สำรวจอักษร ลายเส้น และเรื่องราวสัมผัสใจบนแนวคิดจิตวิทยาของ Rhythm

Post on 27 May

อาจจะเป็นเพราะการแนะนำตัวของ ‘Rhythm’ หรือ ‘ฟลุ๊ค-อัคร์ภพ ขรรค์ศร’ ที่บอกเราว่าสมัยเป็นนักศึกษาเขาผ่านการลองผิดลองถูกมาถึงสามสาขา ตั้งแต่คณะสถาปัตย์ จิตวิทยา ก่อนจะจบออกมาในสาขามัลติมีเดีย (แอนิเมชั่น) จนทำให้เขากลายเป็นคนทำแอนิเมชันที่รักในงานเขียน แต่ก็ไม่ทิ้งการวาดภาพ ทำให้เรารู้สึกได้เลยว่า ภาพลายเส้นสบายตากับสีสันละมุน ๆ ประกอบงานเขียนที่เราเห็นอยู่ตรงหน้านี้ ต้องไม่ใช่งานที่มาจากความคิดเพียงชั่วครู่ แต่เป็นสิ่งที่ผ่านการคิดมาหลายชั้นกว่าจะรวมเป็นองค์ประกอบที่เรามองเห็น

Rhythm บอกกับเราว่าในตอนนี้เขาประกอบอาชีพเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ที่ Awakening Creative และเป็น Creative ที่ We Oneness แต่ถ้าจะให้นิยามตัวเองจริง ๆ ก็คงจะใช้คำว่า ‘นักเขียน’ และ ‘นักวาด’ มากกว่า ซึ่งหลังจากแนะนำตัวกันคร่าว ๆ บวกกับได้มองเห็นแนวทางความชอบของเขาอย่างชัดเจนแล้ว บทสนทนาที่ลงลึกไปถึงเรื่องกระบวนการงานวาดและแรงบันดาลใจจากทฤษฎีจิตวิทยาก็ได้เริ่มต้นขึ้นอย่างไหลลื่น

“จริง ๆ แล้ว ก่อนหน้านี้เราเคยทำงานเขียนเรื่องสั้นลงในเพจ Rhythm มาก่อน ซึ่งตั้งแต่ทำงานเขียนออนไลน์มา เราจะใช้ภาพประกอบที่เป็นภาพถ่าย หรือไม่ก็เป็นอาร์ตเวิร์คที่สามารถหาองค์ประกอบต่าง ๆ ได้จากคอมพิวเตอร์ในเครื่องเดียว”

“จนกระทั่งเมื่อสองสามปีก่อน เราอยากพัฒนางานเขียนของตัวเองให้มีเอกลักษณ์มากขึ้นมา เลยอยากทำภาพประกอบที่วาดด้วยตัวเองขึ้นมา ซึ่งจากการตัดสินใจครั้งนั้นมันก็ได้พาเรากลับไปฝึกวาดรูปอีกครั้ง คือก่อนหน้านี้เราทิ้งสกิลการวาดรูปเอาไปนานมาก ๆ ทั้ง ๆ ที่เราเรียนแอนิเมชั่น และเคยเรียนสถาปัตย์มาก่อน รวมถึงชั่วโมงศิลปะในช่วงมัธยมหรือประถม เท่าที่จำได้ เรามีความสุขกับการได้วาดรูปมาตลอด ตอนนี้เลยเป็นโอกาสที่ดีที่ได้กลับมาทำอะไรที่เรารักอีกครั้ง”

เขายังเล่าถึงที่มาและแรงบันดาลใจต่าง ๆ ของงานที่ทำในตอนนี้ด้วยว่า “ส่วนเรื่องแรงบันดาลใจในการวาดภาพเราได้ไอเดียมาจากปกหนังสือนิยาย Sci-fi ช่วงยุค 90s มาก ภาพปกส่วนใหญ่จะเป็นภาพ Perspective ที่ไม่ได้บอกเรื่องราวอะไรมาก แต่ทิ้งสัญลักษณ์บางอย่างเอาไว้ให้รู้สึก กับอีกแรงบันดาลใจหนึ่งก็คืองานของ วินเซนต์ แวนโกะห์”

