“วันนั้น (เมื่อ 50 ปีก่อน) สิ่งที่คณะละครเจอก็คือการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก แต่วันนี้สิ่งที่เข้ามาคือเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีผลกับคนทำงานศิลปะประเพณี” พิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินและนักออกแบบท่าเต้นร่วมสมัย เล่าถึงแนวคิดใน ‘เล่าเรื่องเมืองอัศวิน : “เงาะรจนา”’ ผลงานการแสดงใหม่ของ Pichet Klunchun Dance Company ที่คราวนี้มาในนามของ ‘คณะละครเร่พ่อครูพิเชษฐ’

“วันนั้น (เมื่อ 50 ปีก่อน) สิ่งที่คณะละครเจอก็คือการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก แต่วันนี้สิ่งที่เข้ามาคือเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีผลกับคนทำงานศิลปะประเพณี” พิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินและนักออกแบบท่าเต้นร่วมสมัย เล่าถึงแนวคิดใน ‘เล่าเรื่องเมืองอัศวิน : “เงาะรจนา”’ ผลงานการแสดงใหม่ของ Pichet Klunchun Dance Company ที่คราวนี้มาในนามของ ‘คณะละครเร่พ่อครูพิเชษฐ’

ศิลปะไทยจะรอดได้อย่างไรในสายตา ‘พ่อครูพิเชษฐ’ ศิลปินประเพณี-ร่วมสมัยผู้ไม่ยอมตกยุค

“วันนั้น (เมื่อ 50 ปีก่อน) สิ่งที่คณะละครเจอก็คือการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก แต่วันนี้สิ่งที่เข้ามาคือเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งมีผลกับคนทำงานศิลปะประเพณี” พิเชษฐ กลั่นชื่น ศิลปินและนักออกแบบท่าเต้นร่วมสมัย เล่าถึงแนวคิดใน ‘เล่าเรื่องเมืองอัศวิน : “เงาะรจนา”’ ผลงานการแสดงใหม่ของ Pichet Klunchun Dance Company ที่คราวนี้มาในนามของ ‘คณะละครเร่พ่อครูพิเชษฐ’

ท่ามกลางสถาปัตยกรรมประวัติศาสตร์ของพื้นที่ศิลปะ ‘อัศวิน’ หรือบริษัทอัศวินภาพยนตร์ผู้สร้างหนังและโรงเรียนอัศวินศิลปะการแสดงในอดีต ท่ามกลางบทเพลงเสียงนุ่ม “สุริยาส่องฟ้าอัมพร ละคร ละคร​ ชีวิตละครเริ่มแล้ว ภาพฝันวามวาวเพชรพราวประดับ ทับทรวงดวงแก้ว เปิดฉากวับแววเริ่มแล้วละคร” เงาะรจนาเวอร์ชั่นนี้เป็นละครนอกที่ทดลองเสนอ แนวทางการตีความศิลปะการแสดงเชิงประเพณีของไทย โดยใช้เทคโนโลยีการบันทึกและปรับแต่งท่วงท่าของนักเต้น มา “เพื่อค้นหาเนื้อคู่ที่แท้จริง ระหว่างโลกเสมือนจริงกับโลกความเป็นจริง”

‘เนื้อคู่’ ของพวกเขา ก็อาจเป็น ‘คณะละครรำครูทัพ’ จาก ภาพยนตร์ ‘ละครเร่’ ซึ่งสร้างขึ้นโดยบริษัทอัศวินภาพยนตร์เมื่อ 50 ปีก่อน ในยุคที่ไนท์คลับรุ่งเรืองและละครเร่ซบเซา ในขณะที่พวกเขา กำลังพยายามตอบคำถาม เรื่องการทำงานกับศิลปะการแสดงไทย ในยุคที่เทคโนโลยีสมัยใหม่กำลังคืบคลานมาแทนที่

