แผนภูมิการศึกษา มายาคติ และการควบคุมทางสังคม

Art
Post on 29 June

(บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือระหว่าง GroundControl และพันธมิตรสื่อทางศิลปะ Protocinema ผู้เผยแพร่สื่อดิจิทัลด้านศิลปะรายเดือน เพื่อนำเสนอมุมมของของศิลปินที่มีต่อสังคมร่วมสมัย การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ โดยดำเนินการผ่าน Protodispatch ผู้เป็นตัวกลางเผยแพร่ข่าวประจำเดือนให้แก่พันธมิตรในเครือ โดย GroundControl ได้รับเกียรติให้เป็นพันธมิตรสื่อเพื่อเผยแพร่บทความในภาษาไทย ร่วมกับ Artnet.com จากนิวยอร์ก และ Argonotlar.com จากอิสตันบูล เพื่อร่วมกันสร้างโครงข่ายของระบบนิเวศน์ทางศิลปะที่เข้มแข็ง และเพื่อให้ผู้สนใจศิลปะชาวไทยสามารถเข้าถึงได้โดยปราศจากกำแพงด้านภาษา)

เขียนโดย Chitra Ganesh
แปลโดย กฤษฏิญา ไชยศรี

Chitra Ganesh, Lantern Head, from the Atlas Series

Chitra Ganesh, Lantern Head, from the Atlas Series

จงเอ่ยความจริงทั้งหมด แต่จงเอ่ยอย่างบิดเบืยน—(1263)
จงเอ่ยความจริงทั้งหมด แต่จงเอ่ยอย่างบิดเบืยน—
เพราะแสงสว่างแห่งความจริงแท้
อาจเจิดจ้าเกินกว่าเราจะรับไหว
จงเอ่ยความจริงอย่างนุ่มนวล
ดังที่เราปลอบโยนเด็กน้อยยามตื่นกลัวสายฟ้าฟาด
ความจริงต้องค่อย ๆ ปรากฏอย่างละมุนละม่อม
มิเช่นนั้น เราอาจตาบอดได้—– เอมิลี่ ดิกคินสัน

Chitra Ganesh, Mother Always Told Me, from Tales of Amnesia

Chitra Ganesh, Mother Always Told Me, from Tales of Amnesia

ฉันมักจะถูกดึงดูดด้วยสิ่งที่ฉันมาตกตะกอนได้ในภายหลังว่าเป็น ‘ภาษาภาพในวัยเด็ก’ ความสนใจของฉันมีจุดเริ่มต้นจากการเติบโตขึ้นมาในฐานะลูกคนเดียวผู้แสนโดดเดี่ยว ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ถึงต้นทศวรรษ 1980 และมีเพื่อนเป็นหนังสือภาพประกอบที่ใช้ข้อความและรูปภาพในการดำเรื่อง ตั้งแต่เรื่องราวเทพนิยายกริมส์ หนังสือ Tell Me Why และการ์ตูนของ อมาร์ จิตรา คธา

ในฐานะนักศึกษาด้านสัญศาสตร์ ฉันหมกมุ่นกับการค้นคว้าระบบสัญญะ และวิธีที่ระบบเหล่านี้ทำงานผ่านภาษาภาพที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการตีแผ่อำนาจสกปรกที่แฝงอยู่ในสิ่งที่เราเสพกันมาตั้งแต่เด็ก ๆ ฉันเริ่มมองเห็นว่าสัญญะเหล่านั้นมีโครงสร้างการทำงานอย่างไร และซุกซ่อนอยู่ตรงไหนในพื้นที่ของระบบศึกษา ทั้งภาพและข้อความเหล่านี้ล้วนถูกดัดแปลงแฝงไว้ในสื่อสอนภาษาของเด็กอย่างแนบเนียน ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน นิทาน และแผนภูมิที่เราเห็นในโรงเรียนประถม ในแง่นี้ ภาษาภาพในวัยเด็กมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการสั่งสอน ทั้งการเป็นพื้นที่รองรับและส่งต่ออุดมการณ์ ด้วยการแปลงภาพและภาษาเหล่านั้นให้กลายเป็นความรับรู้โดยทั่วไป ไม่มีพิษมีภัย และแอบเข้ารหัสทางศีลธรรมหรือสังคมไว้อย่างแนบเนียน

Red Riding Hood in bed with the wolf. Untitled illustration from Les Contes de Perrault, an edition of Charles Perrault's fairy tales illustrated by Gustave Dore, originally published in 1862.

