เวลากูเกิลหาเกี่ยวกับภาพวาดดัง ๆ ในประวัติศาสตร์ศิลปะ เว็บไซต์ของคริสตีส์ (Christie's) จะโผล่ขึ้นมาในหน้าแรกเสมอ ซึ่งถ้ากดเข้าไปดูสักหน่อย เราจะพบภาพงานศิลปะแบบความละเอียดสูง กับบทความเกี่ยวกับงานนั้น รวมทั้งราคา ที่เราไม่กล้าคำนวณออกมาเป็นเงินไทย และชวนให้สงสัยว่า คุณคริสตีส์คนนี้คือใคร? ทำอะไรอยู่ในวงการศิลปะกันแน่? ทำไมในเว็บถึงมีแต่งานของศิลปินดัง?

เวลากูเกิลหาเกี่ยวกับภาพวาดดัง ๆ ในประวัติศาสตร์ศิลปะ เว็บไซต์ของคริสตีส์ (Christie's) จะโผล่ขึ้นมาในหน้าแรกเสมอ ซึ่งถ้ากดเข้าไปดูสักหน่อย เราจะพบภาพงานศิลปะแบบความละเอียดสูง กับบทความเกี่ยวกับงานนั้น รวมทั้งราคา ที่เราไม่กล้าคำนวณออกมาเป็นเงินไทย และชวนให้สงสัยว่า คุณคริสตีส์คนนี้คือใคร? ทำอะไรอยู่ในวงการศิลปะกันแน่? ทำไมในเว็บถึงมีแต่งานของศิลปินดัง?

จักรวาลศิลปะในหน้าแค็ตตาล็อกประมูล: MD แห่งสถาบันประมูล ‘Christie's’ เปิดเบื้องหลังการพาศิลปินไทยไปตลาดโลก

เวลากูเกิลหาเกี่ยวกับภาพวาดดัง ๆ ในประวัติศาสตร์ศิลปะ เว็บไซต์ของคริสตีส์ (Christie's) จะโผล่ขึ้นมาในหน้าแรกเสมอ ซึ่งถ้ากดเข้าไปดูสักหน่อย เราจะพบภาพงานศิลปะแบบความละเอียดสูง กับบทความเกี่ยวกับงานนั้น รวมทั้งราคา ที่เราไม่กล้าคำนวณออกมาเป็นเงินไทย และชวนให้สงสัยว่า คุณคริสตีส์คนนี้คือใคร? ทำอะไรอยู่ในวงการศิลปะกันแน่? ทำไมในเว็บถึงมีแต่งานของศิลปินดัง?

GroundControl พกคำถามคาใจทั้งหมดมาพบกับคุณประภาวดี โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการ คริสตีส์ ประเทศไทย, เวียดนาม, กัมพูชา, ลาว, พม่า หลังจากที่ศิลปินและศิลปะไทย ปักหมุดหมายสำคัญในงานประมูล ‘20th/21st Century Evening Sale’ ที่ฮ่องกง เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ซึ่งมีผลงานทั้งของเรอเน มากริต, วินเซนต์ แวน โก๊ะ, โคลด โมเนต์ ไปจนถึงดำรง วงศ์อุปราช และจ่าง แซ่ตั้ง ซึ่งผลงานของศิลปินไทยทั้งสองก็ถูกประมูลไปในราคาที่สูงทำลายสถิติโลก ด้วยราคา 1 5 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 6 39 ล้านบาท) และ 1 6 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 6 8 ล้านบาท) ตามลำดับ

คริสตีส์เป็นสถาบันจัดการประมูลผู้อยู่เบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้ เป็นผู้นำเสนอศิลปะไทย และพาผลงานของศิลปินไทยไปแตะยอดยอดขายถึงดวงจันทร์มาแล้วมากมาย ยกตัวอย่างชื่อได้เช่น ถวัลย์ ดัชนี, ประเทือง เอมเจริญ, นที อุตฤทธิ์, ทวี นันทขว้าง และ ปรีชา เถาทอง

ราคาขายมีความหมายอย่างไรสำหรับโลกศิลปะ? สถาบันประมูลมีที่ทางอย่างไรในระบบนิเวศศิลปะ? ระบบนิเวศศิลปะไทยพร้อมส่งงานไประดับโลกหรือยัง? ไม่วาดลายไทยจะมีใครประมูลไปบ้างไหม? ศิลปะประเภทน้อยแต่(ราคา)มากเป็นแค่การลงทุนของคนมีเงินหรือเปล่า และงานศิลปะสไตล์ไหนที่กำลังน่าเก็บ? เราอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบด้วยกัน ในบทสัมภาษณ์นี้

รสนิยมแห่งการสะสมที่สร้างได้

“เราจะเห็นนักสะสมที่เก็บนาฬิกาก็มีแล้ว รถยนต์ก็มีแล้ว เพราะของเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำความเข้าใจในแง่มูลค่าได้ง่าย แต่หลังจากนั้นพอถึงจุดอิ่มตัว หน้าที่ของเราก็คือการสนับสนุนเขา

