเหมือนกัน

นิทรรศการ ‘The disoriented garden… A breath of dream’ โดย ศิลปิน ‘เจือง กอง ตุ่ง’ และภัณฑารักษ์ ‘ฮุง เยือง’ จัดแสดงที่ The Jim Thompson Art Center ตั้งแต่วันนี้ - 18 สิงหาคม 2024