ศิลปะแห่งการโอบอ้อม อาจเป็นคำตอบของพื้นที่ใต้การควบคุม Kenduri Seni Patani 2024 เทศกาลศิลปะนานาชาติที่แหวกความขัดแย้งด้วยศิลปะแห่งความคิด

“ยุติอาชญากรรมรัฐ ยุติวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิด” เสียงแถลงการณ์จากเครือข่าย #ตากใบต้องไม่เงียบ ดังขึ้นหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเมื่อวันก่อน สะท้อนความคับแค้นใจต่อ ‘กระบวนการยุติธรรมไทย’ ที่ดูเหมือนจะปล่อยให้คดีจากการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม 85 คนและการบาดเจ็บจำนวนมาก จากการใช้กำลังสลายการชุมนุมที่ตากใบและควบคุมตัวมัดมือไพล่หลังและนอนซ้อนทับกันโดยเจ้าหน้าที่รัฐ กำลังจะผ่านไป โดยไม่มีการรับผิด

รายชื่อสุดท้ายของแถลงการณ์นั้นคือชื่อของ ‘Patani Artspace’ (ปาตานีอาร์ตสเปช) ผู้จัดเทศกาลศิลปะนานาชาติปาตานี ‘Kenduri Seni Patani’ ซึ่งเรามีโอกาสได้ไปซึมซับบรรยากาศ (ทั้งอบอุ่นและอึดอัด), ไปเปิดโลก ทั้งทางสายตาและมุมมองความคิด และไป ‘รับพลัง’ จากพวกเขาที่เหมือนจะยังมีอยู่ล้นเหลืออยู่ท่ามกลางสังคมแบบนี้

เทศกาลนี้มีผลงานทั้งหมดจากศิลปินทั่วทิศเมืองไทย (แต่ให้แสงเป็นพิเศษกับ ‘ศิลปินภูธร’ นอกพื้นที่ศูนย์กลาง) และศิลปินชาวต่างชาติ ที่มาร่วมกันลงแรงตามคอนเส็ปต์ “คึนดูรี” (Kenduri) หรือ ‘งานบุญ’ งานร่วมแรงร่วมใจกันของคนในชุมชน (ที่หมายถึงชุมชนทางความคิดความเชื่อด้วย) โดยจัดแสดงเกือบสิบจุดทั่วเมืองปัตตานี (ก่อนที่จุดหนึ่งจะต้องยกเลิกเพราะเจอกระแสเคลื่อนไหว อ่านเพิ่มเติมที่ ‘มุสลิมในวัด? ระเบิดในวัด? ทหารในวัด?: เกิดอะไรขึ้นที่ปาตานี เมื่องานศิลปะในวัดต้อง “ย้ายออก” เพราะเสียงลือเรื่องประเด็นศาสนา’)

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

แนวคิด ‘Before Birth and Beyond Death : ก่อนอุบัติ และหลังสลาย’ ของงานปีนี้ ฟังดูเป็นเส้นทางของกาลเวลาขนาดยาว ที่ไหลมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ก่อนนาฬิกาชีวิตของเราจะเริ่ม และยาวต่อไปจนถึงสิ่งที่ตามมาหลังจากที่เราสิ้นสุดการลมหายใจนี้ อาจจะหมายถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป อาจจะหมายถึงโลกอาคิเราะฮ์หลังความตายตามแนวคิดศาสนาอิสลาม หรืออาจจะหมายถึงร่องรอยต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ ที่เรารับมาและส่งต่อไปจากรุ่นสู่รุ่นก็ได้

แต่กาลเวลาก็ไม่ได้เป็นเส้นตรงแบบนั้นเสมอไป อย่างน้อยก็กาลเวลาบนท้องถนนปัตตานี เพราะขี่รถไปสักพักก็ต้องชะลอเพราะผ่านด่านตรวจของพี่ทหารพี่ตำรวจอยู่เรื่อย ๆ อีกมิติหนึ่งของกาลเวลา คือเรื่องของอำนาจ การแข่งขัน หรือการควบคุม ว่าเราจะรับรู้โลกใบนี้อย่างไร

อดีตบางอย่างเรามองไม่เห็น ปัจจุบันบางทีเราก็ไม่รู้ว่ามีอะไรครอบงำอยู่ ส่วนอนาคต โลกแทบจะถอนหายใจพร้อมกันเป็นเสียงเดียวว่ามันไม่มีทางเลือกใดดีไปกว่าที่เป็นนี้แล้ว ทั้งที่มันอาจจะยังพอมี เทศกาล ‘Kenduri Seni Patani’ กำลังบอกเราถึงทั้งเวลาที่ดำเนินไปข้างหน้า และกาลเวลาที่ตกอยู่ในวงล้อมของการควบคุมรอบทิศทาง แต่จะทำอย่างไรให้เราหลุดออกไปเห็นกาลเวลาอื่น ๆ

