สำรวจศิลปะก้าวที่ร้อยของ Johnnie Walker ผ่านงานออกแบบแพคเกจจิงพิเศษฉลอง 100 ปีแบรนด์ขวัญใจนักดื่มชาวไทย

Post on 25 April

ถ้าให้ลองหลับตาย้อนนึกไปถึงปีพ.ศ. 2467 หรือ 100 ปีที่แล้ว เชื่อว่าภาพในจินตนากรของหลายคน น่าจะมีหลายอย่าง ‘ที่เปลี่ยนแปลงไป’ จากตอนนี้ แต่ในมุมตรงกันข้าม ในกระแสของกาลเวลาที่ผ่านไป ก็ยังมีอีกหลายสิ่งที่ดำรงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน เติบโตมาพร้อมกับสังคมไทยอย่างแท้จริง

เรากำลังพูดถึง ‘Johnnie Walker’ แบรนด์ขวัญใจผู้หลงใหลการดื่ม ที่ในปีนี้ ‘คุณจอห์นนี่’ ก็ได้เดินทางผ่านเรื่องราวต่าง ๆ และอยู่เป็นเพื่อนกับนักดื่มชาวไทยมาครบ 100 ปี จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ดีไซน์แพ็กเกจจิงและโปรดักต์คอลเลคชั่นใหม่แบบลิมิเต็ดที่ไฉไลกว่าเดิม และยังมีแค่เฉพาะในประเทศไทย เพื่อเฉลิมฉลองวาระสำคัญและความผูกพันของสายดริงก์กับ Johnnie Walker ที่เวียนมาครบหนึ่งศตวรรษในปี 2024 นี้

แต่ก็ไม่ใช่ว่าผลงานการออกแบบครั้งนี้จะไม่มีที่มา เพราะไหน ๆ ก็เดินทางร่วมกันมาถึง 100 ปีทั้งที Johnnie Walker จึงใส่เรื่องราวและความตั้งใจของแบรนด์ลงไปในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ด้วย เปรียบเหมือนการใช้ศิลปะสำหรับการก้าวเดินต่อไปแบบไม่หยุดนิ่ง และยังแฝงไปด้วยความหมายที่น่าบอกเล่าต่อ

ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมเดินทางไปกับ Johnnie Walker วันนี้ GroundControl จึงหยิบเรื่องราวเบื้องหลังในการออกแบบครั้งนี้มาเล่าให้ทุกคนฟังกัน รวมถึงงานศิลปะและงานออกแบบจาก Johnnie Walker ตลอดระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมาด้วยว่าพวกเขามีส่วนร่วมในโลกศิลปะตั้งแต่อดีตไปจนถึงอนาคตขนาดไหน

ถ้าพร้อมแล้ว ก็ ‘ก้าวเดิน’ ไปพร้อมกันเลย

ศิลปะในอดีตเพื่อปัจจุบัน
ศิลปะในปัจจุบันเพื่ออนาคต

ก่อนจะว่ากันถึงงานออกแบบใหม่ในปี 2567 นี้ ถ้าเราลองไล่เรียงรอยทางประวัติศาสตร์ตลอดร้อยปีที่ผ่านมาของ Johnnie Walker ทั้งจากต้นทางและในประเทศไทย เราจะพบว่านี่คือแบรนด์ที่ใช้ศิลปะในการก้าวเดินไปอย่างไม่หยุดนิ่งอยู่เสมอ

ยกตัวอย่างเช่นภาพจำแรกอย่างโลโก้กันก่อน ในปีแรก ๆ ที่แบรนด์ Johnnie Walker เข้ามาในประเทศไทย เรารู้จักแบรนด์สก็อตช์วิสกี้นี้ผ่านโลโก้ที่เป็นรูปคนแต่งตัวสวมชุดที่เป็นเอกลักษณ์ สวมหมวก ถือไม้เท้า และใส่รองเท้าบู๊ต โดยมีการสันนิษฐานว่านี่คือภาพวาดล้อเลียนคุณ John Walker ผู้ให้กำเนิดแบรนด์เอง แต่พอเวลาหมุนผ่านไปที่โลกศิลปะและการรับรู้ของคนต่อศิลปะก็เปลี่ยนแปลงไป แบรนด์ที่ดำรงอยู่กับกาลเวลาอย่าง Johnnie Walker จึงมีอันต้องเปลี่ยนแปลงโลโก้ให้ทำงานกับยุคสมัยด้วย

