Fan Ho ช่างภาพผู้มองเห็นแสงและเงาแห่งฮ่องกงในวันวาน

Post on 24 January

แสงและเงาเป็นสองสิ่งสัมพันธ์ที่สำคัญมากในยุคที่การถ่ายภาพยังไม่รู้จักสีสัน ด้วยเหตุนี้สีขาวและดำที่ปรากฏในภาพถ่ายแต่ละใบในสมัยก่อน จึงต้องอาศัยการอ่านแสงเงาอย่างลุ่มลึกและแม่นยำของช่างภาพเป็นอย่างยิ่ง ที่ทำให้ภาพขาวดำแสนธรรมดาเกิดความงดงามและทรงพลัง

หนึ่งในช่างภาพผู้มีดวงตาอันแหลมคมในแสงและเงาก็คือ ฟาน โฮ (Fan Ho) ช่างภาพชาวจีนที่ย้ายมาใช้ชีวิตที่เกาะฮ่องกงตั้งแต่วัยเยาว์ เขาบันทึกภาพขาวดำของเกาะฮ่องกงในยุค 50s-60s ที่ไม่เพียงงดงามด้วยทัศนียภาพ แต่ยังมากด้วยความสร้างสรรค์จากมุมมองอันแหลมคม กลายเป็นหลักฐานชื้นสำคัญที่บันทึกประวัติศาสตร์เกาะแห่งนี้ไว้ในยุคสุดท้ายจากสมัยอาณานิคม ก่อนที่ฮ่องกงจะเปลี่ยนโฉมมีหน้าตาอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน

ผลงานของโฮที่โดดเด่นจนกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก เป็นชุดภาพถ่ายเกาะฮ่องกงในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 ซึ่งเป็นช่วงที่เกาะแห่งนี้ต้อนรับผู้อพยพชาวจีนที่หนีสงครามกลางเมืองจากจีนแผ่นดินใหญ่กว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งในเวลานั้นฮ่องกงยังอยู่ในอาณานิคมของสหราชอาณาจักรอยู่ เกาะแห่งการค้าแห่งนี้จึงยังเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องที่ยังเป็นระเบียบตามสไตล์ยุคโคโลเนียล แต่ก็ยังปะปนไปด้วยบ้านเรือนสไตล์จีน ซึ่งได้กลายเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายขาวดำสุดประทับใจให้กับโฮได้เป็นอย่างดี

Approaching Shadow (Fan Ho, 1954)

Approaching Shadow (Fan Ho, 1954)

Her Study (Fan Ho, 1963)

Her Study (Fan Ho, 1963)

Sun Rays (Fan Ho, 1959)

Sun Rays (Fan Ho, 1959)

Street Scene (Fan Ho, 1956)

Street Scene (Fan Ho, 1956)

Arrow (Fan Ho, 1958)

Arrow (Fan Ho, 1958)

As Evening Hurries By (Fan Ho, 1955)

As Evening Hurries By (Fan Ho, 1955)

Danger (Fan Ho, 1965)

Danger (Fan Ho, 1965)

The Lone Ranger (Fan Ho, 1954)

The Lone Ranger (Fan Ho, 1954)

In a Buddhist Temple (Fan Ho, 1961)

In a Buddhist Temple (Fan Ho, 1961)

In Daddy Arms (Fan Ho, 1966)

In Daddy Arms (Fan Ho, 1966)

Mystic Alley (Fan Ho, 1955)

Mystic Alley (Fan Ho, 1955)

The Omen (Fan Ho, 1964)

The Omen (Fan Ho, 1964)

The Search (Fan Ho, 1960)

The Search (Fan Ho, 1960)