อาจเป็นงานศิลปะที่ให้ ‘การศึกษานอกระบบ’ ในเรื่องของวิกฤติสภาพแวดล้อมที่ใคร ๆ ก็เลี่ยงที่จะพูดถึงตัวต้นเหตุตรง ๆ กัน เรื่องประวัติศาสตร์บาดแผลที่ยังส่งผลทำงานอยู่ในปัจจุบัน หรืออาจะเป็นงานศิลปะที่ให้อ้อมกอดแห่งความหวัง ย้ำเตือนว่าเราไม่ได้สู้กับความโหดร้ายทั้งหมดบนโลกนี้ลำพัง และเรายังสามารถมอบโลกที่ดีสำหรับทุกคนข้างหน้าให้กับอนาคตได้

ก่อนที่กาลเวลาจะทำให้คดีตากใบหมดอายุความ ทำให้รัฐลอยนวลพ้นผิดต่อไป และปล่อยให้ความรุนแรงเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เราเขียนบันทึก GroundControl Special Route ที่เทศกาลศิลปะ Kenduri Seni Patani 2024 ‘Before Birth and Beyond Death’ นี้ขึ้น หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำความรู้จักความคิดและความเป็นอยู่ภายในพื้นที่ ‘ปาตานี’ แห่งนี้ แล้วอาจจะเข้าใจว่าความคิดเดิม ๆ ความเชื่อเดิม ๆ และความรับรู้ของเราเปลี่ยนไปได้แค่ไหน แล้วบางทีเราอาจจะเข้าใจ ว่าทำไมผู้คนถึงยังส่งเสียงว่า #ตากใบต้องไม่เงียบ

เทศกาลศิลปะ Kenduri Seni Patani 2024 ‘Before Birth and Beyond Death’ เปิดให้ชมตามจุดต่าง ๆ ทั่วปัตตานีตั้งแต่วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

ถ้าพร้อมแล้วก็กระโดดขึ้นรถซาเล้งพ่วงข้างไปกับ ‘อนุวัฒน์ อภิมุขมงคล’ ภัณฑารักษ์ของเทศกาล แล้วไปลุยดูงานศิลปะกับชาว Patani Artspace กันเลย

อนุวัฒน์ อภิมุขมงคล ภัณฑารักษ์เทศกาล Kenduri Seni Patani 2024

อนุวัฒน์ อภิมุขมงคล ภัณฑารักษ์เทศกาล Kenduri Seni Patani 2024

เมื่ออำนาจควบคุมกำลังปิดล้อมเรา

นึกภาพเพดานเป็นสีน้ำเงินเข้ม ผนังสี่ด้านเป็นสีน้ำเงินเข้ม พื้นเป็นสีน้ำเงินเข้ม มีแต่กรอบรูประยิบระยับทองขนาดใหญ่ที่ปลายสายตา แต่ต้องฝ่าแนวกะลาที่กั้นอยู่ทั้งห้องไปก่อนจึงจะมองได้ชัด ๆ

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

นั่นคือ ‘เพดานต่ำ’ ผลงานศิลปะแบบติดตั้งของกรกฎ สังข์น้อย หนึ่งในศิลปินจากกลุ่ม Patani Artspace ที่จัดแสดงอยู่ในพื้นที่ชื่อเดียวกัน อนุวัฒน์ ภัณฑารักษ์ของเทศกาลศิลปะครั้งนี้ เคยบอกว่าที่นี่เป็น “เซฟโซน” ด้านการแสดงออก ของเหล่าศิลปินสายขัดใจผู้มีอำนาจ เราดูแต่ละองค์ประกอบของงานชิ้นนี้แล้ว ก็เข้าใจได้ไม่ยากว่าแต่ละสัญลักษณ์ที่เขาใช้ พยายามจะสื่อถึงเพดานอะไร หรืออำนาจอะไรในสังคมไทย แต่สิ่งที่ทำให้งานนี้พุ่งตรงเข้าที่คนดูอย่างรุนแรงอาจจะไม่ใช่ ‘สัญญะ’ ที่ได้จากการตีความอะไร แต่เป็น ‘มวลความรู้สึก’ ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ของการถูกปิดล้อมอยู่ในห้อง ซึ่งคนดูอาจจะได้สัมผัสอยู่เสมอแบบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ

มองไปทางไหนก็ไม่มีสิ่งอื่นให้มองนอกจากสีน้ำเงิน เดินไปทางไหนก็ไม่ได้ถ้าไม่ก้มหัวหรือย่อตัวให้กะลาครอบเสียก่อน ภาษาของอำนาจที่ดิบกระด้าง อัดแน่นอยู่ในพื้นที่ศิลปะ แต่สะท้อนโลกภายนอก ซึ่งหลายคนอาจด้านชาไร้ความรู้สึกร่วมไปแล้ว ความรู้สึกของการ ไปไม่ได้ มองไม่เห็น เพราะถูกด่านปิดกั้น เกิดขึ้นกับเราทุกคน แม้ในตอนที่นั่งเล่นเน็ตอยู่ในบ้าน แล้วเจอ ‘ด่าน’ บอกว่า อย่าเข้าเว็บนั้น อย่าอ่านบทความนี้ ภายใต้สถาปัตยกรรมของเมืองอย่างนี้ เราคงไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่ารู้สึกปลอดภัยมากกว่ารู้สึกหวาดกลัว เรากำลังถูกคุ้มครองหรือถูกปกครอง คำถามที่ต้องคิดดี ๆ ก่อนจะเชื่อ

