ความพิเศษของงาน Van Gogh ไม่ได้อยู่ที่ความสวยงามของภาพเท่านั้น แต่ยังอยู่ในเรื่องราวชีวิตของเขาที่สะท้อนออกมาในสีสัน ฝีแปรง และการเลือก subject เล่าเรื่องความรู้สึกนึกคิด และปัญหาที่รุมเร้าจากสุขภาพจิตใจ
จะเข้าใจงานศิลป์ของ Van Gogh ได้ ต้องเสริมด้วยเรื่องราวชีวิตของเขาด้วย
GroundControl Artteller และ DOSEART.com แกลเลอรี่งานศิลปะออนไลน์ ขอแนะนำ 7 ภาพสะท้อนช่วงขณะชีวิต ที่เล่าตัวตนของ Van Gogh ออกมาได้อย่างชัดเจน รวมตัวอยู่ที่ Van Gogh Museum ประเทศเนเธอร์แลนด์
7 ภาพนี้คือส่วนเล็กๆ ของ Van Gogh Museum เราอยากให้คุณได้รู้จักที่นี่กันมากขึ้น
Portrait of a prostitute, 1885
ถ้าเราลองมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ศิลปะ เราจะพบว่าศิลปินวาดโสเภณีกันเยอะมาก และโสเภณีมีบทบาทมากๆ ในวงการศิลปะ นึกถึงผู้หญิงสมัยก่อนที่มีความรักนวลสงวนตัว ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะหาผู้หญิงมาเปลือยให้วาดภาพ ดังนั้นภาพต่างๆ ที่มีความโป๊เปลือยก็มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นโสเภณี หรือแม้กระทั่งการวาดในยุค Neo-Classic ที่พูดถึงวีนัส ความกล้ามเนื้อและผิวแรกแย้มของผู้หญิง ก็เกิดมาจากการฝึกมือจากการวาดโสเภณีมาก่อนทั้งสิ้น ที่สุดของฝีมือการวาดก็วัดกันที่การวาดคนให้เหมือนจริงที่สุดเช่นเดียวกัน
ภาพ Portrait of a Prostitute นี้เกิดในช่วงที่ Van Gogh กำลังฝึกวาดภาพที่เมือง Antwerp ในเมืองนี้ Van Gogh ห้อมล้อมตัวเองไปด้วยผลงานศิลปะมากมาย จนผันตัวกลายมาเป็นแฟนคลับของ Peter Paul Rubens (ศิลปินยุค Flemish) และมักจะไปฝึกวาดภาพตามเสมอ ดังนั้นภาพนี้เราจะเห็นการใช้สีและแสงจะมีความ Classical แบบ Reuben-ism มากๆ เหมือนกัน
Van Gogh วาดภาพนี้เสร็จภาพในวันเดียว แต่แรกเริ่มต่างหูของเธอจะมีความระยิบระยับอมชมพูด้วยการแต้มสีให้หนาขึ้น แต่ด้วยระยะเวลาก็ทำให้สีนี้ร่วงออกมา
View from Theo’s Apartment, 1887
หลังจากที่ Van Gogh อยู่ที่ Antwerp มาได้ซักพัก จนเริ่มรู้สึกถึงความทึมและไม่มีสิ่งใหม่ๆ ให้กระตุ้นความสนใจ เขาจึงตัดสินใจย้ายไปอยู่กับน้องชาย Theo ที่กำลังมีอาชีพเป็น Art Dealer และกำลังรุ่งโรจน์ในวงการ
สมัยนั้นปารีสเรียกได้ว่าเป็นเมืองหลวงแห่งศิลปะ Movement ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจะเริ่มจากที่นี่ ในช่วงที่ Van Gogh ได้ย้ายไปอยู่ปารีสก็กำลังอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่าง Impressionism และ Post-Impressionism พอดี ในช่วงความหลากหลายทางการมองศิลปะกำลังบูม มีการใช้สีสันและฝีแปรงที่แตกต่างออกไป โดยเฉพาะ Pointilism (ลัทธิผสานจุดสี) ที่ Van Gogh ได้รับอิทธิพลอย่างมากในช่วงแรก
เห็นได้ชัดจากภาพ View from Theo’s Apartment ที่มีการใช้สีที่สดมากยิ่งขึ้น และเมื่อลงลึกไปจะเห็นว่ามีดีเทลเป็นจุดๆๆ ภาพนี้เป็นการวาดที่เหมือนบันทึกวิวจากห้องของ Theo บนชั้น 4 ของตึกย่าน Montmatre อันเป็นย่านที่คึกคักด้วยศิลปินรุ่นใหม่ในสมัยนั้น
Piles of French Novels, 1887
ภาพนี้มีความชัดเจนอย่างมากในเรื่องพัฒนาการของการใช้สีของ Van Gogh หากลองมองแค่แว๊บเดียวสิ่งแรกที่เราเห็นย่อมเป็นความโดดเด่นของสีและเส้นขอบแบบชัดเจน ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Japanese Woodprint
