For web_Designing Humanity in 21st century.jpeg

Designing Humanity in the 21st Century สำรวจความหมายของ ‘มนุษยธรรม’ จากการตีความในศิลปะหลากสไตล์

Post on 25 November

อย่าเพิ่งคิดว่ามนุษยธรรมเป็นเรื่องเข้าใจยาก เพราะไม่ว่าเราหรือใครก็ตามบนโลกก็เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องของคุณค่าความเป็นมนุษย์แบบไม่แบ่งแยกกันทั้งนั้น เช่นในการมีชีวิตและสุขภาพที่ดี แต่ถ้ายังนึกภาพไม่ออกว่าเป็นยังไง ‘นักรบ มูลมานัส’ และ ‘มานิตา ส่งเสริม’ ได้ตีความงานมนุษยธรรมเป็นงานศิลปะตามสไตล์ จัดแสดงร่วมกับอีกกว่าร้อยภาพร้อยสไตล์การตีความจากที่ส่งเข้าประกวดกับกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ในนิทรรศการ “Designing Humanity in the 21st Century” (ออกแบบงานมนุษยธรรมในศตวรรษที่ 21) จัดโดยกลุ่มองค์กรกาชาดฯ และวิทยาลัยเพาะช่าง

ซึ่งงานนี้ก็รวบรวมศิลปะจากศิลปินทั่วประเทศไว้ได้หลากหลายสไตล์ รวมทั้งงานคอลลาจและ Typography ตามสไตล์สร้างชื่อของสองศิลปินดัง ภาพ “Once in a lullaby” โดยนักรบ มูลมานัส ตัดแปะนกพิราบขาว สัญลักษณ์ของสันติภาพและเสรีภาพ มาอยู่ในเฟรมเดียวกับลวดลายไทย ๆ เพื่อลองเสนอแนวทางการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ส่วนมานิตา ส่งเสริมใช้แค่ตัวอักษร เขียนคำถามชวนเราคุยโดยตรงใน “Letter to Humanity” ให้ได้สะท้อนความคิดและตระหนักเรื่องมนุษยธรรมด้วยตัวเอง ภายในงานยังมีงานกราฟิกที่ตั้งใจอธิบายคอนเซ็ปต์มนุษยธรรมด้วยการเทียบกับดวงอาทิตย์ในไดอะแกรม “Eternal Light” โดยปาลพงศ์ อัศพัฒนากู และภาพที่เล่าถึงการทำงานด้านมนุษยธรรมของกลุ่มองค์กรกาชาดฯ ให้เข้าใจง่ายจับต้องได้ เช่น “The Seed of Human Origin” ที่ใช้เมล็ดพันธุ์เปรียบเทียบการเติบโตและการพัฒนาหรือ “ถุงเลือดเพื่อมนุษยชาติ” ที่เปรียบงานของกาชาดเป็นการช่วยชีวิตสังคม และยังมีศิลปินอีกมากมายส่งผลงานกันมาตามแนวของแต่ละคน ให้ได้เดินชมและทำความเข้าใจมนุษยธรรมผ่านงานศิลปะกันแบบเต็ม ๆ

<p>ผลงานภาพประกอบโดย นักรบ มูลมานัส ศิลปินคอลลาจ พา(ภาพ)พิราบขาวให้มาลองเสนอหนทางการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ด้วยหลักสันติภาพและเสรีภาพ ท่ามกลางความท้าทายหลายด้านในสังคมไทยและสังคมโลกตอนนี้ เทคนิคลายเซ็นของเขายังโดดเด่นในภาพ “Once in a lullaby” คือการผสมผสานความเก่า-ใหม่และไทย-ต่างชาติเพื่อสร้างความหมายแปลกใหม่ โดยงานนี้ก็มาหมดทั้งภาพไทยจากไตรภูมิพระร่วง ดอกบัว และนกพิราบขาว ชวนให้ตีความเรื่องของมนุษยธรรม สันติภาพและเสรีภาพ รวมทั้งความหวังที่หล่อหลอมชีวิตและสังคมเอาไว้</p>

ผลงานภาพประกอบโดย นักรบ มูลมานัส ศิลปินคอลลาจ พา(ภาพ)พิราบขาวให้มาลองเสนอหนทางการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ด้วยหลักสันติภาพและเสรีภาพ ท่ามกลางความท้าทายหลายด้านในสังคมไทยและสังคมโลกตอนนี้ เทคนิคลายเซ็นของเขายังโดดเด่นในภาพ “Once in a lullaby” คือการผสมผสานความเก่า-ใหม่และไทย-ต่างชาติเพื่อสร้างความหมายแปลกใหม่ โดยงานนี้ก็มาหมดทั้งภาพไทยจากไตรภูมิพระร่วง ดอกบัว และนกพิราบขาว ชวนให้ตีความเรื่องของมนุษยธรรม สันติภาพและเสรีภาพ รวมทั้งความหวังที่หล่อหลอมชีวิตและสังคมเอาไว้

<p>แทนที่จะบอกว่ามนุษยธรรมเป็นอย่างไร กราฟิกดีไซเนอร์อย่างมานิตา ส่งเสริม ตั้งคำถามชวนเราคุยโดยตรงเพื่อเปิดให้สะท้อนและตระหนักรู้เรื่องมนุษยธรรมได้เองอย่างลึกซึ้งใน “Letter to Humanity” โปสเตอร์ตัวหนังสือสไตล์ Typography ที่เต็มไปด้วยคำถามจากที่คนส่วนใหญ่เสิร์ชในกูเกิล เขียนด้วยลายมือหลาย ๆ แบบบนกระดาษสไตล์ฟอร์มจดหมาย ให้ใช้ค้นคำตอบเรื่องมนุษยธรรมในใจเราด้วยคำถามอย่าง “What Human Quality Do We Need More in The World Why?” และ “why humanitarian is important?” เป็นต้น</p>