Red Riding Hood in bed with the wolf. Untitled illustration from Les Contes de Perrault, an edition of Charles Perrault's fairy tales illustrated by Gustave Dore, originally published in 1862.

Red Riding Hood in bed with the wolf. Untitled illustration from Les Contes de Perrault, an edition of Charles Perrault's fairy tales illustrated by Gustave Dore, originally published in 1862

Red Riding Hood in bed with the wolf. Untitled illustration from Les Contes de Perrault, an edition of Charles Perrault's fairy tales illustrated by Gustave Dore, originally published in 1862

เมื่อได้มองสิ่งที่ฉันเคยคุ้นเคยในวัยเด็กผ่านแว่นการวิเคราะห์ที่ฉันเพิ่งค้นพบนี้ ฉันก็มองเห็นวิธีการที่ภาพประกอบนิทาน “หนูน้อยหมวกแดง” ครอบครองพื้นที่บนหน้ากระดาษในฐานะสัญญะที่บ่งชี้ถึงความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อเพศหญิงผิวขาวในพื้นที่ห้องนอน ทั้งในแบบที่ ‘อาจจะเกิดขึ้น’ หรือ ‘ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้’ และในขณะเดียวกัน ภาษาภาพเหล่านั้นก็ได้ทำการปลูกฝังความกลัวต่อเพศชายที่มีลักษณะเป็นอื่นไปจากค่านิยมของสังคม (ขนดก ผิวคล้ำ ฯลฯ)

ใน “Alice in Wonderland” ภาพของอลิซที่กระทำการละเมิดกฎเกณฑ์ของสังคม ถูกนำเสนอพร้อมกับผลที่มาจากการละเมิดกฎนั้น ผลจากการละเลยคำเตือนที่บอกว่า ‘ห้ามดื่ม’ ก็คือการที่ตัวของเธอขยายกลายร่างเป็นสัตว์ประหลาดขนาดมหึมา ที่ไม่สามารถอยู่อย่างสุขสบายในร่าง ‘มนุษย์’ ของตัวเองได้อีกต่อไป ร่างมหึมาที่ขยายชิดติดพื้นและกำแพง คุกคามภาพร่างกายมนุษย์อันสมบูรณ์แบบของเธอ และเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของเธอ ในความเป็นจริง โทษทัณฑ์ที่อลิซได้รับนั้นประทับอยู่ในความรับรู้ของผู้คน จนกลายมาเป็นข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ และถูกนำมาใช้เป็นชื่อโรคทางจิตวิทยาอย่างเป็นทางการ นั่นก็คือ “Alice in Wonderland syndrome (AIWS) หรือที่เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า Todd's Syndrome หรือ Dysmetropsia ซึ่งอธิบายสภาวะที่ประสาทการรับรู้ของผุ้ป่วยถูกที่บิดเบือน ผู้ป่วยโรคนี้จะมองเห็นวัตถุที่บิดเบี้ยว เช่น มีขนาดเล็กลง (micropsia) หรือใหญ่ขึ้น (macropsia) หรือดูเหมือนอยู่ใกล้ (pelopsia) หรือไกลออกไป (teleopsia) มากกว่าความเป็นจริง

ฉันได้พบกับร่องรอยของสัญญะวิทยาในภาษาภาพของเด็กอีกครั้ง ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมา ขณะกำลังเก็บของในสตูดิโอของตัวเอง โดยมันได้ปรากฏตัวในรูปของภาพวาดแผนภูมิให้ความรู้ที่ฉันค้นเจอในสภาพเปื่อยยุ่ย และถูกเก็บไว้ในห่อพลาสติก นี่คือสองตัวอย่างที่ฉันเห็นว่าน่าสนใจ:

Ideal Boy Good Habits Poster, Multiple publication sources including India Book Depot, Delhi

Ideal Boy Good Habits Poster, Multiple publication sources including India Book Depot, Delhi

