25 ภาพวาดสุดหลอนที่ได้แรงบันดาลใจจาก ‘Edgar Allan Poe’ บิดาแห่งเรื่องลึกลับและนวนิยายสืบสวนสอบสวนแห่งศตวรรษที่ 19

Art
Post on 24 January

วันที่ 19 มกราคม หรือเมื่อวานที่ผ่านมา นับเป็นวันครบรอบ 212 ปีของ Edgar Allan Poe นักเขียนและกวีผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งเรื่องราวลึกลับและนวนิยายสืบสวนสอบสวนของอเมริกัน อีกทั้งยังเป็นนักเขียนอเมริกันคนแรก ๆ ที่ทดลองเขียนงานประเภทเรื่องสั้น ยิ่งไปกว่านั้น Poe ยังได้ชื่อว่าเป็นนักเขียนผู้วางรากฐานวรรณกรรมสไตล์ Romanticism ให้กับแวดวงวรรณกรรมอเมริกัน อันเป็นแนววรรณกรรมที่เน้นการนำเสนออารมณ์และเรื่องราวเหนือธรรมชาติ และเป็นที่แพร่หลายในยุโรปก่อนที่จะเข้ามาในอเมริกาผ่าน Poe

แม้เวลาจะผ่านไปหลายศตวรรษ แต่ Poe ผลงานของ Poe ทั้งบทกวีเรื่องหลอน เรื่องสั้นดำมืด หรือนวนิยายสืบสวนสอบสวนที่เผยให้เห็นถึงเนื้อแท้อันอำมหิตของคน ก็ยังส่งแรงบันดาลใจให้ศิลปินยุคหลังอีกมากมาย ตัวละครนักสืบของ Poe อย่าง C. Auguste Dupin ที่ปรากฏตัวครั้งแรกในเรื่องสั้น The Murders in the Rue Morgue (แปลไทยใช้ชื่อว่า ฆาตรกรรมที่ถนนมอร์ก แปลโดย กำพล นิรวรรณ) ก็เป็นแรงบันดาลใจให้ Sir Arthur Conan Doyle หยิบมาเป็นต้นแบบให้แคแรกเตอร์ Sherlock Holmes และยังส่งอิทธิพลต่อนักเขียนชั้นครูอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Jules Verne, H. G. Wells, H. P. Lovecraft รวมไปถึงเจ้าแม่นวนิยายลึกลับสืบสวนสอบสวนอย่าง Agatha Christie และแม้กระทั่งผู้กำกับ Alfred Hitchcock ก็เคยกล่าวว่า “เพราะความหลงใหลที่ผมมีต่อ Edgar Allan Poe จึงทำให้ผมเริ่มต้นทำหนังระทึกขวัญ”

และนอกจากจะส่งอิทธิพลต่อนักเขียนและคนทำหนังแล้ว กลิ่นอายความลึกลับและการสะท้อนภาพความดำมืดในจิตใจของมนุษย์ในงานเขียนของ Poe ก็ยังส่งอิทธิพลให้ศิลปินนักวาดภาพสร้างสรรค์ภาพวาดออกมาเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ตั้งใจทำขึ้นเพื่อประกอบเรื่องสั้นของ Poe และที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องเล่าของ Poe ตั้งแต่ตัวพ่อแห่งศิลปะลัทธิประทับใจอย่าง Edouard Manet ไปจนถึงศิลปินนวศิลป์ (Art Nouveau) คนดังอย่าง Aubrey Beardsley

เนื่องในโอกาสครบรอบ 212 ปีของหนึ่งในนักประพันธ์และกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 19 ผู้สร้างสรรค์โลกแห่งจินตนาการอันหม่นหมองแต่งดงามให้กับผู้รักในวรรณกรรม GroundControl จึงขอรวบรวม 25 ผลงานภาพวาดของศิลปินที่ได้รับแรงบันดาลใจและถ่ายทอดโลกในมุมมืดอันหลอนล้ำของ Edgar Allen Poe มาให้ผู้อ่านชาว GroundControl ได้ดำดิ่งไปด้วยกัน

Harry Clarke, “Morella,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “Morella,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Edouard Manet, “The Raven / Le Corbeau,” (1875)

Edouard Manet, “The Raven / Le Corbeau,” (1875)

Arthur Rackham, “Ligeia,” Tales of Mystery and Imagination (1935)

Arthur Rackham, “Ligeia,” Tales of Mystery and Imagination (1935)

Harry Clarke, “The Fall of the House of Usher,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “The Fall of the House of Usher,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Harry Clarke, “William Wilson,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “William Wilson,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Aubrey Beardsley, “The Masque of the Red Death,” Tales of Mystery and Imagination (1894)

Aubrey Beardsley, “The Masque of the Red Death,” Tales of Mystery and Imagination (1894)

Arthur Rackham, Tales of Mystery and Imagination (1935) (cover and frontis)

Arthur Rackham, Tales of Mystery and Imagination (1935) (cover and frontis)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Arthur Rackham, “The Oval Portrait,” Tales of Mystery and Imagination (1935)

Arthur Rackham, “The Oval Portrait,” Tales of Mystery and Imagination (1935)

Harry Clarke, “The Mystery of Marie Rogêt” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “The Mystery of Marie Rogêt” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Aubrey Beardsley, “The Black Cat,” Tales of Mystery and Imagination (1894)

Aubrey Beardsley, “The Black Cat,” Tales of Mystery and Imagination (1894)

Edouard Manet, “The Raven / Le Corbeau,” (1875) (book cover)

Edouard Manet, “The Raven / Le Corbeau,” (1875) (book cover)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Arthur Rackham, “The Tell-Tale Heart,” Tales of Mystery and Imagination (1935)

Arthur Rackham, “The Tell-Tale Heart,” Tales of Mystery and Imagination (1935)

Harry Clarke, “The Pit and the Pendulum,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “The Pit and the Pendulum,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “The Premature Burial,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “The Premature Burial,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “Silence,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “Silence,” Tales of Mystery and Imagination (1919)

Harry Clarke, “Bon-Bon,” Tales of Mystery and Imagination (1923)

Harry Clarke, “Bon-Bon,” Tales of Mystery and Imagination (1923)

Arthur Rackham, “The Fall of the House of Usher,” Tales of Mystery and Imagination (1935)

Arthur Rackham, “The Fall of the House of Usher,” Tales of Mystery and Imagination (1935)

Aubrey Beardsley, “The Murders in the Rue Morgue,” Tales of Mystery and Imagination (1894)

Aubrey Beardsley, “The Murders in the Rue Morgue,” Tales of Mystery and Imagination (1894)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Gustave Doré, “The Raven” (1883)

Harry Clarke, “Berenice,” Tales of Mystery and Imagination (1923)

Harry Clarke, “Berenice,” Tales of Mystery and Imagination (1923)

อ้างอิง : Edgar Allan Poe, C. Auguste Dupin, Romanticism