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

เพดานต่ำ โดย กรกฎ สังข์น้อย

ด้านบนอาคารเดียวกันนั้นจัดแสดงงาน ‘Tanah (ดิน)’ โดยกลุ่มศิลปินจากมาเลเซียชื่อ After Monsoon Project ที่วิพากษ์ “การเมืองเรื่องพื้นที่” ด้วยการปักไม้ไผ่จำนวนมากลงบนพื้นห้องที่ปกคลุมไปด้วยทรายทั่วทั้งบริเวณ เราต้องเดินซิกแซกผ่านไผ่ที่ดูเหมือนกำลังจะโอนเอนลงมา ไปหาหลุมศพที่ปลายทาง แล้วนั่งลงบนเก้าอี้ไม้เตี้ย ๆ รอบหลุมศพนั้น ฟังเสียงบทกวีที่เป็นดังเสียงประกอบพิธีกรรมแห่งการปลดปล่อยในรูปแบบของการรำลึกถึงผู้ตาย

ซึ่งผลงานนี้ก็ดูจะเล่าเรื่องคู่ขนานไปกับวงล้อมของความตายในงาน ‘Waiting for Judgement Day’ โดยยามีละห์ ดาโอะ ซึ่งชวนผู้ชมก้าวเข้าสู่โลกของกูโบร์ หรือสถานที่ฝังร่างผู้เสียชีวิตในแบบชาวมุสลิม ที่มาจากแนวคิดเรื่องการเตรียมตัวเดินทางไปยังโลกหน้า

Tanah โดย  After Monsoon Artists

Tanah โดย After Monsoon Artists

Tanah โดย  After Monsoon Artists

Tanah โดย After Monsoon Artists

ทั้งสองงานนี้ไม่ได้มองความตายเป็นความโดดเดี่ยว ที่ใครสักคนเผชิญอยู่ลำพัง แต่พวกเขาเชื่อมโยงความตายของเราแต่ละคน เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนทางความทรงจำ ทางวัฒนธรรม และทางความเชื่อ โดยใช้ภาษาของการ ‘ปิดล้อม’ พื้นที่ แต่พลิกด้านตัวมันเองใหม่เป็นภาษาแห่งการ ‘โอบล้อม’ แทน กูโบร์เป็นภาพแทนของมนุษย์ทุกคนที่อยู่ภายใต้สัจธรรมบางอย่างร่วมกัน และสายสัมพันธ์นั้นก็ทำให้เราเข้าใจความหมายของชีวิต ภายใต้บางสิ่งที่สูงส่งกว่า บางสิ่งที่เป็นจุดศูนย์รวมของความศรัทธา และอีกบางสิ่งที่เสนอหน้าเข้ามามีบทในทุก ๆ มิติชีวิตของเรา?

หลุมศพที่ดูจะลึกลงไปไร้ที่สิ้นสุดในงาน Tanah เขย่าประสาทเราว่ายังมีบางอย่างที่ยังคงส่งเสียงมาจากข้างใต้นั้น ความทรงจำที่ถูกฝังลงใต้ดินทั่วแดน ร้องเรียกที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กับเราคนดูผู้มาเยือน เราที่เคลื่อนตัวผ่านไผ่ทีละต้นมานั่งลงและสนทนากับพวกเขา เราจะสามารถหยั่งรากลึกลงไปกับไผ่ที่บอบบางเหล่านี้ได้บ้างไหม หรือท้ายที่สุดแผ่นดินที่เราทุกคนอยู่ด้วยกันนี้จะเป็นสมบัติของผู้มีอำนาจเท่านั้น

Patani Artspace

Patani Artspace

Waiting for Judgment Day..Alam Barzak (World of the Grave) โดย ยามีละห์ ดาโอะ

Waiting for Judgment Day..Alam Barzak (World of the Grave) โดย ยามีละห์ ดาโอะ

Waiting for Judgment Day..Alam Barzak (World of the Grave) โดย ยามีละห์ ดาโอะ

Waiting for Judgment Day..Alam Barzak (World of the Grave) โดย ยามีละห์ ดาโอะ

“เมื่อเดินทางอยู่บนถนนหนทางก็จะรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัยเมื่อขับรถผ่านจุดตรวจแต่ละครั้งมักจะถูกตรวจสอบสอบถามเสมอว่า “มาจากไหน จะไปที่ไหน บ้านอยู่แถวไหน ทำงานอะไร และบ่อยครั้งก็ถูกบังคับให้ถ่ายรูปบัตรประชาชน” ทั้งๆแผ่นดินนี้คือบ้านเกิดของเราแต่กลับถูกสอบถามเสมือนเราเป็นคนนอกพื้นที่ ปรากฏการณ์เหล่านี้ไม่ได้สร้างความปลอดภัยให้แก่เราเลย มีแต่สร้างความกังวลใจมากกว่า” เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ ผู้ก่อตั้ง Patani Artspace อธิบายผลงาน ‘เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย’ ของเขา

