เคยสงสัยมั้ยว่า ‘คำ’ เหล่านี้เกี่ยวข้องอะไรกับงานที่จัดแสดงอยู่ตรงหน้าเรา? แล้วทำไมเมื่อเราอ่านคำอธิบายงานเพื่อทำความเข้าใจงาน กลับพบว่าตัวเองงงกับ ‘คำ’ อธิบาย จนทำให้ไม่เข้าใจซ้อนงงเพิ่มขึ้นไปอีก!?

เคยสงสัยมั้ยว่า ‘คำ’ เหล่านี้เกี่ยวข้องอะไรกับงานที่จัดแสดงอยู่ตรงหน้าเรา? แล้วทำไมเมื่อเราอ่านคำอธิบายงานเพื่อทำความเข้าใจงาน กลับพบว่าตัวเองงงกับ ‘คำ’ อธิบาย จนทำให้ไม่เข้าใจซ้อนงงเพิ่มขึ้นไปอีก!?

เปิดคอลัมน์ Artเทอม คอลัมน์ที่จะชวนทุกคนเข้าคลาส ทำความรู้จัก ‘คำศัพท์ศิลปะ’ (Art Term) น่ารู้ แบบไม่ทำทรง

เราเชื่อว่า คุณต้องเคยเห็นคำเหล่านี้ในนิทรรศการศิลปะสมัยนี้บ้างแหละ


‘ปฏิบัติการ’
‘ความทรงจำ’
‘สุนทรียภาพ’
‘มนุษยนิยม’
ฯลฯ


เคยสงสัยมั้ยว่า ‘คำ’ เหล่านี้เกี่ยวข้องอะไรกับงานที่จัดแสดงอยู่ตรงหน้าเรา? แล้วทำไมเมื่อเราอ่านคำอธิบายงานเพื่อทำความเข้าใจงาน กลับพบว่าตัวเองงงกับ ‘คำ’ อธิบาย จนทำให้ไม่เข้าใจซ้อนงงเพิ่มขึ้นไปอีก!?


อย่าเก็บความไม่เข้าใจไว้คนเดียว มางงและงมคำศิลป์ไปด้วยกันกับ ‘Artเทอม’ คอลัมน์ที่จะชวนทุกคนเข้าคลาส ทำความรู้จัก ‘คำศัพท์ศิลปะ’ (Art Term) น่ารู้ ที่เห็นได้บ่อย ๆ ในนิทรรศการสมัยนี้ แบบที่หากเข้าใจคำคำนี้แล้ว จะทำให้การไปดูงานศิลปะร่วมสมัยเป็นเรื่องไม่ยาก อ่านคำอธิบายงานแล้วเข้าใจจริงแบบไม่แกล้งทำ ไม่เจ็บหัวตัวร้อนเป็นไข้ เปิดโปงการทำทรงในโลกศิลปะ ดึงคำศิลปะยาก ๆ ที่เคยคิดว่าอยู่ไกลตัวมาพูดได้แบบคล่องปาก อะไรที่คิดว่ายาก ที่จริงแล้วมันก็แค่นี้เองฮะคูมครู!


เปิดภาคเรียนที่ไม่มีสอบปลายภาค ไม่มีเลื่อนชั้น เพราะคลาสนี้เรียนรู้กันได้ไม่มีวันจบ ที่ GroundControl ที่เดียวที่เดิม!

Contemporary (adj.) ในความหมายตามพจนานุกรม หมายถึง ซึ่งกำลังมีชีวิตอยู่, ซึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกัน, ทันสมัย,ที่อยู่ในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ เมื่อนำคำว่า Contemporary (ที่เป็นคำคุณศัพท์) ไปวางไว้หน้าคำนามใด ๆ ก็ตาม ก็จะบ่งบอกถึงสถานะของ ‘การเป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น หรืออยู่ร่วมยุคสมัยเดียวกับตัวเราที่ยังมึชีวิตอยู่’


Contemporary Art จึงหมายถึง ‘ศิลปะในช่วงยุคสมัยปัจจุบัน’ หรือ ‘ศิลปะในสมัยที่เรายังมีชีวิตอยู่’ เช่นเดียวกับ Contemporary Literature ที่หมายถึง ‘วรรณกรรมยุคปัจจุบัน’ หรือ ‘วรรณกรรมในยุคที่เรายังมีชีวิตอยู่’


นั่นหมายความว่า งานศิลปะของวินเซนต์ แวนโกะห์ หรือ ลีโอนาโด ดาวินชี ก็เป็นงานศิลปะร่วมสมัยสำหรับคนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 19 หรือศตวรรษที่ 15 อันเป็นช่วงเวลาที่ศิลปินทั้งสองมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตาม คำว่า ศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) เพิ่งถูกคิดค้นและจำกัดความขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นี้เอง คนในยุคแวนโกะหรือดาวินชีจึงไม่มีโอกาสได้ใช้คำว่าศิลปะร่วมสมัย


คำนิยามรูปแบบของ ‘ศิลปะร่วมสมัย’ มีหลายความหมาย บ้างก็พยายามจำกัดกรอบเวลาที่จะเรียกว่าเป็นยุคร่วมสมัย เช่น หลังยุค 1970s เป็นต้นมา ในขณะที่บางฝ่ายก็เสนอว่าให้ใช้คำนี้ในการเรียกศิลปะตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นไป 


