ถ้าแพทย์ในห้องคลอดไม่ประกาศตอนแรกคลอดว่าเราเป็นหญิง ถ้าพ่อกับแม่ไม่บอกว่าเราเป็นลูกสาว และเครือข่ายทางสังคมทั้งหมดไม่วางโครงสร้างให้ชายและหญิงใช้ชีวิตแตกต่างกัน เราจะมีสำนึกความเป็นหญิงและความเป็นชายร่วมกันอยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ งั้นเพศก็เป็นสิ่งประกอบสร้างใช่หรือเปล่า?

คำถามทั้งนี้ปรากฏเป็นแก่นเรื่องหลักของ ‘Women With A Time Machine’ ละครเวทีแบบมิวสิคัลจากทีม Anti - Thesis ที่ตั้งข้อสงสัยว่าสำนึกความเป็นเพศอาจไม่ได้เกิดขึ้นมาเองเพียงเพราะมนุษย์เกิดขึ้นมาพร้อมอวัยวะที่ต่างกัน แต่มีปัจจัยทางสังคมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการหล่อหลอมเรา  ประกอบสร้างเรา และมอบสำนึกเหล่านั้นให้เรา

ถ้าแพทย์ในห้องคลอดไม่ประกาศตอนแรกคลอดว่าเราเป็นหญิง ถ้าพ่อกับแม่ไม่บอกว่าเราเป็นลูกสาว และเครือข่ายทางสังคมทั้งหมดไม่วางโครงสร้างให้ชายและหญิงใช้ชีวิตแตกต่างกัน เราจะมีสำนึกความเป็นหญิงและความเป็นชายร่วมกันอยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ งั้นเพศก็เป็นสิ่งประกอบสร้างใช่หรือเปล่า?

คำถามทั้งนี้ปรากฏเป็นแก่นเรื่องหลักของ ‘Women With A Time Machine’ ละครเวทีแบบมิวสิคัลจากทีม Anti - Thesis ที่ตั้งข้อสงสัยว่าสำนึกความเป็นเพศอาจไม่ได้เกิดขึ้นมาเองเพียงเพราะมนุษย์เกิดขึ้นมาพร้อมอวัยวะที่ต่างกัน แต่มีปัจจัยทางสังคมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการหล่อหลอมเรา ประกอบสร้างเรา และมอบสำนึกเหล่านั้นให้เรา

Women With A Time Machine ละครเวทีสุดเฮี้ยนจาก Anti - Thesis ที่ว่าด้วย เห็ดรา นารี และทริปไทม์แมชชีนพลังหญิง

Women With A Time Machine ละครเวทีสุดเฮี้ยนจาก Anti - Thesis ที่ว่าด้วย เห็ดรา นารี และทริปไทม์แมชชีนพลังหญิง

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญของละครเวที

ถ้าแพทย์ในห้องคลอดไม่ประกาศตอนแรกคลอดว่าเราเป็นหญิง ถ้าพ่อกับแม่ไม่บอกว่าเราเป็นลูกสาว และเครือข่ายทางสังคมทั้งหมดไม่วางโครงสร้างให้ชายและหญิงใช้ชีวิตแตกต่างกัน เราจะมีสำนึกความเป็นหญิงและความเป็นชายร่วมกันอยู่หรือเปล่า ถ้าใช่ งั้นเพศก็เป็นสิ่งประกอบสร้างใช่หรือเปล่า?

คำถามทั้งนี้ปรากฏเป็นแก่นเรื่องหลักของ ‘Women With A Time Machine’ ละครเวทีแบบมิวสิคัลจากทีม Anti - Thesis ที่ตั้งข้อสงสัยว่าสำนึกความเป็นเพศอาจไม่ได้เกิดขึ้นมาเองเพียงเพราะมนุษย์เกิดขึ้นมาพร้อมอวัยวะที่ต่างกัน แต่มีปัจจัยทางสังคมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการหล่อหลอมเรา ประกอบสร้างเรา และมอบสำนึกเหล่านั้นให้เรา