People of India: Cruise Stores, 80, Fruit Market, Madras

People of India: Cruise Stores, 80, Fruit Market, Madras

แผนภูมิให้ความรู้แบบนี้ถูกผลิตขึ้นในช่วงหลังอินเดียได้รับเอกราช และโดยทั่วไปจะถูกพิมพ์ด้วยเทคนิคการพิมพ์ออฟเซ็ตสี่สี ภาพพิมพ์หิน และภาพเขียนสี ภาพแผนภูมิเหล่านี้ได้กลายเป็นของสะสมยอดฮิตสำหรับเหล่านักสะสมฮิปสเตอร์ชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในอินเดีย เช่นเดียวกับสิ่งพิมพ์ของอินเดียอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โปสเตอร์หนังบอลลีวูดวินเทจ ปกอัลบั้มเพลง กล่องไม้ขีดไฟ ฯลฯ ในปี 2001 แผนภูมิให้ความรู้เหล่านี้ได้ถูกนำมารวบรวมไว้ในหนังสือโต๊ะกาแฟ (coffee book table) ที่ชื่อว่า ‘The Ideal Boy’ ซึ่งคนที่ซื้อหนังสือเหล่าก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากผู้ชื่นชอบศิลปะจากทั่วโลก หนังสือเล่มนี้ได้ให้คำนิยามแก่รูปแบบการใช้สัญญะในแผนภูมิให้ความรู้ของอินเดียเหล่านี้ว่าเป็น “ผลงานที่สะท้อนและสำรวจภาพสังคมอินเดียได้อย่างงดงามและน่าสนใจ แผนภูมิเหล่านี้มีเนื้อหาครอบคลุมทุกประเด็นความรู้ และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในอินเดีย ตั้งแต่รถเข็นริมถนน ไปจนถึงร้านค้าขนาดใหญ่ แม้ว่าจุดประสงค์จะเป็นไปเพื่อการศึกษา แต่แผนภูมิเหล่านี้ยังทำหน้าที่เป็นเครื่องปลูกฝังศีลธรรมและพฤติกรรมทางสังคม และยังนำเสนอข้อคิดสอนใจได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ”

‘Ideal Boy Good Habits’ เป็นหนึ่งในแผนภูมิที่นำเสนอตัวอย่างการปลูกฝังค่านิยมทางสังคมได้อย่างชัดเจนที่สุด และยังมีแผนภูมิอีกชุดหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน นั่นก็คือ ‘People of India’ โดยภาษาภาพในแผนภูมิทั้งสองชิ้นล้วนถูกนำเสนอผ่านการใช้รูปทรงเรียบง่ายและสีสันแสนสดใส ซึ่งให้ความรู้สึกขัดแย้งกับความพยายามในตัวมัน ที่จะปลูกฝังค่านิยมและพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งถูกสอดแทรกอำพรางอยู่ในภาพที่ปรากฏในแผนภูมิเหล่านี้ เช่นเดียวกับภาษาของภาพตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์ การเกิดขึ้นของแผนภูมิเด็กชายในอุดมคติ และคนอินเดียในอุดมคติ เผยให้เราเห็นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจบางประการ อย่างแรกก็คือ กระบวนการ ‘จัดประเภทหมวดหมู่’ (catagories) ที่เผยให้เห็นค่านิยมที่ถูกยกย่องเชิดชู ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือการหายไปอย่างน่าสงสัยของแผนภูมิ ‘The Ideal Girl’ ซึ่งก็เป็นข้อเท็จจริงที่ถูกเปิดเผยเพราะการมีอยู่ของตัวแผนภูมิเด็กผู้ชายเอง