“แล้วการสะสมศิลปะมันไม่มีขีดจำกัดอยู่แล้ว เราจะสะสมไปทางศิลปะไทย ก็มีทั้งไทยประเพณีก็ได้ ไทยร่วมสมัยก็ได้ ถ้าสะสมไปเรื่อย ๆ แล้วถึงจุดอิ่มตัวก็เปลี่ยนแนวทางก็ได้ แล้วพอเขาเข้ามาสะสม เขาก็จะสนุก แล้วมุมมองก็เริ่มกว้างขึ้น”

โครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานศิลปะระดับโลก

“เมืองไทยเรามีโครงสร้างที่ดีระดับหนึ่ง มีหอศิลป์อย่าง BACC ซึ่งช่วยขยายฐานให้คนรักศิลปะขึ้นมาก การมีเทศกาลอย่าง Bangkok Art Biennale ก็ช่วยกระจายข่าวคราวเกี่ยวกับศิลปะในเมืองไทยออกไป หรือ Thailand Biennale ก็มีบทบาทในการกระจายข่าวไปที่กระบี่ ที่เชียงราย ทำให้คนไทยชื่นชมศิลปะกันมากขึ้น

“ด้านการศึกษาก็มีส่วนด้วย เช่นมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ช่วยให้มีศิลปินมากขึ้น รวมทั้งแกลเลอรี่ต่าง ๆ ที่เริ่มขยายแนวทางขึ้น อย่างที่ริเวอร์ซิตี้ เมื่อก่อนจะมีภาพจำเป็นสถานที่สำหรับหาของเก่า แต่ตอนนี้ก็มีความเป็นพื้นที่ศิลปะร่วมสมัยขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงและเข้าใจศิลปะได้มากขึ้น

“อาจจะเป็นเรื่องของรุ่นด้วย คนรุ่นก่อนเขาก็ไปเรียนสิลปะจากเมืองนอก ไปเห็นงานหลากหลาย กลับมาก็หล่อหลอมให้คนรุ่นใหม่ ๆ ทำงานศิลปะที่น่าสนใจ สร้างผลงานที่สามารถไปแสดงต่างประเทศได้ ทั้งหมดนี้มันทำให้โลกของการสะสมศิลปะมันตื่นตัวขึ้น”

จักรวาล(ศิลปะ)ในหน้าแค็ตตาล็อก

“คริสตีส์เราเป็นสถาบันสำหรับการประมูลศิลปะ เป็นเหมือน Secondary market ที่นักสะสมเอาผลงานศิลปะมาขาย ในระบบนิเวศศิลปะเราก็มีบทบาทในการประเมินคุณค่าหรือมูลค่าของผลงานชิ้นต่าง ๆ เมื่อเวลาผ่านไป”

“นักสะสมอาจจะเลือกเก็บงานตามความชอบของเขา แต่เราก็คงรู้สึกดีถ้ารู้ว่างานที่เรารักมันถูกให้คุณค่ามากขึ้น”

“ถ้าอยากรู้จักศิลปะ จะไปดูอาร์ตแฟร์ก็ได้ ไปตามแกลเลอรี ตามพิพิธภัณฑ์ ก็ได้รู้จัก หรือแค่เปิดแค็ตตาล็อกของคริสตีส์ดูก็ทำให้เข้าใจภาพรวมของศิลปะโลกได้ระดับหนึ่งแล้ว แล้วจะเห็นเลยว่าตลาดตอนนี้เป็นอย่างไร ความนิยมไปทางไหนอยู่ มีศิลปะแนวไหนน่าสนใจบ้าง”

ภาวะร่วมสมัยในตลาดศิลปะ

“งานที่มีลักษณะมินิมอลมาก ๆ อาจจะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่มันมีหลายอย่างที่อยู่ในวิธีการทำงานของเขาอยู่ ซึ่งก็มีความยากของมัน ต้องผ่านวิธีการคิดว่าจะใส่อะไรลงไปบ้าง มันเป็นงานที่ผ่านการค้นคว้าเพื่อที่จะพูดอะไรน้อย ๆ แต่ว่าพูดตรงประเด็น

“มันไม่ใช่แค่ราคาของพู่กัน แต่เป็นราคาของความคิดคนด้วย ซึ่งก็จะมีเทรนด์ของศิลปะเชิงความคิด (Conceptual Art) ว่าเขาคิดอะไรอยู่บ้างภายในงานงานนั้น”

สมัยถัดไปตัวการ์ตูนใส ๆ อาจมีคุณค่าเกินจะนับ

“งานสไตล์คาแรกเตอร์ เราก็อาจมองมันเป็นป็อบอาร์ตแบบหนึ่งได้ แอนดี้ วอร์ฮอล สมัยก่อนคนก็นตั้งคำถามกับความเป็นศิลปะของเขา มองว่าเขาทำงานเพื่อการค้า เป็นโปสเตอร์ธรรมดา แต่ปัจจุบันก็ได้รับการยอมรับในฐานะงานศิลปะแล้ว ถ้าเข้าไปดูในระบบของคริสตีส์ก็จะเห็นงานแบบป็อปอาร์ตอยู่เยอะมาก

“ศิลปะมันสนุกตรงที่เราอาจคิดว่ามันมีความหมายอะไรบางอย่างที่มันสากล แต่ว่ามันก็เปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมของเรา ตอนนี้วัฒนธรรมของเราอาจจะเริ่มไปทางป็อปมาก เราก็จะเห็นบรรยากาศว่าคนไทยเริ่มสะสมงานแบบไหน”