พอพูดถึงแก่นเรื่องหนัก ๆ แบบนี้ หลายคนก็อาจจะคิดว่านี่เป็นละครทฤษฎีเฟมินิสต์จ๋า ๆ เลยหรือเปล่า จะดูยากไหม คำตอบคือไม่เลย เพราะผู้กำกับเขาไม่ได้เล่าเรื่องนี้ออกมาตรง ๆ แต่เล่าผ่านบทละครสุดเหนือจริง ที่ว่าด้วยเรื่องราวของหญิงสาวผู้ทุกข์ระทมในความไร้ความสามารถของตัวเอง แต่ในขณะที่กำลังตัดพ้อชีวิต ‘หลานสาว’ จากอนาคตอันไกลโพ้นก็โผล่มาในร่างยายของเธอ เพื่อส่งต่อสิ่งที่เรียกว่า ‘ไทม์แมชชีน’ ให้เธอได้ใช้ และนับจากวินาทีนั้น ทริปละครสุดเมา สุดเพี้ยน และโคตรจะเฮี้ยนก็ได้เริ่มต้นขึ้น

ความน่าสนใจของสิ่งที่เรียกว่า ‘ไทม์แมชชีน’ ในละครเวทีเรื่องนี้ คือตัวละครไม่ได้ทะลุมิติเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับคนในอดีตหรืออนาคตโดยตรง แต่เป็นเหมือน ‘วิญญาณ’ หรือ ‘จิตสำนึก’ บางอย่าง ที่เข้าไปควบคุมร่างใครสักคน โดยในบทละครจะอธิบายว่า เป็นร่างของ ‘ผู้ที่มีจิตสำนึกความเป็นหญิง’ และกำลังประสบปัญหาอยู่ ทำให้ตลอดเวลาที่เรานั่งไทม์แมชชีนตามตัวละครในเรื่องนี้ เราก็จะได้พบกับคนที่มีสำนึกความเป็นหญิงอย่างหลากหลาย ทั้งใครสักคนในฐานะแม่บ้าน ใครสักคนในฐานะนักรณรงค์หัวก้าวหน้า (?) ไปจนถึงร่างทรงที่ไม่ค่อยมีใครเชื่อคำพูดจนกว่าจะอ้างว่ามีคนมาสิงร่าง

ระหว่างรับชมองก์สุดท้าย ขณะเรื่องราวเริ่มคลี่คลายไปสู่จุดที่เรียกได้ว่าคาดไม่ถึง อย่างการเฉลยว่า ความป่วนทั้งหมดที่ตัวละครต้องเจอตั้งแต่ต้น มีจุดเริ่มต้นมาจากอาณาจักรเห็ดราที่ดันครองโลกในอนาคตอันไกลขึ้นมา แล้วรู้สึกอยากมีจิตวิญญาณแบบมนุษย์ มีเพศแบบมนุษย์ พวกเขาเลยพยายาม ‘สร้าง’ สำนึกทางเพศขึ้นมา ผ่านการท่องไปยังความทรงจำของคนที่มีจิตสำนึกความเป็นหญิง พร้อมสัมผัสทั้งเรื่องราวแห่งความสุข ความทุกข์ ความสับสน ของคนที่เคยเวียนวนอยู่ในกระแสธารประวัติศาสตร์ความเป็นหญิง เพื่อให้กำเนิดเห็ดราผู้มีสำนึกความเป็นหญิงคนแรกขึ้นมาบนโลก

หลังจากเห็นเฉลยเหล่านี้ เราก็ชอบมาก ๆ และคิดว่าเป็นการเฉลยปมที่เมคเซนส์สุด ๆ เพราะถ้าจะพูดถึงการประกอบสร้างเพศ พร้อมยกตัวอย่างสัญญะขึ้นมาสักอย่าง สำหรับเรา ‘เห็ดรา’ สิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่ทั้งพืช สัตว์ มนุษย์ หรือแบคทีเรีย คือสิ่งที่ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนมากจริง ๆ ในบริบทของละครเวทีเรื่องนี้ เพราะในสังคมของเห็ดราเองก็มีอะไรคล้าย ๆ กันแบบนั้นเหมือนกัน โดยพวกเราเรียกมันว่า ไมซีเลียม (mycelium)

