ผลงานคลาสสิกสุดโหดเหี้ยมสมจริงกับเรื่องราวเบื้องหลังภาพวาดของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับสาธารณชนชาวฝรั่งเศส
The Raft of the Medusa (Theodore Gericault, 1819)

ผลงานคลาสสิกสุดโหดเหี้ยมสมจริงกับเรื่องราวเบื้องหลังภาพวาดของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับสาธารณชนชาวฝรั่งเศส The Raft of the Medusa (Theodore Gericault, 1819)

ผลงานคลาสสิกสุดโหดเหี้ยมสมจริงกับเรื่องราวเบื้องหลังภาพวาดของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับสาธารณชนชาวฝรั่งเศส

ผลงานคลาสสิกสุดโหดเหี้ยมสมจริงกับเรื่องราวเบื้องหลังภาพวาดของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่สร้างความสะเทือนใจให้กับสาธารณชนชาวฝรั่งเศส

The Raft of the Medusa ผลงานของ Theodore Gericault (1791-1824) บอกเล่าเรื่องจริงของผู้รอดชีวิตโศกนาฏกรรมเรือเมดูซ่าที่เกิดอัปปางนอกชายฝั่งแอฟริกา โดยเรือเมดูซ่ามีผู้โดยสารอยู่บนเรือทั้งหมด 400 คน มีเพียงผู้รอดชีวิตเพียง 15 คน พวกเขาลอยอยู่บนแพไม้บนทะเลเป็นเวลา 13 วัน ต้องทนกับความอดยาก ฆ่ากันเองและกินเนื้อมนุษย์เพื่อดับความหิวกระหาย บางคนโยนตัวเองลงทะเลด้วยความสิ้นหวัง สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไร้ความสามารถในการเดินเรือของกัปตันชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้รับตำแหน่งมาอย่างไม่ถูกต้องจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวครั้งยิ่งใหญ่และสร้างความอับอายแก่สถาบันกษัตริย์ และรัฐบาลฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก
.
Theodore Gericault ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่แสดงให้เห็นความเป็นจริงของมนุษย์ที่สิ้นหวัง อย่างที่สุด แพชั่วคราวลำนี้แทบจะไม่สามารถต่อสู้กับลมแรงทะเลได้ แต่มันก็แล่นไปตามคลื่นและกระแสน้ำ ศพจำนวนมากทิ้งเกลื่อนอยู่เบื้องหน้ารอให้คลื่นรอบๆ พัดพาไป ชายชราคนหนึ่งอุ้มศพของลูกชายไว้ที่ขาของเขา บางคนร้องไห้ด้วยความสิ้นหวังและพ่ายแพ้ แต่ก็ยังมีอีกคนที่ไม่ละความพยายาม เขายืนบนถังเปล่า โบกผ้าเพื่อดึงดูดความสนใจและรอคอยความช่วยเหลือที่อาจจะมาถึงหรือไม่ในไม่ช้า
.
ผลงานชิ้นนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปินรุ่นก่อนอย่างมาก ทั้งในเรื่องของโทนแสงและสี เขาใช้เทคนิคยุคบาโรกของ Caravaggio เพื่อสร้างความต่างระหว่างแสงสว่างกับความมืด ในส่วนของร่างกายของมนุษย์ เขาได้รับอิทธิพลจากงานของ Michelangelo ทำให้ผู้คนในภาพนั้นแลดูมีกล้ามเนื้อที่สมบูรณ์ แม้ความเป็นจริงแล้วพวกเขาจะหิวโหยและซูบผอม องค์ประกอบและการจัดเรียงรูปแบบเส้นทแยงมุม นำสายตาผู้คนให้มองไปสู่จุดสำคัญสองจุดคือคลื่นที่อาจกลืนผู้รอดชีวิตหรือธงที่ยกขึ้นในท่าทีสุดท้ายของความหวัง

Géricault ได้ศึกษาซากศพอย่างใกล้ชิดที่ห้องเก็บศพในบ้านเกิดของเขา เพื่อถ่ายทอดร่างกายผู้คนให้มีชีวิต เขานำแขนขาและศรีษะที่ถูกตัดขาดกลับมาที่บ้าน โดยมีเพื่อนและผู้ช่วยเป็นต้นแบบในการจัดวางท่าทางของผู้คนในภาพ มวลศพมากมายมีโทนสีเนื้อและเฉดสีอุ่น เช่น สีเหลืองน้ำตาลไหม้ สีน้ำตาลแดงและสีน้ำตาลเข้ม ถูกนำมาใช้ในทางตรงข้ามกับสีน้ำเงินของทะเลที่มีพายุ 

ความจริงที่น่าสยดสยองของผลงาน The Raft of the Medusa พรรณนาถึงคนตายและกำลังจะตายได้อย่างน่าอัศจรรย์ Gericault ได้สร้างสรรค์ผลงานที่พัฒนาขึ้นด้วยความหลงใหล พิถีพิถัน และแปลกใหม่แบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน 
 

อ้างอิง:
Artble
Dailyartmagazine