นอกจากความสวยงามและสีอันโดดเด่นแล้ว ภาพนี้ยังเป็นตัวแทนความสนใจของ Van Gogh ที่มีความหลงใหลในการอ่านหนังสือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหนังสือฝรั่งเศสสมัยใหม่ ส่งผลให้ตัวของเขาเองก็มีการใช้ภาษาเขียนจดหมายที่สวยงามคมคาย ดั่งที่เราเห็นได้จากจดหมายที่เขามักเขียนหาน้องชายและเพื่อนพ้อง
Sunflowers, 1888
ในช่วงชีวินที่อยู่เมือง Arles มีการบันทึกว่า Van Gogh วาดภาพ Sunflowers ดอกทานตะวันไปทั้งหมด 7 รูปด้วยกัน แต่ละรูปปัจจุบันนี้ก็กระจายตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์ชื่อดังทั่วโลก (หรือไม่ก็โดนทำลายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ไปแล้ว)
ภาพ Sunflowers เรียกว่าเป็นภาพที่มีชื่อเสียงระดับต้นๆ ของ Van Gogh เลยก็ว่าได้ เพราะนี่เป็นการแสดงทักษะการใช้สีขั้นเทพ หากสังเกตดีๆ จะพบว่า Van Gogh วาดดอกไม้ขึ้นมาด้วยสีเหลืองเพียง 4 เฉดเท่านั้น เพื่อเป็นการยืนหยัดในหลักการณ์ความคิดว่า ภาพที่สวยงามและมีความหมายก็สามารถเกิดขึ้นได้จากสีๆ เดียว
ความพิเศษของ Sunflowers ไม่ได้อยู่ที่แค่การวาดการใช้สีเท่านั้น แต่สำหรับ Van Gogh แล้วมันเป็นตัวแทนของความขอบคุณ โดยสองเวอร์ชั่นแรกเขามอบให้ Paul Guaguin เพื่อนศิลปินของเขา ทั้งแขวนไว้ในห้องและมอบเป็นของขวัญให้ด้วย เปรียบเหมือนเป็นการขอบคุณสำหรับมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน
เวอร์ชั่นของที่ Van Gogh Museum จะพิเศษหน่อย ตรงที่หากได้ดูใกล้ๆ จะพบรอยต่อด้านบน เกิดมาจากการที่ Van Gogh ต้องการขยายเฟรมให้ภาพมันดูสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น และเกษรสีฟ้าที่เราเห็นนั้น ความจริงมาจากสี Lilac ม่วงอมฟ้า แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป pigment สีจึงเปลี่ยน เหลือเป็นเพียงสีฟ้าอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน
Yellow House, 1888
บ้านนี้คือบ้านที่ Van Gogh และ Gauguin เช่าห้องพักอาศัยระหว่างทำงานร่วมกันที่ Arles เป็นสีเหลืองโดดเด่นแบบที่ Van Gogh เองนั้นชื่นชอบมากๆ ถึงขั้นกับเขียนหา Theo ว่า “มันสวยงามจริง ๆ บ้านสีเหลืองเหล่านี้ในแสงอาทิตย์ และความสดใสของสีน้ำเงินที่ไม่แพ้กัน”
ห้องของ Van Gogh อยู่ในโซนประตูเขียวๆ ที่เราเห็นด้านหน้า ซึ่งสอดคล้องกับอีกรูปที่มีชื่อเสียงไม่แพ้กัน “Bedroom in Arles"
Almond Blossoms, 1890
ภาพนี้เป็นส่วนของซีรีส์ต้นอัลมอนด์ที่ Van Gogh ให้ความสนใจมากๆ ในช่วงระหว่างอยู่ที่เมือง Arles และ Saint-Remy
หากสังเกตดีๆ ภาพนี้จะมีความญี่ปุ่นสูงมาก การใช้สีฟ้าด้านหลังไม่ใช่สีฟ้าธรรมดา แต่เป็นท้องฟ้า เพื่อจะให้เห็นว่านี่เป็นต้นไม้ที่มีกิ่งไม้ ไม่ใช่แค่การวาดกิ่งอย่างเดียว ซึ่งเป็นการได้รับแรงบันดาลใจจากภาพ Japanese Woodprint ของศิลปินญีปุ่นอย่าง Utagawa Hiroshige ที่มีภาพลักษณะ composition ใกล้เคียงกัน
ไม่ใช่แค่ความสวยงามอย่างเดียวที่ทำให้ภาพนี้มีชื่อเสียง แต่เรื่องราวที่มาก็ตรึงใจไม่แพ้กัน เพราะภาพ Almond Blossoms นี้ วาดขึ้นมาเพื่อเป็นของขวัญให้กับหลานของเขา ลูกของ Theo และ Johanna ที่ตั้งชื่อตามเขา Vincent Willem Van Gogh โดย Van Gogh วาดภาพต้นไม้ให้หลานชาย เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงการเริ่มต้นใหม่ ชีวิตใหม่ที่ได้เกิดขึ้นในครอบครัวที่เขารักมากที่สุดนั่นเอง
Wheatfield with Reaper, 1889
ใครหนอจะไปคิดว่าภาพอันสดใสนี้ Van Gogh ได้ซ่อนความหมายของความตายไว้ !