“ซึ่งจริง ๆ ก่อนที่จะรู้ตัวว่าชอบแวนโกะห์ เราชอบเพลง Clair De Lune ของ โกลด เดอบูว์ซี เป็นพิเศษ มีคนเคยแปลความหมายของเปียโนเพลงนี้ไว้ว่า ‘Moon Light, smooth and lone’ มันสุขและเศร้าในคราวเดียวกัน นานมาแล้ว เรามักฟังเพลงนี้คลอไประหว่างทำงานเขียน จะว่าบังเอิญก็ได้ที่มีคนเอารูป Starry Night มาทำเป็นภาพหน้าปกของเพลงนี้ใน Youtube เราเลยดันชอบของแวนโกะห์ไปด้วยซะเลย ด้วยลายเส้น ด้วยผิวสัมผัสมันทำให้เรารู้สึกทั้งสุขและเศร้าในคราวเดียวกันได้ เลยคิดว่างานของเราได้แรงบันดาลใจหลัก ๆ มาจากสองทางนี้”

หลังจากพูดคุยกันเรื่องแรงบันดาลใจแล้ว Rhythm ยังชวนเราคุยถึงสิ่งที่เรียกว่า Animus และ Anima ที่เขาได้เรียนรู้มาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาของ คาร์ล ยุง อันเป็นที่มาของ ‘ตัวละครหญิง’ ในงานวาดของเขาด้วย
.
“ถ้าลองสังเกต จะเห็นว่าภาพของเราจะมีตัวละครหญิงคนหนึ่งอยู่ในนั้นเสมอ เพราะเธอเป็นตัวแทนของภาพและการเล่าเรื่องที่เราตั้งใจใส่ลงไป อันนี้จะอิงมาจากงานเขียนส่วนใหญ่ของเรา ที่ชอบใช้ตัวละครตัวนี้ดำเนินเรื่อง เป็นตัวแทนของความคิด ความรู้สึก และจิตใจ จนมีคนเคยนึกว่านักเขียนเป็นผู้หญิง แต่จริง ๆ แล้วเป็นผู้ชายปกติในชีวิตจริงนี่แหละครับ”

“ถ้าให้อธิบาย ก็คือต้องย้อนไปตอนที่เราเคยเรียนจิตวิทยา ตอนนั้นเราศึกษางานของ คาร์ล ยุง มามากพอสมควร ซึ่งจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่บอกว่ามนุษย์เรา ไม่ว่าจะชายหรือหญิง เราต่างมีความเป็นทั้งชายและหญิงอยู่ในตัวเอง ความเป็นชายในตัวผู้หญิงคือ Animus ส่วนความเป็นหญิงในตัวผู้ชายคือ Anima และเราคิดว่าเราใช้ Anima ในตัวเรา สื่อสารทั้งงานเขียนและงานภาพออกมา”

“ส่วนเอกลักษณ์อีกข้อหนึ่ง คิดว่างานของเราเกือบทั้งหมด เป็นสัญลักษณ์ของมโนภาพภายในจิตใจและจิตวิญญาณ อาจจะเพราะเราหลงใหลเรื่องนี้ อาจจะเพราะเราเคยศึกษามา หรืออาจจะเพราะตัวเราเองในอดีตก็เคยมีบาดแผลและความสับสนไม่น้อย เราเลยรู้สึกอยากเล่าเรื่องราวเหล่านี้ผ่านงานของเรา เพราะเราเข้าใจว่าความรัก ความเจ็บปวด ความเศร้า ความสุข และอีกหลาย ๆ สิ่งที่วนเวียนกันอยู่ในตัวมนุษย์อย่างเรา มันยากที่จะอธิบายออกมา และยากเข้าไปอีกที่จะมีใครเข้าใจ เลยคิดว่าอย่างน้อย สิ่งเล็ก ๆ ที่เราพอทำได้เช่นงานศิลปะ อาจจะเป็นเพื่อนใจให้ใครสักคนได้บ้าง”

เขายังเล่าถึงวิธีการฝึกฝนการทำงานให้เราฟังด้วยว่า “เราชอบวาดภาพด้วยดินสอตั้งแต่เด็ก พักหลังมานี้เลยลองหาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อหาวิธีประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น เลยได้ลองใช้สีชอล์ค สีน้ำ สีน้ำมัน หรืองาน Digital Art แต่ลองแล้วมันก็ไม่เวิร์ค แบบพอทำ ๆ ไปแล้วมันรู้สึกว่างานไม่ใช่ของเรา เราเลยกลับมาที่สีไม้และดินสอ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นงานที่ต้องใช้เวลากับมันพอสมควรถ้าเทียบกันด้วยขนาดเฟรมภาพกับงานชนิดอื่น แต่ยังไงก็ตาม เรามีสมาธิกับมันมากที่สุด”

