277367479_572578977718814_3320729659493375227_n.jpg

ความสัมพันธ์เชิงอำนาจและการเติบโตในการแสดงทรงพลังของ Pina Bausch

Post on 4 April

ฉันไม่สนใจว่านักเต้นแต่ละคนเคลื่อนไหวอย่างไร แต่ฉันสนใจว่าอะไรขับเคลื่อนพวกเขา

Pina Bausch คือนักเต้นและนักออกแบบท่าเต้นชาวเยอรมันแนว Neo-expressionist เจ้าของ Tanztheater โรงละครและวิธีการเต้นที่ผสมผสานท่าเต้นที่มีเอกลักษณ์ ฉากสวยงาม และเสียงที่โดดเด่น เพื่อสื่อสารประเด็นความบอบช้ำทางจิตใจที่มักเกิดจากความสัมพันธ์ และสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศในสังคม ในผลงานการแสดงของเธอจึงมักเกิดการปะทะกันระหว่างชายและหญิงที่ดูเหนือจริง บางครั้งนักเต้นหญิงแสดงถึงความลื่นไหลทางเพศ บ้างหยาบคายเพื่อเสียดสีการล่วงละเมิดทางเพศของผู้หญิง ส่วนนักเต้นชายก็แต่งกายแบบแดร็ก และสวมรองเท้าส้นสูงหรือบิกินี่

ทุก ๆ การแสดง เธอจะถามนักเต้นแต่ละคนถึงชีวิตส่วนตัว ทั้งครอบครัว ชีวิตวัยเด็ก แรงบันดาลใจ ความเจ็บปวด ฯลฯ เช่น ให้เคลื่อนไหวแบบครั้งแรกที่หัวเราะอย่างหนัก หรือให้เคลื่อนไหวแบบครั้งที่เคยสูญเสียเพื่อนำไปพัฒนาเป็นท่าเต้นที่ธรรมชาติและออกมาจากก้นบึ้งของนักเต้นแต่ละคนจริง ๆ

เช่นการแสดงชุด Nelken (ดอกคาร์เนชั่น) ที่แสดงครั้งแรกเมื่อปี 1982 ก่อนการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินก็เป็นอีกหนึ่งผลงานในตำนานที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตชีวประวัติของ Bausch และพูดถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจและการกดขี่ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ สามีและภรรยา กระทั่งศิลปินและผู้ชม บนเวทีที่ปูด้วยคาร์เนชั่น 3,000 ดอก จึงอาจหมายความได้ถึงความโรแมนติกที่มาพร้อมด้วยดาบสองคม

ไม่มีหนังสือ ไม่มีฉาก ไม่มีดนตรี มีเพียงชีวิตและเรา มันน่ากลัวอย่างยิ่งหากคุณทำงานโดยไม่มีอะไรให้ยึดเหนี่ยว

เพราะแบบนี้ เธอจึงถือเป็นนักออกแบบท่าเต้นที่มีอิทธิพลที่สุดแห่งยุคของเธอ

อ้างอิง :
sleek-mag

seeingdance

<p>Nelken</p>

Nelken

<p>Nelken</p>

Nelken

<p>Nelken</p>

Nelken

<p>Nelken</p>

Nelken

<p>Nelken</p>

Nelken

<p>Nelken</p>

Nelken