บทบันทึกเกี่ยวกับปีศาจ

Art
Post on 24 November

(บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือระหว่าง GroundControl และพันธมิตรสื่อทางศิลปะ Protocinema ผู้เผยแพร่สื่อดิจิทัลด้านศิลปะรายเดือน เพื่อนำเสนอมุมมของของศิลปินที่มีต่อสังคมร่วมสมัย การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ โดยดำเนินการผ่าน Protodispatch ผู้เป็นตัวกลางเผยแพร่ข่าวประจำเดือนให้แก่พันธมิตรในเครือ โดย GroundControl ได้รับเกียรติให้เป็นพันธมิตรสื่อเพื่อเผยแพร่บทความในภาษาไทย ร่วมกับ Artnet.com จากนิวยอร์ก และ Argonotlar.com จากอิสตันบูล เพื่อร่วมกันสร้างโครงข่ายของระบบนิเวศน์ทางศิลปะที่เข้มแข็ง และเพื่อให้ผู้สนใจศิลปะชาวไทยสามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากกำแพงด้านภาษา)

บทบันทึกเกี่ยวกับปีศาจ

Ana María Millán

ผลงานชิ้นล่าสุดของศิลปิน Ana María Millán ที่ประกอบสร้างขึ้นจากสุนทรียะของแอนิเมชันและวิดีโอเกมนั้น เปรียบได้กับการเปิดประตูมิติสู่โลกอื่น ในบทความนี้ เธอย้อนรำลึกถึงผลงานภาพเคลื่อนไหวของเธอ Trescaras (Three faces) (2016-2017) ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นก่อนการมาถึงของวิกฤติโรคระบาดที่จะแพร่ไปทั่วโลก การย้อนรำลึกถึงงานชิ้นเก่าก่อนนี้ เป็นไปเพื่อสำรวจสภาพการณ์และข้อจำกัดของสื่อมวลชนทั่วโลกที่ดำเนินมาเนิ่นนาน ภายใต้ทัศนคติที่เปลี่ยนไปหลังเหตุการณ์โรคระบาด Millán ชวนผู้ชมไปสำรวจพื้นที่ซึ่งดำเนินไปบนขอบเขตของหน้าจอและการเคลื่อนไหวอันไม่เป็นธรรมชาติของเกม เพื่อตีแผ่การควบคุมทางสังคมและเศรษฐกิจในโลกความเป็นจริงที่ทำงานผ่านการนำเสนอ ‘ภาพจินตนาการ’ การที่ศิลปินเลือกใช้เกมเป็นพื้นที่ในการเชื่อมต่อมนุษย์เข้ากับอดีต รวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตอื่น ๆ นับเป็นสัญญะอันสำคัญ ภายในมิติทั้งสองที่มีอยู่ในเกมของ Millán เราอาจจินตนาการถึงการฟื้นฟูจักรวาลอันเต็มไปด้วยความหมายเชิงสัญลักษณ์ และคืนความเป็นมนุษย์ให้กับเราเหล่าผู้อาศัยอยู่ในโลกความเป็นจริง ด้วยการใช้พื้นที่แห่งโลกจินตนาการที่ศิลปินมอบให้ ในบทความนี้ ศิลปินได้แนะนำเราให้รู้จักกับผลงานแอนิเมชันของเธอ และพาเราไปสำรวจตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างที่ดูไร้พิษภัย ไปจนถึงแง่มุมของอำนาจที่แฝงอยู่ ซึ่งเชื่อมต่อทั้งประเทศโคลัมเบีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกาเข้ากับโลกแห่งความตายที่ทุกสิ่ง (อาจ) เป็นไปได้

Ana María Milán, Video Still from Trescaras

Ana María Milán, Video Still from Trescaras

การสื่อสารทางระบบดิจิทัลรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การรับส่งข้อความในพริบตา ไปจนถึงการแทนที่ความรู้ด้วยข้อมูลจริงและเท็จอันเกิดจากการจงใจบิดเบือน ได้สร้างห้องเสียงสะท้อนขึ้นเพื่อปกป้องความบริสุทธิ์ของระบบความเชื่อในระดับปัจเจก ปีศาจแห่งการกีดกันนี้ได้มอบอำนาจทั้งในทางกายภาพและจิตสำนึกให้กับระบอบเผด็จการและอำนาจนิยมเด็ดขาดมาแล้วมากมาย ทั้งในประวัติศาสตร์จนถึงทุกวันนี้ โดยถือกำเนิดขึ้นภายในหมู่คน รวมถึงภายในจิตใจของเราเอง ซึ่งเป็นปัญหาที่ควรถูกยอมรับและแก้ไขโดยด่วน เราสามารถประยุกต์เอาเครื่องมือและสุทรีย์ภาพที่สามารถเชิดชูองค์ความรู้ในประวัติศาสตร์มาสร้างเป็นมิติคู่ขนาน ราวกับโลกที่สร้างขึ้นในวิดีโอเกม ภายในมิติใหม่นี้พวกเขาอาจสามารถมองเห็นมุมมองได้หลากหลายและคาดคะเนถึงอนาคตที่เป็นไปได้ ทั้งยังจินตนานการถึงอาณาเขตใหม่ที่ท้ายที่สุดแล้วดำรงอยู่ในตัวเราทุกคน การจินตนาการถึงเรื่องเหล่านี้ทำให้เราได้เผชิญหน้ากับปีศาจภายในของเรา พลังงานแห่งการทำลายล้างที่สถิตอยู่ภายในมนุษย์ทุกคน ซึ่งพร้อมจะปรากฏตัวผ่านความรู้สึกไม่ปลอดภัย ความอ่อนแอ และความอคติของเราเอง การใช้แอนิเมชันจึงเป็นหนทางหนึ่งในการโอบรับกระบวนการภายในนี้ และส่องแสงไฟไปยังพื้นที่สีเทาอันซ่อนเร้นเพื่อปลดปล่อยความทรงจำ และเพื่อเล่าถึงเรื่องราวที่เป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อเล่าออกมาแล้ว ก็อาจกลายเป็นความจริงได