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

มันเป็นอาคารยกตัวสูง (เหมือนจะ) โปร่งโล่ง กับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบบ้านมลายูทรงปั้นหยา ภายใน Patani Artspace มันคือป้อมปราการสุดท้ายในความเป็นบ้าน ที่จะเป็นที่พักพิงให้ความคุ้มกันได้ แต่มันเต็มไปด้วยกรวย สัญลักษณ์ที่กระตุ้นใจให้เต้นรัวด้วยความตื่นกลัวตลอดเวลา และปืน และระเบิด และความรุนแรงที่ลอยฟุ้งแพร่กระจายอยู่ทั่วบ้าน

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

เศษซากทางความรู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ

นี่คือสภาพการรับรู้ที่เกิดขึ้น คือโลกที่ก่อขึ้นจากองค์ประกอบทางสายตาเล็ก ๆ แต่ก่อรวมกันเป็นกลไกการปกครองทางอารมณ์ความรู้สึก เป็นมรดกที่อาจย้อนไปได้ถึงการล่าอาณานิคมตั้งแต่ก่อนเราเกิด เป็นระบอบที่ยืนประจันหน้า ถามเราว่า กำลังจะไปไหน? เหมือนกับกำแพงแผ่นโลหะในงาน ‘Wrapped Future II’ ที่ศิลปินกัมพูชา ลิม โศกจันลินา (Lim Sokchanlina) เห็นว่าตั้งขัดขวางอยู่ทุกการเดินทาง แม้มนุษย์จะอยู่ท่ามกลางธรรมชาติยิ่งใหญ่แค่ไหนก็ตาม

 Wrapped Future II โดย ลิม โศกจันลินา

Wrapped Future II โดย ลิม โศกจันลินา

 Wrapped Future II โดย ลิม โศกจันลินา

Wrapped Future II โดย ลิม โศกจันลินา

 Wrapped Future II โดย ลิม โศกจันลินา

Wrapped Future II โดย ลิม โศกจันลินา

ผลงานเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจ ‘เส้นเวลา’ จากช่วงก่อนอายุของเราและหลังจากที่เราสูญสลายไปแล้ว ตามแนวทางการภัณฑารักษ์ของงาน แต่ในขณะเดียวกันก็สื่อสารอีกมิติที่ ‘กว้าง’ ออกไป ให้เราเห็นภูมิทัศน์ของปัจจุบัน ของอดีต และของอนาคต ภูมิทัศน์ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง มองออกไปที่หลายพื้นที่ก็ไม่ผิดเลยถ้าจะเรียกสิ่งที่เห็นว่าเป็นสงคราม ซึ่งในทุก ๆ ความขัดแย้ง ความรุนแรง หรือการควบคุม ต่างก็มีทั้งประวัติศาสตร์ของมัน และมีอนาคตของมัน ที่เราพอจะมองเห็นได้ผ่านผลงานเหล่านี้ แต่เราจะเห็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคตในรูปแบบอื่น ต่างจากที่ถูกควบคุมไว้ได้ไหม? เราจะเลือกรับและส่งต่ออะไร ภายในบรรยากาศที่เปราะบางนี้? ก็เป็นคำถามที่ยังค้างอยู่ในความคิดต่อไปไม่มีวันจบ

 Wrapped Future II โดย ลิม โศกจันลินา

Wrapped Future II โดย ลิม โศกจันลินา

Bumi Patani โดย Pangrok Sulap

Bumi Patani โดย Pangrok Sulap

ทัศนวิสัยที่ไม่มีอะไรบดบัง ยังเป็นไปได้?

ที่อีกมุมหนึ่งของ Patani Artspace ผลงานภาพพิมพ์ของกลุ่มศิลปินปังร็อค ซุลาป ศิลปินระดับเบียนนาเล่จากประเทศมาเลเซีย ก็เรียกเสียงฮือฮา (จากไอโอทหาร?) ได้ตั้งแต่ชื่อ ‘Bumi Patani’ และ ‘Patani Merdeka’ ซึ่งถูกกล่าวหาเชื่อมโยงไปประเด็นแบ่งแยกดินแดน

ผลงานทั้งสองชิ้น หักมุมมองของเราจากสายธารของประวัติศาสตร์ชาติไทยกระแสหลัก ไปฟังเสียงของผู้คนตัวเล็กตัวน้อยผู้ยิ่งใหญ่ในสังคม ภาพพิมพ์นี้ของพวกเขาเกิดจากแรงการเข้ามาเหยียบย่ำจากผู้คนมากมาย บนแม่พิมพ์ไม้ที่ถูกแกะ เพื่อประทับหมึกจากแม่พิมพ์นั้นไปสู่ผืนผ้า เป็นประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วม จากศิลปะแบบมีส่วนร่วม