แผนภูมิ ‘ผู้คนในอินเดีย’ ยังเผยให้เห็นข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง คือเมื่อนำโปสเตอร์สื่อการสอนที่คล้ายคลึงมาไว้รวมกัน จะเห็นว่าสื่อการศึกษาเหล่านี้ได้กลายเป็นคลังสื่อที่ถูกพัฒนาขึ้นในยุคหลังอินเดียได้รับเอกราช ซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราสามารถเห็นโปสเตอร์เหล่านี้ได้ในร้านเครื่องเขียน หรือไม่ก็ถูกติดไว้บนกำแพงห้องเรียน โปสเตอร์เหล่านี้ได้ผสมผสานทั้งการใช้ภาพ ข้อความ และตาราง เพื่อสร้างและจำแนกข้อมูลที่เด็กวัยเรียนต้องรู้ ตั้งแต่ตัวอักษรและตัวเลข ไปจนถึงวันหยุด อนุสาวรีย์ ตลอดจนหลักปฏิบัติทางสังคมและศีลธรรม จนทำให้มันเป็นเหมือนกับชั้นเรียน ‘วิชาคุณธรรม’ ที่กลายเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาในยุคหลังอินเดียได้รับเอกราช และในภายหลัง ภาพจากจินตนาการเหล่านี้ก็ผสานกลมกลืนจนกลายเป็นค่านิยมทางศีลธรรมและสังคม แปลงพื้นที่ในสังคมให้กลายเป็นพื้นที่แห่งความหมายไม่ต่างจากภาพโลกเข้ารหัสใน The Matrix กลไกการทำงานข้อหลังนี้ได้กลายเป็นคำอธิบายและเครื่องมือเผยแพร่เอกลักษณ์ของชาติในยุคหลังอาณานิคม ในแง่ที่ว่า กระบวนการเข้าสัญญะที่ปรากฏอยู่ในแผนภูมิเหล่านี้ ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับรูปแบบพฤติกรรมและอัตลักษณ์ความเป็นชาติที่ได้รับการยอมรับ และถูกกำหนดให้เป็นบรรทัดฐานของสังคม

เฟอร์ดินันด์ เดอ โซซูส์ (Ferdinand de Saussure) หนึ่งในผู้ก่อตั้งทฤษฎีสัญศาสตร์ เคยกล่าวว่า "บทบาทของสัญญะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทางสังคม มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจิตวิทยาทางสังคม และต่อมาก็ได้กลายเป็นจิตวิทยาโดยทั่วไป” เมื่อใช้กระบวนทัศน์ดังกล่าวกับแผนภูมิ ‘People of India’ จะเห็นได้ชัดว่า ลักษณะสำคัญของสำนึกทางจิตเกี่ยวกับชาติอินเดียหลังได้รับเอกราช ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาภาพในห้องเรียน ก็คือการทำให้ศาสนา ชาติพันธุ์ และภูมิภาคอันหลากหลายในอินเดีย ควบรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และดำรงอยู่ควบคู่ไปกับช่องโหว่ที่ปรากฏขึ้นจากการหายไปของวรรณะอันต่ำต้อย ที่ซึ่งวรรณะที่อยู่ต่ำลงไปอย่างทลิตและอดิวาสีกลับถูกมองข้าม หรือถึงขั้นไม่มีค่าพอที่จะถูกนำมาประเมินเพื่อจัดเข้าประเภท

นอกจากตัวอย่างทางวัฒนธรรมจากทั้งรัฐพื้นเมืองและรัฐหลังการแบ่งอินเดีย แผนภูมิผู้คนอินเดียนี้ยังแสดงอัตลักษณ์ทางศาสนาที่หลากหลาย ได้แก่ คริสเตียน, อิสลามสองรูปแบบ ('โมฮัมเหม็ด' และ 'โบห์รี') ปาร์ซี, ซิกข์, อดิวาซี รวมถึงอัตลักษณ์ประจำภูมิภาค/ศาสนา ที่สะท้อนถึงความเชื่อมโยงอันหลากหลายทางวัฒนธรรมในอินเดีย (แคชเมียร์ คริสเตียน เนปาล) การวิเคราะห์ความหมายเชิงสัญญะและสัญลักษณ์ที่ซุกซ่อนอยู่ในภาษาภาพในวัยเด็ก เปิดให้เราได้เห็นว่า แม้กระทั่งสื่อการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานที่พยายามเผยแพร่ภาพของสังคมอินเดียที่มีวัฒนธรรมรวมเป็นหนึ่งเดียว หรือแม้กระทั่งความพยายามของรัฐบาลอินเดียที่แอนตี้และบังคับใช้ความรุนแรงกับชาวมุสลิม ก็ยังไม่อาจกำจัดภาพอินเดียอันหลากหลายไปได้

ท้ายที่สุด แผนภูมิอาหาร:

