หลาย ๆ คนน่าจะพอทราบข่าวคราวกันมาบ้างแล้วว่า ในช่วงสุดสัปดาห์ที่กำลังมาถึงนี้ ประเทศไทยกำลังจะมี NONOTAK แบบคนอื่นแล้ว! ซึ่งสำหรับแฟน ๆ ที่ติดตามศิลปินสายออดิโอวิชวลมาตลอด เราเชื่อเหลือเกินว่า น่าจะมีชื่อของ NONOTAK ติดอยู่ในท็อปลิสต์ลำดับต้น ๆ สำหรับศิลปินที่อยากมีโอกาสได้ไปรับชมด้วยตาตัวเองสักครั้งในชีวิต แต่สำหรับใครไม่คุ้นเคยกับแวดวงนี้สักเท่าไหร่ วันนี้เราจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับพวกเขาเพิ่มขึ้นอีกสักนิด

MOON V.1, site specific installation, 2019.

HOSHI / Light & Sound installation, 2016.
NONOTAK เป็นชื่อที่ใช้ในการทำงานของศิลปินดูโออย่าง โนเอมิ ชิพเฟอร์ (Noemi Schipfer) ศิลปินทัศนศิลป์และคิเนติกชาวฝรั่งเศส-ญี่ปุ่น และ ทาคามิ นากาโมโตะ (Takami Nakamoto) นักดนตรีและสถาปนิกชาวญี่ปุ่น ที่ตัดสินใจมารวมตัวทำงานร่วมกันในช่วงปลายปี 2011 ซึ่งชื่อ NONOTAK ก็เกิดมาจากการรวมตัวกันระหว่าง NONO (Noemi) และ TAK (Takami) นั่นเอง

WINDOW audiovisual installation, 2017.

ORION V.1, audiovisual installation, 2019.
ก่อนจะมารวมตัวทำงานคู่กัน ทาคามิเคยเป็นทั้งสถาปนิกและนักดนตรีในวงเมทัล นั่นทำให้เขามีความเชี่ยวชาญในการเล่นเสียงและพื้นที่เป็นอย่างดี ในขณะที่โนเอมินั้นถนัดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะคิเนติก รวมไปถึงภาพประกอบสไตล์กราฟิกเรขาคณิต (นอกจากการทำงานออดิโอวิชวลแล้วเธอยังเป็นช่างสักด้วยนะ!) ด้วยความหลงใหลและเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างแขนงทำให้ผลงานของ NONOTAK ให้กลิ่นอายร่วมสมัยที่มีเสน่ห์เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

DAYDREAM V.4, Audiovisual installation, 2014.

HORIZON V.1, Light & Sound installation, 2014.
ผลงานของทั้งคู่ถูกจดจำจากการนำเทคโนโลยีล้ำ ๆ มาสร้างประสบการณ์ด้วยการผสมผสานแสง เสียง และพื้นที่ตรงหน้าให้กลายเป็นโลกเหนือจริงที่จะมาเปิดทุกโสตประสาทการรับรู้ของผู้ชมให้หลุดเข้าไปสู่โลกชวนฝัน เมื่อศิลปะจัดวางและเส้นแสงกราฟิกที่ปรากฏขึ้นถูกเคล้าคลอไปกับเสียงสังเคราะห์ของดนตรีอิเล็กโทรนิกและเสียงบรรยากาศอันน่าพิศวง ก็ดูจะเป็นการท้าทายการรับรู้ของผู้ชมอย่างเราให้ถูกดึงดูดเข้าไปในผลลัพธ์ของการผสมผสานผสานศาสตร์หลากหลายแขนงตรงหน้า

BASELINE, Light & Sound installation, 2018.

NARCISSE V.2, kinetic installation, 2017.
และด้วยความโดดเด่นของพวกเขา ทำให้ NONOTAK มีโอกาสได้ร่วมงานกับหลากหลายแบรนด์ดังจากทั่วโลก รวมไปถึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมป็อปจากการปรากฏตัวในภาพยนตร์และมิวสิกวิดีโอของหลากหลายศิลปิน อีกทั้งพวกเขายังเดินสายพาผลงานไปอวดโฉมในแกลเลอรี่ พิพิธภัณฑ์ และเทศกาลสำคัญ ๆ มาแล้วทั่วโลก

DAYDREAM V.5 INFINITE, audiovisual installation, 2016.

SHIRO, Audiovisual performance, 2016.
หนึ่งในผลงานที่โด่งดังสุด ๆ ของพวกเขาอย่าง Shiro (แปลว่า ‘สีขาว’ ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งได้รับการการันตีดีงามโดย New York Times ที่เลือกให้ผลงานชุดนี้เป็นหนึ่งในการแสดงชั้นนำในเทศกาล Sónar ประจำปี 2017 ก็กำลังจะเดินทางมาเปิดประสบกาณ์การรับรู้รูปแบบใหม่ให้พวกเราได้มีโอกาสรับชมเป็นครั้งแรก ทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บนเวที Mycelium Stage ของงานเทศกาล DIAGE Festival 2023 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 - 12 พฤศจิกายนี้
โดยนอกจากจะมาทำการแสดงกับแบบสด ๆ บนเวทีแล้ว งานนี้ โนเอมิและทาคามิยังจะมาร่วมเปิดวงสนทนา ชวนทุกคนที่สนใจมาพูดคุยกันในมาสเตอร์คลาสถึงแนวคิดและเบื้องหลังในการทำงานของทั้งคู่ด้วย เรียกได้ว่า มีครบจบทั้งการแสดงมัน ๆ และสาระน่ารู้เลยจริง ๆ

LEAP, Light & Sound installation, 2019.

CADENCE, audiovisual installation, 2023.
DIAGE Festival 2023
วันที่ 11 - 12 พฤศจิกายน 2023
SHOW DC HALL
ซื้อบัตรได้ที่:
www.diagefestival.com
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.facebook.com/DiageFestival/
อ้างอิง:
NONOTAK
Derivative
VICE
CLOT