เช่นในปี 1929 ที่พวกใส่สีสันและรายละเอียดให้กับโลโก้ชายหนุ่มคนเดิมมากขึ้น ซึ่งพวกเขาใช้โลโก้นี้ยาวนานถึง 67 ปี ก่อนพลิกโฉมเปลี่ยนอีกครั้งในปี 1996 เป็นรูปคนเดินแบบนามธรรมในเวอร์ชันขาวดำ ตัดทอนรายละเอียดจนเห็นได้เพียงรองเท้าบู๊ต เสื้อโค้ต หมวก และไม้เท้า แต่สำหรับโลโก้ที่เราเห็นในปัจจุบัน นี่คือการพลิกโฉมครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในปี 2015 โดยแตกต่างจากเมื่อครั้งปี 1996 ตรงที่เริ่มเห็นรายละเอียดมากขึ้น เช่น มือที่แตะขอบหมวก และท่าทางที่ดูเป็นมิตรมากขึ้นนั่นเอง

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า Johnnie Walker เป็นแบรนด์ที่ไม่เคยปฏิเสธการผสานตัวเองเข้ากับงานออกและการเปลี่ยนผ่านของโรคศิลปะเลย พวกเขาใช้พลังของศิลปะในการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ เพราะนอกจากโลโก้ มีตั้งแต่รูปแบบตัวอักษรไปจนถึงภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ ทั้งหมดล้วนมีศิลปะเป็นตัวเร่งในการเปลี่ยนผ่านทั้งนั้น โดยในการปรับแต่ละครั้งก็ไม่ได้ทิ้งแง่งามของงานออกแบบเก่าใด ๆ แต่เป็นการต่อยอดจนเกิดเป็นงานใหม่มากกว่า

เหมือนศิลปะในอดีตของพวกเขาทั้งหมดล้วนส่งผลถึงปัจจุบัน และมั่นใจได้เลยว่าศิลปะในปัจจุบันก็ส่งผลถึงอนาคตเช่นกัน

ศิลปะกับประเทศไทย
การเปลี่ยนผ่านที่มีรอยทางเสมอ

ไม่ใช่แค่กับโลโก้เพียงอย่างเดียว เพราะพอเชื่อมั่นในพลังของงานออกแบบและศิลปะแล้ว แบรนด์ Johnnie Walker ทั่วโลกจึงมักใช้ศิลปะในการเปลี่ยนผ่านหรือผลักดันผลิตภัณฑ์ของตัวเองอยู่เสมอ รวมถึงในประเทศไทยด้วย

ยกตัวอย่างเช่นในปีนี้ ที่ Johnnie Walker และประเทศไทยมีสัมพันธ์ยาวนานมาครบ 100 ปีพอดี ทางแบรนด์จึงออกแบบแพ็กเกจจิงและคอลเลกชั่นพิเศษแบบลิมิเต็ด ที่มีแค่เฉพาะในประเทศไทย เพื่อต้อนรับปีแห่งการเฉลิมฉลองนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยงานออกแบบที่ว่า บรรจุอดีต ปัจจุบันและอนาคตลงไป

อย่างในส่วนของแพ็กเกจจิง คราวนี้ Johnnie Walker เลือกนำเสนอในรูปแบบของกล่องกลม มีหูหิ้ว พร้อมลวดลายที่ถ้าพินิจพิเคราะห์ดูดีๆ เราจะเห็นภาพที่สื่อถึงการเดินทางตลอดร้อยปีที่ผ่านมาได้อย่างเต็มอิ่ม ไม่ว่าจะเป็นตึกรามบ้านช่อง สถานที่สำคัญ และเหตุการณ์สำคัญมากมาย ที่สื่อความหมายถึงการก้าวเดินผ่านกาลเวลามาอย่างไม่หยุดยั้ง

