GC_MultiCover_Saul Bass.jpg

โลกภาพยนตร์ในมุมมองของ Saul Bass เสด็จพ่อแห่งวงการกราฟฟิกที่เปลี่ยนอุตสาหกรรมจอเงินไปตลอดกาล

Post on 16 March

คุณคิดว่าบนโลกใบนี้จะมีดีไซเนอร์สักกี่คนที่เคยร่วมงานกับผู้กำกับระดับขึ้นหิ้งทั้ง Alfred Hitchcock, Otto Preminger, Billy Wilder, John Frankenheimer, Stanley Kubrick และ Martin Scorsese? ไม่ว่าคำตอบที่แน่นอนจะเป็นอย่างไร แต่ที่แน่ ๆ หนึ่งในนั้นคือ Saul Bass กราฟฟิกดีไซเนอร์ชาวอเมริกันผู้ได้รับฉายาว่า ‘ปิกัสโซแห่งพานิชยศิลป์’

<p>Poster: The Shining, 1980</p>

Poster: The Shining, 1980

<p>Poster: The Man with the Golden Arm, 1955</p>

Poster: The Man with the Golden Arm, 1955

<p>Poster: Vertigo, 1958</p>

Poster: Vertigo, 1958

แม้จะได้รับการยอมรับจากผลงานการออกแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่โลโก้ แคมเปญโฆษณา บรรจุภัณฑ์สินค้า ไปจนถึงปกอัลบั้ม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อพูดถึงชื่อของ Bass แล้ว คนส่วนใหญ่ก็คงจะนึกถึงผลงานการออกแบบของเขาในโลกภาพยนตร์ ทั้งการออกแบบโปสเตอร์ และฉากเปิด (Title Sequence) ที่เขามักจะทำร่วมภรรยา Elaine Makatura Bass และก็เป็นผลงานเหล่านี้เองที่เปลี่ยนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไปตลอดกาล

<p>Poster: Such Good Friends, 1971</p>

Poster: Such Good Friends, 1971

<p>Poster: Exodus, 1960</p>

Poster: Exodus, 1960

<p>Poster: Anatomy of a Murder, 1959</p>

Poster: Anatomy of a Murder, 1959

ผลงานชิ้นแรกในวงการภาพยนตร์ของ Bass คือการออกแบบโปสเตอร์และฉากเปิดให้กับภาพยนตร์เรื่อง Carmen Jones (1954) ของผู้กำกับ Otto Preminger แต่เขาเริ่มมาสร้างชื่อเสียงในวงกว้างได้จริง ๆ จากการออกแบบโปสเตอร์และฉากเปิดให้กับภาพยนตร์เรื่อง The Man with the Golden Arm (1955) ของผู้กำกับ Otto Preminger (คนดีคนเดิม) ที่เขาใช้เทคนิคตัดกระดาษขาวดำ และนำมาเคลื่อนไหวประกอบเครดิตเปิดเรื่อง ซึ่งการออกแบบฉากเปิดในครั้งนี้ถือว่าเรียกเสียงฮือฮาในวงการได้พอสมควร เพราะก่อนหน้าการมาถึงของเขา ฉากเปิดเครดิตเหล่านี้ไม่เคยได้รับความสนใจมากเท่าไหร่นัก เป็นเพียงการฉายภาพและข้อความนิ่ง ๆ ไร้สีสันลงบนผ้าม่านก่อนจะเปิดเพื่อฉายภาพยนตร์ฉากแรกเท่านั้น ในขณะที่ Bass กลับนำมันมาเคลื่อนไหวด้วยเส้นสีกราฟฟิก และสร้างเรื่องราวที่จะเกริ่นนำเนื้อหาของภาพยนตร์ฉบับเต็มที่กำลังจะเปิดฉากจนแทบจะดูคล้ายเป็นภาพยนตร์สั้น ๆ เรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