ตัวตนปัจจุบันของพวกเราคนดู และพวกเหล่าศิลปิน เคลื่อนตัวเข้าร้อยเรียงกันเป็นกาลเวลาเดียว ผูกอดีตที่ไม่ได้มีแค่ความสวยงามราบรื่นแบบ แต่เต็มไปด้วยความเจ็บปวด การเรียกร้อง และเสียงต่าง ๆ ที่ดังขึ้นมาจากการกดทับ พุ่งตรงไปยังอนาคตข้างหน้า ร้องเรียกหา “สันติภาพ” “ยุติธรรม” ไปจนถึง “MERDEKA” ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะได้มาหรือไม่

Patani Merdeka โดย Pangrok Sulap

Patani Merdeka โดย Pangrok Sulap

Bumi Patani โดย Pangrok Sulap

Bumi Patani โดย Pangrok Sulap

Patani Merdeka โดย Pangrok Sulap

Patani Merdeka โดย Pangrok Sulap

พวกเขากำลังต่อสู้กับทัศนวิสัยที่ถูกบีบเบียดบดบังโดยประวัติศาสตร์ฉบับทางการ และเจ้าหน้าที่พนักงานผู้แทรกซึมอยู่ทั่วทั้งพื้นที่ งานศิลปะในเทศกาลนี้ก่อกวนภาวะที่ดูก็ปกติดี แต่ความจริงแล้วมีแต่อำนาจควบคุมไปทั่ว ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ‘ก่อนอุบัติ’ ว่าเราเป็นมาอย่างไร มีอะไรบ้างเกิดขึ้นก่อนหน้าเรา ภัยพิบัติที่ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การจำนนใต้อำนาจที่ไม่ได้เป็นอย่างนี้มาตั้งแต่แรก ไปจนถึงภาพฝันของโลก ‘หลังสลาย’ ว่าเราควรรับอะไรไปส่งต่อบ้าง ความรุนแรงภายในสถาบันเล็ก ๆ ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ไปจนถึงสังคม เราจะสอนอะไรในโรงเรียน และเราจะเลือกไม่สอนอะไรในโรงเรียน?

ถ้าเกิดว่ามนุษย์ควบคุมได้แต่การกระทำในปัจจุบันจริง ๆ ช่วงเวลาปัจจุบันภายในเทศกาลศิลปะ Kenduri Seni Patani ก็ทำให้เราต้องทบทวนความคิดเรื่องอดีตและอนาคตใหม่ แล้วดูว่ามันทำให้เราทำตัวเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

กังหันลมกระดาษ โดย วันมุฮัยมีน อีแตลา

กังหันลมกระดาษ โดย วันมุฮัยมีน อีแตลา

Notebook of Tales: A Hundred Stories from Milk Bags โดย พฤตินันทร์ ดำนิ่ม

Notebook of Tales: A Hundred Stories from Milk Bags โดย พฤตินันทร์ ดำนิ่ม

ผลงานที่โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ อย่าง ‘Sacks of the Covenant’ ของอนุสรณ์ ธัญญะปาลิต เป็นภูมิทัศน์ของไร่ข้าวโพดในปัจจุบัน ที่ดูน่าสะพรึงมากกว่าจะงดงาม ภายใต้ระบอบเศรษฐกิจที่ผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่มีพลังอำนาจมากกว่าความเป็นอยู่ของผู้คน เราคงไม่สามารถมองดูทุ่งข้าวโพดด้วยสายตาโรแมนติกแบบในหนังได้ และเราจำเป็นต้องมองมันแบบที่มันเป็นจริง ๆ อย่างนี้ แทนที่จะหันหน้าหนีไปแล้วปล่อยให้อนาคตหันมากล่าวโทษเราว่าตอนนั้นทำไมไม่เห็นผลกระทบที่จะตามมา หรือว่ามองเห็นแล้วไม่ได้รู้สึกอะไร?

เส้นแดนของอำนาจ อาจมาตัดสินชี้ขาดชะตาชีวิตของคน เส้นที่ขีดขึ้นภายในงานนี้ ก็เป็นจินตนาการที่มีพลังต่อต้านในตัวมันเองแล้ว ใครที่คุ้นเคยกับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้อาจจะคุ้นเคยดีกับชื่อของ ‘เทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี’ ซึ่งภาครัฐขีดเส้นให้เป็นแนวเขตอุทยาน แบบทับซ้อนกับพื้นที่ชุมชน และสวนยางสวนผลไม้ของชาวบ้าน ทำให้ความงามและความอุดมสมบูรณ์ และวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมาในพื้นที่ ต้องเจอความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ การกรีดยางหรือเก็บผลไม้กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย อาชีพเดิม ๆ ไม่สามารถทำต่อไปได้ ด้วยอำนาจที่มาจากขีดเส้นบนแผนที่