แต่สุดท้ายแล้ว การนิยามคำว่า ‘ศิลปะร่วมสมัย’ ก็ยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ อาจเป็นเพราะหน้าที่ในการหาบทสรุปหรือการตั้งคำนิยามเกี่ยวกับศิลปะในยุคที่เรายังมีชีวิตอยู่นี้ เป็นหน้าที่ของคนยุคหลังเรา เหมือนดังที่ศิลปะในทุกยุคล้วนถูกสรุปรวมโดยคนยุคหลังเสมอ
จึงอย่ากังวลไปหากเรารู้สึกว่า เราไม่เข้าใจศิลปะในยุคนี้เอาเสียเลย เพราะการยืนอยู่ในใจกลางสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น ดำเนินไป และยังไร้บทสรุป ล้วนเป็นเรื่องยากในการที่จะทำความเข้าใจ


แต่ระหว่างที่คนในโลกศิลปะกำลังตบตีและหาบทสรุปกันอยู่ เราสามารถมายืนล้อมวงเงี่ยหูฟังสิ่งที่พวกเขากำลังโต้เถียงกันได้ ผ่านคอลัมน์ Artเทอม :)

คำถาม: “ศิลปะคืออะไร?”


วินเซนต์ แวนโกะห์: “ศิลปะคือเครื่องปลอบประโลมผู้ที่แหลกสลายจากชีวิต”


อ้าย เว่ยเว่ย: “ถ้าศิลปะไม่ได้สะท้อนความเจ็บปวดและทุกข์ทนของผู้คน แล้วศิลปะจะมีไปเพื่ออะไร?”


โจเซฟ บอยส์: “การปลดปล่อยผู้คนคือเป้าหมายของศิลปะ ดังนั้น ศิลปะสำหรับฉันก็คือศาสตร์แห่งเสรีภาพ”


เอ็ดการ์ เดอกาส์: ““ศิลปะไม่เกี่ยวกับว่าคุณเห็นอะไร แต่เป็นสิ่งที่คุณทำให้คนอื่นเห็นต่างหาก”


ปาโบล ปิกัสโซ: “คุณคิดว่าศิลปินคืออะไรล่ะ? คนโง่เง่าคนหนึ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นจิตรกรเพราะแค่มีตา เป็นนักดนตรีเพราะแค่มีหู เป็นกวีเพราะมีลำนำก้องอยู่ในใจ หรือเป็นนักมวยได้เพียงเพราะมีกล้ามเท่านั้นหรือ? ตรงกันข้ามเลย ศิลปินคือสิ่งมีชีวิตทางการเมืองที่ตื่นตัวกับความโหดเหี้ยม อารมณ์ และเหตุการณ์น่ารื่นรมย์ต่าง ๆ ในโลก และสามารถแปลงตัวเองให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพเหตุการณ์เหล่านั้น ศิลปินจะไม่สนใจในเพื่อนมนุษย์หรือตัดขาดตัวเองออกจากสังคมได้อย่างไร? ไม่เลย ภาพวาดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแขวนสวย ๆ ในบ้านเท่านั้น แต่มันคืออาวุธอานุภาพรุนแรงที่ใช้ต่อสู้กับศัตรูของเราต่างหาก”


“อุ้ย!”


เห็นไหมว่าแค่คำง่าย ๆ คำเดียวอย่าง ‘ศิลปะ’ ก็มีหลากหลายนิยามความหมาย ก่อให้เกิดข้อถกเถียงไม่รู้จบที่เราก็เถียงกันมาตลอดประวัติศาสตร์การเป็นมนุษย์
มาเรียนรู้ความหมายและแนวคิดเบื้องหลัง ‘คำ’ ต่าง ๆ ในโลกศิลปะกันได้ ในคอลัมน์ Artเทอม คลาสเรียนศัพท์ทางศิลปะแสนสนุกที่จะทำให้การดูงานศิลปะไม่เจ็บหัว เปิดโลกกว้างในการชมงานศิลปะ 


เตรียมเก็บหน่วยกิตกันได้ที่ GroundControl ที่เดียวที่เดิม กดติดตามเพจกันไว้ เผื่ออาจารย์มีควิซท้ายคาบ (“มึง ๆ จารย์เช็กชื่อว่ะ”)

Term (n.) ในความหมายหนึ่งคือ ระยะเวลา, วาระ, ภาคเรียน ในขณะที่อีกความหมายหนึ่งคือ คำศัพท์,  หรือ คำเรียก.


Artเทอม จึงเป็นคอลัมน์ที่จะชวนทุกคนมาลงเรียน เข้าคลาส ทำความรู้จัก ‘คำศัพท์ศิลปะ’ (Art Term) น่ารู้ ที่เห็นได้บ่อย ๆ ในโลกศิลปะร่วมสมัย กับเทอมการศึกษาที่ไม่มีวันจบ เพราะศิลปะร่วมสมัยก็ยังไม่มีบทสรุป และโลกแห่งศิลปะก็กว้างไกลไร้ที่สิ้นสุด จนทำให้ศิลปะกลายเป็นเรื่องที่เรียนรู้กันได้ตลอดชีวิต


มาเรียนรู้ศัพท์ในโลกศิลปะที่จะทำให้การไปดูงานศิลปะร่วมสมัยเป็นเรื่องไม่ยาก อ่านคำอธิบายงานแล้วเข้าใจจริงแบบไม่แกล้งเออออ ไม่เจ็บหัว ตัวไม่ร้อน เปิดโปงการทำทรงในโลกศิลปะ ดึงคำศิลปะยาก ๆ ที่เคยคิดว่าอยู่ไกลตัวมาพูดได้แบบคล่องปาก อะไรที่คิดว่ายาก ที่จริงแล้วมันก็แค่นี้เองฮะคูมครู!