“เรามองว่าเทคนิคที่สำคัญ คือการเค้นสิ่งที่อยู่ภายในของเราออกมา คือการสื่อสารกับธรรมชาติในตัวเรา ส่วนเรื่องที่ว่าจะใช้สีอะไร วิธีไหน เราว่ามันเป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่เราถนัดมากกว่า ดังนั้น สิ่งที่เราให้ความสำคัญอันดับหนึ่งคือการรู้จักตัวเอง รู้ว่าเราหลงใหลอะไร รู้ว่าใจของเราต้องการจะพูดอะไร จากนั้น เรื่องที่ว่าเราจะสื่อสารอะไร ผ่านอุปกรณ์แบบไหน หรือรูปแบบอะไร มันจะค่อย ๆ ตามมาเองครับ”

และด้วยความที่เขาควบตำแหน่งทั้งนักวาดและนักเขียนทำให้ต้องมีการแบ่งบทบาทการทำงานแตกต่างกันออกไป ซึ่งเขาก็ได้แชร์ในส่วนนี้ว่า “เรามองว่าทั้งสองคืองานศิลปะเหมือนกัน งานหนึ่งเป็นศิลปะด้านภาษา ส่วนอีกงานเป็นศิลปะของภาพ แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ตรงที่งานเขียนอาจมีการใช้ตรรกะเหตุผลเข้ามาผสมกับอารมณ์ความรู้สึกอยู่ไม่น้อย แล้วยังต้องรวมกับองค์ความรู้เรื่องการเขียนบท เรื่องการเล่าเรื่อง การวางพล็อต ฯลฯ หลายสิ่งหลายอย่างจะทำงานรวมกันอยู่ในหัว ดังนั้นจะพูดได้ว่างานเขียนเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิสูงกว่า”

“ส่วนงานวาด ขอแค่อยู่ในช่วงเวลาที่สมาธิ ก็ปล่อยใจทำงานไปได้เลยครับ ไม่ต้องใช้ความคิดอะไรมาก หลายคนเคยคิดว่านักวาดเก่ง ๆ ที่วาดอะไรออกมาแปลกใหม่ เรามองว่าเขาไม่ได้คิดเก่งครับ เขาเป็นนักทดลองที่เก่งมากต่างหาก ถ้ามีเวลา มีสมาธิ และได้ใช้เวลาอยู่ในห้องทดลองเป็นวันๆ ยังไงก็สามารถละเลยภาพออกมาได้ครับ เพราะส่วนใหญ่แล้ว งานศิลปะเกิดขึ้นจากอารมณ์และความรู้สึกที่ตกตะกอนพร้อมจะสร้างขึ้นมา เพราะถ้ายิ่งคิด ยังไงก็คิดไม่ออก”

หลังจากพูดคุยกันเรื่องแรงบันดาลใจแล้ว Rhythm ยังชวนเราคุยถึงสิ่งที่เรียกว่า Animus และ Anima ที่เขาได้เรียนรู้มาจากทฤษฎีทางจิตวิทยาของ คาร์ล ยุง อันเป็นที่มาของ ‘ตัวละครหญิง’ ในงานวาดของเขาด้วย

“ถ้าลองสังเกต จะเห็นว่าภาพของเราจะมีตัวละครหญิงคนหนึ่งอยู่ในนั้นเสมอ เพราะเธอเป็นตัวแทนของภาพและการเล่าเรื่องที่เราตั้งใจใส่ลงไป อันนี้จะอิงมาจากงานเขียนส่วนใหญ่ของเรา ที่ชอบใช้ตัวละครตัวนี้ดำเนินเรื่อง เป็นตัวแทนของความคิด ความรู้สึก และจิตใจ จนมีคนเคยนึกว่านักเขียนเป็นผู้หญิง แต่จริง ๆ แล้วเป็นผู้ชายปกติในชีวิตจริงนี่แหละครับ”

“ถ้าให้อธิบาย ก็คือต้องย้อนไปตอนที่เราเคยเรียนจิตวิทยา ตอนนั้นเราศึกษางานของ คาร์ล ยุง มามากพอสมควร ซึ่งจะมีอยู่ช่วงหนึ่งที่บอกว่ามนุษย์เรา ไม่ว่าจะชายหรือหญิง เราต่างมีความเป็นทั้งชายและหญิงอยู่ในตัวเอง ความเป็นชายในตัวผู้หญิงคือ Animus ส่วนความเป็นหญิงในตัวผู้ชายคือ Anima และเราคิดว่าเราใช้ Anima ในตัวเรา สื่อสารทั้งงานเขียนและงานภาพออกมา”

