GC_Bulletin_sisters city.png

ภัณฑารักษ์เพิ่งค้นพบว่า ผลงานของ Piet Mondrian ถูกแขวนกลับหัวมานานกว่า 75 ปี

Post on 31 October

New York City I คือชื่อผลงานปี 1941 ของ ปีต โมนดรียาน (Piet Mondrian) ที่ถูกนำมาจัดแสดงครั้งแรกที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยแห่งนิวยอร์ก หรือ MoMA ในปี 1945 ก่อนที่จะตระเวณไปจัดแสดงในแกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ทั่วโลก และเป็นเวลาล่วงเลยมาถึง 77 ปีแล้ว กว่าที่จะมีคนเอะใจ และพบว่าผลงานศิลปะสุดนามธรรมชิ้นนี้ถูกจัดแสดงแบบกลับหัวกลับหางมาตลอดเจ็ดศตวรรษ!

คนที่เกิดเอ๊ะขึ้นมาก็คือ ภัณฑารักษ์ ซูซานน์ เมเยอร์-บูเซอร์ (Susanne Meyer-Büser) ซึ่งกำลังค้นคว้าศึกาชีวิตและผลงานของโมนดรียาน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจัดนิทรรศการของศิลปินชาวดัตช์ในตำนานที่ MoMA แห่งนี้ การได้ดูรูปถ่ายเก่าและศึกษาเปรียบเทียบกับผลงานอื่นในช่วงเวลาใกล้เคียงกันทำให้เธอเกิดเอะใจว่า ภาพวาดคาดเส้นแดง ดำ เหลือง และน้ำเงินชิ้นนี้ น่าจะถูกจัดแสดงแบบผิดหัวผิดหางมาตลอด

“เส้นกริดด้านที่หนากว่าควรจะเป็นด้านบนของภาพ” เมเยอร์-บูเซอร์อธิบาย “พอฉันชี้ให้ภัณฑารักษ์คนอื่นเห็น พวกเราก็ยิ่งแน่ใจว่าใช่แน่ ๆ ที่ผลงานชิ้นนี้จะถูกแขวนกลับด้านมาโดยตลอด”  

New York City I คือชื่อผลงานปี 1941 ของ ปีต โมนดรียาน (Piet Mondrian) หนึ่งในผู้บุกเบิกกระแสศิลปะสำคัญของยุโรปอย่าง De Stijl (The Style) ที่มีเอกลักษณ์เด่นเป็นการใช้เส้นแนวตรงและแนวตั้ง มาวางบนแม่สีอย่าง แดง เหลือง น้ำเงิน และขาวกับดำ ซึ่งผลงานชิ้นนี้ก็เกิดจากการที่โมนดรียานนำแถบกระดาษกาวสีมาแปะไว้บนผ้าใบ และทำไม่เสร็จ

เมเยอร์-บูเซอร์อ้างอิงจากผลงานอีกชิ้นอย่าง New York City ที่มีชื่อและลักษณะงานใกล้เคียงกัน ซึ่งถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Centre Pompidou แห่งกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยผลงานชิ้นนี้ก็ถูกจัดแสดงโดยนำด้านที่เส้นหน้ากว่าขึ้นเหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้น ในภาพถ่ายสตูดิโอของโมนดรียานที่ถ่ายไว้สิบวันหลังจากที่เขาเสียชีวิต ก็ปรากฏผลงานชิ้นนี้อยู่ในภาพ โดยถูกวางไว้บนขาตั้ง และด้านที่เทปหนากว่าก็เป็นส่วนด้านบนของภาพด้วย  

อย่างไรก็ตาม ทางพิพิธภัณฑ์ก็ยังคงจะจัดแสดงผลงานชิ้นนี้แบบกลับหัวกลับหางต่อไป ถือเป็นเรื่องราวดี ๆ เรื่องราวหนึ่งในประวัติศาสตร์ของผลงานชิ้นนี้

อ้างอิง

bbc.com