“สิ่งที่เกิดขึ้นในอาคารนี้ก็คือภาพยนตร์ละครเร่ เราคิดว่ามันเหมือนสิ่งที่เราทำเลย แค่บริบทมันเปลี่ยนไปตามเวลา เราไปนิวยอร์ก ไปลอนดอน หรือไปฝรั่งเศส แต่เราก็คือคณะละครเร่ที่ไปเล่นตามที่ต่าง ๆ เหมือนพวกเขาอยู่ดี”

“คำตอบมันง่ายนิดเดียว คือการพัฒนาทักษะเดิมและเปลี่ยนหรือเพิ่มทักษะใหม่ (Upskill & Reskill) โดยหาชุดองค์ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในงานศิลปะแบบประเพณีให้ได้ ก้าวผ่านคำว่า ‘วัฒนธรรม’ โดยหาความลับที่ซ่อนอยู่ในวัฒนธรรมนั้น แล้วหยิบออกมาเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ

“ท่าเต้นในงานนี้ มาจากการเก็บบันทึกข้อมูลเข้าไปในระบบดิจิทัล โดยถอดระบบท่ารำไทยทั้งหมด 59 ท่า แต่เอามาวางทับซ้อนกันในระบบดิจิทัล แล้วดูว่ามันเกิดกระบวนการอะไรขึ้นบ้าง แล้วนักเต้นจะทำงานกับสิ่งนั้นอย่างไรได้บ้าง”

ซึ่งเมื่อบวกกับเนื้อหาของเรื่อง ‘เงาะรจนา’ ที่ว่าด้วยการเลือกคู่ ผลลัพธ์ของเรื่องนี้จึงคือการถอดชิ้นส่วนของความทรงจำเล็ก ๆ ในตัวอาคาร ในฝุ่น และตัวตนของเรา ทั้งที่ใช้ชีวิตมีเนื้อหนังอยู่จริง และที่เผยตัวตนออกมาในแบบคู่ขนาน

“เราสนใจเรื่องของอะตอมหรือพลังงานที่มันฝังอยู่ในตัวอาคาร ในฝาผนัง ในพื้น ซึ่งเก็บร่องรอยเวลาคนทำกิจกรรมอะไรกันในพื้นที่เอาไว้ เป็นเหมือนบันทึกที่อยู่ในตัวอาคาร เวลาเราพิงผนังไปเราก็เห็นว่ามันมีรอยของคนที่เคยอยู่ตรงนี้มาก่อน”

“เรื่องเงาะมันเกี่ยวกับการเลือกคู่ แต่เราพูดถึงคู่ที่คนไม่คุ้นเคยนัก เช่นคู่ของเราในมิติความจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) ซึ่งเป็นตัวเราในอีกรูปแบบหนึ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง เทียบกับเจ้าเงาะเองก็มีตัวตนอีกร่างที่ซ่อนอยู่ข้างใน พอถอดรูปออกมาก็เป็นอีกแบบ ซึ่งในบริบทเก่าเขาก็จะตีความกันว่าอย่าดูคนที่เปลือกนอก แต่ตอนนี้มันมีบริบทใหม่แล้ว เราก็เลยมาตีความใหม่” เขากล่าว

ซึ่งนอกจากงานแสดงที่ว่าแล้ว ล่าสุดพิเชษฐ กลั่นชื่นได้เปิดการแสดงเดี่ยวชุดใหม่ ‘1923 - 2023’ ที่เหมือนการแสดงคู่กับปัญญาประดิษฐ์ ChatGPT มากกว่า แว่วมาว่าบัตรหมดแล้ว แต่ก็แว่วมาอีกว่ามีสิทธิเปิดการแสดงเพิ่ม และแต่ละรอบก็จะไม่เหมือนกันแน่นอนด้วย เพราะเจ้าโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่คิดจะพูดอะไรก็พูดออกมาแบบเกินคาด แต่กลับยิ่งเน้นให้เห็นถึง ‘ความเป็นมนุษย์’ ที่แฝงอยู่ใน ‘วรรณคดีไทยในยุคหลายร้อยปีข้างหน้า’ หลังจากที่ศิลปะการแสดงของเขา ก้าวผ่านอดีตเมื่อร้อยปีที่แล้วมาสู่ภาวะร่วมสมัยในปัจจุบัน