“ต้องยอมรับเลยว่าการตีความดนตรีขอโชสตาโควิกนั้นท้าทายจริง ๆ เพราะมีความซับซ้อนและรายละเอียดยิบย่อยหลายชั้นมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของบริบททางประวัติศาสตร์ ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค ห้วงอารมณ์ของผู้แต่ง รวมถึงความอ่อนไหวที่เขามักใส่ลงไปในบทเพลงจนเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว"
“พวกเราเลยต้องใช้เวลาทำความเข้าใจสิ่งเหล่านี้อยู่นาน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการแสดงนี้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะต้องเจาะลึกอารมณ์ของดนตรีและถ่ายทอดอารมณ์เหล่านั้นให้กับผู้ชมอย่างแท้จริงออกมาให้ได้”
ข้อความข้างต้นคือส่วนหนึ่งจากบทสัมภาษณ์ที่ทางคุณ Timothy Tsukamoto, Director of Artistic Planning of Hong Kong Philharmonic Orchestra’s (HK Phil) ได้บอกกับเราเอาไว้ เมื่อเราถามถึงการเตรียมตัวว่า พวกเขาจะตีความบทเพลงของยอดนักประพันธ์ชาวรัสเซียอย่าง ‘ดมิทรี โชสตาโควิก (Dmitri Shostakovich)’ ผู้มีชีวิตอยู่อย่างอึดอัดและกดดันจากปัญหาทางการเมืองมาตลอดชีวิตของอาชีพศิลปินอย่างไร
นั่นก็เพราะว่าเสียงดนตรีของโชสตาโควิกนั้นสัมพันธ์กับช่วงชีวิตของเขา ส่งผลให้ดนตรีของเขาสามารถสะท้อนอารมณ์ที่หลากหลายออกมาได้ดีมาก ตั้งแต่ความโศกเศร้าอย่างสุดซึ้ง ความสิ้นหวัง และการเสียดสีประชดสุดแสบทรวง เนื่องจากเขาต้องมาติดอยู่ในบ่วงเกมการเมืองของประเทศรัสเซีย และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้กับโลกฝั่งประชาธิปไตยมาตั้งแต่วัยเด็ก แม้จะมีความสามารถในการแต่งเพลงและเล่นดนตรีเป็นเลิศ แต่ก็ถูกกดดันให้สร้างผลงานที่ตอบสนองต่ออุดมการณ์แบบสังคมนิยมออกมาเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ แม้ว่าเขาจะพยายามสร้างผลงานที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง ด้วยการสร้างอุปรากรเรื่อง Lady Macbeth of the Mtsensk District ขึ้นมาจนโด่งดัง หรือผลงานอื่น ๆ อีกหลายชิ้น แต่ก็ถูกทางการของโซเวียตดับฝันอยู่ร่ำไป จนต้องหันมาสู้กับเผด็จการด้วยท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ พร้อมถ่ายทอดความคับแค้นใจ ความไม่ยอมจำนนลงมาในเสียงดนตรี ที่ต่อให้จะเป็นบทเพลงที่แต่งขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่ออุดมการณ์ของรัฐบาล แต่ก็มีความประชดประชันที่หากทุกคนได้ลองฟังจะต้องสัมผัสได้อย่างแน่นอน
ซึ่งในวันที่ 21 ตุลาคม 2566 นี้ เราก็จะได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่พวกเขาตั้งใจเตรียมไว้ด้วยตัวเองกันแล้ว ในเทศกาล Hong Kong Week@Bangkok 2023 เทศกาลรวมมิตรครั้งใหญ่ที่จะพาเราไปสัมผัสกับสีสันของวัฒนธรรมอันมีชีวิตชีวาของชาวฮ่องกง ผ่านนิทรรศการศิลปะ โชว์ศิลปะการแสดงสุดหลากหลาย และยังมีการฉายภาพยนตร์เรื่องดังอีกมากมายอันน่าคิดถึง
สำหรับโปรแกรมเพลงที่วง Hong Kong Philharmonic Orchestra’s (HK Phil) ได้ร้อยเรียงและเตรียมพร้อมมาบรรเลงให้พวกเราฟังในวันนั้น ก็ประกอบไปด้วยสามบทเพลง ได้แก่ เพลง ‘La valse’ ของ Ravel ที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวลชวนฝัน, เพลง ‘Piano Concerto No. 1’ ที่กระแทกกระทั้นอารมณ์อย่างรุนแรง และปิดท้ายด้วยความเร้าใจของการเล่าเรื่องผ่านบทเพลง ‘Scheherazade’ ของ Rimsky-Korsakov ที่ชวนให้ทุกคนได้ลองเดินทางเข้าไปโลกแห่งอาหรับราตรี กับเสียงดนตรีที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางอารมณ์
หากใครยังไม่จองบัตร ก็สามารถเข้าไปจองบัตรกันได้ที่ Thai Ticket Major | Hong Kong Philharmonic Orchestra: Shostakovich Piano Concerto
Thai Ticket Major
ส่วนใครที่ยังเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา เพียงกรอกโค้ด ‘HKP40’ (ไม่จำเป็นต้องโชว์บัตรนักศึกษา) ก็รับส่วนลดไปได้เลย 40 เปอร์เซ็นต์
Hong Kong Philharmonic Orchestra :Shostakovich Piano Concerto
วันที่: 21 ตุลาคม 2566
สถานที่: หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล
เวลา: 16.00 น.
อ่านบทสัมภาษณ์ได้ที่: https://groundcontrolth.com/.../shostakovich-piano-concerto
Photo Credit: Ka Lam