Food Chart, from Artist's Collection

Food Chart, from Artist's Collection

ประกอบกับภาพตัวอย่างที่ถูกจัดวางในรูปของตารางธาตุ พร้อมด้วยข้อความให้ความรู้เรื่องวิตามินแต่ละชนิด ทำให้ผู้ชมรู้สึกได้ถึงความน่าเชื่อถือถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ เมื่อความรุนแรงทางชนชั้นวรรณะมาจากคำสั่งของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนลัทธิมังสวิรัติ ศาสนาฮินดู และการเลือกปฏิบัติทางวรรณะ แผนภูมิโภชนาการที่แปลกประหลาดนี้กลับนำเสนอเนื้อสัตว์ในฐานะองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ในทุกกลุ่มวิตามินและหมวดหมู่ทางโภชนาการที่จำเป็นทั้งหมด

การรวมเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ไว้ในแผนภูมิวิทยาศาสตร์เช่นนี้ เป็นการนำเสนอเนื้อสัตว์ในฐานะองค์ประกอบหลักที่ขาดไม่ได้ในเชิงโภชนาการ นอกจากไก่และปลาแล้ว เรายังเห็นภาพซ้ำ ๆ ของเครื่องใน เนื้อแกะ และจานเนื้อที่ไม่ได้ระบุประเภทอีกสองจาน และที่ทำให้ฉันประหลาดใจที่สุดก็คือ หนึ่งในภาพตัวอย่างที่ดูยังไงก็เป็นสเต็กอย่างแน่นอน เมื่อมองว่ารัฐบาลปัจจุบันของอินเดียได้ใช้การบริโภคอาหารมาเป็นอาวุธในการโจมตีทางศาสนา โดยเฉพาะการผนวกรวมกลุ่มคนฮินดูที่รับประทานมังสวิรัติเข้ากับกลุ่ม Gau Raskha หรือขบวนการต่อต้านการบริโภควัวในอินเดีย เพื่อข่มขู่และกดดันชุมชนชาวมุสลิมซึ่งเป็นผู้บริโภคเนื้อวัว การปรากฏของภาพเนื้อสเต็กที่มุมขวาล่างของแผนภูมิอายุเก่าแก่นี้อย่างตรงไปตรงมา ก็เป็นสิ่งเตือนใจถึงอิทธิพลของภาษาภาพที่สามารถส่งอิทธิพลต่อการรับรู้โลกของเด็ก ๆ ได้ ที่ซึ่งร่องรอยของหลักฐานได้สะท้อนว่า ข้อเท็จจริงที่ถูกบิดเบือนโดยผู้นำศาสนาหัวรุนแรงนั้น เพิ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เป็นชุดความจริงที่เพิ่งสร้างเท่านั้นเอง

Chitra Ganesh, Collage of chart ephemera fragments

Chitra Ganesh, Collage of chart ephemera fragments

ทุกวันนี้ เราสามารถเห็นชุดข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากกราฟิกและข้อความอันเรียบง่ายได้ทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าเราจะอยู่ในพื้นที่ใดของโลก ทุกที่ที่สายตาของเรากวาดไปถึง สามารถมองเห็นตัวอย่างการสร้างความหมายผ่านภาพได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นข่าวโทรทัศน์ที่มีภาพเคลื่อนไหว แถบคำบรรยาย กราฟิกข้อมูล และข้อความเลื่อนด้านล่าง โดยที่ทั้งหมดนี้รวมกันอยู่บนหน้าจอ/หน้าเว็บเดียว ชุดอีโมจิมีที่ใช้ในการสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกหรือความคิดที่ซับซ้อน และอานุภาพทางวัฒนธรรมของมีมที่สามารถทั้งทำลายและเชิดชูบรรทัดฐานทางสังคมบางประการ ไปจนถึงการพุ่งทะยานของเทรนด์ ‘ดิจิทัลแบล็คเฟซ’ ที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายบนโลกโซเชียล รูปแบบภาษาภาพที่อื่น ๆ ที่มีแนวโน้มอันตรายยังได้แก่ มีมข่าวปลอมซึ่งถูกส่งต่ออย่างแพร่หลายในกรุ๊ป WhatsApp ของอินเดีย ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความเกลียดชัง แถมยังอำพรางตัวอย่างแยบยลภายใต้โฉมหน้าการเป็นข้อมูลธรรมดา ๆ ที่ถูกส่งต่อกันในกลุ่มแชทของครอบครัว ในสหรัฐอเมริกายังมีความพยายามผลักดันอย่างไม่หยุดยั้งในบางรัฐ ให้มีการเขียนตำราเรียนสำหรับเด็กขึ้นมาใหม่ รวมไปถึงการแบนชื่อครูที่ปฏิเสธการมีอยู่ของประวัติศาสตร์การค้าทาส ครูที่สอนนักเรียนว่าการทำแท้งเท่ากับการฆาตกรรม และสอนว่าเด็กข้ามเพศหรือเด็กที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นคนป่วย ภาษาภาพในรูปแบบเหล่านี้มีอานุภาพในการทำงานที่กว้างไกลกว่าภาษาภาพบนโปสเตอร์ เพราะมันได้แฝงฝังเข้าไปอยู่ในพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวที่สุด ทั้งในรูปแบบของดิจิทัล และการปะทะสังสรรค์ระหว่างมนุษย์