กระสอบแห่งพันธสัญญา โดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต

กระสอบแห่งพันธสัญญา โดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต

กระสอบแห่งพันธสัญญา โดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต

กระสอบแห่งพันธสัญญา โดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต

กระสอบแห่งพันธสัญญา โดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต

กระสอบแห่งพันธสัญญา โดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต

กระสอบแห่งพันธสัญญา โดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต

กระสอบแห่งพันธสัญญา โดย อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต

ที่สภากาแฟ Sapakafe 36 premium ศิลปินมูฮัมหมัดซุรียี มะซู จึงสร้าง “แผนที่” ของบริเวณนั้นขึ้นมาใหม่ ในผลงานที่ชื่อ ‘Bunda (เเม่)’ ด้วยพลังของดินจริง ๆ ที่เก็บมาใช้จากพื้นที่ และหุ่นทหาร รถถัง ตำรวจ กับรถของเล่นต่าง ๆ วางไว้ตามเขตแดนที่เป็นเส้นไฟ ให้เราเผชิญหน้ากับความตึงเครียดตรงนี้ ท่ามกลางเสียงเรื่องเล่าจากผู้คนท้องถิ่น ที่เส้นเขตแดนอุทยานไหน ๆ ก็คงให้ไม่ได้ ถ้าเส้นในจินตนาการของรัฐเป็นการจำกัดการกระทำของคน เส้นที่ศิลปินวาดขึ้นมาก็เป็นการต่อต้านอำนาจ ด้วยเสียงของ ‘ชีวิต’ ภายในดินหิน ที่มีเลือดเนื้อ มีความรู้สึก และมีความทรงจำ

Bunda (เเม่) โดย มูฮัมหมัดซุรียี มะซู

Bunda (เเม่) โดย มูฮัมหมัดซุรียี มะซู

Bunda (เเม่) โดย มูฮัมหมัดซุรียี มะซู

Bunda (เเม่) โดย มูฮัมหมัดซุรียี มะซู

Bunda (เเม่) โดย มูฮัมหมัดซุรียี มะซู

Bunda (เเม่) โดย มูฮัมหมัดซุรียี มะซู

เช่นเดียวกับงานชุด ‘a history of…’ ของศิลปินอิตาเลียนปิเอโตร โล คาสโต (Pietro Lo Casto) ซึ่งแกะรอยประวัติศาสตร์การล่าอาณานิคม โดยย้อนเกล็ดการจัดระเบียบพืิ้นที่อย่างเช่นแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีภาพชีวิตความเป็นอยู่จริง ๆ ของผู้คนซ่อนอยู่เบื้องหลังแผนภูมิจัดระเบียบสังคม หรือภาพวาดลายเส้นของ ‘ดอเล๊าะ เจะเต๊ะ’ อดีตตังเกและคนขับเรือหางยาวจากครอบครัวชาวประมงริมอ่าวปัตตานี ที่สื่อสารเรื่องทรัพยาการและสิ่งแวดล้อมในท้องทะเลจากมุมมองที่คงจะเป็นคนละมุมกับนักลงทุนยักษ์ใหญ่แน่ ๆ

“a history of…”  โดย Pietro Lo Casto

“a history of…” โดย Pietro Lo Casto

“a history of…”  โดย Pietro Lo Casto

“a history of…” โดย Pietro Lo Casto

ผลงานศิลปะที่เรากล้าเรียกได้เต็มปากว่า ‘ร่วมสมัย’ (ทั้งแง่เนื้อหาและกระบวนการ) เหล่านี้ กระตุ้นให้เราเดินทางออกไปนอกมุมมองแบบเดิม ๆ ที่จำกัดความคิดเราอยู่ ประสาทตาและสัมผัสอื่น ๆ เราต้องเปิด เพื่อรับสิ่งใหม่ ๆ เข้าไปในสมอง และครุ่นคิดอย่างหนัก แต่ยังมีงานอีกกลุ่มหนึ่งในเทศกาลนี้ ที่ทำให้เราต้องใคร่ครวญ ในแง่อารมณ์ความรู้สึกแทน และมันรุนแรงในระดับที่ทำเอาจุกอกค้างไปหลายวันได้เลย

ผลงานของ ดอเล๊าะ เจะเต๊ะ

ผลงานของ ดอเล๊าะ เจะเต๊ะ

Sleep โดย นุรัตนา หะแว

Sleep โดย นุรัตนา หะแว

ให้การโอบล้อม เป็นอ้อมกอดดูแล

“บางทีสิ่งที่น่าเสียดายที่สุด อาจไม่ใช่เรื่องที่ว่าประเพณีอันงดงามที่คนสมัยก่อนปฏิบัติกันนั้นไม่ได้ถือปฏิบัติกันอีกต่อไป แต่เป็นเพราะคนหนุ่มสาวไม่รู้ด้วยซ้ำว่าครั้งหนึ่งมันเคยมีอยู่เช่นนั้น” ถ้อยคำของศิลปินมาเลเซีย ‘Awang Ketut’ ภายในห้องนอนพี่เลี้ยงที่สถานสงเคราะห์เด็กจังหวัดปัตตานี อาจจะสื่อถึงเพลงกล่อมเด็กที่หายไปตามยุคสมัย ซึ่งทำให้สายใยแห่งการดูแลหล่นหายไป ทำให้เราต้องพูดกับชาวอนุวัฒน์ ซ้ำ ๆ ว่าผลงานทั้งหมดที่ติดตั้งใจจุดนี้ แรง เอาเรื่อง จริง ๆ