ไมซีเลียม คือเครือข่ายใต้ดินอันซับซ้อนที่คอยทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือผู้ประสานงานในการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนสารอาหารในธรรมชาติในระบบนิเวศ เพื่อแลกเปลี่ยนสารอาหาร น้ำ และสารเคมีต่าง ๆ และแม้ว่าจะมองไม่เห็น แต่มันก็มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลและสนับสนุนการดำรงชีวิตของระบบโดยรวม สำหรับเรา ไมซีเลียมเลยคล้ายกับโครงสร้างทางสังคมที่ซ่อนตัวอยู่เบื้องหลังการประกอบสร้างเพศ เบื้องหลังสำนึก และพฤติกรรมของมนุษย์อยู่ การใช้เห็ดราในละครเลยเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า สิ่งที่เราคิดว่าเป็นธรรมชาติหรือ ‘ปกติ’ อาจเกิดจากระบบที่ซ่อนตัวอยู่จริง ๆ

เห็ดรา ยังทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศไปพร้อม ๆ กับสร้างระบบนิเวศขึ้นมาใหม่จากการย่อยสลายนั้น ซึ่งในเรื่องนี้ เห็ดราคือผู้ครองโลกในอนาคต ยุคสมัยที่แนวคิดเรื่องเพศตามปกติถูกรื้อถอนไปหมดแล้วเพราะเห็ดราไม่มีสิ่งนี้ และพวกเขามีความคิดที่จะสร้างมันขึ้นมาใหม่ ผ่านการเดินทางไปสัมผัสประสบการณ์ในอดีตและสร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับความเป็นหญิง สิ่งนี้เลยเชื่อมไปถึงแนวคิดของการรื้อถอนโครงสร้างเก่าเกี่ยวกับเพศและประกอบสร้างความหมายใหม่ขึ้นมาได้ด้วย

และสุดท้าย เห็ดรา ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องจิตวิญญาณ จิตใต้สำนึก และความนึกคิดอยู่เป็นประจำ สอดคล้องกันดีกับการที่ตัวละครจะต้องเดินทางเข้าไปยังจิตสำนึกของคนที่มีความเป็นหญิง นอกจากนี้ เห็ดบางชนิดยังมีฤทธิ์ที่ทำให้มึนเมา มองไม่เห็นภาพตามความเป็นจริง ซึ่งเรามองว่าสิ่งนี้ได้ถูกถ่ายทอดออกมาอย่างครบถ้วน ผ่านฉาก คอสตูม รวมไปถึงการแสดงของนักแสดงที่ดูเหนือจริง ดูไม่ใช่คน และเป็นคาแรกเตอร์ในการ์ตูนป่วน ๆ Women With A Time Machine เลยเป็นละครเวทีที่ออกแบบมาดีมาก ๆ เรื่องหนึ่ง และน่าติดตามต่อไปจริง ๆ โดยเฉพาะเราเองที่อยากเห็นภาคต่อว่า หลังจากเห็ดราได้ความเป็นหญิง พวกเขาจะทำยังไงต่อ จะหาความเป็นชายเพิ่มด้วยไหมนะ

Women With A Time Machine ยังมีสัญญะและความน่าสนใจอยู่อีกเยอะมาก เป็นรายละเอียดยิบย่อยที่ดูรอบเดียวอาจเก็บมาเล่าได้ไม่หมด และในขณะที่เราจั่วหัวบทความนี้ว่าสปอย ก็ยังไม่สามารถสปอยครบทั้งหมดได้ เพราะมีสัญญะน่าสนใจอีกเพียบ ทั้งไทม์แมชชีนเปลือกหอยกับท่าทางตอนใช้ที่ชวนให้เราคิดไปถึง The birth of Venus ยังมีเรื่องของ Grand Daughter Paradox ที่ล้อเลียนจาก Grand Father Paradox รวมไปถึงเหตุการณ์ในแต่ละยุคที่ตัวละครได้เดินทางไปก็แฝงความหมายและสะท้อนเหตุการณ์จริงไว้เยอะมาก

ดังนั้น ถ้าใครอยากลองไปเมา เอ้ย ไปชมละครเวทีที่จะทำให้คุณมึนงงแต่เข้าใจและสนุกมาก ก็สามารถไปจับจองบัตรกันได้ที่เพจ Anti-Thesis โดยยังเหลือการแสดงสองรอบสุดท้ายในวันที่ 14 - 15 ธันวาคมนี้ เวลา 19.00 น. เป็นต้นไป ณ RCB Forum ชั้น 2 River City Bangkok