“ส่วนเอกลักษณ์อีกข้อหนึ่ง คิดว่างานของเราเกือบทั้งหมด เป็นสัญลักษณ์ของมโนภาพภายในจิตใจและจิตวิญญาณ อาจจะเพราะเราหลงใหลเรื่องนี้ อาจจะเพราะเราเคยศึกษามา หรืออาจจะเพราะตัวเราเองในอดีตก็เคยมีบาดแผลและความสับสนไม่น้อย เราเลยรู้สึกอยากเล่าเรื่องราวเหล่านี้ผ่านงานของเรา เพราะเราเข้าใจว่าความรัก ความเจ็บปวด ความเศร้า ความสุข และอีกหลาย ๆ สิ่งที่วนเวียนกันอยู่ในตัวมนุษย์อย่างเรา มันยากที่จะอธิบายออกมา และยากเข้าไปอีกที่จะมีใครเข้าใจ เลยคิดว่าอย่างน้อย สิ่งเล็ก ๆ ที่เราพอทำได้เช่นงานศิลปะ อาจจะเป็นเพื่อนใจให้ใครสักคนได้บ้าง”

เขายังเล่าถึงวิธีการฝึกฝนการทำงานให้เราฟังด้วยว่า “เราชอบวาดภาพด้วยดินสอตั้งแต่เด็ก พักหลังมานี้เลยลองหาเทคนิคใหม่ ๆ เพื่อหาวิธีประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น เลยได้ลองใช้สีชอล์ค สีน้ำ สีน้ำมัน หรืองาน Digital Art แต่ลองแล้วมันก็ไม่เวิร์ค แบบพอทำ ๆ ไปแล้วมันรู้สึกว่างานไม่ใช่ของเรา เราเลยกลับมาที่สีไม้และดินสอ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นงานที่ต้องใช้เวลากับมันพอสมควรถ้าเทียบกันด้วยขนาดเฟรมภาพกับงานชนิดอื่น แต่ยังไงก็ตาม เรามีสมาธิกับมันมากที่สุด”

“เรามองว่าเทคนิคที่สำคัญ คือการเค้นสิ่งที่อยู่ภายในของเราออกมา คือการสื่อสารกับธรรมชาติในตัวเรา ส่วนเรื่องที่ว่าจะใช้สีอะไร วิธีไหน เราว่ามันเป็นเรื่องของอุปกรณ์ที่เราถนัดมากกว่า ดังนั้น สิ่งที่เราให้ความสำคัญอันดับหนึ่งคือการรู้จักตัวเอง รู้ว่าเราหลงใหลอะไร รู้ว่าใจของเราต้องการจะพูดอะไร จากนั้น เรื่องที่ว่าเราจะสื่อสารอะไร ผ่านอุปกรณ์แบบไหน หรือรูปแบบอะไร มันจะค่อย ๆ ตามมาเองครับ”

และด้วยความที่เขาควบตำแหน่งทั้งนักวาดและนักเขียนทำให้ต้องมีการแบ่งบทบาทการทำงานแตกต่างกันออกไป ซึ่งเขาก็ได้แชร์ในส่วนนี้ว่า “เรามองว่าทั้งสองคืองานศิลปะเหมือนกัน งานหนึ่งเป็นศิลปะด้านภาษา ส่วนอีกงานเป็นศิลปะของภาพ แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ตรงที่งานเขียนอาจมีการใช้ตรรกะเหตุผลเข้ามาผสมกับอารมณ์ความรู้สึกอยู่ไม่น้อย แล้วยังต้องรวมกับองค์ความรู้เรื่องการเขียนบท เรื่องการเล่าเรื่อง การวางพล็อต ฯลฯ หลายสิ่งหลายอย่างจะทำงานรวมกันอยู่ในหัว ดังนั้นจะพูดได้ว่างานเขียนเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิสูงกว่า”

“ส่วนงานวาด ขอแค่อยู่ในช่วงเวลาที่สมาธิ ก็ปล่อยใจทำงานไปได้เลยครับ ไม่ต้องใช้ความคิดอะไรมาก หลายคนเคยคิดว่านักวาดเก่ง ๆ ที่วาดอะไรออกมาแปลกใหม่ เรามองว่าเขาไม่ได้คิดเก่งครับ เขาเป็นนักทดลองที่เก่งมากต่างหาก ถ้ามีเวลา มีสมาธิ และได้ใช้เวลาอยู่ในห้องทดลองเป็นวันๆ ยังไงก็สามารถละเลยภาพออกมาได้ครับ เพราะส่วนใหญ่แล้ว งานศิลปะเกิดขึ้นจากอารมณ์และความรู้สึกที่ตกตะกอนพร้อมจะสร้างขึ้นมา เพราะถ้ายิ่งคิด ยังไงก็คิดไม่ออก”