สถานที่แห่งนี้เป็นที่พักพิงทั้งทางกายและทางจิตวิญญาณของเด็กและเยาวชน ผู้ล้วนผ่านประสบการณ์มรสุมชีวิตมาแบบยากจะจินตนาการ ในโลกที่มีแต่ความรุนแรงและความเพ้อคลั่ง มุ้งนอนเล็ก ๆ พื้นที่สำหรับหนึ่งคนได้ ส่งเสียงเพลงกล่อมนอนจากมาเลเซียเบา ๆ อ้อยอิ่งคลอกับเสียงลมที่ลูบไล้พื้นผิวรอบตัวเบา ๆ ถ้าหากเด็ก ๆ ต้องการความอบอุ่นจากการโอบอุ้มจากสังคมและพี่เลี้ยงที่นี่ แล้วใครกันที่จะโอบอุ้มเหล่าพี่เลี้ยงบ้าง ในห้องเล็ก ๆ ที่เหมือนจะตัดขาดกับโลกภายนอกนี้ เสียงเพลงของเขาบอกเราว่าเราไม่ได้อยู่ลำพังในประวัติศาสตร์ แต่ยังมีผู้คนอีกมากที่อาจมีประสบการณ์ร่วมกับเรา หรือแลกเปลี่ยนบทสนทนาล้ำค่ากับ(ใจ)เราได้เหมือนกัน

และมันก็ย้ำคำถามเดิมที่ดังก้องทั่วเทศกาลนี้ ว่าเราจะรับอะไรมาจากอดีตบ้าง และเราจะส่งต่ออะไรให้อนาคต

ผลงานของ Awang Ketut

ผลงานของ Awang Ketut

ผลงานของ Awang Ketut

ผลงานของ Awang Ketut

ผลงานของ Awang Ketut

ผลงานของ Awang Ketut

เราคงไม่อยากรับประเพณีเก่าแก่มา ถ้าหากว่ามันบีบคั้นเรา เราคงไม่อยากรับและส่งต่อความรุนแรงหรือประสบการณ์บาดแผล ถึงแม้ว่ามันจะทำกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า แต่เราคงยินดีอย่างยิ่ง ที่จะได้ยินท่วงทำนองปลอบประโลมจากคนรุ่นก่อน ที่ไพเราะจนเราร้องตามให้คนรุ่นถัดไปฟังได้ เราอบอุ่นเมื่อเราได้อยู่ในชุมชน ที่แชร์ความรู้สึกร่วมกัน ในงานนี้ ศิลปะได้กลับด้านภาษาแห่งการโอบล้อม ที่ดูจะควบคุม ให้เป็นภาษาแห่งการโอบอุ้ม ภายในมุ้ง หรือในห้อง ที่ดูแลให้เราได้หลับสบาย

เรื่องเศร้า(?)อีกอย่างคือเราอาจไม่ใช่ผู้ที่มีสิทธิตัดสินใจเองขนาดนั้นด้วยซ้ำ ว่าจะสืบทอดอะไรต่อไปหลังเราสลาย สิ่งต่าง ๆ บนโลกนี้มากมายไม่ได้หายไปตามธรรมชาติ แต่ถูกรัฐ หรืออำนาจอื่น ๆ ทำให้หายไป หมดโอกาสสืบทอดกาลเวลาที่ยาวนานมาตั้งแต่ก่อนกำเนิด ผลงาน ‘กังหันลมกระดาษ’ ของวันมุฮัยมีน อีแตลา ส่งความคิดทั้งหมดนั้น ผ่านความเงียบมาสู่เรา ตั้งคำถามว่านักเรียนจะได้เรียนอะไรกันในยุคต่อ ๆ ไป? วิชาอะไรจะหายไป (ด้วยอำนาจกีดกัน) บ้าง? และวิชาอะไรที่จะถูกใส่เข้ามาให้เด็ก ๆ ของเราเข้าใจกัน?

