242811508_421067316203315_2630360667160717501_n.jpg

Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที

Post on 16 March
<p>Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที</p>

Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที

<p>Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที</p>

Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที

<p>Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที</p>

Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที

<p>Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที</p>

Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที

<p>Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที</p>

Harvey Ball ผู้ให้กำเนิด ‘Smiley Face’ ที่จุดรอยยิ้มให้โลกในเวลาแค่ 10 นาที

ในปี 1973 บริษัทประกัน Guarantee Mutual Company แห่งโอไฮโอถูกเทคโอเวอร์โดยบริษัทประกันยักษ์ใหญ่อย่าง State Mutual Life Assurance Company การควบรวมบริษัทครั้งนี้ทำให้ขวัญและกำลังในของพนักงานตกต่ำลงมาก จนในที่สุดคณะกรรมการบริหารก็คิดว่าจะต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้พนักงานกลับมามีกำลังใจและมีความสุขกับการทำงานอีกครั้ง พวกเขาจึงได้คิดแคมเปญที่ชื่อว่า ‘Friendship Campaign’ ขึ้นมา โดยส่วนหนึ่งของแคมเปญคือการแจกเข็มกลัดเพื่อเตือนใจพนักงานว่าพวกเขามีคุณค่าและบริษัทแห่งนี้ยังคงต้องการพวกเขา นั่นจีงเป็นจุดเริ่มต้นที่ ฮาร์วีย์ บอล ได้ก้าวเข้ามาทำงานในโปรเจกต์นี้

ย้อนกลับไปตอนนั้นบอลทำงานเป็นนักวาดภาพโฆษณามาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่จะมาเปิดบริษัททำสื่อโฆษณาของตัวเอง โจทย์ที่บอลได้รับจาก State Mutual ในตอนนั้นก็คือการออกแบบภาพที่จะปรากฏอยู่บนเข็มกลัด โดยภาพนั้นจะต้องเป็นภาพที่ทำให้คนเห็นแล้วอมยิ้มตาม สอดคล้องกับแคมเปญที่ต้องการสื่อสารเรื่องมิตรภาพและความใส่ใจที่บริษัทมีต่อพนักงาน

ด้วยการวาดวงกลม จุดสองจุด และเส้นโค้งกว้าง บอลก็ปิดจ็อบนั้นได้ในเวลาเพียง 10 นาที รับค่าจ้าง 45 ดอลลาร์กลับบ้าน และได้สร้างหนึ่งในสัญลักษณ์สุดไอคอนิกของโลกที่ติดอยู่ในภาพจำของคนทุกคน แทบในทุกวัฒนธรรมของโลก

“ผมวาดวงกลมและเส้นโค้งรอยยิ้มลงบนกระดาษสีเหลือง ผมเลือกสีนึ้เพราะมันเป็นสีที่สว่างสดใส มันเป็นลายเส้นที่ทุกคนสามารถวาดได้ และทุกคนก็สามารถสนุกไปกับมันได้ เหมือนที่ผมก็รู้สึกสนุกตอนที่วาดสิ่งนี้ขึ้นมา มันเป็นภาพง่าย ๆ ที่มีแคแรกเตอร์ของตัวเอง”

จากเข็มกลัดเพียง 100 ชิ้นที่ถูกแจกให้กับพนักงานภายใน ความสะดุดตาและชวนให้อารมณ์ดีนั้นก็ทำให้สัญลักษณ์หน้ายิ้มบนพื้นสีเหลืองได้รับความนิยมออกไปข้างนอก จนในที่สุดหน้ายิ้มสีเหลืองของบอลก็กระจายตัวส่งความสุขไปในทุกที่ ทั้งในรูปของโปสเตอร์ การ์ดอวยพร และบนไอเทมต่าง ๆ มากมาย จากอเมริกาสู่ฝรั่งเศส และกระจายตัวไปในทุกที่ทั่วโลก จนสุดท้ายบอลก็ได้ตั้งกองทุน World Smile Foundation เพื่อนำรายได้จากการขายลิขสิทธิ์หน้ายิ้มไปช่วยเหลือเด็ก ๆ ผู้ด้อยโอกาส และยังมีการกำหนดให้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีเป็นวัน World Smile Day ที่ชวนให้ทุกคนทำเรื่องดี ๆ เพื่อให้เกิดรอยยิ้ม

แม้ว่าสัญลักษณ์รูปหน้ายิ้มของบอลจะแพร่หลายและเป็นอะไรที่ใครก็วาดได้ แต่รู้หมือไร่ว่าที่จริงแล้วก็มีกฎการวาดหน้ายิ้มในแบบต้นฉบับของบอลอยู่ โดยหน้ายิ้มแบบของบอลนั้น วงกลมใหญ่ต้องกลมกลึงพอดี (ใช้วงเวียนวาด), วงกลมที่เป็นตาขวาจะใหญ่กว่าตาซ้ายเล็กน้อย, ต้องใช้สีเหลืองสว่างเท่านั้น และที่สำคัญที่สุด มุมปากซ้ายจะหนากว่ามุมปากขวา และส่วนโค้งของปากจะตัองเอียงซ้ายเล็กน้อยด้วย