**‘Stone on Back : ก้อนหินบนหลัง**

‘Stone on Back : ก้อนหินบนหลัง

“บางสิ่ง…ที่เธอแบกรับเอาไว้ เหนี่ยวรั้งเอาไว้
หรือไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามที่เธอผูกมันไว้กับชีวิต
ฉันหวังว่าสิ่งเหล่านั้น คงจะมีความหมายต่อเธอ
เพราะถ้าไม่…หัวใจของเธอคงจะหนักหนาสาหัส
เพราะเธอต้องทนรับน้ำหนักที่ไม่มีประโยชน์ต่อเธอ”
.
ภาพนี้เป็นภาพประกอบเรื่องสั้นของคนคนหนึ่งซึ่งมีชีวิตอยู่ในหมู่บ้านประหลาด ที่ทุกคนจะต้องแบกก้อนหินยักษ์เอาไว้บนหลังของตัวเอง ไม่มีใครรู้ว่าแบกเอาไว้ทำไม และไม่มีใครรู้ว่าความหนักหน่วงที่ไม่จำเป็นในชีวิตเกิดขึ้นได้เพราะอะไร เพราะทุกคนต่างต้องแบกบางสิ่งเอาไว้ ไม่มีการตั้งคำถาม ไม่มีการหาคำตอบ และในทันทีที่ใครสักคนเริ่มอยากทิ้งอะไรบางอย่างลง คนคนนั้นจึงถูกมองเป็นตัวประหลาด — เราชอบงานวาดและงานเขียนเรื่องนี้ เพราะเรารู้สึกว่าในยุคที่เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ คล้ายว่าเราอาศัยอยู่ในหมู่บ้านประหลาดแห่งนี้โดยไม่รู้ตัว เราแบกบางสิ่งเอาไว้ เราพยายามทำให้มันสวยงาม หรือกระทั่งพยายามทำตัวเองให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งๆ ที่บางสิ่งบางอย่าง ไม่ใช่ธรรมชาติที่เราต้องการเลยด้วยซ้ำ เราแบกภาระเอาไว้บนหลังตลอดเวลา เสียเวลาแต่งแต้มมันเพื่อให้เราได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เราเองไม่รู้ว่ารักมันหรือเปล่า ภาพภาพนี้ คือการได้เป็นอิสระจากก้อนหินบนหลัง แล้วยืนเฝ้ามองเมืองทั้งเมือง เฝ้ามองสิ่งที่สูญเสียไป แล้วเฝ้ามองสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่

**‘Blue Cat’ : แมวสีฟ้า**

‘Blue Cat’ : แมวสีฟ้า

“แมวสีฟ้า หลงเข้าไปในเมืองสีเทา
ชีวิตสีเทา ความรักสีเทา ทุกอย่างสีเทา
ไม่นาน แมวฟ้าก็กลายเป็นแมวเทา
จนเมื่อเจ้าแมวแก่ชรา ขนสีเทาดูวิญญาณไปสิ้น
แต่ชั่วขณะนั้นเอง มันได้มองไปยัง
ขนสีฟ้าที่ปลายหางของตัวเอง
พลันจำได้ว่า หัวใจ ของมัน คือสีฟ้า
แมวเทาจึงปรารถนาจะกลับไปเป็นแมวสีฟ้า
ทว่าอยุขัยของมัน ก็ใกล้จะหมดลงเสียแล้ว”

ภาพภาพนี้วาดขึ้นจากเรื่องสั้นข้างบนนี่เองครับ จริงๆ Blue Cat ได้แรงบันดาลใจมาจากหลายๆ อย่างรวมกัน คำว่า Blue Cat ที่ได้ยินครั้งแรกคือจากในหนังเรื่อง Lily Chou Chou ซึ่งเราก็ชอบเรื่องนี้มากทีเดียว แต่มาชอบแมวจริงๆ ก็หลังจากที่บังเอิญรับแมวของเพื่อนมาเลี้ยง – เวลานึกจะเขียนอะไร บ้างครั้งนึกไม่ออกเราก็มองหน้ามัน ซึ่งจริงๆ แล้ว Blue Cat ที่เราวาดขึ้น เรามองว่าแมวสีฟ้าแทบจะไม่มีอยู่จริง ถ้าเราเปรียบเทียบกับจิตใจ อะไรหลายๆ สิ่งที่อยู่ข้างในเราก็แทบจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และไม่มีอยู่จริง แต่แปลกที่สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงนี้ กลับให้ความรู้สึกที่จริงใจต่อชีวิตเรามากเหลือเกิน ไม่ว่าจะรัก สุข เศร้า หรือความฝัน ดังนั้น ภาพของแมวสีฟ้าคือการแทนตัวตนที่สูญหายของผู้คนที่หลงเข้ามาในเมือง เข้ามาเพื่อค้นหาบางสิ่ง หลายคนได้อะไรกลับไป แต่หลายคนก็ไม่ได้อะไรกลับไปเลย แต่กลับต้องสูญเสียตัวตนไปโดยที่เรียกเวลาชีวิตกลับมาไม่ได้ เราวาดภาพนี้ขึ้นมาเพื่อให้คนรู้สึกถึง Blue Cat ในตัวเอง ซึ่งเราคิดว่ามันกำลังรอคอยให้เรากลับไปดูแลมันอยู่ครับ