การนอนหลับเผยแก่นแท้ของมนุษย์ ที่จริง ๆ แล้วแสนความเปราะบางอยู่ข้างใน เราจำเป็นต้องหยุดพักสักนิด ปล่อยใจให้สบาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถปล่อยวางความกังวลทั้งหมดลงได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ ที่วิญญาณแตกสลายไปกับความทรงจำจากการเลี้ยงดูที่เต็มไปด้วยปัญหารุนแรง

เสื้อผ้าเต็มตู้ให้หนูได้น่ะ โดย ซัลวาณี หะยีสะแม

เสื้อผ้าเต็มตู้ให้หนูได้น่ะ โดย ซัลวาณี หะยีสะแม

เสื้อผ้าเต็มตู้ให้หนูได้น่ะ โดย ซัลวาณี หะยีสะแม

เสื้อผ้าเต็มตู้ให้หนูได้น่ะ โดย ซัลวาณี หะยีสะแม

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

ในห้องจัดแสดง ‘เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า’ พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น หนึ่งในอาจารย์ผู้บุกเบิกการศึกษาศิลปะในคณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี พาเราไปรู้จักจังหวะที่วิญญาณของเด็กและเยาวชนน้อย ๆ แตกสลายลง ก้อนกรวดที่บ้างก็กระจัดกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย บ้างก็เรียงเป็นระเบียบเรียบร้อยไปกับปีกแมลงที่แสนจะบางเบา บนเตียงสีขาวที่วางเรียงเป็นแถว ให้เด็ก ๆ ได้หลับตาลง

เราพยายามเดินผ่านความทรงจำของพวกเขาบนเตียงแต่ละเตียงไปช้า ๆ แต่ก็ยังสัมผัสได้ถึงลมที่แตะตามร่างกาย ลมที่ยกผ้าม่านสีขาวบางตรงหน้าต่างให้พริ้วไหว ลมที่เราหวังว่าจะให้ความเย็นสบายกับเหล่าจิตวิญญาณที่แตกสลายบนเตียงเหล่านี้เท่านั้น อย่าให้ลมเหล่านั้นกระแทกทำร้ายปีกแมลงและก้อนกรวดเหล่านั้นให้แตกสลายอยู่ตรงนี้เลย

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

ลมเหล่านั้นเตือนเราว่าก้อนกรวดและปีกแมลงเหล่านี้ ผ่านอดีตที่ขมขื่นมาจากสภาพแวดล้อมที่รายรอบทั้งนั้น โลกภายนอกห้องนั้นเต็มไปด้วย ‘โครงสร้างทางสังคม’ มากมายที่พร้อมจะถล่มทับ และเมื่อเรารู้ตัวอีกที มันก็สายไปแล้วที่จะปกป้องพวกเขา

ในห้องไม่เล็กไม่ใหญ่ ขนาดเพียงพอให้เด็ก ๆ นอนเรียงรายกันนี้ เรามองเห็นภาษาของการโอบอ้อม ทั้งในเชิงร่างกายและความรู้สึก เราเข้าใกล้กับความเป็นอยู่ของ “วิญญาณที่แตกสลาย” เหล่านั้นผ่านประสาทสัมผัสที่ดวงตา ที่ปลายจมูก และที่ผิวหนัง เราก้าวเข้าห้องนี้ทางจิตวิญญาณไปหาโลกภายในการรับรู้ของเจ้าของเตียงเหล่านั้นด้วย แต่แม้เราจะรับรู้และพยายามเข้าอกเข้าใจการเดินทางชีวิตของพวกเขาได้ใกล้เคียงกับในสายตาพวกเขาเท่าไร เราก็ยังไม่สามารถนั่งลงบนที่ที่พวกเขานั่งได้ และไม่ควรด้วย เพราะเราก็ยังเป็นตัวเราเอง ที่เป็นผู้เลือกว่าจะดูแลรักษาและเยียวยาปัจจุบันอย่างไร แล้วจะส่งต่อสังคมแบบไหนให้ผู้คนรุ่นต่อไปต่างหาก

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

เรือน กาย และการแตกสลายของวิญญาณไร้ค่า โดย พิเชษฐ์ เปียร์กลิ่น

การเดินทางภายในเทศกาลศิลปะ Kenduri Seni Patani 2024 ‘ก่อนอุบัติ และหลังสลาย’ คือการต่อสู้กับกลไกแห่งการควบคุม ซึ่งแผ่อำนาจมาถึงโลกทางสายตาและประสาทสัมผัสอื่น ๆ ด้วยการโอบอุ้มคุ้มครอง และทะลุผ่านวงล้อมการควบคุมเหล่านั้น เราสัมผัสได้ถึงความหวัง ความเป็นหนึ่งอันเดียวกันของเราแต่ละคนที่รวมกันเข้าแล้วเป็นสิ่งที่เรียกอีกอย่างว่าประชาชน

วันนี้ หลายคนอาจจะไม่เชื่อคำที่ใคร ๆ พูดกันแล้วว่า ‘ให้มันจบที่รุ่นเรา’ แต่ถ้าลองถามใหม่ว่า แล้วเราจะปล่อยอะไรให้ส่งต่อไปยังรุ่นถัด ๆ มาข้างหน้าดี? เชื่อว่าเราก็ยังต้องตั้งสติ นั่งคิดสักสองสามนาทีอยู่ดี เพราะท้ายที่สุดคนที่ใกล้ชิดกับเราทั้งทางประสบการณ์ ทางร่างกาย ทางอารมณ์ หรือแม้แต่ทางจิตวิญญาณ ก็มีแต่พวกเรามนุษย์ธรรมดาด้วยกัน ภายในวงล้อมของอำนาจที่กระชับเข้ามาใกล้ขึ้นทุกที