สุดท้ายแล้ว การรื้อค้นและทำความเข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ในภาพธรรมดา ๆ ที่เราอาจมองข้าม ได้กลายเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนมากขึ้นทุกวัน ๆ แต่ด้วยการปฏิเสธที่จะมองข้อความเหล่านั้นแค่ในแบบที่มันเป็น แม้ว่าพวกมันจะได้แทรกซึมและฝังตัวอยู่ในจินตนาการของเราโดยที่เราแทบไม่รู้ตัว ถ้าหากเราตระหนักรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ส่งอิทธิพลในแง่ของอุดมการณ์แก่เรา เมื่อนั้นเองที่เราจะสามารถแทรกแซงความหมายอันเป็นพิษที่มาพร้อมกับภาพที่ดูไม่มีอะไรเหล่านี้ได้

ในแง่นี้ ภาษาภาพในวัยเด็กและรูปแบบกราฟิกอื่น ๆ ก็สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่เมีศักยภาพในการปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระ เช่นเดียวกับที่ตัวมันทำหน้าที่กดขี่และบิดเบือนความจริงต่อเรา การแยกแยะภาพที่เราคุ้นชินในชีวิตประจำวันได้มอบเครื่องมือสำคัญสำหรับการปฏิวัติให้แก่เราทุกคน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการร่วมมือ เพื่อนำมาซึ่งวาทกรรมทางเลือกที่หลากหลายและทรงพลัง อันสามารถเปิดให้เราได้จินตนาการถึงโลกที่มีการแบ่งขั้วน้อยลง และมีอิสระเสรีมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม

The mythos and violence of a vegetarian India

The Myth of the Indian Vegetarian Nation
The Meaning of India's 'Beef Lynchings’:
The rise in anti-Muslim violence under Modi suggests that the demons of the country’s past are very much alive.

Hyderabad Deccan News Footage of Meat Related Mob Violence in Gujarat
Muslim Man Accused of Eating Beef is Beaten to Death in India

Cow Vigilante Violence in India

‘Liberals’ have converted the social cause of Gau Raksha into a social evil

India: The Modi Question

Orijit Sen, Haleem Makers

Zomato Deletes Ad After Backlash Over Dehumanizing Portrayal of Dalit Character

Rewriting textbooks to promote misinformation

Hindutva Push Through Textbooks

Rewriting History: Akbar Lost to Maharana Pratap; Mahatma, Nehru missing from texts

Two States. Eight Textbooks. Two American Stories

The rightwing US textbooks that teach slavery as 'black immigration'

Revised Florida Textbook Left Race Out of Rosa Parks History

Why Calling Slaves Guestworkers is more than an Editing Error

India History Books Rewritten by Government

Mughals, RSS, evolution: Outrage as India edits school textbooks
India’s right-wing government removes significant historical and scientific facts from textbooks as it pursues a Hindu supremacist agenda.

Rajasthan Textbooks Revised to Glorify Modi Government: From surgical strikes to demonetisation, the new textbooks mention every decision as 'revolutionary' and claim that the Congress wanted to prolong British rule

Math, Faiz, Democracy: What BJP Really Wants To Drop From Textbooks Is 'Reason'

Modi govt looks to rewrite Indian history to justify Hindu nationalism

Semiotics, Comics, and Charts

Subversive Ideal Girl Chart made by students of Srishti College of Design

Mythologies, Roland Barthes

Understanding Comics, Scott Mc Cloud

Theories and Practices of Multimodal Education: The. Instructional Dynamics of Picture. Books and Primary Classrooms, Dawnene D. Hassett & Jen Scott Curwood