**ผีเสื้อในเรือนกระจก #1 : Run Away**

ผีเสื้อในเรือนกระจก #1 : Run Away

“เราเจอกันในความฝัน เพื่อฝัน...ว่าเราจะหนีไปด้วยกัน
หนีจากโลกความจริง ที่เป็นดั่งฝันร้าย
แต่ทุกคราวที่ความฝันใกล้จะจบลง
เราทั้งคู่รู้ดีว่าราตรีกำลังจะสิ้นสุด ความฝันจะหยุดลง
และเราจะกลับไปฝันร้าย ในโลกจริง ที่ไม่มีความฝัน”
.
ภาพนี้เป็นภาพประกอบในโปรเจกต์หนังสือภาพ ‘ผีเสื้อในเรือนกระจก’ ซึ่งเราเคยทำไว้ และตั้งใจไว้ว่ามันจะเป็นนิยายภาพสักเล่มหนึ่ง แต่โปรเจกต์นี้ก็ต้องพักไว้ก่อนด้วยหลายปัจจัย แต่ยังไงเราก็ยังชอบมันอยู่ และยังรู้สึกอยากให้มันออกมาเป็นเล่มสมบูรณ์ (คิดว่าในอนาคตคงได้ทำจนเสร็จแน่นอนครับ) — ผีเสื้อในเรือนกระจก คือตัวแทนชีวิตของเด็กที่มีปีกผีเสื้อเป็นของตัวเอง มีวิญญาณเป็นของตัวเอง และเป็นความพิเศษเดียวที่เทียบกับใครไม่ได้ แต่เพราะผีเสื้อที่บอบบาง จำเป็นต้องถูกเลี้ยงดูในเรือนกระจก เพราะโลกของนอกจะทำให้ผีเสื้อตายก่อนที่มันจะโต เด็กจึงหนีไปไหนไม่ได้ และอาจจะมีเพียงเด็กด้วยกันเท่านั้น ที่เข้าใจซึ่งกันและกัน สร้างความฝันขึ้นมาด้วยกัน โอบกอดกัน รักกัน สานสัมพันธ์กันด้วยความเชื่อว่าเราจะหนีทุกสิ่งทุกอย่างไปด้วยกันได้ แต่ท้ายที่สุด เราต่างก็รู้ว่าโลกความจริงไม่อนุญาตให้เราทำได้เช่นนั้น มันเป็นความรู้สึกที่ทั้งมั่นคงและเปราะบางในคราวเดียว มันมีความอ่อนโยนอยู่ในนั้น และมีพิษอยู่ในนั้น เป็นทั้งชีวิตและความตายรวมกันในนั้น — จะว่าไปแล้ว เราชอบเรื่องราวแบบนี้เป็นการส่วนตัว เรื่องราวที่ไม่ได้ให้คำตอบตายตัวกับเรา หรือพื้นที่ชีวิตที่ลี้ลับเกินกว่าเราจะสรุปมันได้ด้วยเหตุและผล แต่เรายังคงมีหัวใจอยู่เพื่อมัน