แอนิเมชันจึงเป็นหนทางหนึ่งในการโอบรับกระบวนการภายในนี้ และส่องแสงไปยังพื้นที่สีเทาที่ถูกซ่อนเร้นไว้ เพื่อปลดปล่อยความทรงจำ และเพื่อเล่าถึงเรื่องราวที่เป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อเล่าออกมาแล้ว ก็อาจกลายเป็นความจริงได้

การกีดกันทางประสาทสัมผัส วิทยุ และสายไฟ

ในผลงานภาพยนตร์ The Lives of Others เจ้าหน้าที่หน่วยสตาซีกล่าวกับเพื่อนร่วมงานของเราว่า:

คนของนาย Dreyman น่ะ เขาเป็นคน “จำพวกที่ 4” หรือพวก “มานุษยประมาณนิยมแบบตีโพยตีพาย” พวกเขาทนการอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องพูดคุยตลอดเวลา และต้องการเพื่อน คนจำพวกนี้ไม่ควรถูกนำมาขึ้นศาล เพราะพวกเขาถูกหล่อเลี้ยงด้วยวิ่งเหล่านั้น การกักกันตัวชั่วคราวคือวิธีจัดการที่ดีที่สุด การบังคับโดดเดี่ยวโดยสมบูรณ์อย่างไม่มีกำหนด โดยไม่ให้มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์คนอื่นเลยตลอดระยะเวลานั้น แม้แต่ยามเฝ้าก็ตาม เลี้ยงดูพวกเขาให้ดี ห้ามกลั่นแกล้ง ห้ามรังแก ห้ามก่อเหตุฉาว ห้ามทำอะไรก็แล้วแต่ที่พวกเขาอาจเขียนถึงทีหลัง สัก 10 เดือนถัดมาค่อยปล่อยตัว ทีนี้ไอ้หมอนั่นก็จะไม่สร้างปัญหาให้เราอีกเลย แล้วรู้ไหมว่าส่วนที่ดีที่สุดคืออะไร? คน “จำพวกที่ 4” ที่เราจัดการด้วยวิธีนี้จะไม่เขียนอะไรอีกเลย หรือวาดภาพ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ศิลปินทำกัน โดยไม่ต้องลงแรงเลยด้วยซ้ำ แค่นั้นเลย อย่างกับเป็นของขวัญ

การกักกันและควบคุมพื้นที่เป็นกลยุทธ์ และจิตวิทยารวมถึงอาชญาวิทยาก็เป็นสาขาวิชาที่มีขึ้นเพื่อดำรงไว้ซึ่งการควบคุมทั้งมนุษย์และสิ่งอื่นทั้งหมด เหล่าปีศาจเองมีหน้าที่ในการทำลายความหมายของทุก ๆ สิ่งผ่านการกักกันและควบคุม โดยมีเชือกและสายไฟเป็นเหมือนวาทยกรผู้ควบคุมทุกอย่าง

