man's true condition: to think with hands
ใน The Image Book (2018) หนังทดลองของผู้กำกับคนสำคัญจากขบวนการคลื่นลูกใหม่ในฝรั่งเศส Jean-Luc Godard เปิดมาด้วยมือในภาพวาด Saint John the Baptist ที่ (เชื่อกันว่า) เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายจากปลายพู่กัน Leonardo da Vinci จิตรกรเอกยุคเรอเนซองส์ ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าสนใจว่า เมื่อมองย้อนกลับไปในผลงานของ Godard ที่ผ่านมา จะพบว่าภาพ Close-Up ‘มือ’ คือสิ่งที่ตัวผู้กำกับเลือกหยิบมาใช้ซ้ำไปมาอยู่บ่อยครั้ง
ด้วยงานสร้างที่ผู้กำกับปล่อยเรื่องเล่าและมุมมองส่วนตัวให้ไหลไปตามธรรมชาติ ทำให้ประโยคที่ว่า “อะไรก็เกิดขึ้นได้ ” เกิดขึ้นจริงในหนังของ Godard แต่ในแง่ความหมายนั้น เป็นไปตามการตีความของผู้ชมมากกว่าการบอกเล่าเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา สิ่งนี้ทำให้มือที่ผู้ชมจับจ้องกันอยู่ เปรียบเปรยถึงสิ่งอื่นที่ไปไกลกว่าภาพบนหน้าจอ เห็นได้จากหลายฉากใน A Married Woman (1964) ที่จับภาพมือลูบไล้ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ปลุกความเย้ายวนใจให้ผู้ชมเคลิ้มไปตามเรื่องเล่าของหญิงสาวกับรักซ้อนที่เธอต้องเลือก ในฉากมือประสานกันจาก La Chinoise (1967) ที่มาพร้อมกับบทสนทนาว่า “เราคือถ้อยคำของกันและกัน” หรือตอนที่ Jean-Paul Belmondo คีบไม้ขีดไฟไว้บนมือ หรือฉากดังเมื่อ Anna Karina หยิบบุหรี่มาจากปากของ Belmondo ใน Pierrot le Fou (1965) เองก็ได้ย้ำให้เห็นว่า มือ กำลังสื่อสารบางอย่างกับผู้ชมไม่ต่างจากคำพูดเช่นกัน
ด้วยงานสร้างที่ผู้กำกับปล่อยเรื่องเล่าและมุมมองส่วนตัวให้ไหลไปตามธรรมชาติ ทำให้ประโยคที่ว่า “อะไรก็เกิดขึ้นได้ ” เกิดขึ้นจริงในหนังของ Godard แต่ในแง่ความหมายนั้น เป็นไปตามการตีความของผู้ชมมากกว่าการบอกเล่าเรื่องราวอย่างตรงไปตรงมา สิ่งนี้ทำให้มือที่ผู้ชมจับจ้องกันอยู่ เปรียบเปรยถึงสิ่งอื่นที่ไปไกลกว่าภาพบนหน้าจอ เห็นได้จากหลายฉากใน A Married Woman (1964) ที่จับภาพมือลูบไล้ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ปลุกความเย้ายวนใจให้ผู้ชมเคลิ้มไปตามเรื่องเล่าของหญิงสาวกับรักซ้อนที่เธอต้องเลือก ในฉากมือประสานกันจาก La Chinoise (1967) ที่มาพร้อมกับบทสนทนาว่า “เราคือถ้อยคำของกันและกัน” หรือตอนที่ Jean-Paul Belmondo คีบไม้ขีดไฟไว้บนมือ หรือฉากดังเมื่อ Anna Karina หยิบบุหรี่มาจากปากของ Belmondo ใน Pierrot le Fou (1965) เองก็ได้ย้ำให้เห็นว่า มือ กำลังสื่อสารบางอย่างกับผู้ชมไม่ต่างจากคำพูดเช่นกัน
พอลองกลับมาย้อนม้วนฟิล์มดูอีกรอบ ผู้ชมจะพบว่า มือ ของตัวละครในหนัง Godard มักมาพร้อมกับท่าทางที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา บางครั้งพวกเขาทาสี หยิบจับสิ่งของ คีบบุหรี่ จับพวงมาลัยรถ สัมผัสเนื้อตัวกันและกันอย่างช้า ๆ รวมถึงท่าทางการถือหนังสือ หรือจับปากกา ที่เป็นเหมือนภาพฉายซ้ำไปมาในหนังของผู้กำกับ จนอาจบอกได้ว่า แก่นแท้ของแนวคิดเหล่าคลื่นลูกใหม่ ซึ่งเปรียบ ‘ผู้กำกับ’ เป็นเหมือน ‘กวี’ ที่เขียนภาพยนตร์ขึ้นด้วยตัวเอง ได้ส่งอิทธิพลถึงการเรียงร้อยเรื่องราวด้วยท่าทีของตัวละคร ให้ออกมาคล้ายกับตัวตนจริงของผู้กำกับเอง ลองคิดตามว่าถ้าหยิบเอาหนังของ Godard สักเรื่อง ไปให้คนนอกที่ไม่เคยรู้จักเขามาก่อนดู เชื่อว่าภาษากายของตัวละครในเรื่อง คงทำให้ผู้ชมจินตนาการถึงหน้าตาและบุคลิกของผู้กำกับได้ไม่ยากนัก
แม้ทั้งหมดที่ว่ามานี้จะดูเป็นเรื่องไกลกัน แต่ความจริงแล้วการที่ผู้กำกับ ตัวละคร และฉากโดยรอบ รับส่งโต้ตอบกันไปมาผ่านการ ‘ลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเอง’ ส่งผลให้ภาพในหนังดูโลดโผน ไม่เข้าที่เข้าทาง จนผู้ชมเกิดความสงสัยต่อสารที่ผู้กำกับต้องการจะสื่อ ซึ่งถ้าถามว่าวิธีการแบบนี้พิเศษตรงไหน ก็คงบอกได้เพียงว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นแบบเดียวกับที่ศิลปินเอก ใส่ปริศนาลงบนผลงานศิลปะของพวกเขานั่นเอง
ความหัวขบถที่กล้าคิด กล้าทำ กล้าลองสิ่งใหม่ ๆ ของเหล่านักเขียนที่ผันตัวมาเป็นนักสร้างหนังนี้ ทำให้ French New Wave ก้าวข้ามผ่านตรรกะทั้งหมดที่เคยมีมา เพื่อย้ำเตือนกับผู้คนภายนอกว่าไม่ใช่แค่การกระทำที่ดูไร้แก่นสารของตัวละคร จะถูกปั้นขึ้นด้วยมือของผู้กำกับเท่านั้น แต่ภาพยนตร์เองก็คือวัตถุที่สร้างขึ้นมาเสมอเช่นกัน
อ้างอิง :
mubi
hazlitt
filmcomment