**ผีเสื้อในเรือนกระจก #2 : ความโดดเดี่ยวร่วมกัน**

ผีเสื้อในเรือนกระจก #2 : ความโดดเดี่ยวร่วมกัน

“ท่ามกลางวงกตที่หนีไปไหนไม่ได้
แต่หากมีทางออกอยู่จริงๆ
เราทั้งคู่ก็ไร้เดียงสาเกินกว่า
จะมีชีวิตรอดได้ภายนอกเรือนกระจก
และมันไม่ใช่ความรัก แต่คือคนสองคน
ที่แลกเปลี่ยนความโดดเดี่ยวที่ไม่มีใครเข้าใจไว้ร่วมกัน”
.
ภาพนี้เป็นภาพประกอบอีกภาพในโปรเจกต์หนังสือ ‘ผีเสื้อในเรือนกระจก’ — เราอธิบายไม่ถูกเหมือนว่าอยากเล่าถึงอะไรกันแน่ แต่มันน่าจะเป็นความรู้สึกโดยรวมในช่วงวัยเด็ก ในช่วงสักประถมของเรา สมัยนั้นของเรายังไม่การพูดถึงเรื่องการบูลลี่ หรือคำว่า ‘การบูลลี่’ แทบไม่มีใครรู้จักเลยก็ว่าได้ (เราเองก็ไม่รู้จัก) แต่ก็จะมีเพื่อนสัก 2 - 3 คนในห้องเรียนที่มักตกเป็นเป้าของการพูดล้อเลียนหรือถูกแกล้งอยู่เสมอ ไม่ว่าจะจากเพื่อนหรือครูเองก็ตาม เราจำได้ว่ามีเพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งในห้องที่เรียนรู้ช้าและทำอะไรช้าไปหมด (แต่นั่นก็ไม่ได้ผิดอะไร เพราะเธอแค่ช้า ไม่ได้หมายความว่าทำอะไรไม่ได้) แต่เธอมักจะถูกครูในชั้นเรียนเรียกเธอว่า ‘ยัยเฉื่อย’ อยู่เสมอ แล้วก็มักจะถูกให้จับคู่กับเพื่อนผู้ชายอีกคนที่ทำอะไรช้าคล้ายๆ กัน — เราไม่ได้สนิทกับเพื่อนสองคนนี้มาก เอาเข้าจริงแล้ว เราเองก็เกือบเป็นเป้าของการล้อเลียนเหมือนกัน เพราะเราเองก็เรียนรู้ช้า แต่โชคดีที่เราวาดรูปมาตั้งแต่ตอนนั้น เราวาดรูปสวย เพื่อนเลยชอบให้วาดรูปให้ เราเลยคิดว่าตัวเอง (ก็อาจจะ) มีจุดแข็งเพื่อปกป้องตัวเองจากสังคมอยู่บ้าง พอคิดย้อนกลับไป เราจึงตกผลึกได้ว่าระบบการศึกษา โรงเรียน หรือสังคมที่เราอาศัยอยู่ อาจไม่ต่างกับระบบปศุสัตว์ เพราะใครที่อ่อนแอ แตกต่าง แปลกแยก ก็มักจะเป็นเป้าให้ถูกทำร้าย หรือไม่ก็คัดแยกออกไป
.
พอตอนนี้ เราได้เป็นนักเขียนและนักวาด และเริ่มได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาการบูลลี่ การทำร้ายกันในชั้นเรียน อำนาจนิยมในโรงเรียน และบาดแผลของระบบการศึกษา เราอดคิดถึงฉากฉากนั้นในห้องเรียนไม่ได้ ตอนนั้นแทบไม่มีใครพูดถึง ใส่ใจ หรือแต่จะมีใครเข้าไปโอบกอดเพื่อนสองคนนั้นด้วยความเข้าใจ ทุกคนทำราวกับว่ามันคือเรื่องปกติ และผ่านไปเช่นนั้น ดังนั้น ภาพภาพนี้ เราเลยอยากเข้าไปในความรู้สึก ณ ตอนนั้นของเพื่อนสองคนนั้น — “ท่ามกลางวงกตที่หนีไปไหนไม่ได้ และหากมีทางออกอยู่จริงๆ เราทั้งคู่ก็ไร้เดียงสาเกินกว่าจะมีชีวิตรอดได้ภายนอกเรือนกระจก และมันไม่ใช่ความรัก แต่คือคนสองคนที่แลกเปลี่ยนความโดดเดี่ยวที่ไม่มีใครเข้าใจไว้ร่วมกัน”

**‘Soul Absorption Co.Ltd : บริษัท ดูดซับวิญญาณ จำกัด’**

‘Soul Absorption Co.Ltd : บริษัท ดูดซับวิญญาณ จำกัด’