แทนที่จะบอกว่ามนุษยธรรมเป็นอย่างไร กราฟิกดีไซเนอร์อย่างมานิตา ส่งเสริม ตั้งคำถามชวนเราคุยโดยตรงเพื่อเปิดให้สะท้อนและตระหนักรู้เรื่องมนุษยธรรมได้เองอย่างลึกซึ้งใน “Letter to Humanity” โปสเตอร์ตัวหนังสือสไตล์ Typography ที่เต็มไปด้วยคำถามจากที่คนส่วนใหญ่เสิร์ชในกูเกิล เขียนด้วยลายมือหลาย ๆ แบบบนกระดาษสไตล์ฟอร์มจดหมาย ให้ใช้ค้นคำตอบเรื่องมนุษยธรรมในใจเราด้วยคำถามอย่าง “What Human Quality Do We Need More in The World Why?” และ “why humanitarian is important?” เป็นต้น

นิทรรศการที่รวมศิลปะหลากสไตล์จากทั่วประเทศนี้ ก็เกิดขึ้นได้เพราะความร่วมมือของกลุ่มองค์กรกาชาดในประเทศไทย ตอกย้ำว่ามนุษยธรรมไม่ใช่แค่เรื่องของใครหรือกลุ่มใดเท่านั้น แต่เป็นเรื่องสากลของมนุษย์ทุกคน โดยมีกลุ่มผู้จัดคือ International Committee of the Red Cross – ICRC ที่เป็นคณะกรรมการระหว่างประเทศ และ International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies - IFRC หรือสภากาชาดไทยที่ทำงานอยู่ภายในประเทศ ร่วมกับวิทยาลัยเพาะช่าง มาสร้างสรรค์งานนี้ด้วยกัน

นิทรรศการที่รวมศิลปะหลากสไตล์จากทั่วประเทศนี้ ก็เกิดขึ้นได้เพราะความร่วมมือของกลุ่มองค์กรกาชาดในประเทศไทย ตอกย้ำว่ามนุษยธรรมไม่ใช่แค่เรื่องของใครหรือกลุ่มใดเท่านั้น แต่เป็นเรื่องสากลของมนุษย์ทุกคน โดยมีกลุ่มผู้จัดคือ International Committee of the Red Cross – ICRC ที่เป็นคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ และ International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies - IFRC หรือสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ และสภากาชาดไทย ร่วมกับวิทยาลัยเพาะช่าง มาสร้างสรรค์งานนี้ด้วยกัน


 

<p>ภายในงานก็มีบูทจากวิทยาลัยเพาะช่างมาเปิด ให้เราได้ซื้อของงานศิลปะกลับบ้านด้วย</p>

ภายในงานก็มีบูทจากวิทยาลัยเพาะช่างมาเปิด ให้เราได้ซื้อของงานศิลปะกลับบ้านด้วย

<p>ดูงานศิลปะแล้วอยากจะร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงผนึกกำลังเพื่อมนุษย์ ก็มาสมัครเป็นอาสาสมัครกาชาดกันได้เช่นกัน</p>

ดูงานศิลปะแล้วอยากจะร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงผนึกกำลังเพื่อมนุษย์ ก็มาสมัครเป็นอาสาสมัครกาชาดกันได้เช่นกัน

มารู้จักความหมายต่าง ๆ ของ ‘มนุษยธรรม’ ที่ไม่ได้เข้าใจยากอย่างที่คิด กับศิลปะหลากสไตล์กันที่นิทรรศการ “Designing Humanity in the 21st Century” (ออกแบบงานมนุษยธรรมในศตวรรษที่ 21) ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2565 ที่โซน Pop Up Event ชั้น 3 ห้าง Siam Discovery นิทรรศการเข้าชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

Designing Humanity in the 21st Century 
ออกแบบงานมนุษยธรรมในศตวรรษที่ 21
Siam Discovery ชั้น 3 (โซน Pop Up Event)
25 พ.ย. - 2 ธ.ค. 2565

RELATED POSTS

ยิ้มรับการเติบโตและโอบกอดความไม่สมบูรณ์ไปกับ ‘Bear with Me’ นิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกของ ปูนปั้น – ภูมิพัฒน์ หนึ่งในสมาชิก Converse All Stars ที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการ Converse All Star Projects เป็นคนแรกในไทย!
Advertorial
Posted on Apr 11
มัดรวมไฮไลต์นิทรรศการในงาน สถาปนิก’ 67 ภายใต้แนวคิด ‘Collective Language: สัมผัส สถาปัตย์’ เชื่อมโยงผู้คนจากทั่วโลกด้วยงานออกแบบที่ไร้ขอบเขต
Advertorial
Posted on Mar 28
SangSom MOONLAB งาน Art Landmark แห่งปีที่ชวนสายอาร์ตออกเดินทางไปเสพงานศิลปะและดนตรีบนดวงจันทร์!
Advertorial
Posted on Mar 26
ชวนรู้จักประติมากรรม ‘เจ้าจุด’ ของ WASINBUREE ที่ไปเยือนมาแล้วทั่วโลก และ ‘เจ้าจุดเบอร์ 12’ ที่กระโดดจากประติมากรรมจริง มาอยู่บนจอในรูปแบบ 3D
Advertorial
Posted on Mar 15