<p>Poster: Saint Joan, 1957</p>

Poster: Saint Joan, 1957

<p>Poster: The Fixer, 1968</p>

Poster: The Fixer, 1968

<p>Poster: The Cardinal, 1963</p>

Poster: The Cardinal, 1963

ความสำเร็จในครั้งนั้นทำให้ Bass เริ่มมีผลงานการออกแบบฉากเปิดเข้ามามากมาย ไม่ว่าจะเป็น Around the World in Eighty Days (1956), North by Northwest (1959), Psycho (1960), Spartacus (1960), Grand Prix (1966), Ocean's 11 (1960), West Side Story (1961), Bunny Lake Is Missing (1965), Seconds (1966), Goodfellas (1990), Cape Fear (1991), The Age of Innocence (1993), Casino (1995) และอีกมากมาย ซึ่งหลาย ๆ เรื่องเขาก็ควบ 2 จ๊อบ รับทั้งออกแบบโปสเตอร์และฉากเปิดซะเลย

<p>Title Sequence: West Side Story, 1961</p>

Title Sequence: West Side Story, 1961

<p>Title Sequence: Vertigo, 1958</p>

Title Sequence: Vertigo, 1958

<p>Title Sequence: The Man with the Golden Arm, 1955</p>

Title Sequence: The Man with the Golden Arm, 1955

ซึ่งเมื่อเรามองย้อนกลับไปที่ผลงานการออกแบบโปสเตอร์ภาพยนตร์อันมากมายมหาศาลของเขา (Saint Joan (1957), Bonjour tristesse (1958), Vertigo (1958), Anatomy of a Murder (1959), Exodus (1960), It's a Mad, Mad, Mad, Mad World (1963), The Cardinal (1963), The Fixer (1968), Such Good Friends (1971), The Shining (1980) และอีกนับไม่ถ้วน!) ก็พอจะมองเห็นลายเซ็นอันเป็นเอกลักษณ์ของเขาได้ไม่ยาก ผลงานกราฟฟิกของเขามักจะโดดเด่นด้วยการออกแบบอย่างเรียบง่าย แต่เน้นใช้สีเจ็บ ๆ จัดวางตัวอักษรอย่างน่าสนใจ และเล่นกับพื้นที่เชิงลบ (Negative Space) เป็นส่วนใหญ่ นี่เองคือองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผลงานของ Bass ดูทันสมัยเหนือกาลเวลาจนกราฟฟิกดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ๆ ก็ยังต้องกลับไปศึกษาวิธีคิดของเขาอยู่เรื่อยไป

<p>Title Sequence: North by Northwest, 1959</p>

Title Sequence: North by Northwest, 1959

<p>Title Sequence: Anatomy of a Murder, 1959</p>

Title Sequence: Anatomy of a Murder, 1959

<p>Title Sequence: Casino, 1995</p>

Title Sequence: Casino, 1995

นอกจากจะทำงานออกแบบร่วมกับผู้กำกับและโปรดิวเซอร์มากหน้าหลายตาแล้ว Bass ยังมีผลงานกำกับและเขียนบทภาพยนตร์สั้นและสารคดีอยู่หลายเรื่อง หนึ่งในนั้นคือ Why Man Creates (1968) ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลออสการ์ประจำปี 1969 จากสาขา Best Documentary - Short Subjects มาแล้ว ถือว่า 40 กว่าปีในชีวิตการทำงานของเขา Bass ได้สร้างตำนานที่น่าจดจำให้ทั้งกับวงการออกแบบและวงการภาพยนตร์ไว้มากมายจริง ๆ

<p>Title Sequence: Bunny Lake Is Missing, 1965</p>

Title Sequence: Bunny Lake Is Missing, 1965

<p>Title Sequence: Around the World in Eighty Days, 1956</p>

Title Sequence: Around the World in Eighty Days, 1956

<p>Title Sequence: Spartacus, 1960</p>

Title Sequence: Spartacus, 1960

<p>Title Sequence: Cape Fear, 1991</p>

Title Sequence: Cape Fear, 1991

อ้างอิง:

Esquire

Art of the Title

Daily Art Magazine

99Designs