“บริษัท ดูดซับวิญญาณ จำกัด
ทุกคนพร้อมทิ้งความฝันเพื่อรว่มงานกับเรา
มัดจำอิสรภาพ เพื่อแลกกับชีวิตวันต่อวัน
และเพื่อเก้าอี้ตัวเล็กๆ ที่คุณหลงเชื่อ
ว่ามันมั่นคงพอที่จะรองรับทั้งชีวิตของคุณ”
.
ภาพนี้ (เรื่องราวนี้) ได้แรงบันดาลใจมากจากเรื่องสั้น ‘ภาพริมสระน้ำ’ เขียนโดย โชโนะ จุนโซ — ซึ่งเป็นเรื่องราวชีวิตของคนทำงานในออฟฟิศญี่ปุ่น เป็นชายซึ่งมีครอบครัว มีบ้าน แต่เมื่อถึงวันหยุดวันหนึ่ง เขามาทำกิจกรรมครอบครัวที่สระว่ายน้ำเช่นเดียวกับครอบครัวอื่นๆ แต่วันนั้น แสงอาทิตย์ที่สะท้อนลงบนริ้วน้ำ มันพาเขาปล่อยใจ แล้วนึกถึงเก้าอี้ตัวเดียวที่รับภาระของชีวิตแทบจะทั้งหมดของเขาเอาไว้ มันเป็นเก้าอี้สำนักงานที่เขานั่งมานานแสนนาน เก้าอี้ตัวนั้น เป็นทั้งความเหนื่อยล้า และความมั่นคงในคราวเดียวกัน ทั้งอยากทิ้งมัน แต่ก็หวงแหนมันสุดชีวิต ทั้งหมดก็เพื่อให้ชีวิตเป็นไปตามครรลองที่สมบูรณ์แบบ — เราชอบบทบรรยายของคุณ โชโนะ จุนโซ ท่อนนี้มาก เพียงเก้าอี้ตัวเดียว แต่กลับมีอิทธิพลต่อเราได้มากขนาดนี้ เราเลยตั้งใจวาดภาพๆ นี้ออกมา และอยากสื่อสารว่า ถ้าไม่ยากจนเกินไป เราสามารถเลือกเก้าอี้ที่ไม่ดูดชีวิตเราให้จมหายไปได้เสมอ เป็นกำลังใจให้คนทำงานทุกคนนะครับ

**‘Resting Place : ที่พัก’**

‘Resting Place : ที่พัก’

หลายครั้งที่เราถามคนรอบตัว หรือแม้กระทั่งถามตัวเอง ว่าอะไรทำให้เรามีสุขที่สุด และเบาสบายที่สุด ทุกคนมีคำตอบนั้น ตัวเราเองก็มีคำตอบนั้น มันคล้ายกับสถานที่ที่ผ่อนคลายซึ่งอยู่ภายในตัวเรา มันเรียบง่ายจนแทบไม่เชื่อเลยว่าทำไม…เราถึงไม่ยอมให้ตัวเองได้พักผ่อน ณ ที่ตรงนั้นได้สักที หลายคนตอบว่ามีปัจจัยมากมาย มีภาระ มีหน้าที่ มีความรับผิดชอบ และมีทุกสิ่งต้องทำให้เสร็จซะก่อน (รวมถึงตัวเราเองด้วย) เรารับบทเป็นคนทำหน้าที่ในชีวิตที่ดี ดีเสียจนเป็นได้แค่นักเดินทางที่เดินผ่านภาพของตัวเองในอนาคต ที่ได้หยุดพักท่ามกลางความสุขสงบ มองภาพของการรักตัวเองผ่านหน้าต่างที่ไม่กล้าเดินเข้าไป ไม่กล้าทิ้งชีวิตที่เป็นอยู่ และกลัวว่าภาพภาพนั้น จะมีราคาแพงเกินไป — แต่ท้ายที่สุด เมื่อทุกสิ่งในชีวิตทำให้เราเหนื่อยสาหัส เราจะตระหนักในภายหลังว่าที่ตรงนั้นของเรา แทบจะเป็นสิ่งแรกที่เราคิดถึง และหวงแหน แต่ทำไม ในขณะที่เรามีพลังงานมากมายเพื่อต่อสู้กับชีวิต เรากลับละเลยพลังงานที่จะใช้มันไปกับความสุขของตัวเอง

Rhythm ยังปิดท้ายบทสนทนาด้วยการเล่าถึงความตั้งใจในอนาคตด้วยว่า “เราคิดว่าคงพัฒนาฝีมือต่อไปเรือย ๆ และขยายเฟรมภาพให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ และถึงแม้ว่าจะยังไม่มีโปรเจกต์อะไรตายตัว แต่เราก็อยากทำหลายอย่าง อยากทำหนังสือภาพ, Graphic Novel, หรือทำนิทรรศการเล็ก ๆ ขึ้นมา แต่หลัก ๆ แล้วหัวใจของงานยังคงเป็นเรื่องภายในจิตใจอยู่ครับ เราอาจจะพูดถึงความเศร้า ความเจ็บปวด ความรัก ความสุข หรือการเยียวยา แต่ทุกอย่างที่เราอยากสื่อสารยังคงอยู่ในขอบข่ายนี้ครับ เพราะคิดว่าตราบใดที่เรายังคงเป็นมนุษย์ และยังอาศัยอยู่ในเรื่อนร่างของสิ่งเหล่านี้ เรามองว่าศิลปะ สามารถเป็นเพื่อนกับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ไม่มากก็น้อยครับ”

สามารถติดตามผลงานต่าง ๆ ของ Rhythm ได้ที่: https://www.instagram.com/rhythm_a.khansorn/