ในช่วงที่ Van Gogh รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลใน Saint-Remy อิสรภาพการเดินทางของเขาก็ได้ถูกจำกัดเหลือแค่ภายในพื้นที่โรงพยาบาล การวาดต่างๆ จึงเกิดขึ้นจากความทรงจำ หรือไม่ก็เป็นการวาดภาพตามศิลปินชื่อดังท่านอื่นๆ ซึ่งขัดกับสุทรียะการวาดภาพของเขาอย่างมากที่ไม่สามารถวาดภาพได้จากบรรยากาศจริง มีเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้นที่ Van Gogh จะสามารถออกมาวาดรูปข้างนอกได้
Wheatfiled with Reaper เป็นหนึ่งในภาพที่ Van Gogh วาดระหว่างได้เวลาออกมาข้างนอก สิ่งที่เราเห็นได้ชัดคือ texture การขดม้วนของทุ่งข้าวสาลีซึ่งจะกลายมาเป็น subject และ element สำคัญในภาพต่อๆ ไปของเขา
Van Gogh มองข้าวสาลีเหมือนเป็นมนุษย์ และ Reaper หรือคนเกี่ยวข้าวก็เหมือนคนที่กำลังจะมาเอาชีวิตเราไป (ดูจากภาพอาจนึกไม่ออก แต่ใน pop culture จะเห็นมนุษย์หัวกะโหลกผ้าคลุมดำ ถือไม้เท้าเกี่ยวข้าว ซึ่งมักจะเกี่ยวข้องกับทูตแห่งความตาย นั่นแหละความ Reaper อีกแบบนึง) ภาพนี้จึงพูดถึงความตาย แต่มันเป็นความตายที่เขาพร้อมจะต้อนรับ หยอกล้อกับความตายที่เรามักจะคุ้นตากัน
The Starry Night, 1889
รูปนี้ขอแถมเพิ่มเติม ถึงแม้จะไม่อยู่ใน Van Gogh แต่ก็เสริมต่อให้เราได้เข้าใจ Van Gogh ได้อย่างดียิ่งขึ้น
The Starry Night เป็นภาพที่ Van Gogh วาดในช่วงที่พักรักษาตัวอยู่ที่ Saint-Remy เช่นเดียวกันกับ Wheatfield with Reaper ดั่งที่เราเห็นได้ในความขดม้วนของสายลมและฝีแปรงที่หนักแน่นแบบเดียวกัน
แต่ครั้งนี้ไม่ภาพยามค่ำคืนอื่นๆ ดวงดาวและพระจันทร์จะมีออร่าที่ชัดเจนกว่าปกติ สาเหตุที่เกิดภาพเหล่านี้ มีทฤษฎีทางประวัติศาสตร์ที่ว่ากันว่า Van Gogh กินยา “Foxglove” สมุนไพรที่ช่วยเรื่องหัวใจ ยา “Foxglove” ทำให้มีอาการข้างเคียงเกิดเป็นออร่าของสีเหลืองให้แลดูใหญ่ขึ้น โดยมีทั้งหลักฐานผ่านการบันทึก และภาพวาดของ Dr. Gachet ผู้เป็นหมอของ Van Gogh ถือไว้ข้างตัว
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทฤษฎีการวาดที่ทำให้ภาพนี้มีจุดโดดเด่นไม่เหมือนภาพอื่นๆ ของ Van Gogh
งานสวยๆ ทุกยุคของ Van Gogh สามารถซื้อกลับมาดูเต็มๆ ที่บ้านได้นะ
GroundControl ร่วมกับ DOSEART.com แกลเลอรี่งานศิลปะออนไลน์ ชวนคุณสะสมงานศิลป์ในราคาย่อมเยา คุณภาพระดับพิพิธภัณฑ์สากล คอลเลคชั่นพิเศษ "Vincent Van Gogh" รวมผลงานชิ้นเด่นตลอดชีวิตของเขากว่า 25 ชิ้น
งานภาพ reproduction นี้ คุณภาพคุ้มค่าระดับพิพิธภัณฑ์ชั้นนำ
ด้วยการพิมพ์ในระบบ Digital pigment print 12 สี
ลงบนแคนวาสคุณภาพดี เสมือนภาพ 3 มิติ
จัดส่งฟรีทั่วประเทศไทย ในราคาเริ่มต้นเพียง 1,290 บาท
ชมรีรัน GroundControl : Self-Quarantour ตอน Van Gogh Museum ได้ที่ Facebook Groundcontrol