Ana María Millán and Andres Sandoval Alba, 8 Bits, 2015, video still

Ana María Millán and Andres Sandoval Alba, 8 Bits, 2015, video still

การห้ามฝังศพ

ในภาวะสงครามหรือวิกฤติโรคระบาด การฝังศพคนตายตามพิธีกรรมต่าง ๆ มักถูกสั่งระงับลงชั่วขณะ ในภาพยนตร์ Son of Saul (directed by László Nemes, 2015) ชายชาวยิวในค่ายกักกันตัดสินใจตามหารับบีให้มาประกอบพิธีฝังศพให้เด็กคนหนึ่ง โดยในบทความ “El hijo de Saúl, El rescate de lo simbólico en el horror totalitario” นักจิตวิเคราะห์ Victor Salamanca ตั้งข้อสังเกตว่าวินาทีนี้ในภาพยนตร์ถือเป็นการกอบกู้พลังของความหมายเชิงสัญลักษณ์ท่ามกลางความน่าสังเวช การกักกันและควบคุมพื้นที่เป็นกลยุทธ์ และจิตวิทยารวมถึงอาชญาวิทยาก็เป็นสาขาวิชาที่มีขึ้นเพื่อดำรงไว้ซึ่งการควบคุมทั้งมนุษย์และสิ่งอื่นทั้งหมด เหล่าปีศาจเองนั้นมีหน้าที่ในการทำลายความหมายของทุกๆ สิ่งผ่านการกักกันและควบคุม การต่อต้านการควบคุมนี้จึงเท่ากับการปฏิเสธการลดทอนความเป็นมนุษย์ การประกอบพิธีกรรมฝังศพจึงสามารถฟื้นฟูความหมายของตัวเองได้เมื่อเผชิญกับความน่าสะพรึงกลัว โดยการฟื้นฟูพิธีกรรมซึ่งเชื่อมต่อธรรมชาติเข้ากับการดำรงอยู่ของมนุษย์ และนำพาอดีตมาสู่ปัจจุบัน จึงสามารถชุบชีวิตความหมายเชิงสัญญะได้ แอนิเมชันนี้จึงเป็นการพาเราหวนคืนสู่ความเป็นมนุษย์อีกครั้ง

การฝังศพตามประเพณีไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในภาวะสงคราม และยังถูกห้ามอย่างเด็ดขาดในภาวะโรคระบาด เพราะไวรัสที่มองไม่เห็นได้เข้ามามีอำนาจเหนือเรา ไวรัสจึงมีสถานะเป็นปีศาจได้เช่นกัน

Ana María Millán, Happy People, 2020, video game still

Ana María Millán, Happy People, 2020, video game still

ปีศาจที่มองเห็นและมองไม่เห็น

ตลอดช่วงทศวรรษ ค.ศ.1950 และอีกครั้งในทศวรรษ ค.ศ.1970 ภาพยนตร์มากมายได้ใช้การรุกรานของฝูงแมลงปีศาจเพื่อเปรียบเทียบถึงภัยของระบบการปกครองและการจัดการรัฐรูปแบบอื่นๆ

Ana María Millán, Sugar Lovers, 2015, video stills

Ana María Millán, Sugar Lovers, 2015, video stills

ในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1990 Andres Sandoval Alba และฉันได้ร่วมกันเปิดสตูดิโอการตัดต่อและแอนิเมชันแห่งแรก ๆ ในเมืองคาลี ประเทศโคลอมเบีย เราสร้างผลงานแอนิเมชันให้กับบริษัทต่าง ๆ เพื่อเป็นทุนให้กับงานศิลปะของเรา ในเวลาต่อมา มีบริษัทเภสัชวิทยาใหญ่ ๆ จำนวนหนึ่งในเยอรมนีและฝรั่งเศสที่ชอบผลงานของเรา จึงจ้างให้เราสร้างปีศาจผู้น่าเห็นใจเพื่อนำเสนอสินค้าของพวกเขา โดยพวกเขานำปีศาจเหล่านี้ไปใช้ในสื่อโฆษณาภายในโรงงานของพวกเขาเอง เพื่อสร้างความเห็นใจกันระหว่างคนงานและผู้จัดการ ซึ่งทุกวันนี้โฆษณาบริษัทเภสัชเหล่านี้ยังคงใช้ปีศาจเพื่อสร้างภาพให้ไวรัสและแบคทีเรียเป็นภัยต่อชีวิต การกักกันและควบคุมพื้นที่เป็นกลยุทธ์ และจิตวิทยารวมถึงอาชญาวิทยาก็เป็นสาขาวิชาที่มีขึ้นเพื่อดำรงไว้ซึ่งการควบคุมทั้งมนุษย์และสิ่งอื่นทั้งหมด เหล่าปีศาจเองนั้นมีหน้าที่ในการทำลายความหมายของทุก ๆ สิ่งผ่านการกักกันและควบคุม

สำหรับงานของฉัน ฉันใช้ปีศาจเหล่านี้และพลังของพวกมันในพื้นที่อันจำกัดของเกม สุนทรีย์ภาพและรูปแบบของเกมเหล่านี้สร้างพื้นที่สำหรับการฟื้นฟูประเพณีซึ่งเปิดโอกาสให้ปัจจุบันสามารถเชื่อต่อกับอดีต และความเป็นจริงสามารถเชื่อมต่อกับธรรมชาติและจินตนาการ การใช้วิดีโอเกมเป็นสื่อ ในเชิงกลยุทธ์ยังทำให้สามารถคืนความหมายเชิงสัญญะ และความเป็นมนุษย์ของเราเองด้วย แม้ว่าอาจมีปีศาจอยู่ท่ามกลางพวกเรา แต่เราจะสามารถใช้การมีอยู่ของพวกมันเพื่อรื้อฟื้นความหมายที่ถูกพวกมันแย่งชิงไปกลับมาได้หรือไม่?

Ana María Millán, Trescaras, 2017-2018 from Ana María Millán on Vimeo.