17_General-View_Albdorf-768x1152.jpeg

ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป

Post on 17 March
<p><span style="background-color:transparent;color:#000000;"><strong>ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป</strong></span></p>

ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป

<p><span style="background-color:transparent;color:#000000;"><strong>ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป</strong></span></p>

ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป

<p><span style="background-color:transparent;color:#000000;"><strong>ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป</strong></span></p>

ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป

<p><span style="background-color:transparent;color:#000000;"><strong>ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป</strong></span></p>

ภาพความฝันที่ลอยละล่องของ Thomas Albdorf ในปี 2022 ที่ภาพถ่ายไม่จำเป็นต้อง ‘สมจริง’ เสมอไป

หากย้อนเวลากลับไป 20 ปี ตัวเราในปี 2002 คงไม่อาจเชื่อได้เลยว่า สักวันหนึ่งจะมีนวัตกรรมที่ทำให้ ‘ภาพถ่าย’ สามารถถูกสร้างขึ้นใหม่และบิดเบือนได้ด้วยซอฟต์แวร์บางชนิด แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับดูเสมือนจริงราวกับว่าช่างภาพใช้กล้องถ่ายในพื้นที่ด้วยตนเอง จนหลายคนตั้งคำถามว่าในยุคที่เทคโนโลยีสามารถสร้างสรรค์ได้ทุกสิ่งทุกอย่างเช่นนี้ จะส่งผลกระทบต่อวงการศิลปะ รวมถึงวิธีการในการรับสื่อของมนุษย์ต่อไปในอนาคตหรือไม่

ซึ่งสำหรับ Thomas Albdorf ศิลปินและกราฟิกดีไซเนอร์ชาวออสเตรีย เขาทดลองหาจุดเชื่อมโยงระหว่างภาพถ่ายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และภาพถ่ายที่ถูกตัดแต่งรายละเอียดในภายหลัง โดยเขาถ่ายภาพสิ่งของง่าย ๆ อย่างลังกระดาษ กรวยจราจร ดอกไม้ไฟ หลังจากนั้นเขานำภาพมาวางทาบบนฉากหลังในโปรแกรม และถ่ายซ้ำอีก ตัดต่อมันครั้งแล้วครั้งเล่า เลเยอร์ของภาพในโปรแกรมถูกซ้อนทับกันไปมาจนบางทีเขาก็ลืมไปแล้วว่าจุดเริ่มต้นของมันอยู่ที่ไหน ภาพแก้วกระดาษล้มเอียงกะเท่เร่ หรือรองเท้าแตะที่วางตั้งท้าทายแรงโน้มถ่วงนั้นดูสมจริงเกินกว่าที่เราจะพูดได้ทันทีว่านี่คือภาพตัดต่อ Albdorf ผสมผสานความจริงในแบบของภาพถ่าย เข้ากับการจัดวางในแบบของประติมากรรม ทำให้ภาพถ่ายของเขากลายเป็นภาพสะท้อน ‘ความจริง’ ที่ต่อต้านรูปแบบของ ‘ความจริง’ ในตัวของมันเอง

ยิ่งเวลาผ่านไปเท่าไร และในปี 2022 ที่อะไร ๆ ก็สามารถสร้างใหม่ได้แค่ปลายนิ้ว ภาพถ่ายของ Albdorf ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่พิสูจน์ให้เราเห็นว่ากระบวนการของภาพถ่ายไม่ได้สิ้นสุดที่การกดชัตเตอร์ แต่ความจริงที่เกิดขึ้นในภาพถ่ายสามารถถูกตัดทอน บิดเบือน และปรับแต่งออกไปได้อีกไม่สิ้นสุด

อ้างอิง

Instagram : Thomas Albdorf

Metal Magazine

Foam.org