อีกทั้งนอกจากความสวยงามแล้ว ในเชิงของวัสดุเองก็เลือกใช้ให้ตรงกับความเป็นไปของยุคสมัยเช่นกัน เพราะทุกส่วนของงานออกแบบใหม่เป็นแบบที่สามารถนำมาใช้รีไซเคิลและใช้ซ้ำได้ กล่าวคือมองเรื่องความยั่งยืน (Sustainability) เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญเช่นกันในการประยุกต์ใช้ศิลปะในครั้งนี้

และนอกจากแพ็กเกจจิง Johnnie Walker ยังใช้งานออกแบบนี้ในการต่อขยายความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับแบรนด์ด้วย โดยการนำงานออกแบบในแพ็กเกจจิงมาประยุกต์เป็นอีกโปรดักต์ใหม่อย่างคอลเลกชั่นเสื้อชุดสวมใส่ เปรียบดั่งการขับเคลื่อนไปข้างหน้าในหลายส่วนมากขึ้นโดยใช้ศิลปะเป็นรากฐานอันแข็งแรงเหมือนเดิม

ดังนั้นสำหรับผู้ที่ชอบงานศิลปะ งานออกแบบเฉลิมฉลอง 100 ปี Johnnie Walker ในประเทศไทยจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาด หรือสำหรับนักสะสมทั้รักในงานศิลปะ วาระที่หนึ่งร้อยปีมีทีแบบนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาดเช่นกัน

100 ปีที่ผ่านมา
กับ 100 ปีถัดไปที่ยังคงก้าวเดินต่อ

ในระยะเวลา 100 ปีที่ผ่านมาและอีก 100 ปีข้างหน้า เราจะเห็นว่าโลกศิลปะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและดูจะเปลี่ยนแปลงไปอีกมาก โดยเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น การพัฒนาทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงในสังคมและวัฒนธรรม และที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงในมุมมองของมนุษย์เอง ที่ทั้งหมดล้วนมีส่วนต่อโลกศิลปะไม่ทางใดก็ทางหนึ่งทั้งนั้น

แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นความจริงแท้เช่นกัน ที่ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นไม่มีทางที่จะทำให้มนุษย์อยู่ห่างจากศิลปะได้ มันอาจเปลี่ยนรูปแบบไป แต่จะไม่ใช่การที่มนุษย์ละทิ้งศิลปะอย่างสิ้นเชิง

เช่นเดียวกับ Johnnie Walker ที่ 100 ปีที่ผ่านมาในประเทศไทย พวกเขาอาจเปลี่ยนภาพลักษณ์ การสื่อสารหรือการรับรู้ที่คนมีต่อแบรนด์ไปบ้างอย่างที่เล่าไปข้างต้น แต่เหนืออื่นใดแบรนด์สก็อตช์วิสกี้สัญชาติสกอตแลนด์นี้ก็จะยังคงอยู่ โดยผสานตัวเองเข้ากับความเปลี่ยนแปลงในโลกศิลปะ และคอยร่วมผลักดันกันไปแบบนี้อีกนาน

ไม่ว่าจะแพ็กเกจจิงในอนาคต โปรดักต์ใหม่ในอนาคต หรืออะไรใหม่ๆ ที่ในปัจจุบันเราอาจคาดไม่ถึงเลยว่า Johnnie Walker จะทำ เมื่อถึงเวลานั้น เชื่อมั่นได้เลยว่าสิ่งที่ถูกนำเสนอออกมาจะมีส่วนช่วยในการผลักดันให้ศิลปะหมุนไปในแบบของตัวเองเป็นแน่

เพราะในท้ายที่สุด นี่แหละคือสิ่งสำคัญที่สุด
ก้าวเดินต่อไป ไม่หยุดนิ่ง
ไม่ว่าจะอีกร้อยปีก็ตาม